การดูแลมะม่วงหิมพานต์หลังการปลูกและการแปรรูป

การดูแลมะม่วงหิมพานต์หลังการปลูก

การดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก และการแปรรูป เป็นขั้นตอนสำคัญในการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพสร้างผลกำไรได้มากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยูกับ การดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว การแปรรูป และการจำหน่าย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ตามมา จากบทความ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่ผู้เขียนได้นำเสนอวิธีการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นพืชที่ลงทุนต่ำ ทนทานต่อสภาวะอากาศที่แห้งแล้งได้ ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว และผลผลิตยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ในบทความนี้ เรามาศึกษาขั้นตอนการดูแล, เทคนิคต่างๆ และการแปรรูป กันนะคะ การดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก การให้น้ำ ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่อายุไม่เกิน 1 ปี ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงควรมีการรดน้ำบ้าง เพื่อช่วยต้นมะม่วงหิมพานต์ให้มีชีวิตผ่านพ้นไปจนสามารถดำรงชีวิตได้เอง การให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย รดน้ำให้ดินมีความชื้นก่อนการใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยไม่จำกัดจำนวนที่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ระยะ 6 เดือนแรก หลังปลูก เมื่อต้นมะม่วงหิมพานต์ตั้งตัวได้ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก สลับช่วงกับการใส่ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 2 ใส่ประมาณปลายเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม มะม่วงหิมพานต์ที่มีอายุประมาณ 3 ถึง 4 […]

Read more

ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์

ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์

ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์ และ การป้องกันและแก้ไข โรคและแมลงศัตรูมะม่วงหิมพานต์ เป็นหนึ่งในขั้นตอนการดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก โดยเฉพาะ โรคและแมลงศัตรูมะม่วงหิมพานต์ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล หากผู้ปลูกหรือเกษตรกร ไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอ การปลูกมะม่วงหิมพานต์นั้น เป็นเรื่องง่ายก็จริง แต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาในการปลูก แต่สิ่งที่พึงกระทำ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น คือ รีบดำเนินการแก้ไขในทันที เพื่อป้องการความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาต่างๆ ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์ที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนพันธุ์ดี ไม่มีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในแง่การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ต้นมะม่วงหิมพานต์มีอายุมาก และเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เมล็ดเล็ก และไม่มีคุณภาพ รวมทั้งสารอัลฟาท็อกซินในผลผลิต   ปัญหาสารอัลฟ่าท็อกซินในเม็ดมะม่วงหิมพานต์ สารอัลฟ่าท็อกซิน ไม่ได้เกิดขึ้นและเป็นปัญหาเฉพาะกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์เท่านั้น แต่สามารถพบได้ในอาหารแห้ง และอาหารชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดได้เช่นกัน ผู้ที่ได้รับอัลฟ่าท็อกซิน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก ๆ แต่จะแสดงอาการเมื่อเกิดการเรื้อรังแล้ว คือ กินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราแล้วเชื้อรานั้นสร้างสารอัลฟ่าท็อกซิน ทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ก่อเกิดมะเร็งตับ และอาจมีผลเสียต่ออวัยวะภายใน เช่น ระบบไต หัวใจ การป้องกันสารอัลฟ่าท็อกซิน สำหรับผู้บริโภค เลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบแห้งที่อยู่ในสภาพใหม่ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีเชื้อรา […]

Read more

เม็ดมะม่วงหิมพานต์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยังคงมีความอร่อย และราคาสูง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ประโยชน์ และรสชาติความมันของ เม็ดมะม่วงหิมพานต์นั้น คุ้มค่า คุ้มราคาจริงๆ เมื่อเรานำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาอบ หรือทอดเป็นของขบเคี้ยว ความมันที่ได้ลิ้มรส ทำให้พากันคิดว่า เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับถั่ว ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ มะม่วงหิมพานต์ มะม่วงหิมพานต์ หรือ Cashew nut เป็นไม้ดอกยืนต้น กลุ่มเดียวกับมะม่วง และถั่วพิสตาชีโอ มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล นำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันที่ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (เมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือด) คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ, บี, อี และเกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้น มีความสูง 10 ถึง 12 เมตร ต้นเตี้ย กิ่งก้านสยายไม่สม่ำเสมอ ใบ เรียงเป็นแบบเกลียว ผิวมันลื่น […]

Read more