การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ก่อนหน้านี้ไม่นานการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย เป็นประเด็นที่ถกกันทั้งในโลกโซเชียล และในกลุ่มผู้สนใจการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ซึ่งจริงๆ แล้ว หากมีการให้ข้อมูลอย่างชัดเจนและส่งเสริม การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ให้แพร่หลายมากขึ้น เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสามารถทำเป็นอาชีพเสริมจากเกษตรทางเลือกแขนงนี้ หรืออาจทำเป็นอาชีพหลักกันเพิ่มขึ้น ด้วยความที่เลี้ยงดูง่าย โตเร็ว และด้วยราคากุ้งก้ามแดงในท้องตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรที่ทำนาข้าวแบบอินทรีย์ หรือทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็มีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงกันในนาข้าวกันหลายราย ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบนิเวศและรายได้ของเกษตรกร แต่กุ้งก้ามแดง เป็นสัตว์ควบคุมพิเศษตามกฎหมายของกรมประมง ถ้าจะเลี้ยงเพื่อการค้าหรือเพื่อจำหน่ายให้ถูกกฎหมาย ต้องไปขอขึ้นทะเบียนก่อน ไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยวิธีไหนก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับที่อยู่ในอัตราสูง เพราะกุ้งก้ามแดงเดินทางมาจากต่างบ้านต่างเมือง จึงได้ชื่อว่าเป็น ‘เอเลี่ยนสปีชี่ส์’ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อพืชหรือสัตว์น้ำในประเทศ งงมั๊ยคะ? ว่าทำไมเกษตรกรไทยนำไปเลี้ยงในนาข้าวได้ ข้าวก็พืชไทย มิหนำซ้ำ ระบบนิเวศในนาข้าวกลับดี และไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าสนใจจะเลี้ยงแล้ว เก็บความงุนงงสงสัยไว้แล้วไปขอขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมายดีกว่า ข้อยกเว้น สำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเพื่อความสวยงาม (เลี้ยงไว้ดูเล่น) หรือ เลี้ยงไว้เป็นอาหารในครัวเรือนนั้นไม่ต้องขอจดทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามแดง การจดทะเบียนกุ้งก้ามแดง เอกสารในการขอจดทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ที่ต้องเตรียมไป สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ รูปแผนที่บ้านที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้ง ไปที่ หน่วยงานกรมประมงของพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามแดง เพื่อขอจดทะเบียน ให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่ตามความเป็นจริง เช่น รูปแบบการเลี้ยง, จำนวน, […]

Read more

การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การป้องกันแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลกุ้งก้ามแดง หากผู้เลี้ยงปล่อยปละละเลยไม่ดูแล ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็จะตามมา : ปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง โรคสนิม เป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวร์ มีผงสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลทองคล้ายสนิมเกาะที่กุ้ง ต้องอาศัยเกาะติดกับสัตว์น้ำ ในฐานะปรสิต อาศัยสัตว์น้ำ สามารถสังเคราะห์แสงได้เหมือนพืช จะดูดซับสารอาหาร จากตัวกุ้ง ทำให้เกิดแผล ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราแทรกซ้อนได้ กุ้งมีอาการซึม ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร จนตายในที่สุด โรคในกลุ่มของ โรควิบริโอซีส มีรอยไหม้สีดำตามรยางค์ของกุ้ง (รยางค์ คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องใต้ลำตัวจากส่วนหัวจนถึงท้อง แต่ละปล้องจะมีรยางค์ 1 คู่) ตับและตับอ่อนอักเสบ ไม่เจริญอาหารและในที่สุดก็ตาย (มีการระบาด เมื่อสภาพน้ำมีความเค็มสูง) การป้องกัน ควบคุมการให้อาหาร ในปริมาณที่พอเหมาะกับจำนวนกุ้ง และให้อาหารที่มีคุณภาพ ดูแลรักษาน้ำให้สะอาด โรคสนิม จะลุกลามได้เร็วในสภาพน้ำที่ไม่ดี กุ้งจะลอกคราบไม่ผ่าน และตายได้ ยาที่ใช้ในการรักษา ใช้สารเคมีกลุ่มไอโอดีน ใช้ยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ การแก้ไข ถ่ายน้ำ และเร่งให้กุ้งลอกคราบ ด้วยน้ำที่มีค่าอัลคาลินิตี้สูงกว่าน้ำที่ใช้เลี้ยงในบ่อ (น้ำจืด 80 – 100 ppm น้ำเค็ม 150 – […]

Read more