การป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะปฏิบัติโดยปราศจากการใช้สารเคมี และส่วนใหญ่แล้ว การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีปัญหาเรื่องโรค และแมลงศัตรูพืชน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะให้การดูแล เอาใจใส่ และป้องกันเป็นอย่างดี โดยวิธีธรรมชาติ แต่หากเกิดปัญหา หรือความเสียหาย ให้รีบแก้ไขทันที การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีดังนี้
ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
โรคเชื้อราในการเพาะกล้า
อาการของโรค
เริ่มพบอาการได้หลังจากการเพาะกล้าข้าวในถาดเพาะ เมล็ดข้าวบางส่วนที่เพาะไม่งอกและมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุมส่วนเมล็ดที่งอก ต้นกล้าจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าข้าวปกติ และเมื่อถอนต้นกล้าข้าวขึ้นมาดู ก็จะพบส่วนรากและโคนต้นกล้ามีแผลสีน้ำตาล และแผลที่เกิดบนโคนต้นจะลุกลามขึ้น ไปยังส่วนบนของต้นกล้าทำให้ต้นกล้าเน่าตาย ในขณะเดียวกันเชื้อราสาเหตุของโรคจะขยายจากจุดเริ่มต้นที่เป็นโรคออกไปบริเวณโดยรอบไปยังต้นกล้าข้างเคียง ในกรณีที่เพาะต้นกล้าหนาแน่น เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของถาดเพาะได้อย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นก็จะพบอาการตายของต้นกล้าข้าวเป็นหย่อมๆ กรณีที่เป็นโรคถาดเพาะกล้ารุนแรงทำให้ไม่สามารถนำต้นกล้าข้าวนั้นไปใช้ปักดำได้
การป้องกันกำจัด
- การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับขี้เถ้าแกลบ เช่น การตากขี้เถ้าแกลบเป็นเวลาประมาณ 1 ถึง 2 วัน จากนั้นนำขี้เถ้าแกลบลงไปแช่น้ำที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร เป็นเวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที และเทน้ำทิ้งจากนั้นจึงสามารถนำไปเพาะกล้าได้ต่อไป
- การใช้สารคอปเปอร์ซันเฟต โดยป็นสารที่สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้รับรองว่าสามารถใช้ได้ในการปลูกข้าวระบบเกษตรอินทรีย์ ทำการฉีดพ่น อัตราส่วน 19 กรัม ต่อน้ำ 18 ลิตร ฉีดพ่นในภาชนะที่เพาะต้นกล้าข้าว และแปลงที่จะปลูกข้าว
- ใช้โซดาไฟ ในการทำความสะอาด โดย ผสมน้ำราดในวัสดุและอุปกรณ์การเพาะ ใช้อัตราส่วน โซดาไฟ 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 200 ลิตร (ที่มา การจัดการความรู้กรมหม่อนไหม 2554)
- นำขี้เถ้าแกลบหรือภาชนะเพาะกล้าลวกในน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)
- เผาทำลายต้นกล้าข้าวที่เป็นโรคเน่าตายในภาชนะเพาะ
ภายในแปลงเพาะกล้าหรือแปลงที่จะวางถาดเพาะกล้าควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือสารคอปเปอร์ซัลเฟตเพื่อกำจัดเชื้อที่อยู่ในแปลง อัตราส่วนการใช้ตามข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว
ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช
สมุนไพรใช้ในการกำจัดโรค และแมลงศัตรูพืช
สมุนไพรที่มีรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรียป้องกันแมลง
- ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด สะเดา หญ้าใต้ใบ โทงเทง
สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช - เปลือกแค เปลือกมังคุด เปลือกสีเสียด ใบฝรั่ง ใบทับทิม ขมิ้น
สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน - เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว น้ำส้มสายชู น้ำมะขาม
สมุนไพรประเภทเมา เบื่อ ฆ่าหนอน เพลี้ย แมลงอื่นๆ - หางไหล ยาสูบ ขอบชะนางแดง – ขาว หอนตายอยาก ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก เม็ดมะกล่ำ
สมุนไพรหอมระเหยไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นศัตรูพืช
ตะไคร้หอม โหระพา กระเพรา ผักชี สาบเสือ สาบแร้งสาบกา กระทกรก ผักแพรวแดง ข่า
วิธีการหมักสมุนไพรที่นิยมใช้ 2 วิธีคือ
- หมักภายใน 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
สมุนไพรสด 3 กิโลกรัม น้ำเปล่า 10 ลิตร หรือสมุนไพรแห้ง 2 กิโลกรัม น้ำเปล่า 10 ลิตร - หมักภายใน 1 สัปดาห์ สำหรับฉีดพ่น
สมุนไพรสด 3 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม จุลินทรีย์ 1 ลิตร น้ำเปล่า 10 ลิตร
วิธีใช้
น้ำยา 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร สำหรับฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง หรือน้ำยา 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ราดต้นไม้ 7 วันต่อครั้ง หรือเดือนละ 1 ครั้ง
วิธีผสมตัวยาสมุนไพร สำหรับเพลี้ย ไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ฯลฯ
สูตรที่ 1 (สาบเสือ)
- ยาฉุน ½ กิโลกรัม
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- สาบเสือ 1 กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
- นำวัตถุดิบที่ตำแล้วมาหมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้ ใช้น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
สูตรที่ 2 (หางไหล)
- หางไหล 1 ½ กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
- ใช้เคียวทุบให้แหลก แช่น้ำ 1 คืน
วิธีใช้ น้ำยา 1 ฝาลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
สูตรที่ 3 (เม็ดสะเดา)
- ยาฉุน 1/2 กิโลกรัม
- เม็ดสะเดา 1/2 กิโลกรัม
- ข่า 1 กิโลกรัม
- ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- นำวัตถุดิบทั้งหมดหมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา ½ ลิตร ผ สมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วัน ต่อครั้ง
สูตรที่ 4 (หนอนตายอยาก)
- หนอนตายอยาก 1 กิโลกรัม
- บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
- กระทกรก 1 กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- นำวัตถุดิบตำให้แหลก หมักไว้ 7 วันขึ้นไป
วิธีใช้ ฉีดพ่น น้ำยา 1/2 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
สูตรที่ 5 (สมุนไพรรสเปรี้ยว)
- น้ำส้มสายชู 3 กิโลกรัม
- น้ำ ½ กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือ
- ส้ม, มะนาว, ส้มโอ, มะขาม, อย่างละ 1 กิโลกรัม เท่าๆ กัน รวม 3 กิโลกรัม
- นำทุกอย่างสับหยาบๆ แล้วหมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
สูตรที่ 6 (ใบน้อยหน่า)
- ใบน้อยหน่า ½ กิโลกรัม
- กระทกรก ½ กิโลกรัม
- ยาฉุน ½ กิโลกรัม
- บอระเพ็ด ½ กิโลกรัม
- สาบเสือ ½ กิโลกรัม
- เปลือกมังคุด ½ กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
- นำตัวยาทุกอย่าง มาตำแล้วหมัก 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา 1/2 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
วิธีผสมตัวยาสมุนไพร สำหรับฆ่าหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนหนังเหนียว หนอนใย หนอนใต้ หนอนเจาะอเมริกัน ฯลฯ
สูตรที่ 1 (ฟ้าทะลายโจร)
- ฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัม
- เปลือกแค 1 กิโลกรัม
- หางไหล 1 กิโลกรัม
- ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำ 10 ลิตร
- นำทุกอย่างสับหยาบๆ แล้วหมัก 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วัน ต่อครั้ง
สูตรที่ 2 (โทงเทง)
- โทงเทง 1 กิโลกรัม
- หนอนตายยาก 1 กิโลกรัม
- สาบเสือ 1 กิโลกรัม
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำ 1 ลิตร
- นำทุกอย่างมาตำแล้วหมัก 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
สูตรที่ 3 (สะเดา)
- สะเดา 1 กิโลกรัม
- ยาฉุน ½ กิโลกรัม
- กระทกรก 1 กิโลกรัม
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์1 ลิตร
- น้ำ 10 ลิตร
- นำทุกอย่างมาสับหยาบๆ แล้วหมัก 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
วิธีผสมตัวยาสมุนไพรสำหรับแมลงทั่วไป
- เปลือกส้ม ½ กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
- มะกรูด ½ ลิตร
- จุลินทรีย์ 1 ลิตร
- มะนาว ½ กิโลกรัม
- น้ำตาล 1 กิโลกรัม
- น้ำส้มสายชู 5 ขีด
- น้ำมะขาม 5 ขีด
- นำตัวยาทุกอย่างมาตำ ผสมกัน หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้ น้ำยา 1/2 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง
สารขับไล่แมลง
สูตรทั่วไป
ส่วนผสม
นำน้ำหมักพืช, กากน้ำตาล, เหล้าขาว, น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธีทำ
ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า – เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์
นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
สูตรเข้มข้น
วิธีทำ
- ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
การใช้ประโยชน์ ใช้ในนาข้าวดังนี้ - การป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้อัตรา 3 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยปล่อยให้ไหลไปตามทางน้ำไหลเข้านา หรือ จะใช้วิธีฉีดพ่น ใช้อัตรา 200 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
- การป้องกันศัตรู ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น หรือถ้ามีต้องการ
สารป้องกันกำจัดหอยเชอรี่
ส่วนผสม - ยาฉุน 2 ถึง 3 กิโลกรัม
- หนอนตายยาก 1 กิโลกรัม
- น้ำสมสายชู 1 ลิตร
- เหล้าขาว 1 ขวด
- กากน้ำตาล 1 ขวด
วิธีทำ และ วิธีใช้
หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 ถึง 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้า ช่วงเตรียมดินในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ข้อดีของการใช้สมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลง
- ปลอดภัยพืชสมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อนไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างเนื่องจากสลายตัวได้ง่าย
- โอกาสที่แมลงสร้างความต้านทานน้อยกว่าสารเคมี
- ออกฤทธิ์กับแมลงในหลายด้านเป็นพิษน้อยต่อศัตรูธรรมชาติ
- ประหยัด ราคาถูก เนื่องจากสมุนไพรเหล่านี้หาได้ง่ายและสามารถเตรียมได้เอง ทำให้ลดดุลการค้าที่เสียเปรียบต่างประเทศ
- เป็นพืชเศรษฐกิจ ควรส่งเสริมการปลูกสมุนไพรไว้เพื่อใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง ในรูปสารสกัดจะทำให้ได้ราคาดี
สารสกัดจากสมุนไพรมีผลต่อแมลง
- เป็นสารไล่แมลง
- ทำให้แมลงกินอาหารน้อยลง
- ทำให้แมลงเป็นหมัน
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอน
- ลดการวางไข่ การฟักไข่ของแมลง
- เป็นพิษโดยตรงต่อแมลง
นอกจาก ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่เกษตรกรจะต้องคอยป้องกัน สำรวจ แก้ไข ยังต้องบำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง เพราะเมื่อแข็งแรง โรคและแมลงจะไม่รบกวน ติดตามสูตรเพิ่มเติม ในบทความ สมุนไพรใกล้ตัว ผักสวนครัว ยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล: www.baanjomyut.com, www.banrainarao.com, www.phupassara.com, www.obec.go.th)