มาเลี้ยงปลาในนาข้าวกัน ดีทั้งปลา ดีทั้งนาข้าว

เลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่งผลดีกับทั้งปลา ส่งผลดีกับทั้งนาข้าว

เลี้ยงปลาในนาข้าว พอปลาโต ข้าวผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อให้อาหารปลา พอปลาขับถ่ายก็เป็นการช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อาหารในน้ำ ข้าวก็ได้ปุ๋ยไปด้วยทำให้เจริญเติบโตได้ดี และปลายังช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ถ้าข้าวในแปลงนาเก็บเกี่ยวตกหล่นก็ยังใช้เป็นอาหารปลาได้อีก ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลา ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งปลา ได้ประโยชน์ทั้งข้าว ดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเกษตรกรควรที่จะให้ความสนใจอย่างยิ่ง

เลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นนับว่าอีกเป็นอาชีพหลักเพิ่มอย่างหนึ่งของเกษตรกรชาวนา การปรับปรุงวิธีการเลี้ยงได้ถูกพัฒนาตามหลักสากลนิยมเรื่อยมา เพื่อให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการนำมาบริโภคภายในครอบครัวอีกทั้งยังเหลือมาจำหน่ายต่อได้อีกด้วย

การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นก็ต้องมีการใส่ใจ ดูแล ปลาอีกเช่นกัน ทั้งจาก ฝนฟ้าอากาศ อาหารการกิน โรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนสัตว์อื่นที่มาทำลาย ผู้เลี้ยงจึงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ปลานั้นเจริญเติบโตและมีปริมาณมาก ขณะเดียวกันความขยันอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีการศึกษาหาประสบการณ์เพิ่ม สุดท้ายคือการเฝ้าสังเกตความเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุเป้าหมาย

หมายเหตุ การเลี้ยงปลาในนาข้าว จะกระทำได้ เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปี ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลา พอที่จะใช้เป็นอาหารได้

ขั้นตอนการเลี้ยงปลาในนาข้าว

1. เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา ให้มีความกว้าง 0.5 ถึง 1.5 เมตร และลึก 0.25 ถึง 0.4 เมตร นำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น ภายในแปลงนาควรซอยคูเล็กๆ ติดต่อกับคูรอบนอก เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำและวางท่อระบายน้ำเข้าและออก

2. เลือกปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่นำมาเลี้ยงในนาข้าวจะต้องเป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถอยู่ได้ในน้ำตื้น และทนทานต่อความขุ่นของน้ำ ชนิดของปลาที่นิยมเลี้ยงในนาข้าว เช่น ปลาหมอ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาไน ปลาสลิด เป็นต้น โดยแรกเริ่มให้อนุบาลลูกปลาไว้เองสักระยะหนึ่งก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยเลี้ยงลงในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าวอาจดำเนินงานได้ 2 ระยะด้วยกัน คือ ระยะแรกเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำนา การปล่อยปลาลงเลี้ยงนั้นต้องรอให้ต้นข้าวตั้งเป็นตัวก่อน 1-2 สัปดาห์ ไม่เช่นนั้น ปลาจะว่ายหาอาหาร ทำให้ต้นข้าวหลุดลอยเสียหาย และระยะที่สองเลี้ยงปลาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว ในระยะข้าวสุกพร้อมที่จะเก็บ เกี่ยวต้องลดระดับน้ำลงทำให้ปลาจะหลบไปอาศัยอยู่ในส่วนลึก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลาต่อ โดยเก็บตอซังข้าวในผืนนามากองไว้เป็นที่สำหรับเป็นปุ๋ย และระบายน้ำเข้าเพื่อเลี้ยงปลาต่อไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เลี้ยงปลาในนาข้าว

สรุป ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว ช่วยทำให้ดินดี มีปุ๋ย ไถง่าย และปลายังช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ช่วยให้อินทรีย์สารต่างๆ สลายตัว เป็นการผลิตอาหารแป้งและอาหารโปรตีนในที่เดียวกัน ทำให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจ ช่วยให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีอาหารโปรตีนบริโภคอีกด้วย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการเลี้ยงปลาในนาข้าวมีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยากำจัดแมลงศัตรูพืช และถูกสัตว์อื่นรบกวน หรือไม่ก็ถูกลักขโมย ประเทศไทยเราแม้จะมีที่ทำนาที่อยู่ในระบบชลประทานที่ดีถึง 31,000 ตารางกิโลเมตร แต่การเลี้ยงปลาในนาข้าวก็ยังไม่ค่อยมีผู้นิยมเท่าที่ควร สาเหตุก็เพราะชาวนาพบปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *