ปีแป๋
ปีแป๋ ชื่อนี้พอจะคุ้นหูกันบ้างมั๊ยคะ หรือ บางท่านอาจจะคุ้นกับชื่อ โลควอท (Loquat) กันมากกว่า แต่ไม่ว่าจะเรียกปีแป๋ หรือ โลควอท ก็คือผลไม้ชนิดเดียวกันนั่นเอง ในภาษาญี่ปุ่นเรียกกันว่า บีว่ะ (Biva) ในตำรายาจีนเรียก ผีผาเย่ (ภาษาจีนกลาง) หรือ ปีแปะเฮียะ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) สาเหตุที่มีหลายชื่อหลายภาษา ก็เพราะมีที่มาจากต่างประเทศนั่นเอง การปลูกพืชผลเป็นอาชีพ หากเกษตรกรติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ และนำมาปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรกรรม ก็เป็นโอกาสนำไปสู่ช่องทางรวย เช่น การปลูกไม้ผลที่แปลกไปจากตลาดในประเทศ หรือไม้ผลที่มีคนนิยมปลูกกันน้อย หรือมีคู่แข่งในประเทศน้อย และปีแป๋ ก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรรมทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจมาก ปีแป๋เป็นผลไม้ที่จำหน่ายเพื่อรับประทานสด จำหน่ายเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และจำหน่ายเพื่อใช้ประโยชน์ทางยา ไม่มีข้อจำกัดในการเพาะปลูกในประเทศไทย แต่มีข้อจำกัดในการงดใช้สารเคมี เนื่องจากการใช้ประโยชน์ทางยา และการบริโภคสดนั่นเอง ทั้งนี้ ตลาดของปีแป๋ เป็นตลาดของคนรักสุขภาพ และเป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสินค้าระดับพรีเมี่ยม การเพาะปลูกที่มีข้อจำกัดในการงดใช้สารเคมีในการเพาะปลูกกลับมีผลดี ทั้งต่อตัวผู้บริโภคและเกษตรกร โดยเฉพาะการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ นอกจากปีแป๋จะเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย ยังมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการปลูกปีแป๋ คือ ลงทุนน้อย ได้ผลกำไรมาก และผลกำไรที่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลหลังการปลูกเป็นสำคัญด้วยนะคะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปีแป๋
ปีแป๋เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ถึง ขนาดเล็ก บ้างใช้เป็นไม้ประดับตกแต่ง แต่ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อเป็นไม้ผลสำหรับรับประทานเป็นไม้ผลพื้นบ้านจากประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมมีถิ่นกำเนิดแท้จริงอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มักนิยมปลูกเฉพาะในพื้นที่สูง
ลำต้น มีความสูงประมาณ 20 ถึง 30 ฟุต ลำต้นตรง
ใบ มีขนาดใบกว้าง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง หูใบแบน ดอกช่อ ปกคลุมด้วยขนสั้นๆ สีน้ำตาลแดง ไม่มีก้านดอก มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุม
ผล รูปร่างกลมหรือรูปไข่ สีเหลืองอ่อนหรือสีส้ม มีขนปกคลุม ผิวเปลือกเรียบบาง
ผล รสชาติฉ่ำรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีรสชาติคล้ายมะละกอและฝรั่งผสมผสานกัน
เนื้อผลนุ่ม ฉ่ำน้ำ อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
เมล็ด ยาว สีน้ำตาลดำ
การนำ ปีแป๋ มาใช้ประโยชน์
ผล
- มีเพคตินและโพแทสเซียมสูงมาก
- รับประทานผลสด
- ทำแยมหรือเยลลี่
- ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์จากน้ำคั้นของผลสด
เมล็ด
- เมล็ด มีรสชาติคล้ายอัลมอนด์
เนื้อไม้
- เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้อแข็ง เหนียว ผิวเปลือกเรียบ ใช้ทำเครื่องดนตรี
ใบ
- ใบ มีแทนนิน มีรสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสีย เป็นยาระบาย และเป็นยาแก้ไอ หรือแก้ไอเรื้อรัง ละลายเสมหะ
ประโยชน์และสรรพคุณของปีแป๋
- เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการสะสมของสารพิษส่วนเกินในลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระและความเครียด
- แก้เจ็บคอ แก้หวัด แก้ไข้ สร้างภูมิคุ้มกัน
- มีอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
- ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยรักษาโรคไขมันในเลือดสูง ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยรักษาโรคกระดูกพรุน
- ช่วยสมานแผลในปาก
- ช่วยระบบขับถ่าย เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก
- ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต
- ช่วยรักษาปัสสาวะอักเสบ
- ช่วยบรรเทากามโรค ช่วยเสริมทางเพศ
- ช่วยฟอกตับ ช่วยบำรุงม้าม
การใช้ประโยชน์จากปีแป๋ เป็นยาแก้ไอ
- เลือกใบที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ประมาณ 3 ใบ
- ล้างทำความสะอาดขนที่หลังใบออกให้หมด
- นำไปต้มให้เดือด ใช้กินต่างน้ำติดต่อกันประมาณ 2 เดือน สามารถดื่มผสมกับน้ำผึ้งลงในแก้วช่วยให้ชุ่มคอ และรับประทานง่ายขึ้น
บรรเทาปัญหาระบบประสาทไม่สั่งการ กินข้าวไม่ได้ ไอตลอดเวลา
สารอาหารที่มีอยู่ในปีแป๋
คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, เส้นใยอาหาร, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, เหล็ก, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, ทองแดง, แมงกานีส, กรดไนอาซีน, น้ำตาล, วิตามิน เอ, บี1, บี2, บี3, บี5, บี6, บี9, ซี, อี และ เค
การปลูกปีแป๋
การคัดเลือกสายพันธุ์
มีการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อเพิ่มขนาดและคุณภาพของผลไม้มายาวนาน อาจมีถึง 800 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่แพร่หลายในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์จากประเทศไต้หวันซึ่งผสมผสานใบสวยงามแผ่กว้างแบบญี่ปุ่น เนื้อสีส้มฉ่ำ มีความหวาน จำนวนเมล็ดไม่มาก
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูก
พื้นที่ดอน พื้นที่ตามไหล่เขา หรือพื้นที่ราบที่น้ำไม่ท่วมขัง
สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะปลูก
เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตง่าย ในสภาวะอากาศอบอุ่น ที่มีแสงแดดเต็มที่ รวมถึงประเทศไทย อากาศหนาวเย็นมีผลทำให้เกิดอาการใบไหม้ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมต่ำสุด ไม่ควรต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส สูงสุดไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
การขยายพันธุ์
ปีแป๋ เจริญเติบโตง่าย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดดีที่สุด ระบบรากจะมีความแข็งแรงมากกว่าการปักชำและการตอนกิ่ง
การเพาะเมล็ด
- แกะเมล็ดออกจากผลปีแป๋ ส่วนใหญ่ปีแป๋หนึ่งผล จะมีเมล็ดอยู่ 3 ถึง 5 เมล็ด มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาล
- ล้างเมล็ดที่แกะออกจากผลให้สะอาดด้วยน้ำเย็น
- ควรเพาะในที่ร่มด้วยการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดๆ ห่อหุ้มเมล็ดไว้ หรือเป็นการบ่มเมล็ด จะทำให้เมล็ดมีอัตราการงอกที่ดีกว่าการเพาะและปล่อยให้งอกเองตามธรรมชาติ
- ต้นกล้าสูงประมาณ 25 เซนติเมตร แตกใบประมาณ 3 ใบ นำไปปลูก
การปลูกต้นกล้า
***ปลูกต้นกล้าในพื้นที่ที่รับแสงแดดได้ทั่วถึงทุกต้น***
ระยะห่างต่อต้น ประมาณ 5 x 5 เมตร
***พื้นที่ 1 ไร่ ควรปลูกปีแป๋ได้ประมาณ 50 ต้น (ได้ผลผลิตขั้นต่ำต่อไร่ ประมาณ 150,000บาท)
ปลูกลงดิน หรือวงบ่อซีเมนต์
***ข้อดีของการปลูกในวงบ่อซีเมนต์ คือ สามารถจำกัดพื้นที่ของรากให้หาอาหารได้ง่ายขึ้น เพราะน้ำและปุ๋ยชีวภาพที่ให้ไม่กระจายไปที่อื่น***
การเตรียมดิน
การปลูกลงดิน
- ขุดหลุมให้กว้างกว่าดินที่ติดรากต้นกล้าเล็กน้อย มีความลึกพอประมาณ
- โรยปุ๋ยคอกลงที่ก้นหลุม
- นำต้นกล้าลงปลูก กลบดิน และรดน้ำพอชุ่ม
การปลูกในวงบ่อซีเมนต์
- รองก้นวงบ่อซีเมนต์ หรือหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก
- นำต้นกล้าลงปลูก กลบดิน รดน้ำพอชุ่ม
ง่ายใช่มั๊ยคะ? การปลูกปีแป๋ ถ้าสนใจที่จะปลูกเป็นอาชีพ หรือรายได้เสริมขึ้นมาแล้ว ก็อย่าพลาด
ติดตามบทความ การดูแลปีแป๋ หลังการปลูก เพื่อผลผลิตที่ดีมีคุณภาพด้วยนะคะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล : www.thai-thaifood.com, www.palangkaset.com, www.wikihow.com, https://th.wikipedia.org/wiki/โลควอท)