ตลาดและการส่งออกมะเขือ
ตลาดและการส่งออกมะเขือ เป็นกระบวนการสุดท้ายในการเพาะปลูกมะเขือทุกสายพันธุ์ ซึ่งมีความสำคัญ ในการกำหนดคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิต ว่าเกษตรกรควรจะเตรียมแผนการรองรับ และแผนการผลิตได้อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ขาดทุน หรือได้ผลตอบแทนน้อยเกินไป ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลตลาดผักผลไม้ในประเทศมาฝากผู้อ่าน ที่กำลังคิดจะเป็นเกษตรกรมือใหม่กันค่ะ ว่ามีที่ไหนใกล้บ้านท่าน หากคิดจะผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรปลูกผักผลไม้จำหน่าย
ตลาดซื้อ – ขายผักตระกูลมะเขือ
ตลาดไท
ติดต่อตลาดไท บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด เลชที่ 31 หมู่ 9 ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-908-4490-9 หรือที่ www.talaadthai.com
การเดินทางโดยรถประจำทาง
รถประจำทางที่ผ่านด้านหน้าตลาดไท สาย 39, 338, ปอ.29, ปอ,510
รถประจำทางที่เข้าไปในตลาดไท สาย ปอ.39, ปอ. 520
ตลาดสี่มุมเมือง
ตั้งอยู่ เลขที่ 355/115-116 หมู่ 15 ถนนพหลโยธิน ต. คูคต อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์ 02-995-0610-3 เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง
รถประจำทางที่ผ่าน สาย 510, 29
ตลาดกลางผักและผลไม้จังหวัดนครปฐม (ตลาดปฐมมงคล)
ตั้งอยู่เลขที่ 125/1-129 ทวาราวดี ต. ห้วยจระเข้ อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
โทรศัพท์ 034-241–959, 034-213-441
ตลาดศรีเมือง
ตั้งอยู่เลขที่ 533 ถนนศรีสุริยวงศ์ ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี 70000
โทรศัพท์ 032-338-250, 032-326-158 โทรสาร 032-326-437
ตลาดสุรนครเมืองใหม่
ที่ตั้งเลขที่ 438/1 ถ. มิตรภาพ – หนองคาย ต. ในเมือง อ. เมือง จ. นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-270-395
ตลาดรวมพืชผลหัวอิฐ
ที่ตั้ง เลขที่ 11/92 ถ. กะโรม ต. โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ. นครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ 075-343-800
ตลาด อ.ต.ก.
เลขที่ 101 ถ. กำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ตลาดยิ่งเจริญ
259/99 หมู่ 7 ถ. พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
โทรศัพท์ 02-972-3405-7 ต่อ 3011-3012
ตลาดกลางผักผลไม้สมุทรสาคร
ถนนพระรามที่ 2 ต. คอกกระบือ อ. เมืองสมุทรสาคร จ. สมุทรสาคร
ตลาดศิริวัฒนา
ตั้งอยู่ที่ 193 ถ. ช้างเผือก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 053-251-795 (สำนักงาน), 053-221-298 (ตลาด), โทรสาร 053-211-270
การส่งออกมะเขือ
การเก็บรักษามะเขือเพื่อการส่งออก
เมื่อเก็บเกี่ยวมะเขือแล้ว ตัดแต่งขั้วเสร็จแล้ว บรรจุในถาดโฟม หุ้มด้วยโพลีเอทธิลีน
ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% อุณหภูมิ 10 ถึง 12 องศาเซลเซียส เก็บรักษาได้ 14 วัน ถ้าอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เก็บรักษาได้ 21 วัน
การบรรจุมะเขือในถุงโพลีเอทธิลีน แบบเจาะรู บรรจุถาดแล้วห่อหุ้มด้วยฟิล์มโพลีไวนิลคลอไรด์ หรือใช้ฟิล์มโพลีโพรพิลีน หรือโพลีเอทธิลีน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนัก
ขั้นตอน การส่งออกมะเขือ ไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสหพันธรัฐสวิส
- ผู้ส่งออก / โรงคัดบรรจุ ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปยังสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสหพันธรัฐสวิส ที่กลุ่มประสานการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
- ผลผลิตพืชต้องมาจากแปลงเกษตรกรเครือข่ายของโรงคัดบรรจุ โดยโรงคัดบรรจุมีการจัดการที่สามารถมั่นใจได้ว่ามีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการดูแล ควบคุม การจัดการแปลงพืชในเรื่องสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ การ
ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และการควบคุมศัตรูพืช ตลอดจนเอกสารการบันทึกต่างๆ โดยส่งหลักฐานแสดงการเป็นเกษตรกรเครือข่ายดังต่อไปนี้
- จัดทำสรุปรายชื่อชนิดพืช รายชื่อเกษตรกร รหัสแปลงเกษตรกร แผนการปลูก และช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชต่อพื้นที่ปลูก ตามแบบบัญชีรายชื่อพืชและเกษตรกร
- สำเนาใบรับรองแปลงการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ถ้ามี
- แผนและผลการควบคุมการจัดการแปลง บันทึกการตรวจเยี่ยม/ตรวจติดตาม แปลงเกษตรกรทุกแปลง โดยระบุกิจกรรม ความถี่ ให้ครอบคลุมความปลอดภัย ด้านเชื้อจุลินทรีย์ และสารพิษตกค้าง รวมถึงศัตรูพืช
มาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
ของกรมวิชาการเกษตร ได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 สรุปขั้นตอน
การปฏิบัติของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ ไปสหภาพยุโรป ดังนี้
- ผู้ส่งออกต้องขอจดทะเบียนผู้ประกอบการส่งออก
- จัดส่งผลิตผลเกษตรจากแปลงเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง
ตามมาตรฐาน GAP เพื่อส่งออกเท่านั้น - ทำการคัดบรรจุผักและผลไม้สดที่จะส่งออก จากโรงงานที่ผ่านการรับรองตามหลักการปฏิบัติ GMP และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) และอยู่ในบัญชีรายชื่อโรงงานคัดบรรจุ (EL)
- ขอใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จากกรมวิชาการเกษตร โดยสามารถนำตัวอย่างผลิตผลเกษตรที่จะส่งออก
ส่งวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีตกค้างและจุลินทรีย์ จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับจากกรมวิชาการเกษตร - ทำหนังสือรับรองการส่งชนิดและปริมาณการส่งออกผลิตผลเกษตรและตรวจรับรองสุขอนามัยพืช (PC) ณ ด่านตรวจพืช
นอกจากนั้น ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร บางส่วนไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่จะสามารถชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และรายละเอียดต่างๆ ให้ผู้ส่งออกเข้าใจได้อย่างชัดเจน เมื่อรู้จักแหล่งจำหน่ายในประเทศแล้ว และได้ทราบขั้นตอน การส่งออกมะเขือ กันแล้ว อย่าเพิ่งท้อซะก่อนนะคะ ทุกอย่างยากตอนเริ่มต้นทั้งนั้นค่ะ แต่ถ้าได้ลงมือแล้ว เห็นประโยชน์ ก็มีกำลังใจไปต่อนะคะ
ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล www.doa.go.th, หนังสือ แนวทาง…และแบบอย่างการเพาะปลูกสารพัดมะเขือทำเงิน สนพ.นาคา โดยอภิชาติ ศรีสอาด และ จันทรา อู่สุวรรณ)