เส้นทางรวยด้วยผ้าไม่ถักทอนอนวูฟเวน

เส้นทางรวยด้วยผ้าไม่ถักทอนอนวูฟเวน

นอนวูฟเวนคลุมแปลง

เส้นทางรวย ด้วย ผ้าไม่ถักทอ นอนวูฟเวน (Nonwoven) เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ในการเพิ่มผลผลิตพืชผล หรืออีกหนึ่งวัสดุทางเลือกเพื่อการเกษตร แต่คำว่า ‘ผ้าไม่ถักทอ’ คงไม่เป็นที่คุ้นหูท่านผู้อ่านกันมากนัก แต่คงเป็นที่คุ้นตากัน……จากที่ไหน? ต้องเป็นคำถามที่ตามมาแน่นอน คำตอบคือ…..หน้ากากอนามัย ที่มีเนื้อวัสดุคล้ายเยื่อกระดาษบางๆ แต่มีความนุ่มคล้ายเนื้อผ้าเมื่อสัมผัส นั่นแหละ คือ ผ้าไม่ถักทอ นอนวูฟเวน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจาก ผ้าไม่ถักทอ อยู่รอบๆ ตัวเราในทุกวันนี้ โดยที่ท่านไม่ทราบ เรามาทำความรู้จักกับ ผ้าไม่ถักทอ กันให้มากขึ้นดีกว่า และจะได้หายสงสัยว่า จะใช้นวัตกรรมชิ้นใหม่นี้ในการเพิ่มผลผลิตพืชผลกันได้อย่างไร เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อพูดถึงผ้า เราก็จะนึกถึง ผ้าถัก หรือ ผ้าทอ ผ้าทอ เป็นผ้าที่เกิดจากการทอมือ พัฒนามาเป็นการใช้เครื่องจักรทอ ทอให้เส้นยืน และเส้นพุ่งขัดกันในแนวตั้งฉาก ปัจจุบันมีหลายรูปแบบตามเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ทำให้ผ้าทอมีหลายชนิด หลายประเภท ตามลักษณะการทอ ผ้าถัก เป็นผ้าที่เกิดจากการใช้เข็มถัก สอดขัดด้ายไปตามห่วงของเส้นแนวตั้ง และแนวนอน ผ้าไม่ถักทอ เป็นผ้าที่ไม่มีการถัก และการทอ แต่เกิดจากกระบวนการผลิตอื่น เช่น การขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มทั้งจากสารละลาย และจากการฉีดพลาสติกหลอม การขึ้นรูปเป็นโฟม และ การขึ้นรูปเป็นผ้าจากเส้นใยโดยตรง จึงเรียกว่า ‘ผ้าไม่ถักทอ’ มีโครงสร้างของเส้นใยที่สานกันไปมาเป็นแผ่นผ้า และสามารถผลิตได้หลายวิธีคือ

  1. Dry-laid (ดราย-เลด) เป็นผ้าไม่ถักทอ หรือ นอนวูฟเวน ที่ขึ้นรูปเส้นใยสั้น โดยกระจาย และสางเส้นใยให้สม่ำเสมอและจัดเรียงตัวให้ดี แล้วยืดเส้นใยด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น ยึดเชื่อมด้วยความร้อน เคมี ปักด้วยเข็มปัก และปักด้วยเข็มน้ำ เส้นใยมีความแข็งแรงเท่ากันในทุกทิศทาง
    ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น พรมรองพื้น ฉนวนบุผนังในรถยนต์ สิ่งทอธรณี ฉนวน ผิวลูกเทนนิส เป็นต้น (สิ่งทอธรณี เป็นสิ่งทอที่ผลิตเพื่องานด้านวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวข้องกับพื้นดิน เช่น วัสดุรองพื้นดินทำอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และบ่อน้ำเสีย เสริมความแข็งแรงให้เขื่อน ป้องกันการพังทลายของดิน เป็นต้น)
  2. Wet-laid (เว็ท-เลด) เส้นใยที่ใช้ขึ้นรูปจะมีขนาดสั้นกว่าแบบ ดราย-เลด มีทั้งชนิดอินทรีย์ และ อนินทรีย์ เช่น เส้นใยแก้ว นำมากระจายในน้ำ แล้วโรยบนสายพานตะแกรงเพื่อขึ้นรูป เชื่อมเส้นใยด้วยสารเคมี และความร้อน ปักด้วยเข็มน้ำ
    ผ้าไม่ถักทอประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกระดาษ โครงสร้างหนาแน่น ดูดซับได้ดี มักนำมาผลิต ผ้าเช็ดเอนกประสงค์ กระดาษกรองกาแฟ ไส้กรอง แผ่นแยกช่องในแบตเตอรี่ ไส้ฉนวน เป็นต้น
  3. Spun-bonded (สปัน-บอนด์) ใช้เส้นใยเม็ดพลาสติกมาหลอมแล้วอัดโพลิเมอร์หลอมผ่านหัวฉีดเส้นใย(เส้นใยประดิษฐ์)ยาวนำมาขึ้นรูปบนสายพาน เชื่อมยึดเส้นใยด้วยความร้อน ด้วยเคมี ได้นอนวูฟเวนที่แข็ง หนา หนัก และถ้าปักด้วยเข็มน้ำ เรียกว่า สปันเลซ(Spunlace) ซึ่งจะได้นอนวูฟเวนที่อ่อนนิ่ม ยืดหยุ่น โค้งงอคล้ายผ้า
    ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อม อนามัยภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ชุดผ่าตัดของแพทย์ วัสดุเช็ดทำความสะอาด หน้ากากอนามัย และผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น ซองบรรจุแผ่นซีดี ซองบรรจุเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
  4. Melt-blown(เมลต์-โบลน) เป็นนอนวูฟเวนที่ขึ้นรูปจากเส้นใยจากเม็ดพลาสติกโดยตรง แต่เส้นใยจะเล็กละเอียดระดับนาโนเมตร-ไม่โครเมตร แต่เส้นใยจะไม่ยาวต่อเนื่องกัน เชื่อมยึดเส้นใยด้วยเคมี ความร้อน และปักด้วยเข็มน้ำ แต่นอนวูฟเวนประเภทนี้ไม่ค่อยแข็งแรง มักจะนำไปใช้งานร่วมกับวัสดุหรือนอนวูฟเวนชนิดอื่นในการผลิต ไส้กรอง แผ่นกรองหน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และฉนวน เป็นต้น

เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผ้าไม่ถักทอ นวัตกรรมใหม่เพื่อการเกษตร ยุคปัจจุบันเกษตรไทยรวยได้ไม่ยากด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมวัสดุเพื่อการเกษตร เพียงแค่ท่านติดตามข่าวสาร ข้อมูลความรู้ และรู้จักนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ผ้าไม่ถักทอ หรือ นอนวูฟเวน มีผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิต ดังนี้

  1. ถุงปลูกนอนวูฟเวน ได้มีการพัฒนาสูตรถุงปลูกให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด เป็นอีกวัสดุทางเลือกสำหรับเพาะปลูก ไม่มีปัญหาการระบายความร้อนและน้ำ เช่น ถุงปลูกกล้วยไม้ มะเขีอเทศราชินี เมล่อน เป็นต้น
    สำหรับไม้ผล ได้มีการทดสอบเปรียบเทียบกับถุงปลูกพลาสติก ผล ที่ได้จากการปลูกในถุงปลูกนอนวูฟเวนมีน้ำหนัก และจำนวนผลที่ดีกว่า รสชาติอร่อย และมีปริมาณคุณค่าทางอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่า
  2. ถุงห่อผลไม้ เช่น กล้วย ชมพู่ ส้มโอ แอ๊ปเปิ้ล แตงโม เมล่อน มะม่วง ลิ้นจี่ ฝรั่ง ลูกพลัม มะละกอ องุ่น สับปะรด ฯ เพื่อป้องกันแมลง โดยเฉพาะแมลงวันผลไม้ไม่ให้มาวางไข่ ป้องกันนก ลดการใช้สารเคมีป้องกันแมลง
  3. ผ้าคลุมแปลง เช่น มะเขือเทศ แครอท ผักกาด หัวไชเท้า ดอกกะหล่ำ มันฝรั่ง ผักโขม ต้นหอม สมุนไพรต่างๆ ผักทรงพุ่ม ไม้พุ่ม ไม้ดอก รวมทั้งพืชผัก และไม้ผลอื่นๆ มีคุณสมบัติป้องกันแสง UV ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีป้องกันแมลง ป้องกันผลเสียที่เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงรองรับปฏิกิริยาเรือนกระจก และ สู้ร้อนสู้หนาวได้ดีมาก สู้หนาว โดยป้องกันความเย็นและน้ำค้างแข็งได้ถึงอุณหภูมิที่ 5 องศาเซลเซียส และยังป้องกันลมแรง ลูกเห็บ ฝนตกหนัก และพายุ สู้ร้อน โดยสามารถป้องกันคลื่นความร้อนได้ที่อุณภูมิที่สูงถึง 55 องศาเซลเซียส และยังสามารถป้องกันนก แมลง และเชื้อโรคต่างๆ ได้อีกด้วย
  4. ผ้าคลุมกันวัชพืช มักใช้ในสวน ฟาร์ม แปลงอนุบาล ฯ

เทคนิคการห่อผลไม้ เพิ่มผลผลิต เพื่อให้ผลไม้มีผิวผลสวย สะอาด ไม่มีตำหนิ ไม่ถูกแมลงทำลาย เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มขนาด และให้รสชาติที่อร่อย ที่สำคัญ ขายได้ง่ายและได้ราคาที่สูงขึ้น 1.การห่อผลไม้ป้องกันแมลงวันผลไม้ ต้องห่อผลก่อนที่แมลงวันผลไม้จะมาวางไข่ 2.ตัดแต่งทรงพุ่ม บังคับไม่ให้ทรงพุ่มสูงเกินไป
ตัวอย่าง ระยะเวลาการห่อผลไม้

  • ชมพู่ ห่อเมื่อชมพู่ติดผล มีรูปทรงเหมือนระฆัง เก็บผลผลิตได้หลังจากห่อผลประมาณ 30 วัน
  • มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ห่อเมื่อขนาดผลใหญ่ประมาณ 2 ½ นิ้ว ห่อไว้ประมาณ 40 วันก็เก็บเกี่ยวผลได้ แต่ถ้าห่อเมื่อผลมีขนาด 3 นิ้ว ห่อไว้เพียงแค่ 1 เดือน เพื่อไม่ให้สีผิวของมะม่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดจนออกขาว
  • ส้มโอ ห่อเมื่อผลอายุ 2-3 เดือน ห่อไว้นาน 4-5 เดือน
  • เมล่อน เมื่อผลมีอายุ 50-60 วันหลังดอกบาน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: http://www.prakoonmae.com, http://www.bangkokbiznews.com, http://www.prachachat.net, http://www2.mtec.or.th/th/research/textile/fabrics.html)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *