มะเขือม่วงญี่ปุ่น

มะเขือม่วงญี่ปุ่น

มะเขือม่วงญี่ปุ่น เป็นเมนูอร่อยที่นิยมรับประทานกันมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเมนูอร่อยในร้านอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น ยังสามารถรับประทานกับอาหารไทย เช่น น้ำพริก หรือนำมาชุบแป้งทอด รับประทานกับน้ำจิ้มแบบไทยๆ ก็อร่อยไม่แพงเมนูญี่ปุ่น

ประโยชน์ของ มะเขือม่วงญี่ปุ่น

  • ช่วยชะลอความแก่
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ช่วยรักษาหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรง และลดความดันโลหิต
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น และบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร และยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยลดความอ้วน
  • แก้โรคบิด
  • แก้ปัสสาวะขัด
  • แก้หนองใน
  • แก้ปวดฟัน แก้ปวด
  • แก้ตกเลือดในลำไส้
  • ขับเสมหะ
  • ใช้ล้างแผล
  • ใช้รักษาฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน

การนำส่วนต่างๆ ของ มะเขือม่วงญี่ปุ่น มาใช้ประโยชน์

  • ลำต้นและรากสด
    นำมาต้มน้ำจนเดือด ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หรือตำคั้นเอาน้ำล้างแผลเน่าเปื่อยได้
  • ใบแห้งป่น
    เป็นผงชงน้ำร้อนดื่มครั้งละครึ่งแก้วแก้โรคบิด แก้ปัสสาวะขัด หนองใน
  • ดอกสด หรือใบแห้งเผาไฟให้เป็นเถ้าแล้วบดละเอียดเป็นยาแก้ปวดฟัน
  • ผลแห้ง ทำเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ
  • ผลสด ผ่าพอก หรือปิดบริเวณแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง เม็ดผื่นคัน
    ลักษณะของมะเขือม่วงญี่ปุ่น
    เป็นไม้พุ่มล้มลุก
  • ลำต้น สูงประมาณ 1.50 เมตร มีขนนุ่มปกคลุมและมีหนามเล็กๆ แต่ไม่มาก
  • ใบ เป็นแบบใบเดี่ยว รูปร่างกลม ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น มีขนหนาสีเทาที่ด้านล่างใบ
  • ดอก สีม่วง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ถึง 3 เซนติเมตร บาน 2 ถึง 3 วัน
  • ผล มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายหยดน้ำ ผิวเรียบสีม่วงเข้ม
  • เมล็ด มีขนาดเล็กสีน้ำตาล อยู่ภายในผลเป็นจำนวนมาก

การปลูกมะเขือม่วงญี่ปุ่น
สายพันธุ์ที่เหมาะสมในการเพาะปลูก ในประเทศไทย

  1. มะเขือม่วงก้านเขียว—ผลกลมอ้วน ทรงหยดน้ำหรือลูกแพร์ ก้านตรงขั้วผลเป็นสีเขียว
  2. มะเขือม่วงก้านดำ—ผลผอม สั้น ก้านตรงขั้วผลเป็นสีม่วงเข้ม

ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง

สภาพดิน

  • มะเขือม่วงญี่ปุ่น เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีควรเป็นดินร่วนปนทราย
  • ดินอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี
  • สภาพความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6.0 ถึง 6.8

สภาพพื้นที่ปลูก

  • เป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดด
  • น้ำไม่ท่วมขัง
  • ไม่ใช่พื้นที่ที่เคยปลูกมะเขือเทศ, มะเขืออื่นๆ, พริก หรือยาสูบ มาก่อน

การเตรียมกล้า

  • ร่อนดิน 3 ส่วน ผสมปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • ใส่ดินลงในถาดเพาะกล้า
  • รดน้ำพอชุ่ม
  • หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมๆ ละ 1 เมล็ด
  • รดน้ำ เช้าและเย็น
  • เมื่อต้นกล้ามีใบ 3 ถึง 4 ใบ หรืออายุ 30 ถึง 35 วัน สามารถย้ายปลูกได้

การเตรียมแปลงและหลุมปลูก

  • ไถพรวนดิน และตากดินไว้ 7 วัน
  • หว่านโดโลไมท์ หรือปูนขาวในอัตรา 100 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ หรือตามสภาพดิน และอาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์หว่านหลังแปลง ในอัตรา 100 – 200 กิโลกรัม ต่อไร่
  • ขึ้นแปลง หลังแปลงปลูกควรกว้าง 100 ถึง 120 เซนติเมตร ร่องทางเดินกว้าง 100 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 100 เซนติเมตร

***พื้นที่ 1 ไร่ ควรปลูกได้ประมาณ 800 ต้น***

การปลูก

  • ปลูกแบบแถวเดี่ยว ขุดหลุม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ และฟูราดานคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • ปักไม้หลัก(ไม้หลักควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร )
  • รดน้ำในหลุมปลูกเมื่อน้ำซึมจนหมดแล้วจึงทำการปลูกโดยให้สูงกว่าหลังแปลง 1 ถึง 2 นิ้ว และห่างจากไม้หลัก 2 นิ้ว

การดูแลหลังการปลูก
การให้น้ำ

  • ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังย้ายต้นกล้า ทุกวันๆ ละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อกล้าตั้งต้นดีแล้ว ให้รดน้ำวันละครั้ง
  • หรือเลือกการให้น้ำ โดยทำร่องแปลง และให้ตามร่องแปลงสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 ครั้ง ถ้าดินแห้ง ให้ปล่อยน้ำเข้าร่องแปลง หรือรดน้ำที่หลุมปลูก

การให้ปุ๋ย

  • หลังปลูกต้นกล้าลงแปลง 3 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ย
  • หลังจากนั้น ให้ใส่ปุ๋ยทุก 2 สัปดาห์
  • เมื่อต้นมะเขือเริ่มออกดอก ให้ใส่ปุ๋ยทุกๆ 20 วัน

การกำจัดวัชพืช

  • เมื่อมีวัชพืชเกิดขึ้นในแปลงปลูก หรือทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย ให้กำจัดวัชพืช

การตัดแต่งกิ่งและตัดผล

  • มะเขือม่วงญี่ปุ่นออกดอกแรก หลังจากดอกบาน ให้เด็ดกิ่งแขนง โดยเว้นกิ่งแขนงใต้ดอกแรกไว้ กิ่งแขนงถัดมาให้เด็ดออกให้หมด
  • ดอกในกิ่งแขนงที่เก็บไว้ จะบานในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อติดผล จะคัดเลือกผลที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้เพียง 5 ถึง 6 ผลต่อต้น

การป้องกันและแก้ไข โรคและแมลงศัตรูมะเขือม่วงญี่ปุ่น
ติดตามในบทความ โรคมะเขือ และบทความ แมลงศัตรูมะเขือ

การเก็บเกี่ยว
หลังการย้ายปลูกลงแปลงแล้วประมาณ 45 ถึง 50 วัน จึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยวโดยทำการเก็บผลผลิตทุกวัน อายุการเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดจะนาน 4 เดือน หากใส่ใจดูแลและมีการจัดการแปลงที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 5,000- 7,000 กิโลกรัม

ขอบคุณสำหรับการติดตามนะค่ะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล : hcsupply.blogspot.com, www.thairath.co.th, หนังสือ แนวทาง…และแบบอย่างการเพาะปลูกสารพัดมะเขือทำเงิน สนพ. นาคา โดย อภิชาติ ศรีสอาด และ จันทรา อู่สุวรรณ)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *