จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria:PSB) มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2-assimilation) และการตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixation) นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์สามารถบำบัดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Kobayashi, 2000)

ความมหัศจรรย์ของแบคทีเรียชนิดนี้ อยู่ตรงกระบวนการที่อยู่ในเซลล์ เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสงก็เกิดกระบวนการใช้แสง ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่มีแสงก็เปลี่ยนมาใช้อีกกระบวนที่ไม่ใช้แสงทำให้มีชีวิตอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราใช้ประโยชน์จากกระบวนการดำรงชีวิตตรงนี้ ในแง่ของการเลี้ยง การบำบัดน้ำเสีย เอามาใช้ในการบำบัดดิน โดยไม่ต้องเอามาพักในบ่อซึ่งเป็นระบบบำบัด

วิธีการใช้งาน

  • 200 ซีซี (20 ช้อนแกง) ต่อ 20 ลิตร
  • ผสมกับน้ำให้เป็นสีชมพู ใช้รดพืช ผัก ผลไม้
  • ใช้หัวเชื้อที่ผสมแล้ว มารดที่รากได้เลยแล้วใช้น้ำรดตาม

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  • ช่วยย่อยสลายของเสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า(ไฮโดรเย่นซัลไฟต์) โดยที่จุลินทรย์จะเข้าไปทำลายพันธะทางเคมี โดยการกำจัด ก๊าซไฮโดรเย่น ซึ่งเป็นพันธะทางเคมีหลักของก๊าซไข่เน่า(H2S) โดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโต และแบ่งเซลล์ระหว่างกระบวนการที่กล่าวมานั้นจุลินทรีย์ได้ ขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่ม โกสฮอร์โมน ที่มีรายละเอียดเบื้องต้น
  • ช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก โดยเข้าไปทำลายพันธะเคมีของกลุ่มก๊าซมีเธน (CH4) โดยการย่อยสลายก๊าซไฮโดรเจน จึงทำให้โครงสร้างเสียไป เหลือแต่คาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ซึ่งแปลงนาโดยทั่วไปย่อมมีกลุ่มก๊าซของเสียอยู่แล้ว
  • ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
  • ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
  • สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟตได้ โดยใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืชได้
  • เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้ สูงสุด 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงกำไรเพิ่มมากขึ้น
  • หากมีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลผลิตดีขึ้นตามด้วย

หมายเหตุ

  • ไม่จำเป็นต้องใช้หัวเชื้อใหม่เสมอ สามารถคัดเลือกหัวเชื้อจากการผลิตที่มีอายุประมาณ 30 วัน
  • อายุของเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในภาชนะบรรจุพร้อมขายสามารถอยู่ได้ 1ปี

อ่านเพิ่ม >>การใช้งานจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ขอบคุณข้อมูลจาก :
– กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
– สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง #MCIT #ดูแลใส่ใจเกษตรไทยครบวงจร