ลูกเดือย

ลูกเดือย คือ ธัญพืชที่ผู้เขียนชอบรับประทานที่สุดในบรรดาธัญพืชทั้งหมดทั้งมวน ไม่ว่าจะใส่น้ำเต้าหู้ ลูกเดือยเปียกราดน้ำกะทิ หรือน้ำลูกเดือย อร่อยทั้งนั้นนะคะ

ลูกเดือยไม่ได้มีประโยชน์ สำหรับรับประทานเท่านั้น ติดตามต่อในบทความนี้แล้วท่านผู้อ่านจะได้รู้จักสรรพคุณและประโยชน์ต่างๆ ของลูกเดือยมากขึ้น

ในประเทศไทย ลูกเดือย เป็นที่รู้จักทั่วทุกภาค ถิ่นใด ภาษาใด คนไทยก็เรียก ลูกเดือย พบการปลูกลูกเดือยในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา ปัจจุบันพบปลูกมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเลยที่ปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกต่างประเทศ เคยเห็นต้นลูกเดือยกันบ้างมั๊ยคะ? (มีภาพมาฝาก)

ต้นลูกเดือย

ภาพตัวอย่าง เรามาทำความรู้จักแต่ละส่วนของลูกเดือยก่อนลงมือปลูกกันเป็นอันดับแรก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกเดือย
ลำต้น
ลำต้นลูกเดือยมีลักษณะเหมือนกับหญ้าทั่วไป มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ทรงกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 1 ถึง 3.5 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีใบแตกออกบริเวณข้อ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมเทาและมีนวลขาวปกคลุม เมื่อลำต้นมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ขึ้นไป จะแตกลำต้นหรือเหง้าเพิ่มเป็น 4 ถึง 5 ลำต้น
ใบ
ลูกเดือยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเป็นแผ่นเรียวยาว สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า ยาวประมาณ 20 ถึง 45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบมีเส้นกลางใบชัดเจน ขอบใบเรียบและมีความคมสามารถบาดมือได้
ดอก
ดอกลูกเดือยคล้ายกับดอกของหญ้าทั่วไป แทงออกเป็นช่อตรงปลายยอดของลำต้น มีช่อดอกยาวประมาณ 3 ถึง 8 เซนติเมตร ดอกลูกเดือยแต่ละดอก มีกระเปราะที่มีเปลือกหุ้ม ซึ่งจะพัฒนาเป็นผลหรือเมล็ด

ผลและเมล็ด
ผลของลูกเดือยจะเรียกว่า ผลปลอม เพราะมีเฉพาะเมล็ดที่อยู่ด้านใน ซึ่งจะประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล เปลือกหุ้มนี้ค่อนข้างบาง แต่แข็งติดกับเมล็ด ถัดมาด้านในสุดจะเป็นเมล็ดที่มีลักษณะรูปหัวใจ ซึ่งจะมีร่องเว้าตรงกลางของเมล็ด ขนาดกว้าง และยาวประมาณ 8 ถึง 12 มิลลิเมตร
ชนิดของลูกเดือยในประเทศไทย

    1. ลูกเดือยหิน
      เป็นชนิดลูกเดือยที่ไม่นำมารับประทาน เนื่องจากมีแป้งน้อย เปลือกและเนื้อเมล็ดแข็งมาก พบมากในภาคเหนือโดยเฉพาะบนภูเขาสูง ลำต้นไม่สูงมาก เปลือกมันวาว และมีหลายสี นิยมใช้ทำเครื่องประดับ
    2. ลูกเดือยหินขบ
      เป็นชนิดเดือยที่รับประทานได้ แต่นิยมเฉพาะในท้องถิ่น เมล็ดลูกเดือยมีรูปร่างกลม ขนาดเมล็ดใหญ่ประมาณ 10 ถึง 12 มิลลิเมตร เปลือกและเนื้อเมล็ดแข็งปานกลาง เมล็ดมีสีน้ำตาลอมเทา ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร พบปลูกในทางภาคเหนือ
    3. ลูกเดือยทางการค้า
      เป็นชนิดที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานกันในปัจจุบัน มีลักษณะเมล็ดคล้ายข้าวสาลี มีเปลือกบาง สีขาวขุ่นหรืออมสีน้ำตาล เมล็ดมีร่องตามแนวยาว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
      – ลูกเดือยข้าวเหนียว เป็นชนิดที่นิยมรับประทานกันมากที่สุด มีลำต้นสีเขียวอมเหลือง และลำต้นเตี้ยกว่าลูกเดือยข้าวเจ้า แต่มีขนาดเมล็ดใหญ่กว่าเดือยข้าวเจ้า เมล็ดมีลักษณะกลมป้อมและสั้น สีเทาอ่อน เปลือกเมล็ดบางและปริแตกง่ายกว่าเมล็ดเดือยข้าวเจ้า มักแตกหักง่ายขณะสีเปลือก เมื่อต้มจะให้แป้งสุกที่เหนียวลื่นและเป็นเมือกคล้ายกับแป้งข้าวเหนียว
      – ลูกเดือยข้าวเจ้า ขนาดผลเล็ก มีรูปร่างค่อนข้างยาว และมี เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกและเนื้อเมล็ดค่อนข้างแข็ง เมื่อต้มสุกจะให้แป้งที่ไม่เหนียวและไม่เป็นเมือก ไม่แตกหักง่ายขณะสีเปลือก

สรรพคุณลูกเดือย

  • ผลหรือลูกเดือย
    – ช่วยต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก
    – ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ
    – ช่วยบำรุงกระดูก
    – ช่วยบำรุงสายตา
    – ช่วยแก้อาการเหน็บชา
    – ช่วยบำรุงกำลังบำรุงร่างกาย และช่วยให้คนไข้พักฟื้นตัวได้เร็ว
    – ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความชุ่มชื่น
    – ช่วยแก้ร้อนใน
    – ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการปวดหัว
    – ช่วยบำรุง ตับ ไต กระเพาะอาหาร และม้าม และช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร และลำไส้
    – ช่วยบำรุงเลือดในสตรีหลังคลอดบุตร
    – ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
    – ช่วยรักษาอาการท้องร่วง
    – ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
    – ช่วยแก้อาการปวดข้อเรื้อรัง
    – ช่วยย่อยอาหาร
    – ช่วยรักษาอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก
    – ช่วยรักษาการตกขาวผิดปกติในสตรี
    – ช่วยแก้อาการหลอดลมอักเสบ
    – ช่วยลดน้ำคั่งในปอด
    – ช่วยรักษาฝีในลำไส้ และช่วยในการขับเลือด ขับหนอง
    – ช่วยรักษาอาการเอ็นตึงรั้ง
    – ช่วยรักษาโรครูมาติซึม
    – ใช้รักษาวัณโรค
    – ใช้รักษาโรคหูด
  • ใบ และลำต้น
    – ใช้ชงดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ
    – ช่วยแก้โรคผิวหนัง ลดอาการผื่นคัน โดยนำทั้งต้น และใบมาต้มน้ำอาบ
    – ช่วยรักษาอาการปัสสาวะเหลืองขุ่น
  • รากลูกเดือย (มีรสขมเล็กน้อย)
    – ช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือดที่ผิวหนัง
    – ช่วยบำรุงเส้นผม ทำให้ดำดก
    – ช่วยขับปัสสาวะ (นำมาต้ม-ดื่ม)
    – ช่วยลดไข้
    – ช่วยขับพยาธิ
    – ข่วยรักษาอาการดีซ่าน
    – ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ
    – ช่วยรักษาโรคหนองใน
    – ช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม ลดอาการปวดตามข้อ
    – ช่วยรักษาอาการตกขาว
    – ช่วยกระตุ้นประจำเดือนให้มาปกติ
    – ช่วยต้านอาการอักเสบจากการติดเชื้อ
    – ช่วยต้านอักเสบที่ผิวหนัง
    – ใช้เป็นยานอนหลับ และระงับอาการปวด
    – ช่วยคลายกล้ามเนื้อ
    – ช่วยบำรุง และกระตุ้นการงอกของผม

ประโยชน์สำหรับสตรีมีครรภ์

  • ลูกเดือยเป็นอาหารที่มีรสจืด ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยนำมาต้มรับประทานแบบไม่ใส่น้ำตาล หรือจะหุงรวมไปในข้าวเพื่อทำเป็นข้าวผสมธัญพืช หรือผสมกินกับน้ำเต้าหู้ หรือนำมาทำเป็นน้ำลูกเดือยไว้ดื่มเพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของลูกเดือย

  • ทำขนมหวาน
  • นำไปหุงพร้อมกับข้าวสวยรับประทาน
  • ใช้ทำแป้งลูกเดือยสำหรับทำขนมของหวาน
  • ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารเสริมสำหรับบำรุงสุขภาพ
  • นำมาตากแห้ง แล้วบดเป็นผงชงเป็นชาหรือน้ำเมล็ดธัญพืชดื่ม
  • ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์หรือใช้เลี้ยงสัตว์
  • ใช้ลูกเดือยหินทำเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ตกแต่งเสื้อผ้า

คุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ซิลิคอนไดออกไซด์ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส

สูตรน้ำลูกเดือย

ส่วนผสม

  • ลูกเดือย 100 กรัม
  • ธัญพืชอื่นๆ
  • เม็ดบัว
  • อัลมอนด์
  • น้ำตาลทราย
  • น้ำเปล่า 6 ถ้วย

วิธีทำ

  • แช่ลูกเดือยไว้ 1 คืน เพื่อให้ลูกเดือยนิ่ม
  • นำลูกเดือยที่นิ่มแล้ว ใส่ลงในเครื่องปั่นแล้วเติมน้ำตาม ปั่นให้ละเอียดตามต้องการ
  • นำไปกรองเพื่อแยกน้ำกับกากออกจากกัน
  • นำน้ำลูกเดือยที่กรองแล้วไปตั้งบนไฟอ่อน ๆ เติมน้ำตาลทรายลงไปให้ออกรสหวานตามชอบ
  • คนจนน้ำตาลละลายหมดแล้ว จึงยกขึ้นพักไว้ให้ความร้อนคลายตัว แล้วนำมารับประทานได้ทั้งร้อนทั้งเย็น

ติดตามขั้นตอนการปลูกในบทความ การปลูกลูกเดือย และการดูแลหลังการปลูก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล : https://th.theasianparent.com, www.sukkaphap-d.com, www.puechkaset.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *