การดูแลมะม่วงให้ติดผลดก

การดูแลมะม่วงให้ติดผลดก

เมื่อปลูกมะม่วงแล้ว เราก็ต้องมี การดูแลมะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ทำรายได้คุ้มค่ากับการลงทุนการดูแลมะม่วง ใช่ว่าแค่รดน้ำทุกวัน ก็ได้มะม่วงมารับประทานหรือส่งขายได้แล้ว การรดน้ำ ให้ปุ๋ย และหลักการอื่นๆ ที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อให้การปลูกมะม่วงได้ผลดี

ขั้นตอน การดูแลมะม่วง
การให้น้ำ หลักที่ควรปฏิบัติ:

1. ช่วงปีแรกของการเพาะปลูก ควรรดน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าอากาศแล้งจัดก็ควรรดน้ำเพิ่ม
2. ก่อนมะม่วงออกดอก ไม่ต้องให้น้ำ เพราะมะม่วงต้องการพัก หรือหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบเพื่อสะสมอาหารเตรียมแทงช่อดอก โดยหยุดการรดน้ำเป็นเวลา 1 เดือน และอาจใช้วิธีรมควันโดยสุมไฟให้ควันร้อนไล่ความชื้นในดิน หรือวิธีควั่นตามกิ่งไม่ให้น้ำไปถึงยอด
3. เมื่อมะม่วงเริ่มออกดอก และดอกเริ่มบาน เริ่มให้น้ำทีละน้อย ลักษณะคือ รดเพียงแค่ให้หน้าดินเปียก ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกจนกว่าจะผสมเกสรติดเป็นผลอ่อน จึงค่อยเพิ่มการรดน้ำขึ้นทีละน้อย หลังจากนั้น 47 วัน นับจากวันที่ดอกบาน ต้นมะม่วงต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ และสม่ำเสมอ จนกว่าผลมะม่วงจะอายุได้ 70 วัน นับตั้งแต่วันที่ดอกบาน จึงลดปริมาณการให้น้ำลงทีละน้อย เมื่อผลมะม่วงอายุได้ 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดอกบาน ระยะเก็บเกี่ยวประมาณ         ( 100-115 วัน) *การสังเกตว่ารดน้ำมากไปหรือน้อยไป สังเกตจากขั้วดอกและขั้วผล คือ ถ้าขั้วแห้งแสดงว่าน้ำน้อย แต่ถ้าขั้วสด มีน้ำมีนวลสีเขียวออกเหลืองนวล แสดงว่าน้ำมากเกินไป
4. เมื่อเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้ว ควรจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอกัน และทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำ ถ้าฝนไม่ตกหรือดินไม่มีความชื้นพอ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอกับมะม่วงในช่วงต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบ โดยให้น้ำตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลเสร็จไปจนถึงเดือนกันยายน

การให้ปุ๋ย

1. ก่อนเก็บเกี่ยวมะม่วง หรือช่วงเก็บเกี่ยวผลอยู่ ให้กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกไว้รอบๆ โคนต้น แต่ไม่ต้องรดน้ำจนกว่าจะเก็บเกี่ยวหมด จึงเกลี่ยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกกลบดินเล็กน้อย พร้อมให้น้ำไปด้วย ต้นมะม่วงที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ใช้ต้นละ 2-3 ปี๊บ และใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15, 17-17-17 ใส่ด้วย หากต้นมะม่วงมีสภาพสมบูรณ์อาจลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นให้ปุ๋ยเคมีสูตรเร่งดอก เช่น 10-20-30, 12-26-32 พ่นมะม่วงในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.
2. เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลอ่อน เริ่มให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15, 17-17-17 อีกครั้งหนึ่งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผล
3. เมื่อผลโตขนาด 2 ใน 3 ของผลโตเต็มที่ ให้ใช้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ สูตร 10-20-30, 12-22-32 (สูตรตัวท้ายสูง) เพื่อช่วยให้คุณภาพและรสชาติหวานขึ้น

เคล็ดลับการดูแล ช่อดอกมะม่วงให้ติดผลดก

การออกดอกของมะม่วง ที่พบส่วนมาก มีการออกดอกใน 3 รูปแบบ คือ
1. ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น 2. ออกดอกครั้งละ ครึ่งต้น 3. ทยอยออกดอกหลายรุ่น
การดูแลช่อดอกนั้นจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของการออกดอก ต้นมะม่วงที่มีออกพร้อมกัน
ทั้งต้นจะดูแลง่ายกว่ามะม่วงที่ทยอยออกดอก เพราะมีช่วงระยะเวลาในการดูแลดอกสั้น ถ้าต้นที่ทยอยออกดอก จะต้องดูแลนานกว่า จะติดผลหมดทุกรุ่น ดังนั้นเกษตรกรมืออาชีพส่วนใหญ่จะนิยมทำให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน เพื่อความสะดวกในการจัดการ และประหยัดต้นทุน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกมะม่วง

การทำให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน

ต้องดูแลมะม่วงตั้งแต่เริ่มแต่งกิ่งให้ดี ถ้าแต่งกิ่งแล้วใบอ่อนไม่ออกพร้อมกัน โอกาสที่จะทำให้ดอกออกพร้อมกันเป็นไปได้ยากก่อนตัดแต่งกิ่งต้องดูก่อนว่าดินมีความชื้นพอหรือไม่ ในพื้นที่ชลประทาน หรือ พื้นที่ที่มีน้ำสะดวกแนะนำให้รดน้ำดินให้ชุ่ม แต่ถ้าเป็นพื้นที่แล้งอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องรอให้ฝนตกใหญ่ 3-4 ครั้งก่อนจึงจะแต่งกิ่งเพราะถ้าดินแห้งแล้ง แต่งกิ่งไปแล้ว โอกาสที่ใบอ่อนจะออกเสมอกันมีน้อยมาก ช่วงเวลาของการตัดแต่งเป็นตัวกำหนดอย่างหนึ่ง หลังแต่งกิ่งเสร็จ จะต้องเร่งมะม่วงให้แตกใบอ่อนให้เสมอกัน ทางดิน จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ต้นละ 1-2 กิโลกรัม หลังแต่งกิ่งทุกปี ให้มะม่วงได้ผลดี จะต้องเอาปุ๋ยให้ต้นมะม่วงก่อน ไม่เช่นนั้นผลผลิตจะไม่ดีมีหลายคนสอบถาม เรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในสวนมะม่วง ให้ใส่ก่อนแต่งกิ่งแค่ครั้งเดียว ถ้าใส่บ่อยๆ จะบังคับให้ออกดอกยาก ทางใบ ฉีดพ่น ปุ๋ยไทโอยูเรีย อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ผสมกับฮอร์โมนจำพวกสาหร่าย-สกัด 2 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกัน 5-7 วัน มะม่วงจะออกใบอ่อนพร้อมกันทั้งสวน

*ถ้าใบอ่อนออกเสมอสวยงาม ใส่ปุ๋ยถูกช่วงเวลา บำรุงรักษา เวลาดึงดอก ดอกก็จะออกเสมอเช่นกัน*
**การใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีมากไปเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ จะไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้นด้วย**
การดูแลต้นมะม่วงกรณีออกดอกพร้อมกัน

เมื่อถึงระยะนี้ ควรให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างพอเพียง ไม่มากไม่น้อยเกินไป เน้นการให้อาหารทางใบ และให้สังเกตดูว่าก้านช่อสมบูรณ์หรือไม่ คือ ต้องมีสีแดงเข้ม ถ้าสีขาวซีดต้องเร่งอาหารเสริม และต้องดูแลช่วงช่อดอกให้ดีกำจัดวัชพืช โรคพืช และ แมลงศัตรูพืช อย่างสม่ำเสมอ เพราะศัตรูเหล่านี้จะรุมทำลายช่วงนี้ และจะทำให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งศัตรูที่พบมากที่สุดก็คือ เพลี้ยไฟ และโรคแอนแทรคโนส

(แหล่งข้อมูล www.trionk.net, http://web.ku.ac.th, มะม่วงเศรษฐกิจ & ส่งออก ยุคใหม่…สร้างเงินล้าน

การห่อผลมะม่วง

ก่อนหน้านี้เกษตรกรมักจะห่อมะม่วงด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แต่ผิวของผลมะม่วงไม่ค่อยเรียบเนียนเหมือนที่ห่อด้วยกระดาษคาร์บอน การห่อผลด้วยถุงกระดาษคาร์บอนนั้นจะได้ผิวผลมะม่วงที่สวยเนียน เพราะความหนาที่มีมากกว่ากระดาษหนังสือพิมพ์ธรรมดา ทำให้แดดส่องถึงได้ยาก และไม่มีปัญหาเรื่องหมึกตกค้างเหมือนใช้กระดาษหนังสือพิมพ์

ถุงกระดาษห่อมะม่วง

ถุงสีน้ำตาล—ชั้นนอกเป็นสีน้ำตาล ข้างในเป็นกระดาษคาร์บอน ป้องกันแสงแดดไม่ให้ทะลุผ่าน ทำให้มะม่วง ผิวมัน เงา เป็นสีทองได้ผลผลิตเกรด A มากขึ้นถุงสีขาว—ช่วยกันน้ำ แมลง ป้องกันการเสียดสี ป้องกันเชื้อรา และโรคระบาด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทคนิคการลดต้นทุนการใช้ถุงกระดาษห่อมะม่วง

ถุงกระดาษห่อมะม่วงสามารถใช้ได้ถึง 3 ครั้ง คือ เมื่อใช้ครั้งแรกแล้วถุงมะม่วงที่เปื้อนยางมะม่วงจะเอามาต้มน้ำเดือดประมาณ 20 นาที จากนั้นจะนำมาตากแล้วก็รีด สภาพจะเหมือนถุงใหม่ สามารถใช้ได้อีก แต่การใช้รอบที่ 3 จะไม่ได้นำมาห่อมะม่วงเกรด A แล้ว แต่สามารถใช้ห่อมะม่วงแปรรูป ได้สีผิวของมะม่วงอ่อนลงกว่าการห่อด้วยถุงใหม่ แต่มะม่วงที่ใช้ในการแปรรูปจะไม่เน้นเรื่องสีมาก จึงไม่มีปัญหา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: มะม่วงเศรษฐกิจ & ส่งออก ยุคใหม่…สร้างเงินล้าน)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *