ปลูกกัญชงผิดกฎหมายหรือไม่

ปลูกกัญชง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กัญชง

ปลูกกัญชง…เสพกัญชายาเสพติดผิดกฎหมายหรือไม่…ต้องแยกอธิบายกันเป็นส่วนๆ ไป พอเข้าสู่เดือนมกราคม 2561 เป็นช่วงเริ่มต้นของการศึกษาทดลองปลูกกัญชง ถามว่าถูกกฎหมายหรือไม่ ไม่ถูก เพราะกัญชง กัญชงยังคงอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 แต่ไม่ผิด หากได้รับอนุญาตแบบมีข้อกำหนดให้ปฏิบัติตาม ไปจนกว่าการทดลองปลูกจะสิ้นสุดลงในเดือนมกราคม 2563 ผลจากการทดลองปลูกในช่วงเวลาสามปี จะเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้เฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ได้ขออนุญาต ทดลองปลูกกัญชง ในขั้นต้น การทดลองปลูกกัญชงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ปลูกกัญชงสำหรับใช้ประโยชน์ทอเส้นใยผ้าในครัวเรือนและเชิงอุตสาหกรรม เน้นย้ำนะคะ ว่า เฉพาะภาครัฐเท่านั้นที่สามารถขออนุญาตปลูกได้ หลังจากการทดลองปลูก 3 ปีของภาครัฐแล้ว จึงจะให้สิทธิ์ภาคเอกชน แต่การอนุญาตให้ภาครัฐได้ทดลองปลูกกัญชงก็มีข้อกำหนด โดยจำกัดเขตทดลองปลูกใน 6 จังหวัด 15 อำเภอ ประกอบด้วย

  1. จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่วาง อ.แม่ริม อ.สะเมิง อ.แมแจ่ม
  2. จ.เชียงราย 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เทิง อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สาย
  3. จ.น่าน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นาหมื่น อ.สันติสุข อ.สองแคว
  4. จ.ตาก 1 อำเภอ คือ อ.พบพระ
  5. จ.เพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองเพชรบูรณ์ อ.หล่มเก่า อ.เขาค้อ และ
  6. จ.แม่ฮ่องสอน 1 อำเภอ คือ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน

การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง หรือเฮมพ์ (Hemp) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ขณะนี้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างขั้นตอนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา สาระสำคัญของกฎกระทรวง คือสายพันธุ์กัญชงที่จะปลูกได้ต้องมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง

วัตถุประสงค์ของการขออนุญาตกำหนดไว้เพื่อ

  1. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
  2. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์
  3. ปลูกสำหรับการศึกษาวิจัย
  4. ผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกตามข้อ 1-3 ข้างต้น
  5. เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ลำต้นสด หรือส่วนอื่นตามที่ได้รับอนุญาต และ
  6. เพื่อใช้ประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษกำหนด

ทั้งนี้ทั้งนั้น การขออนุญาตปลูกกัญชงต้องอยู่ ผู้ปลูกที่ได้รับอนุญาตต้องมีแผนการผลิต แผนการจำหน่าย การใช้ประโยชน์ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุญาต มีสถานที่รักษาเมล็ดพันธุ์ตามวัตถุประสงค์ของการอนุญาต รวมทั้งมีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสาร THC ในกัญชงที่ปลูก ทุกขั้นตอนอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลการปลูกกัญชง เพื่อเตรียมส่งเสริมยกระดับกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ การนำเส้นใยมาผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า นั้นยังคงมีการควบคุมจากภาครัฐ กำหนดการขออนุญาตปลูก พื้นที่ปลูกและให้ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะตามที่ได้รับอนญาต รวมทั้งการตรวจวัดปริมาณสาร THC ของกัญชงที่ปลูกต้องไม่เกิน ร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำกัญชงไปใช้ในทางที่ผิด เชื่อว่าหลายคน คงรู้จักแต่กัญชาและรู้แค่ว่าเป็นสารเสพติด จริงๆ แล้ว ทั้งกัญชงและกัญชามีประโยชน์ดีๆ มากมายหากนำมาใช้ในทางที่ถูกต้อง ซึ่งในหลายประเทศ กัญชงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ทำรายได้ภาคอุตสาหกรรม และให้คุณประโชน์มาหลายปีแล้ว ในประเทศไทย กัญชง เป็นพืชพื้นบ้านที่มีความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวม้ง ใช้ในพิธีกรรม และชีวิตประจำวันตั้งแต่ที่เกิดจนกระทั่งตาย นับได้ว่าเป็น “วิถีชนเผ่า” มาแต่โบราณ

กัญชง หรือในภาษาม้งเรียกว่า “หมั้ง” หรือ “ม่าง” ตามความเชื่อของม้ง เชื่อว่าเทพเจ้า หรือ เย่อโซ๊ะ  เป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ และได้ประทานพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มาให้มนุษย์ได้ใช้ หมั้งก็เป็นพันธุ์พืชชนิดหนึ่งที่ได้ประทานมาให้มนุษย์ได้ใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ใช้สอย และใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ชาวม้งจะลอกเปลือกกัญชง แล้วนำเส้นใยมาต่อกันเป็นเส้น เพื่อใช้เป็นเส้นด้ายและเส้นเชือก นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีกรรมต่างๆ และใช้เป็นรองเท้าของคนตายเพื่อเดินทางไปสวรรค์ ทำเป็นเป็นด้ายสายสิญจน์พิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนใช้ทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม ที่สำคัญคือในพิธีอัวเน้งหรือพิธีเข้าทรง ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวม้ง

ภูมิปัญญาของชาวม้งจะใช้เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยนำมาเคี้ยวสด ๆ
สรรพคุณของกัญชง

  • ใบมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยแก้กระหาย
  • สดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย
  • ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะหรือไมเกรน
  • ใบใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด
  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์ (ใบ)

ประโยชน์ของกัญชง
ลำต้น

เปลือก – ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้
แกนของต้นกัญชง – จะมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำ หรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้, แอลกอฮอล์, เอธานอล และ เมทานอล นอกจากนี้ แกนของต้นกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย

เมล็ด

  • ใช้เป็นอาหารของคนและนก
  • นำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ในการปรุงอาหาร ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในน้ำมันจากเมล็ดกัญชงนั้น มีโอเมก้า3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6, โอเมก้า 9, ไลโนลิค แอซิด, อัลฟ่า, แกมม่า ไลโนลิค แอซิด และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้
  • เมล็ดมีโปรตีนสูงมาก นำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น เนย, ชีส, เต้าหู้, โปรตีนเกษตร, นม, ไอศกรีม, น้ำมันสลัด, อาหารว่าง, อาหารเสริม ฯลฯ หรือ ผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองก็เป็นได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำมันกัญชง

น้ำมันจากเมล็ด
สามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง, สบู่, เครื่องสำอาง, ครีมกันแดด, แชมพู, โลชั่นบำรุงผิว, ลิปสติก, ลิปบาล์ม, แผ่นมาส์กหน้า หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลเป็นอย่างดีหากคุณผู้หญิงท่านไหนมีปัญหาส้นเท้าแตก แนะนำให้หาซื้อครีมทาแก้ปัญหาส้นเท้าแตกที่ผลิตจากกัญชงมาใช้(ถ้ามีโอกาศ)แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ใบ

  • นำไปใช้เป็นอาหาร หรือทำเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม, ผลิตเป็นอาหารโดยตรงอย่างเส้นพาสต้า คุกกี้ หรือขนมปัง, ใช้ทำเบียร์, ไวน์, น้ำจิ้มอาหาร ฯลฯ
  • ทำยารักษาโรค
  • นำใบมาเป็นชาเพื่อสุขภาพ
  • ทำเครื่องสำอาง หรือสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง

ในประเทศญี่ปุ่นมีการปลูกต้นกัญชงเพื่อกำจัดกัมมันตภาพรังสีให้สลายตัวที่จังหวัดฟูกูชิมา (Fugushima) และสารกัมมันตภาพรังสีรั่วจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียที่ระเบิดจากสึนามิ ซึมลงดินจนไม่สามารถทำการเกษตรได้ และกัญชงยังจัดเป็นเส้นใยมงคลที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาตัดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานนับร้อยปี ส่วนกัญชานั้น ในปัจจุบันยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เพราะฉะนั้น เสพกัญชา ผิดกฎหมายแน่นอน6
ความแตกต่างระหว่าง กัญชง และ กัญชา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กัญชงและกัญชา

กัญชง และ กัญชา เป็นพืชที่มีต้นตระกูลมาจากพืชชนิดเดียวกัน เจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่น

โดยต้นกัญชง (หรือ เฮมพ์-Hemp) มีลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เปลือกเหนียวลอกง่าย ให้เส้นใยยาวคุณภาพสูง แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกไม่มาก เมล็ดมีขนาดใหญ่และเป็นลายบ้าง ผิวเมล็ดหยาบด้าน ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย บางทีจะมีกลิ่นเหม็นเขียวด้วยปริมาณสาร CBD ที่สูง ในบางครั้งการเสพกัญชงอาจทำให้ปวดหัว ในทางกลับกัน กัญชงมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือ THC (tetrahydrocannabinol) น้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ (ประมาณ 0.3 เปอร์เซนต์) การปลูก กัญชงจะปลูกถี่ๆ เพื่อให้ลำต้นสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย ในขณะที่ต้นกัญชา (หรือ มารีฮวนน่า-Marijuana ชื่อวิทยาศาสตร์) จะมีความสูงไม่ถึง 2 เมตร ปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งใบเยอะ เปลือกไม่เหนียว ลอกได้ยาก เส้นใยสั้นมีคุณภาพต่ำ แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก และแฉกจะใหญ่กว่าใบกัญชง การเรียงตัวของใบจะชิดกัน เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกมาก มีสาร THC 1-15 เปอร์เซนต์ ซึ่งจะพบมากที่สุดในช่อดอกเมล็ดมีขนาดเล็ก สาร THC นี้ เมื่อมีปริมาณมากกว่า 1 เปอร์เซนต์ จะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทผู้เสพ ทำให้ตื่นเต้น ช่างพูด อารมณ์ดี ยิ้มหรือหัวเราะได้ตลอดเวลา ส่วนสาร CBD ในปริมาณที่ต่ำกว่ากัญชง ส่วนเมล็ดกัญชาจะมีผิวมันวาว ใบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้งเวลาสูบ การปลูก เว้นระยะห่างระหว่างต้นมากกว่ากัญชงเพื่อให้ใบแตกเยอะๆ นำมาใช้ประโยชน์ได้มากๆ นั่นเอง จากวันนี้ ถ้าเกษตรกรสนใจจะปลูกกัญชง ต้องร้องเพลงรอกันไปก่อน (สามปีค่ะ) จนกว่าจะได้ผลการทดลองปลูก และมีการประกาศให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ แต่อย่าลืมติดตามข่าวสาร นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ กันด้วยนะคะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: www.tnews.co.th, www.pharmacy.cmu.ac.th, www.thairath.co.th, รายการ รู้เท่ารู้ทัน : กัญชง กัญชา ฤทธิ์เป็นยาหรือว่า…อันตราย (Thai PBS-24 พ.ย. 60) ข้อมูลภาพ: www.cannabis-education.org, www.ilovegrowingmarijuana.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *