การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

บำรุงข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

ขอบคุณรูปภาพจาก https://twitter.com/thairiceberry

การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ เนื่องจากข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นสายพันธุ์ข้าวที่เน้นการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ การให้น้ำเลี้ยงโคนต้นข้าวจนออกรวงนั้น ไม่เพียงพอต่อต้านโรคและแมลงได้ 100 เปอร์เซนต์ ด้วยเหตุผลทางสิ่งแวดล้อมต่างต่างนานา การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยต้านโรคและแมลงได้อย่างมาก นอกจากนี้แล้ว ยังได้เมล็ดข้าวที่เต่ง สมบูรณ์ ผู้เขียนมีความตั้งใจ รวบรวมสูตร ปุ๋ยสมุนไพร และแถมท้ายด้วย ฮอร์โมนสมุนไพร มาฝากเกษตรกร และเกษตรกรมือใหม่ เพื่อนำไปใช้หรือดัดแปลงให้สะดวก และได้ประโยชน์มากที่สุด และท่านสามารถสืบค้นสูตรสมุนไพรไล่แมลง และต่อต้านโรค ได้จากบทความ สมุนไพรใกล้ตัว ผักสวนครัว ยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน และ การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

ปุ๋ยสมุนไพร
น้ำหมักชีวภาพสูตรเศษอาหารเหลือทิ้ง สูตรที่1 (คุณสมยศ รักษาวงศ์)
ส่วนผสม

  • ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน
  • กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน

วิธีทำ

  • ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ)
  • ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี

วิธีใช้
ใช้แทนปุ๋ยเคมี ให้เริ่มตั้งแต่ช่วงเตรียมดิน (ป้องกันกำจัดวัชพืช) และใช้ครั้งต่อไปหลังโยนกล้า ปักดำ หรือหว่านข้าว 10 ถึง 15 วัน และใช้ต่อเนื่องทุกๆ 10 วัน รวม 5 ครั้ง ใช้อัตรา 1 ลิตร ต่อ น้ำ 200 ลิตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ฉีดพ่นให้อาหารทางใบได้ดี

น้ำหมักชีวภาพสูตรเศษอาหาร สูตรที่2 (คุณพ่อจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้าน ต.โนนรัง อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา)
ส่วนผสม

  • เศษอาหาร 3 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 2 แก้ว
  • น้ำหมัก 2 แก้ว
  • น้ำเปล่า 10 ลิตร

วิธีทำ
นำวัตถุดิบทั้งหมดมาคลุกเคล้าผสมกัน หมักทิ้งไว้ในถัง 3 เดือน สามารถนำไปใช้งานได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะเดาหมัก

สูตรสะเดาหมัก
ส่วนผสม

  • สะเดา 5 กิโลกรัม
  • เหล้าขาว 4 ขวด
  • น้ำ 5 ลิตร

วิธีทำ
หมักไว้ 3 วัน คั้นเอาแต่น้ำ

วิธีใช้
ฉีดพ่น ในนาข้าว ในอัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อ 1 ไร่

 

สูตรผักเสี้ยนผี
ส่วนผสม

  • ผักเสี้ยนผี 3 กิโลกรัม
  • ใบน้อยหน่า 3 กิโลกรัม
  • กระเทียม ใช้ทั้งหัว 2-3 กิโลกรัม

วิธีทำ
สับให้ละเอียด หมักทิ้งไว้ 2 วัน คั้นเอาแต่น้ำ

วิธีใช้
อัตราการใช้ในนาข้าว 50 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปุ๋ยชีวภาพแห้ง

ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วนผสม

  • เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ
  • แกลบ 10 ปี๊บ
  • มูลสัตว์ 10 ปี๊บ
  • รำอ่อน 1 ปี๊บ
  • น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง
  • กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง
  • น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)

วิธีทำ

  • นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากัน
  • ผสมน้ำและกากน้ำตาล รดส่วนผสมให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ประมาณ 8 ถึง 12 ชั่วโมง ให้ทดสอบอุณหภูมิของกองปุ๋ย โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงาน
  • ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกลับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม
  • ทิ้งไว้อีก 3 – 4 วัน ให้ตรวจสอบกองปุ๋ย ถ้าปุ๋ยมีความเย็น คือ นำไปใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีก จนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้

ปุ๋ยหมักชีวภาพชนิดผง (คุณพ่อจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้าน ต.โนนรัง อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา)

ส่วนผสม

  • มูลสัตว์แห้ง ทุบหรือบดละเอียด 1 ถุงปุ๋ย
  • แกลบดิบ 1 ถุงปุ๋ย
  • รำละเอียด ½ ถุงปุ๋ย
  • กากน้ำตาล 2 แก้ว
  • น้ำหมัก 2 แก้ว
  • น้ำสะอาด 10 ถึง 12 ลิตร

วิธีทำ

  • นำมูลสัตว์ และแกลบ มาผสมให้เข้ากัน
  • ผสมกากน้ำตาล น้ำหมัก น้ำสะอาด คนให้เข้ากัน เทลงผสมกับมูลสัตว์และแกลบดิบที่เตรียมไว้ คลุกเคล้าผสมกันให้ความชื้นอยู่ที่ 50เปอร์เซนต์ ถ้าลองกำปุ๋ยดูแล้วไม่มีน้ำไหลซึมและปั้นเป็นก้อนได้ถือว่าใช้ได้
  • จากนั้นให้นำรำมาผสมให้เข้ากับปุ๋ยที่หมักไว้ ทิ้งไว้ 7 วัน สามารถนำมาใช้ได้

การใช้ปุ๋ยในนาข้าว
กรณีไถพรวน  หว่านปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม ให้แปลงทั่วจากนั้นผสมปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้น ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์จากน้ำหมักชีวภาพ ช่วยเปลี่ยนสลายวัชพืช และฟางข้าวให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติและช่วยเร่งการงอกของราก หลังจาก 15 วันไปแล้ว ให้ผสมนำหมักชีวภาพ 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร และน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้น แล้วไถกลบเพื่อทำลายหญ้าให้กลายเป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงไถคราดเพื่อทำนาต่อไป
กรณีไถคราดเพื่อปักดำ  นำส่วนผสมที่ประกอบด้วยนำหมักชีวภาพ 1 ลิตร และน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้น แล้วไถคราดเพื่อปักดำ หลังจากปักดำ 7 – 15 วัน ให้หว่านปุ๋ยหมักจนทั่วแปลงในอัตรา 100 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ แล้วพ่นตามด้วยน้ำหมักชีวภาพซ้ำอีกครั้ง เมื่อข้าวอายุ 1 เดือน ให้หว่านปุ๋ยหมัก 400 กิโลเมตรต่อไร่ และฉีดซ้ำด้วยน้ำหมักชีวภาพอีกครั้ง หากมีเพลี้ยหรือโรคแมลงระบาด ควรฉีดส่วนผสมชีวภาพสูตรไล่แมลงทุกๆ 15 วัน

ข้าวในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้

  • ไถ่พรวน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กิโลกรัม (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากน้ำหมักพืช 2 แก้ว กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชทำการย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว เมื่อไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืช และกากน้ำตาล ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถคราดเพื่อดำนาต่อไป
  • ไถคราด พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำ อัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไถคราดให้ทั่วเพื่อเตรียมปักดำ
  • หลังปักดำ 7 ถึง 15 วัน ให้หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัม ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
  • ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัม ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
  • ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 กิโลกรัม ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว

***พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วปีต่อๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อไปๆ ไปปริมาณ ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และเพิ่มปริมาณผลผลิต***

สูตรฮอร์โมนบำรุงข้าว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮอร์โมนสูตรรกหมู

ฮอร์โมนสูตรรกหมู
ส่วนผสม

  • รกหมู 1 รก1 รก (น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม)
  • จุลินทรีย์ 1 ลิตร
  • กากน้ำตาล 1 ลิตร
  • น้ำฝน 10 ลิตร
  • หมักทิ้งไว้ อย่างน้อย 21 วัน

วิธีใช้
ใช้ในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

  • เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม
  • บ่มเมล็ดพันธุ์ไว้ 3 วัน
  • ใช้ฮอร์โมนสูตรรกหมู อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร รดเมล็ดพันธุ์ที่บ่มไว้

 

ฮอร์โมนสูตรพืชสด
ส่วนผสม

  • กล้วยน้ำว้าสุก, ฟักทองแก่จัด, มะละกอสุก อย่างละ 1 กิโลกรัม
  • น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง
  • กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
  • น้ำสะอาด 5 ลิตร

วิธีทำ

  • สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก)
  • จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาด คนให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง)
  • จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 ถึง 8 วัน

วิธีใช้
นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่น หรือ ใช้รดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี

*** ปัจจุบัน ได้มีการลดขั้นตอนในการฉีดสมุนไพรและฮอร์โมนลง โดยฉีดพ่นในช่วงข้าวอายุ 50 และ 60 วันเท่านั้น เพราะต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยสังเกตจากต้นข้าวกอใหญ่ มีความตั้งตรง มีสีเขียวตามธรรมชาติ ถ้าข้าวยังไม่แข็งแรงสามารถฉีดสมุนไพรและฮอร์โมน ในช่วง 75 วันเพิ่มเติมได้***

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การดูแลต้นข้าวไรซ์

การดูแลรักษาต้นข้าว 

  • ข้าวอายุ 10 วัน ปล่อยน้ำ ผสมจุลินทรีย์ ผสมฮอร์โมนสูตรรกหมู อัตรา 5 ลิตร ต่อไร่ เข้าแปลงนา
  • ข้าวอายุ 15 วัน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังจากนั้นให้ตรวจกล้าข้าวว่าเจริญเติบโตสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าข้าวเสีย หรือไม่สม่ำเสมอ ให้ทำการซ่อมกล้า โดยใช้เครื่องมือซ่อมกล้าข้าว เพื่อลดการช้ำของต้นข้าว และให้ต้นข้าวที่ขึ้นสม่ำเสมอกันทั่วแปลงนา
  • ข้าวอายุ 35 วัน ใส่จุลินทรีย์ ผสมฮอร์โมนสูตรรกหมู อัตราส่วน 5 ลิตร ต่อไร่ มีการทำร่องเดิน เพื่อไม่ให้เหยียบต้นกล้าข้าว
  • ฉีดพ่นขับไล่แมลง โดยใช้สมุนไพร (น้ำสะเดาหมัก, ผักเสี้ยนผี, น้ำส้มควันไม้)

***ถ้ามีแตนเบียนสามารถปล่อยแตนเบียนได้ เพื่อรักษาระบบนิเวศในนาข้าว***

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: www.banrainarao.com, www.phupassara.com, www.brrd.in.th, www.riceberryvalley.org, www.thaibiodiversity.org)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *