การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และปัญหาจากการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก จะเป็นกลุ่มไส้เดือนดินแดง เพราะไส้เดือนดินกลุ่มนี้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุสูง และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่วนไส้เดือนดินกลุ่มสีเทานั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ย เพราะไม่สามารถผลิตอินทรียวัตถุในปริมาณมากได้ และมีการขยายพันธุ์ในอัตราที่ต่ำ
การย่อยสลายอินทรียวัตถุที่เป็นของเสีย
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก จะเป็นกลุ่มไส้เดือนดินแดง เพราะไส้เดือนดินกลุ่มนี้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุสูง และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่วนไส้เดือนดินกลุ่มสีเทานั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ย เพราะไม่สามารถผลิตอินทรียวัตถุในปริมาณมากได้ และมีการขยายพันธุ์ในอัตราที่ต่ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุที่เป็นของเสีย ไส้เดือนดินจะกินจุลินทรีย์ที่เติบโตบนของเสียเป็นอาหาร และขณะเดียวกันก็ช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ มูลไส้เดือนดินจึงร่วนไม่เกาะตัว และมีจำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นกว่าที่กินเข้าไป ขบวนการย่อยอาหารของไส้เดือนดินจึงเป็นพื้นฐานของขบวนการทำปุ๋ยหมัก ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ได้ผลสำเร็จมีไม่กี่สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ไทเก้อร์, เรด ไทเก้อร์, แอฟฟริกัน ครอว์เล่อร์ เป็นต้น
วิธีการใช้ปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน กับวัสดุปลูกพืชในกระถาง-แปลงปลูก
วิธีที่ 1 ดินดำ 3 ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน
วิธีที่ 2 ดินร่วนปนทราย 1 ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน
วิธีที่ 3 ดินดำ 3 ส่วน
แกลบดำ 1 ส่วน
ใบก้ามปูผุ 1 ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน
วิธีที่ 4 ดินดำ 3 ส่วน
ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
เปลือกถั่ว 1 ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน
วิธีที่ 5 ดินร่วนปนทราย 3 ส่วน
ขุยมะพร้าว 2 ส่วน
ใบก้ามปู 2 ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 2 ส่วน
วิธีที่ 6 ดินร่วนปนทราย 3 ส่วน
แกลบดำ 2 ส่วน
เปลือกถั่ว 2 ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 2 ส่วน
วิธีที่ 7 แกลบดำ 1 ส่วน
ทรายหยาบ ½ ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 2 ส่วน
วิธีที่ 8 ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
ทรายหยาบ ½ ส่วน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 2 ส่วน
การเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดที่ใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
มีการทดสอบนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายขยะอินทรีย์ โดยใช้ไส้เดือนดินในการปลูกพืชหลายชนิด เช่น การนำมาผลิตไม้ดอกชนิดต่างๆ ภายในโรงเรือน รวมทั้งพืชสวนและพืชไร่ชนิดอื่นๆ ภายในฟาร์ม ซึ่งตัวอย่างของพืชที่ปลูกได้ผลดีในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินได้แก่ มะเขือ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี คะน้า สะระแหน่ พริก ดอกรักเร่ โพลีแอนทัส เบญจมาศ ซัลเวีย พิทูเนีย ข้าว ข้าวโพด และพืชปลูกชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งพบว่าที่ปลูกในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเหล่านี้ จะสามารถเจริญเติบโตได้เร็วและออกดอกได้เร็วกว่าปกติ ส่วนการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมาเป็นวัสดุเพาะกล้านั้น เมล็ดสามารถงอกได้รวดเร็วกว่าวัสดุเพาะกล้าทางการค้าชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ในการย้ายกล้าไปปลูกในกระถางปลูกที่มีขนาดใหญ่หรือปลูกในแปลงปลูก พบว่า ต้นกล้าที่เพาะในวัสดุเพาะกล้าที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะเจริญเติบโตดีกว่าต้นกล้าที่เพาะในวัสดุปลูกทางการค้าทั่วไป นอกจากนี้ ในการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตได้จากมูลสัตว์ มาใช้เป็นวัสดุเพาะกล้าโดยอัดเป็น ‘บล็อก’ สำหรับเพาะกล้าพืช เมื่อต้นกล้าโตขึ้นก็ย้ายไปปลูกในแปลงปลูกได้ทันที การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน สำหรับพื้นที่ทางการเกษตรประเภทอื่นๆ ปริมาณการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินกับผลผลิตการเกษตร ให้พิจารณาจากปริมาณของอินทรียวัตถุ, ปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน และโครงสร้างดิน และการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแต่ละครั้งความเพิ่มความชื้นในดินบริเวณนั้นด้วยทุกครั้งเพื่อให้ได้ผลดีในดิน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ปรับปรุงพื้นที่ทางการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเติมมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักลงไปในแปลงเพาะปลูกเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินประมาณปีละ 1-2 ครั้ง ก่อนทำการเพาะปลูกพืช ซึ่งการเติมมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักลงในดิน ยังมีผลทำให้จำนวนประชากรของไส้เดือนดินเพิ่มสูงขึ้นด้วย ไส้เดือนดินสามารถผลิตมูลได้ประมาณปีละ 4 ลิตร ต่อตัว ดังนั้นในการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินหรือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ไส้เดือนดินมาอาศัยอยู่ก็สามารถปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นได้
***ทุกครั้งหลังการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้วควรคลุมดินด้วยเศษหญ้า ฟางข้าว หรือเศษไม้ที่ร่วงอยู่ใต้ต้น แล้วรดด้วยน้ำหมักมูลไส้เดือนดินบนเศษหญ้าหรือใบไม้ที่คลุกให้เปียกชุ่ม ซึ่งจะสามารถเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรงดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วย***
ปัญหาการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ เศษวัสดุที่ใช้ในกระบวนการหมักโดยใช้ไส้เดือนดิน จะไม่ผ่านสภาวะที่มีอุณหภูมิสูงเหมือนกับกระบวนการหมักปุ๋ยโดยทั่วไป ดังนั้นถ้าเศษวัสดุที่มีเชื้อโรคพืชปะปนอยู่ เมื่อนำมาใช้ใส่ให้กับต้นพืช และต้นพืชที่ปลูกไม่แข็งแรง อาจก่อโรคกับพืชที่ปลูกได้ ในการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เมื่อผ่านขั้นตอนการนำขยะอินทรีย์มาให้ไส้เดือนดินย่อยสลายแล้ว จะมีส่วนประกอบของน้ำกว่า 75% ต้องนำผลผลิตที่ได้มาระเหยน้ำออกเพื่อลดความชื้นให้เหลือน้ำประมาณ 30% แล้วจึงนำผลผลิตที่ได้มาทำให้ปลอดเชื้อโรค โดยให้ความร้อนระหว่าง 60-80 องศาเซลเซียส นาน 14 ชั่วโมง หรือผ่านเปลวไฟก็สามารถฆ่าไส้เดือนดินและโคคูนที่หลงเหลืออยู่ รวมทั้งฆ่าแมลงหรือเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคพืชได้
แต่ถ้าขยะอินทรีย์ที่นำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินประกอบด้วยเชื้อที่ก่อโรคกับมนุษย์ ให้นำขยะอินทรีย์เหล่านั้นมาทำให้เหมาะสมก่อน 3-4 วัน เพื่อให้ปลอดเชื้อเหล่านั้นและก่อนนำมูลไส้เดือนดินที่ได้ไปใช้ ควรจะเติมแมกนีเซียมเพื่อปรับปรุงการขาดแคลนแมกนีเซียมและปรับค่าพีเอช(pH) โดยการเติมพืชหรือวัสดุที่มีค่าพีเอสเป็นกรดเพื่อปรับค่าพีเอชให้มีระดับประมาณ 6.0 เพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่