การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับการปลูกพุทรานมสด เกษตรกรจะได้ผลผลิตมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ค่ะ โดยเฉพาะ การให้น้ำหมักนมสด และการตัดแต่งกิ่ง

ขั้นตอน การดูแลพุทรานมสด

การให้นํ้า
รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า ในระยะ 3 เดือนแรก หลังปลูก หลังจากนั้น อาจจะรดน้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วันครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าร้อนจัด ให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำ หรือสังเกตจากสภาพดินหากแห้งเกินไป ควรเพิ่มการให้น้ำ เดือนที่ 6 หรือ เดือนที่ 7 ช่วงเริ่มติดดอก ต้องหมั่นให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตและจะให้ผลโต

การให้ปุ๋ย

  • ในระยะเริ่มต้นต้องให้ปุ๋ยคอกเม็ด ทุก 10 วัน ต้นละครึ่งช้อนโต๊ะ โรยห่างจากโคนต้นโดยรอบ
  • เดือนที่ 4 หลังการปลูกก ต้นพุทราจะเริ่มออกดอก ให้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่มีธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงทุก ๆ 10 วัน
  • เมื่อพุทรานมสดเริ่มติดลูก ให้เปลี่ยนใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง พร้อมกับให้ปุ๋ยหมักนมสดเพื่อเพิ่มรสชาติให้พุทรามีความหวานกรอบ
  • เมื่อต้นพุทรานมสดมีอายุขึ้นปีที่ 2 เป็นต้นไป ให้ปุ๋ยคอกเม็ดเพิ่มเป็นต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ10 วัน

การให้น้ำหมักนมสด
รดน้ำหมักนมสดทุก 10 วัน ตั้งแต่ต้นพุทราเริ่มติดลูก เสริมแคลเซียมให้กับพุทรา ช่วยทำให้พุทราเนื้อแน่น กรอบ และหอม

การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดปีละ 1 ถึง 2 ครั้ง โดยใช้มือถอน หรือการดายหญ้าพร้อมกับการพรวนดิน การดูแลอย่างใกล้ชิด วัชพืชจะไม่มาก และไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด

เทคนิคการทำให้พุทรานมสดหวาน
การควบคุมจำนวนลูก ไม่ให้เกิน 50 กิโลกรัม ต่อต้น ปกติ 1 ต้น จะให้ผลผลิตประมาณ 100 กก. ให้ทำการกรีดทิ้ง เช่น พุทรา 1 พวง มี 4 ลูก ต้องกรีดเอา 2 ลูกตรงกลางออก หรือเลือกลูกที่มีขนาดเล็ก หรือลูกที่ไม่สวย เพื่อไม่ให้ลูกพุทราแย่งความหวานกัน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

การห่อผลพุทรานมสด

  • เมื่อผลพุทรานมสดมีขนาดประมาณเหรียญ 10 บาท ใช้ถุงห่อผลไม้ห่อผลพุทรานมสด ถุงละ 1 ผล โดยเลือกผลที่ดูสวยไม่บิดเบี้ยว เพื่อป้องกันแมลง โดยไม่ต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลง
  • นำขวดน้ำพลาสติกใส มาเจาะให้เป็นช่อง ใส่ลูกเหม็น มาผูกติดไว้ตามปลายกิ่ง กลิ่นของลูกเหม็นจะช่วยไล่แมลง หลังจากห่อผลพุทราแล้ว รดนํ้า ใส่ปุ๋ย รดนํ้าหมักนมสด ตามปกติ และตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่ง และค้ำกิ่ง พุทรานมสด
การตัดแต่งกิ่ง
เป็นขั้นตอนการดูแลที่สำคัญมาก เพราะพุทรานมสด เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก การตัดแต่งกิ่งจะให้ผลผลิตที่ดก และมีขนาดผลที่ใหญ่

รูปแบบการตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งมีทั้งแบบหนัก เหลือแต่ก้านใหญ่ ๆ หรือ เหลือแต่ตอ โดยเหลือกิ่งใหญ่ไว้ประมาณ 4 ถึง 5 กิ่ง รอบทิศทาง จะทำให้ใด้โครงสร้างต้นที่แข็งแรง สมบูรณ์กว่ากิ่งเก่า สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย เป็นการบังคับให้แตกกิ่งและออกดอกพร้อมกัน ติดผลอย่างทั่วต้นและสม่ำเสมอ
เมื่อตัดแต่งกิ่งออกแล้ว ใช้ปูนแดงทาที่รอยแผล

