แมลงศัตรูมะม่วง
แมลงศัตรูมะม่วง ด้วงงวงกัดใบมะม่วง ตัวเต็มวัยเพศเมีย วางไข่บนใบอ่อนเบริเวณเส้นกลางใบ แล้วจะกัดใบใกล้ขั้วใบเป็นแนวเส้นตรงคล้ายถูกกรรไกรตัด ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไขติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน หนอนที่ฟักแล้วจะเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ การป้องกันและกำจัด เก็บใบอ่อนที่ด้วงกัดร่วมตามโคนต้นมะม่วงไปเผาหรือฝัง เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อน หรือพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น ตัวเต็มวัย เป็นด้วงหนวดยาว วางไข่ในเวลากลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้งและยืนต้นตายได้ สังเกตรอยทำลายได้จายขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น การป้องกันและกำจัด เก็บหนอน และดักจับด้วงด้วยตาข่ายเพื่อตัดวงจรการระบาด และพ่นลำต้นมะม่วงที่มีรอยทำลายด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ SL อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือ อเซทาบิพริด 20 เปอร์เซ็นต์ SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรเพลี้ยไฟมะม่วง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงทำให้ขอบใบและปลายใบแห้ง ดอกร่วง ผลเป็นขี้กลาก มีรอยสากด้าน หรือบิดเบี้ยว ระบาดเมื่ออากาศแห้ง การป้องกันและกำจัด พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ EC […]
Read more