ปลูกลิ้นจี่อย่างไร ให้ลดต้นทุน ผลผลิตเพิ่มขึ้น
เทคนิคการปลูกลิ้นจี่ ให้ลดต้นทุน แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น
หากเดิมมีการปลูกลิ้นจี่ไว้อยู่แล้ว แต่ว่าให้ผลผลิตน้อย มีราคา หรือคุณภาพไม่ค่อยดี ให้ใช้วิธีการปลูกเพิ่มเข้าไปตามเทคนิคในบทความนี้ โดยยังไม่ต้องตัดต้นลิ้นจี่เก่าทิ้งรอจนกว่าต้นใหม่จะเจริญเติบโตจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อน แล้วค่อยตัดหรือโค่นต้นลิ้นจี่เก่าทิ้งนะครับ 🙂 แต่ถ้าเพิ่งหันมาสนใจปลูกลิ้นจี่ หรือเริ่มทำสวนลิ้นจี่ ก็มาเริ่มอ่านวิธีการปลูกได้เลยครับ
การปลูกลิ้นจี่ ควรจะปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกลิ้นจี่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีดังนี้
1. ดิน ดินที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของลิ้นจี่ ควรเป็นดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุมาก ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ถึงเป็นกลาง คือ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 5-6 และต้องมีการระบายน้ำ ดีและควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 400 เมตรโดยเฉพาะพันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ กิมเจ็ง และ พันธุ์จักรพรรดิ
2. อากาศ อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและออกดอกติดผลของลิ้นจี่ควรมีอากาศเย็นในฤดูหนาว และไม่มีอากาศร้อนจัดคืออุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และในช่วงก่อนดอกต้องการอุณหภูมิต่ำ กว่า 15 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง หรือต่ำ กว่า 10 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงเมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลแห้งและแตกได้
3. ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลิ้นจี่ มี 2 ระยะ คือความชื้นในระยะก่อนออกดอกควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นในระยะติดผลจะอยู่ในช่วง 80-100 เปอร์เซ็นต์
การเตรียมพื้นที่ปลูกลิ้นจี่
พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มจำเป็นต้องยกร่อง ควรยกแปลงให้มีความกว้างของแปลงอย่างน้อย 6 เมตร ร่องลึก 1 เมตร กว้าง 2 เมตร เพื่อระบายน้ำในฤดูฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ตอนฤดูแล้ง
พื้นที่ดอน ควรจะปรับพื้นที่ให้เรียบ เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน แต่ถ้าพื้นที่มีความลาดชันมาก ควรจัดทำแนวชั้นบันได หรือปรับระดับบริเวณหลุมปลูก
ระยะปลูก ลิ้นจี่ใช้ระยะปลูกระหว่าง 8×8 เมตร ถึง 10×10 เมตร ในพื้นที่ยกร่อง ขนาดของร่องจะบังคับระยะไว้ 8 เมตร ส่วนในพื้นที่ดอนระยะปลูกขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินไม่ดีให้ปลูกถี่ ถ้าดินดีให้ปลูกห่าง
การเตรียมการปลูกลิ้นจี่
การเตรียมหลุมปลูก ในพื้นที่ลุ่มควรชุดหลุมในแนวตรงบนแปลงขนาด กว้างxยาวxลึก ประมาณด้านละ 50 ถึง 80 เซนติเมตร โรยปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อหลุม หรือประมาณ 2-3 กำมือ คลุกให้เข้ากันแล้วกลบลงหลุมโดยให้ดินบริเวณปากหลุมสูงกว่าดินเดิมประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่ดอนขุดหลุมในแนวตรง กว้าง ยาวและลึกประมาณ 50-80 เซนติเมตร และเตรียมหลุมเช่นเดียวกันกับการเตรียมหลุมในที่ลุ่ม
การเตรียมกิ่งพันธุ์ ควรจะเตรียมกิ่งตอนไว้ล่วงหน้าให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงตั้งตัวได้แล้ว โดยเลี้ยงไว้ในเรือนเพาะชำก่อนค่อยนำลงปลูกในหลุม
การเตรียมไม้หลักพยุงและร่มเงา ไม้หลักพยุง ใช้ไม้ไผ่หรือไม้ที่แข็งแรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ส่วนร่มเงา ใช้เพิงหรือกิ่งไม้ที่ใบไม่ร่วง เช่น ทางมะพร้าวบังแดดด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
ขั้นตอนการปลูกลิ้นจี่
1. นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกกลางหลุม หากใส่ภาชนะปลูกไว้ ต้องนำกิ่งพันธุ์ออกจากภาชนะปลูกก่อน
2. การปลูกควรให้ระดับดินบนภาชนะปลูกอยู่เท่ากับระดับดินในแปลง กลบดินโดยรอบ กดให้แน่น
3. หลังจากนั้นให้ใช้ไม้หลักที่เตรียมไว้ปักใกล้ๆ กับกิ่งพันธุ์ และผูกเชือกพยุงตัวไว้เพื่อให้ต้นตั้งตรง
4. บังด้วยร่มเงาที่เตรียมไว้
5. ขั้นตอนสุดท้าย รดน้ำ
การปลูกไม้บังลม
ในแหล่งที่มีลมแรงควรเตรียมการปลูกไม้บังลมไว้ก่อนโดยพิจารณาถึง
1. ทิศทางลม
2. ชนิดไม้บังลมที่จะปลูกควรโตเร็ว กิ่งก้านน้อย ทรงสูง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะต้านทานลมได้ดี เช่น ไม้ไผ่รวก
3. ปลูกให้ห่างจากแถวลิ้นจี่ อย่างน้อย 6 เมตร
4. การปลูกไม้บังลม ปลูก 2 แถว สลับฟันปลา และควรปลูกไม้บังลมก่อนปลูกลิ้นจี่ 1 ปี เป็นอย่างน้อย ไม้บังลมจะมีกี่แนวขึ้นอยู่กับระยะความยาวของสวนกับความสูงของไม้บังลม
การปฏิบัติดูแลรักษาหลังปลูก
การให้น้ำ ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้าฝนตกหนักควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีน้ำขังต้องพูนดินเพิ่ม แต่ถ้าหากฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ
1. ลิ้นจี่อายุ 1-3 ปี ในฤดูแล้งให้น้ำสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง(ตามสภาพอากาศ)
2. ลิ้นจี่ต้นที่ให้ผลผลิตแล้วในฤดูแล้งต้องให้น้ำสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 3-4 ครั้ง แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก่อนออกดอกควรงดการให้น้ำ หากมีฝนตกต้องทำทางระบายน้ำออกจากแปลง โดยเน้นบริเวณโคนต้นให้โปร่งเพราะต้องการความชื้นน้อย เพื่อเพิ่มความเครียดให้ต้นลิ้นจี่ (ช่วยให้ออกดอกได้ง่ายขึ้น) ในระยะก่อนการ ออกดอก หลังจากสังเกตเห็นเริ่มแทงช่อดอกลักษณะเป็นเขี้ยวเล็กๆ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ควรเริ่มให้น้ำ โดยเริ่มให้ในปริมาณที่น้อยและให้บริเวณรอบนอกของทรงพุ่มต่อจากนั้นค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำและให้น้ำในทรงพุ่มมากขึ้น โดยให้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรงดให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 7-10 วัน
3. ปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อดินขนาดของทรงพุ่มและวิธีการให้น้ำ
3.1 การให้น้ำทางใต้ผิวดิน เป็นการให้น้ำโดยยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้นจนถึงระดับที่รากสามารถดูดไปใช้ ได้ เช่น การยกร่องปลูก ฯลฯ วิธีนี้เหมาะสำหรับ พื้นที่ลุ่ม ที่เป็นดินร่วนค่อนข้างเหนียวใกล้แหล่งชลประทาน(คลอง,แม่น้ำ)
3.2 การให้น้ำทางผิวดิน คือ ปล่อยให้น้ำขังหรือปล่อยให้ไหลไปตามผิวดิน การให้น้ำแบบนี้จะต้องปรับพื้นที่ให้เรียบและมีความลาดเทเล็กน้อย (ประมาณ 2%) รดน้ำโดยการใช้สายยาง สูบน้ำจากแหล่งน้ำและลากสายยางรดตามต้น วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำมาก ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานน้อย
3.3 การให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เป็นการให้น้ำโดยผ่านทางท่อด้วยแรงดันและให้น้ำพ่นเป็นฝอยทางหัวฉีดบริเวณ ทรงพุ่ม วิธีนี้จะประหยัดน้ำกว่าการให้น้ำแบบที่ 3.2 ทำได้รวดเร็วสม่ำเสมอและใช้แรงงานน้อย แต่การลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง
การให้ปุ๋ย
1. การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)
- ทางดิน
– ปีแรก ถึง ปีที่ 3 ให้ใช้ “ยักษ์เขียว” สูตร 1 (แถบทอง) อัตราประมาณ 200-300 กรัม/ต้น(ประมาณ 1-2 กำมือ) ใส่สลับกับการใช้ปุ๋ย สูตร 25-7-7 หรือ สูตรเสมอ 15-15-15 (ใส่ในสัดส่วน ยักษ์เขียว 2 ครั้ง สลับปุ๋ยเคมี 1 ครั้ง ใน 1 ปี จะใส่ปุ๋ยรวมทั้งหมดประมาณ 8-9 ครั้ง) โดยระยะเวลาใส่ปุ๋ยให้ห่างกันประมาณ 30-45 วัน สำหรับปริมาณการใส่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม และระยะเวลา เมื่อปฎิบัติตามข้างต้น เกษตรกรก็จะได้ต้นลิ้นจี่ที่มีสภาพสมบูรณ์มาก และสามารถไว้ผลผลิตได้เร็ว
- ทางใบ
– ตั้งแต่เริ่มปลูกปีแรก ถึง ปีที่ 3 ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 cc ต่อ น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 15-30 วัน หรือทุกช่วงที่ต้องการให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อน จะทำให้ต้นลิ้นจี่มีการแตกทรงพุ่มดี ใบใหม่ที่ได้มีคุณภาพ และป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลาย
2. การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุ 4 ปีขึ้นไป)
ระยะที่ 1 หลังการเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยในเดือนมิถุนายน เพื่อฟื้นฟูสภาพต้น และบำรุงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ โดย ทางดิน แบ่งใส่เป็น 3 ครั้ง ดังนี้
– ครั้งที่ 1 หลังตัดแต่งกิ่งแล้วให้ใส่ “ยักษ์เขียว” สูตร 1 (แถบทอง) อัตราส่วน 1 ถึง 1.5 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยว และให้ต้นสร้างใบชุดใหม่
– ครั้งที่ 2 หลังจากนั้น 30 วัน ใส่ “ยักษ์เขียว” สูตร 1 (แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น อีกหนึ่งครั้ง
– ครั้งที่ 3 ในช่วงปลายฤดูฝน สำหรับต้นลิ้นจี่ที่มีการติดผลดกในฤดูกาลที่ผ่านมานั้นแนะนำให้ใส่เสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น อีกหนึ่งครั้ง เพื่อให้ต้นลิ้นจี่มีสภาพสมบูรณ์เต็มที่พร้อมจะให้ดอกติดผลได้ดี
ทางใบ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-14 วัน จนกระทั่งใบใหม่ที่ได้เพสลาด (เพสลาด หมายถึง ช่วงใบอ่อนของต้นไม้ที่เริ่มจะเปลี่ยนเป็นใบแก่) จะทำให้ได้ใบใหม่ที่มีคุณภาพ ป้องกันแมลงรบกวน พร้อมสำหรับการเตรียมต้นในระยะต่อไป
ระยะที่ 2 การให้ปุ๋ยในระยะนี้มีวัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นการเตรียมต้นลิ้นจี่ให้พร้อมที่จะออกดอกในฤดูกาล (ประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม)
ทางดิน ก่อนช่วงติดดอกของทุกปี ประมาณ 30 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสะสม เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้น โดยใช้ หรือ สูตร 8-24-24 อัตราส่วน ต้นละ 0.5 กิโลกรัม (2-3 กำมือ) แล้วรดน้ำ ตาม 1-2 ครั้ง เพื่อให้เนื้อปุ๋ยละลาย แล้วจึงเริ่มงดน้ำ
ระยะที่ 3 เมื่อลิ้นจี่เริ่มแทงตาปลายาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร)
ทางใบ ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 cc ต่อ น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7-10 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จนกระทั่งดอกบาน จะทำให้ ช่อยาว ขั้วเหนียว เปอร์เซ็นต์การติดผลดี และยังช่วยป้องกันแมลงเข้าทำลายช่อดอกได้
ระยะที่ 4 การให้ปุ๋ยในระยะติดผล เพื่อเร่งขนาดผล สร้างเนื้อ ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี โดยเริ่มให้ปุ๋ย เมื่อลิ้นจี่ติดผลโตขนาด 5 มิลลิเมตร(เท่าเม็ดข้าวโพด)
ทางดิน
– ครั้งที่ 1 ใส่ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตราส่วน 1 ถึง 1.5 กิโลกรัมต่อต้น
– ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30-45 วันหรือเมื่อเมล็ดเริ่มแก่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 อัตรา 0.5 ถึง 1 กิโลกรัมต่อต้น
– ครั้งที่ 3 หากลิ้นจี่ติดผลดกมาก แนะนำให้เสริมด้วยการใส่ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อต้น ก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 20-30 วัน อีกครั้งหนึ่ง
ทางใบ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) เมื่อผลโตเท่าเม็ดข้าวโพด อัตรา 50 cc ต่อ น้ำ 20 ลิตร ร่วมกับอาหารเสริมรวมคีเลท อัตรา 5 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 10-14 วัน ทำให้ผลที่ได้มีขนาดใหญ่สม่ำเสมอกัน เนื้อแน่น ทนต่อการขนส่ง และเก็บรักษา
หมายเหตุ ช่วงแทงช่อดอก และช่วงติดผลจนถึงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ให้ใช้ แคลเซียมโบรอน “แคล-แม็ก” อัตราส่วน 20 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันการแตก ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว
การควบคุมวัชพืช
ควบคุมวัชพืชโดยใช้วิธีขุด ถาก ถอน หรือตัด งดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะจะกระทบกระเทือนกับรากลิ้นจี่ อีกทั้งละอองสารเคมีอาจจะไปทำลายต้นลิ้นจี่ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตต่ำ
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ในช่วงที่แตกใบอ่อน ควรตรวจสอบ และฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ทำลายใบอ่อน
การตัดแต่งกิ่ง
ควรเลี้ยงให้มีลำต้นกลางเพียงต้นเดียวและไว้กิ่งแรกสูงจากพื้นดินประมาณ 40-80 เซนติเมตร และตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งน้ำค้าง กิ่งแขนงเล็กๆ ด้านในทรงพุ่ม กิ่งไขว้ ตลอดจนกิ่งที่ทำมุมแคบออกและควรทารอยแผลที่ตัดด้วยปูนแดง
การบังคับให้ลิ้นจี่ออกดอกโดยการควั่นกิ่ง
การควั่นกิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้กิ่งมีการเก็บสะสมอาหารมากขึ้น ระยะที่เหมาะสมในการควั่นกิ่ง คือ ช่วงที่ต้นลิ้นจี่นั้นแตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 (ช่วงเดือนตุลาคม) กิ่งที่ควั่น ควรเป็นกิ่งที่มีส่วนกลมมากที่สุด การเลือกขนาดกิ่งจะเลือกตามอายุต้นลิ้นจี่ ดังนี้
1. อายุ 4-6 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 ถึง 2 นิ้ว
2. อายุ 7-10 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ถึง 3 นิ้ว
3. อายุ 11-15 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ถึง 8 นิ้ว
วิธีการควั่นกิ่ง
ใช้เลื่อยโค้งเล็กขนาด 1 มิลลิเมตร เลื่อยให้ทะลุเปลือกตัดเยื่อเจริญโดยรอบแล้วใช้ลวดทองแดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร รัดแล้วใช้คีมดึงขันลวดให้แน่นสนิทกับรอยเลื่อย หลังจากนั้นประมาณ 30-40 วัน สังเกตดูจะเห็นส่วนบนของรอยควั่นจะโตกว่าส่วนล่างเล็กน้อยจึงแก้ลวดมัดออก
ตำแหน่งกิ่งที่ไม่ควรควั่น
– ตำแหน่งลำต้น
– ตำแหน่งกิ่งใหญ่
ข้อเสียของการควั่นกิ่งที่ไม่ถูกวิธี
1. ควั่นกิ่งที่โต หรือลำต้น ทำให้กิ่งหรือต้นตายได้
2. ควั่นโดยใช้เลื่อยโต ผิดขนาดแผลใหญ่ ทำให้แผลหายไม่สนิทหลังติดผลต้นจะโทรม
3. ใช้ลวดโตเกินไป ทำให้เกิดบาดแผลลึก ต้นจะโทรม
4. ช่วงระยะเวลาบังคับนานเกินไป ทำให้แผลมีขนาดใหญ่
5. ควั่นกิ่งขณะที่แตกใบอ่อน ทำให้ใบไม่สมบูรณ์เป็นโรคง่าย
การห่อผล
เมื่อผลลิ้นจี่เริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดงเรื่อๆ หรือเริ่มจะแก่หรือก่อนเก็บเกี่ยว 20-25 วัน ควรห่อผลใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก (ตัดปลายถุง) ห่อทั้งช่อผล ผูกปากถุงกับโคนก้านช่อให้แน่น ให้ผลทั้งช่ออยู่ในถุง
วิธีการสังเกตผลแก่
เมื่อผลลิ้นจี่แก่ คือ หลังจากดอกบานประมาณ 4 เดือน หรือสังเกตจากขนาดผลโตเต็มที่ สีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีชมพูปนแดง ไหล่ผลกว้างออก ฐานของหนามที่เปลือกจะขยายออกปลายหนามแหลม ร่องหนามถ่างออกเห็นได้ชัด เนื้อแห้ง กลิ่นหอม รสหวาน เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มเป็นมัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่