ระยะเวลาในการตัดแต่งกิ่ง
การปลูกในพื้นที่ลุ่ม และยกร่อง ต้องตัดแต่งกิ่งเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม

การปลูกในพื้นที่ราบ ไม่มีการยกร่อง ต้องตัดแต่งกิ่งเดือนสิงหาคม สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม

การค้ำกิ่ง
เป็นวิธีที่ช่วยให้การรับน้ำหนักของกิ่งพุทรานมสดไม่ฉีกขาด และผลของพุทรานมสดจะไม่ละพื้นดิน ให้เกิดความสกปรกและเป็นโรคได้

วิธีการค้ำกิ่ง

  • เมื่อมีกิ่งกระโดงแตกขึ้นมา ยาวประมาณ 1.50 ถึง 2 เมตร ใช้ไม้รวกปักบนดินแล้วดึงกิ่งมาผูกไว้กับไม้รวก เป็นคอกสี่เหลี่ยมเหมือนกับการปลูกส้มเขียวหวาน
  • เมื่อกิ่งยาวเพิ่มออกไปอีก ก็ควรใช้ไม้รวกเพิ่มอีกพร้อมกับการจัดกิ่งให้แยกออกไปรอบ ๆ ต้นพุทรานมสด ไม่ให้กิ่งทับซ้อนกัน หลังจากตัดแต่งกิ่ง 1 ถึง 2 เดือน กิ่งใหม่ก็จะเริ่มออกดอก ตามข้อจะออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นพวง ในหนึ่งพวงจะมีดอก ประมาณ 10 ถึง 15 ดอก ดอกจะร่วงหล่นและจะติดผลข้อละ ประมาณ 1 ถึง 6 ผล

***การปลูกพุทรานมสด หากต้นพุทรามีอายุน้อยเกินไป ต้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่ควรให้ติดผล ให้ปลิดผลทิ้ง หลังการตัดแต่งกิ่งแล้วประมาณ 4 ถึง 6 เดือน จึงปล่อยให้ติดผล ซึ่งพุทรานมสดจะให้ผลเกือบตลอดทั้งปี***

***เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุน ควรให้พุทรานมสดติดผลปีละ 2 ครั้ง เรียกว่า พุทราทะวาย และพุทราปี โดยใช้วิธีกำหนดระยะเวลาการตัดแต่งกิ่งเป็นสำคัญ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำสาวพุทรานมสด

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เมื่อพุทรานมสดติดผลประมาณ 7 เดือน สามารถเก็บผลจำหน่ายได้
***ควรเก็บลูกที่แก่ประมาณ 70% โดยสังเกตจากขั้วพุทรานมสดจะยุบลงไปในผล***

การป้องกัน และกำจัด โรค และแมลงศัตรูพุทรานมสด
โรคราแป้ง
หากพบลักษณะ คล้ายฝุ่นขาวบริเวณหน้าใบ และหลังใบแก่
ให้ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคใบจุด
พบมากในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแล้ง
ลักษณะอาการ ไม่พบอาการใบจุดบนผิวใบด้านบน พบแต่อาการสีเหลือง
เป็นวงกลมเล็ก ราสร้างเส้นใย และสปอร์สีน้ าตาลดำ เป็นกลุ่มหนาแน่น บนผิวใบด้านล่าง ทำใบด้านบนตรงบริเวณที่ราเจริญอยู่ มีสีเหลือง มักพบเห็นเส้นใยราเจริญอยู่ใต้ใบ ลักษณะอาการจะไม่เกิดเป็นใบจุด ลักษณะคล้ายกับราดำ เจริญอยู่ใต้ใบพุทรานมสด

แมลงศัตรูพุทรานมสด
หนอนแดงพุทรา หนอนแมลงวัน และหนอนชอนใบ
ป้องกันด้วยการห่อผล ซึ่งสามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซนต์ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

ขอบคุณสำหรับการติดตามนะคะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล : www.knowledge.kasetbay.com, www.clinictech.most.go.th)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *