การเลี้ยงจิ้งหรีด

การเลี้ยงจิ้งหรีด

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

การเลี้ยงจิ้งหรีด ในยุค ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อผู้บริโภคที่รัก และต้องการดูแลสุขภาพด้วยอาหารที่มีโภชนาการสูง แต่ต้องตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตทางสังคมที่เปลี่ยนไป คือ คุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพ สะดวกต่อการซื้อและบริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีดสามารถตอบโจทย์นี้ได้อย่างดี ปัจจุบัน การเลี้ยงจิ้งหรีด จึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างดี ปีพ.ศ.2561 เป็นปีที่จิ้งหรีด กับนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารจะก้าวเข้าไปสู่ตลาดสหภาพยุโรป สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตรขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่สหภาพยุโรปของจิ้งหรีดและแมลงอื่นๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
(ร่าง) มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด ได้ที่ www.acfs.go.th
ข้อดี ของ การเลี้ยงจิ้งหรีด

  • เลี้ยงง่าย อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งได้ดี
  • ขยายพันธุ์
  • ให้ผลผลิตสูง
  • ใช้พื้นที่และปริมาณน้ำในการเลี้ยงน้อย
  • ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีและต้นทุนสูงในการเลี้ยง
  • รายได้ดี เพราะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงไม่นาน ก็สามารถจำหน่ายได้

สายพันธุ์จิ้งหรีด ที่เกษตรกรนิยมเลี้ยง มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่

  • จิ้งหรีดบ้าน (แมงสะดิ้ง)
  • พันธุ์ทองดำ
  • จิ้งหรีดขาว

ระยะเวลาในการเลี้ยง และราคาจำหน่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จิ้งหรีดบ้าน

จิ้งหรีดบ้าน

  • ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 40 ถึง 50 วัน
  • ราคาจำหน่าย (ราคาส่ง) กิโลกรัมละ 80 ถึง 100 บาท

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จิ้งหรีดทองดำ

จิ้งหรีดทองดำ

  • ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 30 ถึง 45 วัน
  • ราคาจำหน่าย (ราคาส่ง) กิโลกรัมละ 120 ถึง 150 บาท

วัสดุ-อุปกรณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีด
สถานที่เลี้ยง

เป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง มีหลังคา ไม่ตากแดด ตากฝน แต่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น สร้างโรงเรือน เลี้ยงใต้ถุนหรือชายคาบ้าน

โรงเรือน

มีหลังคา (แนะนำให้ใช้กระเบื้อง) ผนังสี่ด้านเปิดโล่ง (แต่อาจมีการขึงตาข่าย) ช่วยระบายอากาศ ควรมีวัสดุกรองแสง หรือ สแลน ช่วยควบคุมแสง อุณหภูมิ ความชื้น

ภาชนะเลี้ยงจิ้งหรีด

  • ควรเป็นภาชนะที่ป้องกันจิ้งหรีดไต่หนีได้, ทำความสะอาดง่าย, มีช่องระบายอากาศ
  • สูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป เช่น วงบ่อซีเมนต์, กะละมัง, โอ่ง, ปี๊บ, ถังน้ำ, กล่องกระดาษ, กล่องพลาสติก, กล่องแมลง และตู้ปลา เป็นต้น

***วงบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร เทปูนที่ก้นบ่อหนาประมาณ ½ ถึง 1 นิ้ว***
***ตู้ปลา ควรตั้งบนโต๊ะหรือชั้น พร้อมมีน้ำหล่อขาโต๊ะ ป้องกันมด***
***หากเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นจำนวนมาก ควรวางให้วงบ่อหรือภาชนะเลี้ยงจิ้งหรีดห่างกันประมาณ 1 เมตร หรือให้ผู้เลี้ยงเดินเข้าไปดูแลได้สะดวก***

วัสดุรองพื้น

  • แกลบปนทราย หรือ ฟางแห้ง รองภาชนะเลี้ยงจิ้งหรีดบางๆ
  • เวอร์คูมิไลท์
  • ดินทราย

ที่อยู่ของจิ้งหรีด (ใช้เกาะ มุดหลบภัยเวลาลอกคราบ)
แผงไข่ที่ทำจากกระดาษ, หญ้าแห้ง, กาบมะพร้าว, แกนกระดาษทิชชู่, กระดาษฝอย กล่องกระดาษ กระถาง เศษกระเบื้อง เศษอิฐ หรือท่อพีวีซี

ภาชนะสำหรับจิ้งหรีดวางไข่
ขันพลาสติกขนาดเล็กใส่ดินขุยไผ่ หรือใยมะพร้าว

ภาชนะใส่น้ำและอาหาร

  • สูงประมาณ 1 เซนติเมตร ใส่ก้อนหิน เพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดตกน้ำ หรือให้เกาะกินน้ำ หรือ
  • ใช้ผ้า หรือสำลีชุบน้ำวางไว้ให้จิ้งหรีดกิน หรือ
  • สเปรย์ละอองน้ำเป็นเวลา

ผ้ามุ้งไนล่อนสีฟ้า(มุ้งเขียว)
ใช้ปิดปากบ่อเพื่อป้องกันจิ้งหรีดบินหนี, ศัตรูจิ้งหรีด เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก คางคก เป็นต้น หรือสัตว์พาหะนำโรค

เทปกาว กว้างประมาณ 3 นิ้ว
ติดด้านบนของบ่อเลี้ยง

ยางรัดตาข่ายกับปากภาชนะเลี้ยงจิ้งหรีด
ใช้ยางในรถจักรยาน หรือรถจักรยานยนต์ ยึดรัดตาข่ายกับปากหรือขอบภาชนะ

อาหาร

  • อาหารหลัก เช่น หญ้าสดอ่อน ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง และหยวกกล้วย เป็นต้น
  • อาหารเสริม เช่น รำอ่อน อาหารไก่ อาหารปลา อย่างละ 2 ที่ต่อ 1 บ่อ(ภาชนะเลี้ยงจิ้งหรีด)

สิ่งที่ต้องเตรียม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เลี้ยงจิ้งหรีด

บ่อ (ภาชนะ) เลี้ยงจิ้งหรีด

  • ใส่วัสดุรองพื้น หากต้องการใส่หลายชนิด ควรใส่ดินทรายเป็นวัสดุรองพื้นชั้นแรก และตามด้วยทรายหรือแกลบ รวมความหนาประมาณ 3 ถึง 5 เซนติเมตร และเปลี่ยนถ่ายทุกครั้งที่มีการเลี้ยงจิ้งหรีดรุ่นต่อไป หรืออย่างมากใช้เลี้ยงอย่างน้อย 2 รุ่น แล้วเปลี่ยนถ่าย หรือ
  • ใช้เวอร์คูมิไลท์รองพื้นหนาประมาณ 1 ถึง 3 นิ้ว จะช่วยควบคุมความชื้น ป้องกันแบคทีเรีย และลดกลิ่นต่างๆ หากมีจำนวนจิ้งหรีดเพิ่มมากขึ้น ควรเปลี่ยนเวอร์คูมิไลท์ทุก 1 ถึง 6 เดือนขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของจิ้งหรีด
  • ดินทราย ควรตากให้แห้งประมาณ 2 ถึง 5 วัน เพื่อป้องกันเชื้อรา มด หรือไร ช่วงจิ้งหรีดวางไข่ ควรพรมน้ำให้ชื้น แต่ไม่แฉะ
  • ควรใช้เชือกชุบน้ำมันเครื่องมัดรอบก้นบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด หรือ ใช้ชอล์กขีดกันมด หรือ โรยปูนขาว
  • ติดเทปกาวที่ปากบ่อด้านใน ต่ำจากขอบประมาณ 15 เซนติเมตร ป้องกันจิ้งหรีดไต่หนี
  • วางวัสดุสำหรับเป็นที่อยู่และหลบซ่อนของจิ้งหรีดลงในบ่อ กินเนื้อที่ประมาณ 50 เปอร์เซนต์
  • วางภาชนะใส่น้ำ 2 จุด ใส่อาหาร 2 จุด ในพื้นที่ส่วนที่เหลือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เลี้ยงจิ้งหรีด

พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์

  • เลือกจิ้งหรีดที่มีสีเข้ม ตัวใหญ่ แข็งแรง มีอวัยวะครบทุกส่วน เป็นตัวเต็มวัยแล้วประมาณ 3 ถึง 5 วัน
  • 1 บ่อ ควรมีพ่อพันธุ์ 1 ส่วน ต่อ แม่พันธุ์ 3 ส่วน

การเตรียมพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดซึ่งมี 2 วิธี

การเลี้ยงแบบคละรุ่น

  • เลี้ยงหลายรุ่น หลายขนาดรวมกัน แต่วิธีนี้จะบริหารจัดการกับจิ้งหรีดได้ยาก การเก็บผลผลิตก็ยุ่งยาก จำหน่ายไม่ได้ราคา
  • จิ้งหรีดขนาดเท่ากัน เก็บผลผลิตง่าย ดูแลง่าย จิ้งหรีดมีน้ำหนักดี จำหน่ายได้ราคาดี

เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ปล่อยพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ลงบ่อ และปฏิบัติตามวิธีดังนี้
วิธีการเลี้ยงแบบคละรุ่น

  • ปล่อยพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ลงในบ่อเลี้ยง วางกระบะหรือขันที่ใส่ใยมะพร้าว หรือขุยไผ่ เพื่อเป็นขันไข่ 2 ถึง 3 ใบ
  • เมื่อจิ้งหรีดผสมพันธุ์ครบ 7 วัน จะวางไข่ และออกเป็นตัวอ่อน
  • นำขันไข่มาวางในบ่อเดิมเพิ่ม เพื่อให้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ วางไข่รุ่นที่ 2, 3 และ 4 ต่อ ระหว่างนี้ผู้เลี้ยงสามารถจับจิ้งหรีดไปจำหน่ายได้

การเลี้ยงแบบแยกรุ่น
ปล่อยพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ลงในบ่อเลี้ยงตามอัตราส่วน และปฏิบัติวิธีเดียวกันกับการเลี้ยงแบบคละรุ่น แต่เมื่อจิ้งหรีดวางไข่ ให้นำขันไข่ออกไปใส่ในบ่อเลี้ยงใหม่ การเลี้ยงวิธีนี้จะได้จิ้งหรีดตัวเต็มวัยที่ขนาดเท่าๆ กัน เก็บง่าย ดูแลง่าย

ติดตามบทความ การดูแลจิ้งหรีด ต่อไปเลยนะคะ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และผลกำไรที่ดี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: www.acfs.to.th, www.ipyosc.com, www.pasusat.com, www.esan108.com, www.wikihow.com, www.aopdh03.doae.go.th, หนังสือ คู่มือ…การเพาะเลี้ยง แมลงกินได้ สร้าง…เงินล้าน สนพ.นาคา โดย อภิชาติ ศรีสอาด และ ทองพูล วรรณโพธิ์)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *