การคัดแยกคำแนะนำและเทคนิคผลผลิตไส้เดือนดิน

การคัดแยกไส้เดือน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คัดแยกใส้เดือน

ผลผลิตไส้เดือนดินกับการคัดแยก และเก็บผลผลิตไส้เดือนดิน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของไส้เดือนดินมาก หากไม่คัดแยก ไม่เก็บ ผลผลิตไส้เดือนดิน เมื่อปริมาณไส้เดือนดินในบ่อเลี้ยงมีเพิ่มขึ้น ก็จะแย่งอาหารและออกซิเจน นอกจากนี้ มูลไส้เดือนดินที่ถูกขับถ่ายออกมาก็เป็นอันตรายต่อไส้เดือนดินด้วยกันอีก เพราะฉะนั้น การคัดแยก และเก็บผลผลิตจึงมีส่วนช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนดินต่อพื้นที่ให้เหมาะสมตามระยะเวลาของการเจริญเติบโต และการวางไข่ด้วย การคัดแยกไส้เดือนดิน เป็นการนำมูลไส้เดือนดินไปทำปุ๋ย, นำตัวไส้เดือนดินไปจำหน่าย, นำตัวพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนดินไปขยายพันธุ์ และเป็นการนับจำนวนการรอดและตายของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และจำนวนลูกไส้เดือนดินที่เกิดขึ้นมาใหม่ ช่วยให้คำนวณการเพิ่มจำนวนของไส้เดือนที่เลี้ยง เพื่อวางแผนการตลาดต่อไปได้

วิธีการคัดแยกไส้เดือนดิน

ขึ้นอยู่กับปริมาณมูลไส้เดือนดิน เช่น กรณีที่มีมูลไส้เดือนดินน้อย ใช้วิธี การใช้แสงไฟไล่, ใช้ตะแกรงร่อน หรือ ให้ไส้เดือนดินเคลื่อนย้ายตัวเอง ส่วนในกรณีที่มีมูลไส้เดือนดินปริมาณมาก ใช้วิธี การคัดแยกด้วยเครื่องร่อนขนาดใหญ่ ซึ่งทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยแยกไส้เดือนดินออกมาจากกองมูล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แยกไส้เดือน

  1. การคัดแยกด้วยมือ
    การเลี้ยงไส้เดือนดินในพื้นที่เล็กๆ ที่ปริมาณมูลไส้เดือนดินไม่มากนัก สามารถทำการคัดแยกโดยการใช้มือคัดแยกตัวไส้เดือนดินออกมา หรือหยุดรดน้ำ แล้วใช้ตะแกรง หรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูร่อนไส้เดือนออกมา
  2. การให้ไส้เดือนดินเคลื่อนที่ไปยังอาหารใหม่เริ่มต้นโดยการหยุดรดน้ำและงดอาหารที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนดิน อย่างน้อย 5-10 วัน หลังจากนั้น ใส่ที่อยู่(หรือ พื้นเลี้ยง) ใหม่ลงไป หรือใส่อาหารลงในภาชนะเพื่อล่อไส้เดือนดินให้เคลื่อนที่เข้าหาอาหารใหม่แล้วแยกเก็บไส้เดือนดิน วิธีนี้ต้องใช้เวลา และไม่สามารถเก็บหรือคัดแยกไส้เดือนดินตัวเล็กหรือโคคูนไส้เดือนได้
  3. การให้ไส้เดือนเคลื่อนที่หนีแสงโดยการกองวัสดุเลี้ยงเป็นทรงภูเขาเล็กๆ ไส้เดือนดินจะไม่ชอบแสง ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด หรือแสงจากหลอดไฟ แล้วมุดหนีลงไปรวมกันที่ด้านล่าง หรือใช้ภาชนะ ให้ไส้เดือนดินเคลื่อนย้ายตัวเอง เช่น ลังไม้ หรือลังพลาสติกรองพื้นด้วยพลาสติก ใส่ปุ๋ยหมักหรือมอสที่มีความชื้นสูง หนา 5 เซนติเมตร ใช้พลั้วตักไส้เดือนในบ่อลึก 10-12 เซนติเมตร ใส่ลงไปในลังแยกไส้เดือนดินในที่ที่มีแสงสว่างไล่ให้ไส้เดือนดินหนีแสงลงไปด้านล่างของถัง จากนั้นค่อยๆ แยกวัสดุรองลังออก เหลือแต่ไส้เดือนอยู่ด้านล่างลัง
  4. การคัดแยกโดยใช้อุปกรณ์
  5. การแยกด้วยการใช้รถไถ ในฟาร์มขนาดใหญ่จะใช้รถไถช่วยตักผิวของกองปุ๋ยหมัก ซึ่งเป็นที่อยู่ของไส้เดือนดิน จากนั้น จึงใช้แรงงานคน ในการคัดแยกไส้เดือนดิน เพื่อนำมาบรรจุ

คำแนะนำในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพไส้เดือนดิน
วัสดุที่ควรนำมาใช้เพิ่มผลผลิตไส้เดือนดิน ในการทำปุ๋ยหมัก

เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะจากชุมชน และขยะอินทรีย์ จากภาคอุตสาหกรรมบางประเภท สามารถนำมาทำที่อยู่ของไส้เดือนดิน เพื่อทำปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน วัสดุแต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการย่อยสลายที่ต่างกัน มูลสัตว์เคี้ยวเอื้องต่างๆ เช่น วัว ควาย ม้า แพะ มูลสัตว์ปีกต่างๆ เช่น ไก่ เป็ด นกกระทา และมูลสุกร เศษผักจากบ้านเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล และตลาด เป็นวัสดุที่ย่อยง่ายและรวดเร็ว วัสดุที่ใช้เวลานานในการย่อยสลาย เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด หญ้าแห้ง ก้อนเชื้อเห็ดเก่า การคัดเลือกวัสดุอินทรีย์เพื่อใช้ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ วัสดุบางชนิดต้องจัดเตรียมให้เหมาะสมก่อนนำไปให้ไส้เดือนดินย่อยสลาย

คุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมในการนำมาเป็นที่อยู่ของไส้เดือนดิน

  • เก็บความชื้นได้ดี
  • มีความพรุน
  • ไม่มีโปรตีนสูง
  • มีดินในปริมาณเล็กน้อย หรือไม่มีดินเลย

สิ่งที่ควรคำนึงถึง ในการเลือกวัสดุเพื่อทำเป็นที่อยู่ของไส้เดือนดิน คือ

  • การจัดหา และจัดเตรียมวัตถุดิบ
  • ต้นทุน
  • ปริมาณธาตุอาหาร
  • อัตราการย่อยสลาย

ข้อดี-ข้อเสียของวัสดุต่างๆ
กระดาษ
ข้อดี

  • ต้นทุนต่ำ
  • หาได้ง่าย
  • ไม่มีกลิ่นเหม็น
  • ไม่มีฝุ่น
  • ราคาถูก

ข้อเสีย

  • เสียเวลาในการจัดเตรียม
  • ชิ้นใหญ่ จะแห้งง่าย
  • อาจเกาะกันเป็นชิ้น ทำให้ฝังกลบของเสียได้ยาก

ขุยมะพร้าว
ข้อดี

  • เก็บความชื้นดี
  • สะอาด
  • ไม่มีกลิ่น
  • เหมาะสำหรับผสมวัสดุชนิดอื่นๆ เป็นที่อยู่อาศัย
    ข้อเสีย
  • ต้องหาซื้อ

ใบไม้เก่า
ข้อดี

  • มีความเหมาะสม เพราะเป็นที่อยู่ของไส้เดือนโดยธรรมชาติ
  • ราคาถูก หรือหาได้ง่าย ไม่ต้องซื้อ
    ข้อเสีย
  • มีแมลงและสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการอาศัยอยู่
  • ใบไม้อาจจับตัวเป็นก้อน ทำให้ยากแก่การฝังอาหาร

เศษฟางข้าว
ข้อดี

  • หลังผ่านกระบวนการแล้ว ทำให้มีอัตราการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ที่รวดเร็ว
    ข้อเสีย
  • ย่อยสลายได้ยากต้องนำมาผ่านกระบวนการ สับ แช่น้ำ หมัก เพื่อปรับสภาพให้อ่อนนุ่ม

ผักตบชวา
ข้อดี

  • มีเยื่อและเส้นใยที่เหมาะสมแก่การเลี้ยง
    ข้อเสีย
  • ต้องใช้ปริมาณมาก เพราะผักตบชวาสดมีปริมาณน้ำอยู่มาก ถ้าใช้ผักตบชวาสด 10 ส่วน จะเหลือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน หลังจากผ่านการย่อยสลายโดยไส้เดือนดิน

มูลสัตว์
ข้อดี

  • เป็นที่อยู่โดยธรรมชาติของไส้เดือนดิน
  • เป็นอาหารที่มีสารอาหารสมบูรณ์ ผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพ
    ข้อเสีย
  • ไม่สามารถใช้ได้ทันที
  • มีกลิ่น
  • อาจมีศัตรูของไส้เดือนดินอยู่อาศัย
  • อาจเกิดความร้อน
  • อาจอัดตัวแน่น

มูลสัตว์ที่นิยมนำมาทำที่อยู่หรือพื้นเลี้ยงของไส้เดือนดิน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มูลวัว

มูลวัว-มูลควาย

เป็นวัสดุที่นิยมนำมาเลี้ยงไส้เดือนดินมากที่สุด เนื่องจากหาได้ง่าย ราคาถูก มีการย่อยสลายที่ง่าย ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นพิษกับไส้เดือนดิน แต่มูลวัวบางแหล่งมีการใช้โซดาไฟ หรือเลี้ยงด้วยสับปะรด ความเป็นกรด-ด่างจึงไม่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับสภาพด้วยการหมักขั้นต้นเสียก่อน

มูลม้า

มูลม้าแห้งจะค่อนข้างแข็ง แต่เป็นวัสดุที่ดีมากในการนำมาทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เนื่องจากมีค่าอัตราส่วนสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีเศษซากอินทรียวัตถุอยู่มาก ไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยมูลม้าจะมีความสมบูรณ์ และการเติบโตที่ดี

มูลแพะ

ใช้ในการเพาะเลี้ยงไส้เดือดินได้เป็นอย่างดี มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นก้อนกลม ขนาดเล็ก และแข็ง ต้องแช่น้ำหรือหมักเสียก่อนเพื่อให้มูลแพะที่แข็งสลายตัวก่อนนำมาเลี้ยงไส้เดือนดิน เช่นเดียวกับ มูลวัว มูลควาย และมูลม้า

มูลสุกร

จะมีแอมโมเนียและเกลือในปริมาณที่สูง ยังไม่เหมาะสำหรับการนำมาเลี้ยงไส้เดือนดินหากไม่ผ่านการหมักหรือผ่านกระบวนการทำก๊าซชีวภาพ และควรผ่านการพักให้น้ำระเหยเสียก่อนเนื่องจากเป็นโคลนเหลว จึงจะนำมาเลี้ยงไส้เดือนดินได้

มูลสัตว์ปีก

ไก่ เป็ด นกกระทา ที่สดจะมีปริมาณแอมโมเนีย และเกลือไฟเทตสูง เป็นพิษกับไส้เดือนดิน จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการหมักเบื้องต้นเสียก่อน โดยทั่วไปจะหมักมูลสัตว์ปีกร่วมกับฟางข้าวในอัตราส่วน (50:50) ซึ่งจะนำไปเลี้ยงไส้เดือนดินได้อย่างดี และยังทำให้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้มีธาตุอาหารสูงอีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ให้อาหารไส้เดือน

การให้อาหาร
การให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติจะให้อาทิตย์ละครั้ง หรือ สังเกตจากการกินอาหารเมื่ออาหารที่ให้ใกล้หมดจึงเติมอาหารใหม่ลงไป การให้อาหารทำได้ 2 แบบ คือ
1.Top feeding การให้อาหารบนที่เลี้ยง จะวางอาหารเป็นแถว ตามแนวขวาง ทยอยให้จนเต็มพื้นที่ ตามความยาว แล้วกลบด้วยที่อยู่ใหม่
2.Pocket feeding ฝังกลบอาหารเป็นหลุมหรือเป็นแถว และเปลี่ยนที่ฝังกลบอาหารทุกครั้ง
การขุนไส้เดือนดิน

ก่อนนำไส้เดือนดินออกจำหน่าย ควรคัดไส้เดือนดินขนาดใหญ่ออกมาขุน ให้มีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ ใช้วัสดุรองพื้นบ่อสูง 12-15 เซนติเมตร รดน้ำให้เปียกปล่อยไส้เดือนลงไป ให้อาหารเต็มพื้นที่ ในกรณีที่กินอาหารได้มาก ให้อาหารวันละสองครั้ง น้ำหนักและขนาดจะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในเวลา 7-10 วัน

เทคนิคการเพิ่มจำนวนผลผลิตไส้เดือนดิน – ปุ๋ยหมักไส้เดือนดินให้ได้จำนวนมาก

โดยปกติ วงจรชีวิตของไส้เดือนดินจะเริ่มจากโคคูน เป็นเวลา 20-30 วัน จึงเริ่มฟักเป็นตัว ใช้เวลา 40-60 วัน ในการเจริญเติบโต เป็นตัวเต็มวัย และสร้างไซเทลลั่ม จากนั้นไส้เดือนจึงผสมพันธุ์และสร้างโคคูนอีกครั้ง ผู้เลี้ยงไส้เดือนส่วนใหญ่คัดแยกไส้เดือนในวันที่ 45-60 ระยะเวลาดังกล่าว มีลูกไส้เดือนดินขนาดเล็ก และโคคูนที่ยังไม่ได้ฟัก ตลอดจนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนดินก็เริ่มจะกินอาหารน้อยลง หรือตาย เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม คือแวดล้อมด้วยมูลของตัวมันเอง การที่จะลดการสูญเสียดังกล่าว และทำให้ไส้เดือนดินสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างสม่ำเสมอ คือ การคัดแยกไส้เดือนดิน ทุกๆ 7-14 วัน (สังเกตจากอาหารที่ให้นั้นหมดไป) ซึ่งจะลดอัตราการสูญเสียลูกไส้เดือนดินที่เกิดใหม่จากการคัดแยกลงได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *