ประโยชน์ของเห็ดและคุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด
รูปจาก : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ประโยชน์ของเห็ด และคุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด
ประโยชน์ของเห็ด ที่ถูกนำมาใช้นั้น ผู้บริโภคจะได้รับเต็มที่หรือไม่เต็มที่ ขึ้นอยู่กับวิธีที่นำมาใช้ เช่น การปรุงอาหาร เห็ดแต่ละชนิดมีวิธีรับประทานให้ได้ผลตามสรรพคุณต่างกัน บางชนิดอาจถูกลดสรรพคุณลงด้วยความร้อน ส่วนการนำมาสกัดเป็นยา ก็ต้องทำให้ถูกวิธีเช่นกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลในบทความนี้แล้ว ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลได้ในบทความ การเพาะเห็ดถั่งเช่า เห็ดเป็นยา ราคาแพง, เห็ดเป็นยา, การแปรรูปเห็ด แล้วเราก็จะได้นำเห็ดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี ส่วนใหญ่เรามักจะคิดกันว่า ประโยชน์ของเห็ด คือใช้เป็นอาหาร และยา แต่เห็ดมีคุณสมบัติอื่นๆ มากกว่านั้น และจะว่าไปแล้ว เห็ดที่เคยถูกจัดให้เป็นเพียงพืชชั้นต่ำนั้น กลับเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมากทีเดียว…คุณเคยทราบมาก่อนหรือไม่ ว่าเห็ด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยังไง?–อ่านต่อนะคะ จะได้ทราบว่า เห็ดที่รูปร่างหน้าตาน่ารัก น่ากิน มีคุณประโยชน์ที่น่ารักอะไรอย่างอื่นอีก?
คุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด
เห็ดช่วยอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้เพื่อการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ และ การขจัดสารปนเปื้อนด้วยเห็ด:
- เห็ดถูกนำมาใช้ในวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเพื่อกำจัดของเสีย เป็นรูปแบบการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพในการขจัดสารปนเปื้อน ลดมลพิษ และจุลินทรีย์ รวมทั้งกรองพิษในน้ำและในดิน
เห็ด ช่วยในการฟื้นฟูทางระบบนิเวศ
- เห็ดช่วยทำความสะอาดดินและน้ำที่ปนเปื้อน กำจัดของเสียจากครัวเรือน
- ใช้เห็ดต่างๆ ดักจับสิ่งปฏิกูลในน้ำ ดูดซึมแบคทีเรีย สารอาหาร โลหะหนัก และสารพิษต่างๆ
- เห็ดราที่ย่อยสลายไม้นั้น มีประสิทธิภาพในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีแก่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารกำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของคลอรีนได้
- ดักจับผลิตผลจากปิโตรเลียมและอีโคไล ด้วยเห็ดนางฟ้า
- จับสารปรอทที่เป็นพิษเข้ากับซีลีเนียม ด้วยเห็ดเตอร์กี้ เทล ซึ่งจะเกิดเป็นสารประกอบที่ไม่เป็นพิษอีกต่อไป
- เห็ดราสัญชาติเอกวาดอร์ เพสทาโลทิออพซิส ช่วยย่อยสลายและดูดซึมโพลียูเทรนได้
คุณสมบัติที่ดีของเห็ดในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ
นอกจากกคุณประโยชน์ทางโภชนาการ และทางการแพทย์แล้ว เห็ดบางชนิด ยังนำมาใช้ในการย้อมผ้า เส้นไหม ขนสัตว์, การรักษาสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี สีย้อมผ้า จากเห็ด: เห็ดให้สีย้อมที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 121 ไม่มีสารโลหะหนัก ตกค้างจึงไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเห็ดขอนแดงเป็นเห็ดป่าที่มีเนื้อเห็ดแข็งคล้ายใบไม้แห้ง รูปร่างคล้ายพัดมีสีแดงอมส้ม โดยนำมาใช้ในการย้อมเส้นไหมทดแทนการใช้สารเคมี สามารถย้อมเส้นไหมได้สีเข้มและมันวาวมากที่สุด เส้นไหมทั้งหมดที่ย้อมมีคุณภาพความคงทนของสีต่อการซักและแสงอยู่ในระดับ 3-4 คือสีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และมีสีตกเล็กน้อย เป็นค่าที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน มอก.121เห็ดตับเต่า จัดเป็นเห็ดขนาดใหญ่ที่พบได้ในทุกภาค และนิยมนำมารับประทาน เนื่องจาก ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ เนื้อเห็ดมีความนุ่ม และลื่น ใช้ทำอาหารได้ทั้งดอกเห็ดอ่อน และดอกเห็ดแก่ เพราะถึงแม้ดอกเห็ดจะแก่ แต่ยังให้เนื้อเห็ดที่นุ่มลื่นเหมือนดอกเห็ดอ่อน ความคงทนของสีต่อการซักและแสง พบว่าการ ย้อมเส้นไหมและเส้นไหมไทยทั้งหมดมีค่าความคงทนต่อการซักและแสงอยู่ในระดับ 4 คือสีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และมีสีตกเล็กน้อย เป็นค่าที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน มอก.121
ประโยชน์ในการรับประทานเห็ดที่ถูกต้องอีก 1 วิธี โดยนำมาผลิตเอนไซม์ปรับสมดุลให้ร่างกาย
การผลิตเอ็นไซม์จากเห็ด
ถึงจะได้ชื่อว่า ‘เห็ดเป็นยา’ ก็ตาม แต่ถ้าจะให้ดีพอ หรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการทำหน้าที่เป็นยา ต้องผสมสมุนไพรตัวอื่นเข้าไปช่วยเสริมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และส่วนใหญ่สรรพคุณทางยาของเห็ดขึ้นอยู่กับการจับตัวกันของน้ำตาลเพนโตส ที่เรียกว่า Polysaccharide of pentose ซึ่งสารประกอบนี้แม้แต่เส้นใยเห็ดเองยังไม่สามารถย่อยสลายได้ ร่างกายของมนุษย์ก็จะดูดซึมเอาไปใช้ได้ยากเช่นกัน จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยสมุนไพรตัวอื่นเป็นตัวช่วยในการย่อยสลายหรือจุลินทรีย์ที่สร้างเอ็นไซม์ช่วยย่อยเสียก่อน มนุษย์เรา นำเห็ดมาปรุงอาหารรับประทาน แต่ก็ทำลายเอ็นไซม์ด้วยความร้อนสารพัดแบบ ไม่ว่าจะด้วยความร้อน จากเตาไมโครเวฟ เตา ตากแดด ฉายแสง ล้วนแต่ไปทำลายเอ็นไซม์ช่วยย่อยในอาหารทั้งสิ้น เมื่อรับประทานอาหารเหล่านั้นเข้าไป อาหารก็ไม่สามารถถูกย่อยได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้เอ็นไซม์ที่ถูกสร้างขึ้นมาซึ่งมีอยู่จำกัด ใช้ในการลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดเอ็นไซม์ ก็จะสะสมของเสียมากมาย อันได้แก่ น้ำตาลสะสมในเส้นเลือด ก็จะกลายเป็นเบาหวาน กรดยูริคตามข้อต่อ ก็จะเป็นเกาท์ ไขมันในเส้นเลือดก็จะเป็นความดันและโรคหัวใจหรืออาหารบางอย่างไม่ถูกย่อยสลาย ก็จะกลายเป็นอนุมูลอิสระ เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ให้เป็นเซลล์มะเร็งได้
ดังนั้น ก่อนที่จะรักษาโรคใดๆ ก็ตามสิ่งที่จะต้องทำคือ ปรับสมดุลในร่างกายเป็นลำดับแรกโดยปรับปริมาณเอ็นไซม์ในร่างกายทุกส่วนให้เพียงพอเสียก่อน กรรมวิธีง่ายๆ ในการผลิตเอ็นไซม์ที่ผู้เขียนนำเสนอไว้นี้ จะช่วยให้เราสามารถผลิตเอ็นไซม์ได้เอง โดยไม่ต้องไปสั่งซื้อเอ็นไซม์ราคาแพงจากต่างประเทศมาใช้
กรรมวิธีผลิตเอ็นไซม์ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าสูง มีดังนี้
การทำเอ็นไซม์น้ำ (สูตรที่ 1)
ส่วนผสม
- หัวเชื้อเห็ดที่เพาะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง 100 กรัม
- รำละเอียด (หากเป็นรำข้าวสาลีได้ยิ่งดี) 30 กรัม
- แป้งข้าวเหนียว 20 กรัม
- นมผง 20 กรัม
- น้ำสะอาด 100 ซีซี
- จุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 1 ช้อนแกง
วิธีทำ
- นำเอาส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันเป็นอย่างดี แล้วนำใส่ในภาชนะแก้ว หรือสเตนเลส ประมาณ 24-36 ชั่วโมง ก็จะได้เอ็นไซม์สูงสุด สามารถนำเอาไปใช้เป็นเอ็นไซม์สด หรือแปรรูปให้แห้งในสภาพเย็นดังได้กล่าวมาแล้ว
วิธีรับประทาน
โดยปกติหากจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่สุกเข้าไปในร่างกายนั้น ควรดื่มเอ็นไซม์สดก่อนรับประทานอาหารเล็กน้อย ในปริมาณ 1-2 ช้อนชา ก็เพียงพอแล้ว
หมายเหตุ จุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สามารถรับประทานได้ ส่วนใหญ่ได้มาจากการแยกเชื้อบริเวณรากต้นโกงกาง ส่วนหัวเชื้อเห็ดนั้น ควรใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์ที่มีคุณสมบัติเป็นยา อันได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดหลินจือ เห็ดหัวลิง เห็ดจิก เห็ดเค้ง เห็ดโคน เป็นต้น จะใช้หัวเชื้อเห็ดชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือใช้หัวเชื้อหลายชนิดรวมกันก็ได้ หรือจะใส่ดอกเห็ดที่บดให้เป็นผงละเอียดเข้าไปก็ได้
ในกรณีที่เป็นการทำเอ็นไซม์จากเห็ดเพื่อเป็นการรักษาโรคเฉพาะอย่างนั้น ก็ทำได้เช่นเดียวกันเพียงแต่ให้เน้นใส่หัวเชื้อเห็ด รวมทั้งดอกเห็ดที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคนั้นเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่นใช้รักษา
โรคความดันโลหิตสูง ให้ใช้หัวเชื้อเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดโคนชนิดใดชนิดหนึ่งหรือใช้รวมกันก็ได้
โรคมะเร็งปากมดลูก ควรใช้หัวเชื้อเห็ดแครง
โรคมะเร็งตับ ใช้หัวเชื้อเห็ดหลินจือ เห็ดกระถินพิมาน เห็ดจิก เห็ดเค้ง เห็ดขาม เห็ดขอนหลากสี เห็ดขอนช้อนซ้อม
โรคมะเร็งปอด ใช้หัวเชื้อเห็ดหัวลิง เห็ดกระดุมบราซิล
โรคเบาหวาน ให้ใช้หัวเชื้อเห็ดกระดุมบราซิล เห็ดพิมาน เห็ดแครง เห็ดขอนขาว เห็ดขอนหลากสี เห็ดขอนช้อนซ้อม เห็ดหลินจือ
โรคเกาท์ ให้ใช้หัวเชื้อเห็ดแครง เห็ดกระดุมบราซิล เห็ดพิมาน เห็ดขาม เห็ดหลินจือ
การทำเอ็นไซม์น้ำ (สูตรที่ 2)
ส่วนผสม
- ใช้ทั้งหัวเชื้อเห็ด ดอกเห็ด 1 กิโลกรัม
- ผักสดหรือผลไม้สด 1 กิโลกรัม
- น้ำ 8 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม
- หัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ ยูเอ็ม 92 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
ให้ทำการสับหรือบดหัวเชื้อเห็ด ดอกเห็ด ผักและผลไม้ พร้อมทั้งใส่น้ำตาลเข้าไปด้วย แล้วจึงเติมน้ำและหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าไป นำไปหมักในขวดโหล หรือภาชนะเคลือบเช่น ไห หรือโอ่งมังกร หรือหม้อสเตนเลส (ไม่ควรใช้ถังพลาสติก เพราะอาจจะมีสารพิษจากพลาสติกละลายออกมาขณะทำการหมัก) ทำการคนทุกวันบ่อยครั้งได้ยิ่งดี หรือใช้เครื่องเป่าอากาศในตู้ปลา เพื่อเป่าอากาศเข้าไปกระตุ้นขบวนการหมัก ใช้เวลาหมักประมาณ 20-30 วันขึ้นไปหรือสังเกตจากไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้น วัสดุหมักเริ่มจมและมีกลิ่นและรสเปรี้ยวคล้ายน้ำส้มสายชูแล้ว ก็สามารถนำเอามาใช้ได้หากใช้ไม่หมด สามารถปล่อยให้ทำการหมักต่อไปได้ แต่เอ็นไซม์ที่มีประโยชน์บางตัวจะเสื่อมสลายไปดังนั้นเมื่อทำการหมักได้ที่แล้ว ควรกรองเอาแต่น้ำ นำไปแช่ในตู้เย็นไว้จะดีกว่า
การที่จะทำเอ็นไซม์น้ำรักษาโรคต่างๆ นั้น ขอให้พิจารณาการใช้หัวเชื้อเห็ดหรือดอกเห็ดที่มีสรรพคุณทางยารักษาโรคนั้นเป็นสำคัญดังได้กล่าวมาแล้ว (ได้รับอนุเคราะห์ข้อมูลจาก ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเห็ดจากองค์การสหประชาชาติ ปี 2524-2548)
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(ดัดแปลงข้อมูลจาก http://www.greenpeace.org, http://www.crdc.kmutt.ac.th, http://puechkaset.com)ww.nakaintermedia.com, http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=2087, http://www.kruamoomoo.com, http://www.thaikasetsart.com, https://farmhet.wordpress.com)