ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี G A P
ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี G A P แล้ว จี เอ พี คือ อะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และจะได้มาอย่างไร?
จี เอ พี คืออะไร?…….
G A P ย่อมาจากภาษาอังกฤษ 3 คำ
G Good
A Agricultural
P Practice
หมายถึง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ขอขยายความอีกนิด-ปฎิบัติการที่ดีในการผลิตพืช ผัก ผลไม้ ให้ได้ผลผลิตที่ได้ มาตรฐานปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพดี เริ่มตั้งแต่ การเตรียมพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว บันทึกการปฏิบัติงาน เป็นการปลูกพืชที่ปลอดภัยต่อเกษตรกร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาย ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรค ผลผลิตได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
ถ้าเกษตรกรปฏิบัติตามจะได้ประโยชน์อะไร?
- เกษตรกร และผู้ซื้อ ได้บริโภคพืช ผัก ผลไม้ ที่คุณภาพดี มีสุขภาพแข็งแรง
- มีความรู้ในการผลิตพืชอย่างมีระบบ สามารถลดต้นทุน ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี
- ผลผลิตมีคุณภาพ ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรค
- ผลผลิตได้การรับรองมาตรฐานระบบการผลิต และเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
- มีรายได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
ได้รู้จัก จี เอ พี กันไปแล้ว คราวนี้เริ่มปลูก หรือปรับปรุงการผลิตมะนาวสู่ท้องตลาดกันนะคะ
ปลูกมะนาวอย่างไร ให้ได้ จี เอ พี มี 8 ข้อที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้…
- ใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาด
– ใช้น้ำจากแหล่งที่ไม่มีการปนเปื้อนจากสารพิษ หรือสิ่งที่เป็นอันตราย
– หลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ หรือไหลผ่านแหล่งชุมชน คอกสัตว์ โรงเก็บสารเคมี โรงพยาบาล หรือ โรงงานอุตสาหกรรม - ปลูกในพื้นที่ที่ดี และเลือกใช้วัสดุปลูกที่มาจากแหล่งที่ ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีสารพิษปนเปื้อน
– คือ พื้นที่นั้นต้องไม่เคยเป็นที่ตั้งโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม โรงเก็บสารเคมี คอกสัตว์ หรือที่ทิ้งขยะมาก่อน
– พื้นที่นั้นต้องไม่เคยพบสารเคมีกลุ่มออร์กาโนคลอรีน ออร์กาโนฟอสเฟต หรือ โลหะหนักตกค้าง - ใช้และเก็บ ปุ๋ย สารเคมี ได้ถูกต้อง
– โดยจัดเก็บสารเคมีในสถานที่แยกออกไปจากที่พักอาศัย หรือ ที่ประกอบอาหาร มีอากาศถ่ายเทได้ดี
– เก็บสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนพืช ให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ปะปนกัน เขียนป้ายกำกับให้ชัดเจน
– ใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง อ่านฉลาก ปฏิบัติตามวิธีใช้ ช่วงเวลา และปริมาณตามที่แนะนำไว้ในฉลากอย่างเคร่งครัด
– ไม่ซื้อสารเคมีที่ร้านค้าแบ่งขาย หรือไม่ติดฉลาก
– สารเคมีต้องบรรจุในขวด หรือ ภาชนะบรรจุ ที่ปิดฝาขวด หรือกล่องเรียบร้อย ไม่ฉีกขาด
– ห้ามใช้ หรือเก็บสารเคมีที่ทางราชการประกาศห้ามใช้
– ป้องกันตนเองขณะฉีดพ่นสารเคมีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด และ อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที หลังจากฉีดพ่นสารเคมีทุกครั้ง
– หยุดใช้สารเคมี ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามเวลาที่ระบุไว้ในฉลาก
– ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ห้ามนำมาใช้ใหม่อีก ให้ทำลายโดยการฝังดิน แต่ต้องห่างจากแหล่งน้ำ และลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาทำลาย
– หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและแมลงศัตรูมะนาวเลย ควรใช้วิธีกำจัดทางธรรมชาติ หรือใช้สารกำจัดสมุนไพร - ผลิตตามแผนควบคุมคุณภาพ
– ปฏิบัติ และดูแลรักษามะนาวที่ปลูกตามขั้นตอนสำคัญต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนควบคุมการผลิต - สำรวจศัตรูพืช และป้องกัน กำจัด อย่างถูกต้อง
– สำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืช และป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย - เก็บเกี่ยวผลผลิต ถูกเวลา ถูกวิธี
– เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะที่เหมาะสม ตามความสุกแก่ของผลผลิตที่ระบุไว้ในแผนควบคุมการผลิต
– ใช้อุปกรณ์เก็บเกี่ยว ภาชนะบรรจุผลผลิตที่สะอาด ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวที่ป้องกันการกระแทก ไม่ให้ผลผลิตช้ำ
– คัดเลือก จัดเก็บ หรือเตรียมการขนย้าย ด้วยวัสดุและขั้นตอนที่สะอาด
– คัดแยกผลผลิตที่ศัตรูพืชปะปนอยู่ ออกจากผลผลิตที่มีคุณภาพ
– คัดแยกผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ ออกจากผลผลิตที่มีคุณภาพ - ขนย้าย และ เก็บรักษาผลผลิตอย่างสะอาด และปลอดภัย
– ทำความสะอาดภาชนะ และพาหนะที่ใช้ขนย้ายผลผลิต ทั้งก่อนและหลังใช้งาน
– สถานที่เก็บรักษาผลผลิตต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี มีการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู แมลงสาบ ฯลฯ
– ขนย้ายด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ผลผลิตสกปรก บอบช้ำ หรือเสียหาย - จดบันทึกทุกขั้นตอน
– จดบันทึกทุกขั้นตอนที่สำคัญในการปลูก การดูแล ที่อาจมีผลต่อความปลอดภัย และคุณภาพของผลผลิตมะนาว
– บันทึกการดูแลรักษาตามขั้นตอนต่างๆ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งช่อดอก วันที่เก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น
ถ้าเกษตรกรต้องการขอ การรองรับการปลูกพืชตามระบบ จี เอ พี ต้องทำอย่างไร?
- สมัครได้ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานกรมวิชาการเกษตร และกรมการข้าวในพื้นที่ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 1 ฉบับ
- รับคำปรึกษา แนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร
- เข้ารับการอบรมตามที่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมนัดหมาย
- ปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอน 8 ข้อ
- หากยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต้องปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติตามคำแนะนำของ ที่ปรึกษาเกษตรกร และอาสาสมัครเกษตร จี เอ พี ให้ครบถัวนและตรงตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อผ่านเกณฑ์ประเมินความพร้อมเบื้องต้น
- รับนัดหมายการตรวจสวนมะนาว จากผู้ตรวจรับรอง
- รับใบรับรอง จี เอ พี (G A P)
เมื่อได้รู้แล้วว่า ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี นั้น ผลแน่นนอนที่ได้มา เป็นการเพิ่มมูลค้าให้กับผลผลิตที่เกษตรส่งไปจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือ ส่งออกตลาดต่างประเทศ เกษตรกรสามารถเพิ่มผลกำไรจากคุณภาพของผลผลิตได้ดี ได้รับความเชื่อถือในผลผลิตนอกจากนี้ ยังประโยชน์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ทั้งในบริเวณสวนและบริเวณใกล้เคียง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล: www.clpe.co.th ,www.clpe.co.th , www.gap.doae.go.th)