การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ไว้กินหรือบริโภคในครัวเรือน หรือเป็นรายได้เสริมนั้น สามารถปลูกได้ทุกชนิด แต่ถ้าปลูกเป็นเชิงการค้าแล้ว เกษตรกรควรคำนึงถึง :
1. อายุเก็บเกี่ยว—วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วสามารถปลูกพืชต่อได้ทันที ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นมาปลูก ในระยะเวลา 1 ปี ก็จะมีการเพาะปลูกได้หลายรอบกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน
2. ราคาผลผลิต—ปัจจุบันผักปลอดสารพิษ, ผักนอกฤดู และผักที่ปลูกทดแทนการนำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็ไม่ต้องไปแข่งขันกับผักที่ปลูกในดินที่มีต้นทุนต่ำกว่าให้มากนัก ถึงแม้ว่าราคาผักของพืชที่ปลูกในดินจะต่ำกว่าด้วยก็ตาม หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดผักที่ปลูกให้ยืดหยุ่นไปตามฤดูกาลและความต้องการของตลาด ก็เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง
3. ฤดูปลูก—ถ้าวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ดีกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน เช่น ใช้โรงเรือนในการเพาะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์—ไม่ต้องเสี่ยงต่ออากาศร้อน, ฝนตก, แมลง หรือว่า โรค เกษตรกรสามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ทุกฤดูกาล แล้วทำไมเกษตรกรจึงต้องเลือกชนิดผักโดยคำนึงถึงฤดูกาลด้วย? นั่นเป็นเพราะ ผักที่ไม่เหมาะจะปลูกในช่วงฤดูฝน จะมีผลผลิตน้อย ราคาผลผลิตจะสูงขึ้น ถ้าเกษตรกรเลือกนำมาปลูกในช่วงนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
อุปกรณ์ (วัสดุ เน้นต้นทุนต่ำ)
เมล็ดพันธุ์ : มี 2 แบบ
1. แบบเคลือบ เคลือบด้วยดินเหนียวเพื่อรักษาเมล็ดให้มีสภาพคงเดิม(ต้องเก็บไว้ในที่เย็นหรือตู้เย็น) งอกง่ายสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะเมล็ดมีขนาดใหญ่ หยิบง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญ แต่ราคาแพง
2. แบบไม่เคลือบ ราคาถูกกว่าแบบเคลือบ แต่อัตราการงอกน้อยกว่า เหมาะสำหรับผู้มีความชำนาญ
วัสดุปลูก : จะต้องเป็นที่ให้พืชยึดเกาะได้, สะสมน้ำ, อาหาร และอากาศได้
ควรเลือกภาชนะปลูกที่แข็งแรง ไม่ผุ ไม่เป็นอันตราย หาซื้อง่าย ราคาถูก(สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้บริโภคในครัวเรือน หรือธุรกิจเล็กๆ อาจจะใช้ใยมะพร้าว หรือวัสดุอื่นๆ เป็นวัสดุปลูกได้)
อุปกรณ์การเพาะ
- ฟองน้ำ 1×1 นิ้ว
- เพอร์ไลท์ หรือ เวอร์มิคูไลท์
- ถาดเพาะ
- ภาชนะที่ใช้รองถาดเพาะที่เป็นฟองน้ำ (เช่น โฟม)
- อุปกรณ์การปลูก
- กระถางปลูกขนาด 1 นิ้ว หรือภาชนะที่มีรู
- โฟม
- แบบเปิด ใช้พลาสติกคลุมโครงหลังคา แต่ด้านข้างไม่ได้กางมุ้ง เมื่อต้องการเน้นความโปร่ง อากาศถ่ายเท
- แบบปิด โดยใช้พลาสติกคลุมโครงหลังคา ด้านข้างกางมุ้งจะมีผลดีในฤดูฝน ผักไม่เน่า ใบไม่เป็นจุด และกันแมลงได้ทุกฤดูกาล
พลาสติกใส หน้ากว้าง 3 เมตร, 100ไมคอน, UV กันการกระแทกของน้ำฝน กันแดด
มุ้งไนล่อน หน้ากว้าง 3 เมตร #16ตา/นิ้ว กันแมลง
ซาแรน แนะนำให้ใช้ ซาแรนสีดำ ช่วยพรางแสงตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า
ซาแรนสีเทาเงิน ใช้พรางแสงได้ดีหลังการปลูกหรือเมื่อขึ้นโต๊ะปลูกแล้ว ราคาถูกกว่ซาแรนที่ทำจากประเทศอิสราเอลที่สะท้อนแสงได้ดีมาก
ไม่แนะนำให้ใช้ซาแรนสีเขียว เพราะสะท้อนแสงสีเขียวออกมา ผักไม่ต้องการแสงสีเขียวผักสะท้อนแสง สีเขียวออกมาอยู่แล้ว
อุปกรณ์โครงหลังคา
- เหล็ก
- ท่อ PVC
- ไม้
- แบบสำเร็จรูป (ต้นทุนสูง แต่สะดวก)
อุปกรณ์ราง
- กระเบื้องลอนคู่+โฟม มักใช้กับระบบ NFT น้ำไหลผ่านบางๆ
(กระเบื้องลอนคู่สามารถซื้อแบบมือสองเพื่อประหยัดต้นทุนได้) - โฟม ทำความสะอาดง่าย แต่ค่อนข้างสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะอายุการใช้งานสั้น
- แบบสำเร็จรูป มีราคาแพง
- ท่อ PVC
**สีฟ้า จะมีราคาถูกกว่า สีขาว แต่สีขาวป้องกันแสงได้ดีกว่า ช่วยลดความร้อนของท่อซึ่ง, ลดปัญหาโรครากเน่า
บ่อ ใช้อิฐบล็อกเพื่อเป็นการลดต้นทุนได้ หรือจะเลือกทำด้วยเหล็ก
โต๊ะ
- โครงไม้ สามารถประหยัดต้นทุนได้ด้วยการใช้ไม้มือสอง
- พื้นโต๊ะ ถ้าใช้สมาร์ท บอร์ด แผ่นเรียบ ดีกว่า ยิปซั่ม บอร์ดตรงที่ไม่อุ้มน้ำ ไม่ยุบตัว
- แรงดัน 2500ลิตร/ชั่วโมง (L/H) สำหรับชั้นบน
- แรงดัน 2000ลิตร/ชั่วโมง (L/H) สำหรับชั้นล่าง
ถังพัก ( พลาสติก ) หรือถังบรรจุน้ำสารละลายธาตุอาหาร
สารละลายธาตุอาหาร A + B หรือ ปุ๋ยแห้ง A + B นำมาผสมน้ำเอง แล้วใส่ภาชนะบรรจุที่ไม่โดนแสง
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อสดชนิดน้ำ
เครื่องวัดคุณภาพน้ำ เครื่อวัด EC ใช้วัดค่า pH, เครื่องวัด pH Drop Test 15มล.
การเพาะกล้า
สิ่งที่ต้องระวัง: การฝังเมล็ดในวัสดุปลูก หากฝังตื้นเกินไปเกิดความชื้นขึ้นกับเมล็ด ก็ไม่งอก หากฝังลึก
เกินไป เมล็ดก็เน่า ไม่งอกอีกเช่นกัน
เกษตรกรสามารถเลือกเพาะเมล็ดในฟองน้ำ หรือ ในเพอร์ไลท์+เวอร์มิคูไลท์ ได้ ซึ่งมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันดังนี้:
ฟองน้ำ
ข้อดี
- ราคาถูก
- เก็บเกี่ยวได้สะอาด
- เวลาตัดรากออกจะเสียน้ำหนักน้อย
- น้ำหนักเบา
ข้อเสีย
- ต้องใช้ความชำนาญในการหยอดเมล็ดพันธุ์
- ต้องรดน้ำให้ชุ่มฟองน้ำตลอด น้ำจะแห้งง่าย แต่ จะเน่าถ้ารดน้ำมากไป
- ดีสำหรับระบบ DRFT พอน้ำลดฟองน้ำแห้งโคน ไม่มีโรคเพอร์ไลท์
ข้อดี
- ไม่ต้องใช้ความชำนาญในการหยอดเมล็ดพันธุ์
- น้ำหนักมากกว่าฟองน้ำ
- รักษาความชื้นคงที่ได้ตลอด ไม่ต้องรดน้ำ
- โคนต้นไม่เน่าง่าย
ข้อเสีย
- ราคาแพง
- อาจมีเม็ดเพอร์ไลท์ติดผักไปเวลาเก็บเกี่ยว
- เสียน้ำหนักรากมากเวลาตัดถ้าน้ำแห้งจะดูดน้ำเอง ถ้าน้ำมากจะระบายน้ำออกเอง
สิ่งที่ควรระวัง : การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยฟองน้ำต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ และการจัดการที่มากกว่าและดีกว่าการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเพอร์ไลท์
เพื่อรักษาต้นทุน ไม่ให้สูงขึ้น จากการสูญเสียพืช ไม่ว่าจะเป็นการงอก การเน่า
ขั้นตอนการเพาะ
1. รดวัสดุปลูกก่อนเริ่มเพาะด้วยน้ำผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อช่วยป้องกันเมล็ดพันธุ์ไม่เกิดเชื้อรามีความต้านทานโรคสูงเมื่องอกออกมาแล้ว
2. ผักสลัด—แช่เมล็ดในน้ำเย็นประมาณ 15-20 นาทีก่อนนำไปเพาะเพื่อกระตุ้นการงอก ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดควรจะเป็นในช่วงเย็น หรือกลางคืน เพราะอากาศเมืองไทยค่อนข้างร้อน
3. ผักไทย-จีน—มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง ควรนำเมล็ดไปแช่น้ำอุ่นก่อนประมาณ 1 คืน คัดเมล็ดที่ลอยน้ำออกเพราะเป็นเมล็ดที่เสื่อมสภาพ
4. พืชตระกูลแตง—เช่น แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง ให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อน 3-4 ชั่วโมง แล้วห่อด้วยผ้าหรือกระดาษชุบน้ำไว้ประมาณ 1-2 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ต้องคอยระวังไม่ให้ผ้าที่ห่อเมล็ดแห้ง หลังจากงอกแล้วนำไปไว้ในวัสดุปลูกได้เลย ควรเลือกเวลาเพาะในช่วงที่อากาศร้อนเพราะพืชตระกูลนี้ชอบ จะทำให้งอกได้เร็ว
5. หยอดเมล็ดพันธุ์ (ลงในฟองน้ำ หรือเพอร์ไลท์ หรือวัสดุปลูกอื่น เช่น ใยมะพร้าว ระวังอย่าหยอดให้ลึกหรือตื้นเกินไป) หยอด 2-3 เมล็ดต่อ 1 ฟองน้ำสำหรับผักไทย แต่ถ้าเป็นผักสลัด หยอด 1-2 เมล็ดต่อ 1 ฟองน้ำ การหยอดเมล็ดพันธุ์จำนวนไม่เท่ากัน จะทำให้ผักใหญ่ไม่เท่ากัน แต่ถ้าหยอด 1 เมล็ดก็มีความเสี่ยง เสียเวลา เพราะมีโอกาสงอกน้อย การงอกของเมล็ดพันธุ์ทุกชนิด ไม่มี 100% ส่วนใหญ่อัตราการงอกอยู่ที่ 80-90%
ถ้าเลือกใช้เพอร์ไลท์ในการเพาะเมล็ด ควรใส่เพอร์ไลท์ต่ำกว่าขอบถ้วยเพาะ 1 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร
6. นำภาชนะที่ทำการหยอดเมล็ดพันธุ์เสร็จแล้ว วางในกระบะเพาะ หรือภาชนะที่ใส่น้ำได้สูงประมาณ 2 เซนติเมตร วางไว้ในที่ร่ม ระบายอากาศได้ดี มีวัสดุกันแดด กันฝน กันลม ให้น้ำโดยการสเปรย์เบาๆ ให้ชุ่มทุกเช้า และเย็น
การปลูก
เมื่อเมล็ดงอก เริ่มให้สารละลายธาตุอาหารผ่านรากในถาดเพาะก่อน แต่ควรเป็นแบบเจือจาง เปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารสัปดาห์ละครั้งเพื่อให้รากแข็งแรง (ต้นอ่อนรับแสงรำไร ไม่ร้อนจัดได้) จนกระทั่ง ต้นพืชมีใบอ่อนได้ประมาณ 3 ใบ หรือมีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็มาถึง
ขั้นตอนการปลูก
นำต้นอ่อนลงรางปลูกโดยการสอดต้นอ่อนด้านใบใส่ถ้วยปลูกจากก้นถ้วย เพราะถ้าเอารากลงก่อนจะทำให้รากช้ำ
การปลูกพืช ไม่ว่าจะใช้ดิน หรือไร้ดินพืชยังคงต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโตตามปกติ คือ อาหาร และอากาศ เกษตรกรควรดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ สำหรับปัจจัยเหล่านี้ :
- อาหาร—น้ำ+ปุ๋ย
เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช - อากาศ พืชจะได้รับมากน้อย ขึ้นอยู่กับแปลงปลูก ซึ่งมีหลายแบบตามสภาพพื้นที่
แสงแดด+อุณหภูมิ พืชต้องการแสงอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนในเรื่องอุณหภูมิมินั้น รวมถึงอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารในรางจะต้องไม่สูง เพราะหากน้ำร้อนไปผักไฮโดรโปนิกส์จะตาย
ออกซิเจน ให้กับราก เพื่อใช้ดูดซึมอาหาร เพราะการให้อาหารทางใบนั้นไม่มีความจำเป็นหากไม่ได้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นจำนวนมาก เพราะถ้าเป็นช่วงกลางวัน อากาศร้อน ผักมักดูเหี่ยวเฉา แต่พอกลางคืน ผักจะฟื้นตัวอัตโนมัติ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นจำนวนมาก ช่วงกลางวันโดยเฉพาะในเดือน มี.ค.-พ.ค. ก็ต้องเปิดระบบพ่นหมอกระบายความร้อนในผักป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อพิเทียมด้วย ในช่วงเวลาเที่ยง-14.30น.
คาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ในการสังเคราะห์แสง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่