การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

  การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ได้มีเพียง การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา, การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร หรือเรื่องแสง และอุณหภูมิเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ยังรวมถึง การดูแลเรื่องการเจริญเติบโตของผักไฮโดรโปนิกส์, การเก็บเกี่ยว ตลอดจนถึงการขนส่งผักไปสู่ตลาด เกษตรกรหรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะต้องดูแลผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรบ้าง?…ติดตามรายละเอียดในบทความนี้นะคะ การเจริญเติบโต มีหลายสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหรือหัวใจหลักของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเกษตรกรควร บริหารจัดการให้ถูกต้อง เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ดังนี้   การจัดการธาตุอาหาร ธาตุอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ต้องได้รับการปฏิบัติให้ถูกต้อง สิ่งที่ควรระวัง : การให้สารละลายธาตุอาหารหรือปุ๋ย เริ่มหลังจากนำต้นอ่อนลงรางปลูกแล้ว 1 วัน จึงเริ่มใส่ปุ๋ย ใส่สารละลายธาตุอาหาร A ในน้ำก่อน แล้วทิ้งให้ละลายประมาณ 6 ชั่วโมงจึงใส่ B ตาม เพราะส่วนผสมในสารละลาย A และ B บางตัว จะจับตัวคล้ายกับหินปูนอยู่ในถังพักถ้าใส่พร้อมกัน ไม่ไหลไปกับน้ำเพื่อให้อาหารพืช อัตราส่วนของสารละลายธาตุอาหาร โดยทั่วไปคือ 2ซีซี ต่อน้ำในระบบ 1 […]

Read more

น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพ สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ มีส่วนช่วยใน การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ดีมาก ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารเคมีตกค้าง เกษตรกรสามารถเลือกว่าจะสะดวกใช้ น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่เหมาะสมกับชนิดผัก วัตถุดิบ และวัตถุประสงค์ได้จากรายละเอียดดังนี้ (สูตร น้ำหมักชีวภาพ สำหรับการผลิตผักระบบไฮโดรโปนิกส์ โดย รศ. ดนัย วรรณวนิช) น้ำสกัดชีวภาพนมสด ส่วนผสม : นมสด 30 กก. กากน้ำตาล 5 กก. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร น้ำ 40 ลิตร วิธีทำ : 1.นำส่วนผสมทั้งหมดเทผสมกัน 2.หมักในภาชนะที่มีฝาปิดทิ้งไว้เป็นเวลา 30-45วัน 3.จะได้นำสกัดชีวภาพที่มีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมของนม น้ำสกัดชีวภาพดินระเบิด ส่วนผสม : หัวเชื้อปุ๋ยหมัก พด.1 1ถุง รำละเอียด 1 กก. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. น้ำ 1-2 แก้ว ผ้าฝ้าย 1 ผืน […]

Read more

การแปรรูปมะพร้าว

การแปรรูปมะพร้าว

จากการที่มะพร้าวมีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย การแปรรูปมะพร้าว ในปัจจุบันจึงมีเพิ่มขึ้นหลากหลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งนอกจาก การแปรรูปมะพร้าว จะช่่วยเสริมรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว ผู้บริโภคยังมีทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากมะพร้าวเพิ่มขึ้น การแปรรูปมะพร้าว มีทั้งในรูปแบบของอาหาร ขนม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว-บำรุงผม โลชั่นทากันยุง ลิบบาล์ม ยาหม่อง น้ำมันนวด แผ่นมาส์คหน้าจากน้ำมะพร้าวแก่ น้ำกะทิพาสเจอร์ไรซ์ น้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารภาคครัวเรือน หรือใช้ในภาคอุตสาหกรรม ของตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก หมวก กระเป๋า อุปกรณ์ทำความสะอาด วัสดุปลูกต้นไม้ ปุ๋ย ในบทความนี้นำเสนอตัวอย่าง การแปรรูปมะพร้าว ซึ่งมีวิธีทำ และเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากผู้อ่าน เพื่อทดลองทำตาม อาจจะเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก หรือหากท่านมีต้นมะพร้าวในบริเวณบ้าน อาจทดลองทำขึ้นมาใช้ในครัวเรือนก็เป็นการนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า เมื่อผู้อ่านได้ทดลองทำตามสูตร การแปรรูปมะพร้าว แล้วอาจจะดัดแปลงให้สอดคล้องกับความสะดวก การใช้ประโยชน์ และรสชาติตามที่ต้องการ หากได้ การแปรรูปมะพร้าว ที่แปลกใหม่ หรือคุณภาพถูกใจ ในอนาคตท่านอาจจะได้มีอาชีพที่ได้รับผลกำไรจาก การแปรรูปมะพร้าว ตัวอย่างสูตรการแปรรูปมะพร้าว มีดังนี้ : ยาหม่องนาฬิเกน้ำมันมะพร้าวสมุนไพร ส่วนผสม พาราฟินแข็ง 150 กรัม วาสลีน 300 กรัม ขี้ผึ้งขาว […]

Read more

เพาะเห็ดฟางพารวย

เพาะเห็ดฟาง

เพ(ร)าะเห็ดฟางพารวย มือใหม่ก็ทำได้ เหมาะกับผู้ที่สนใจเพาะเห็ดไว้รับประทานในครัวเรือน ผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม และเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย วัสดุในการเพาะ 1. หัวเชื้อเห็ดฟาง ที่ไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป ไม่มีสิ่งปนเปื้อน 2. ตะกร้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูง 11 นิ้ว มีช่องขนาด 1 ตารางนิ้ว ด้านล่างมีช่องระบายน้ำ 3. วัสดุเพาะ เช่น ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ฟางข้าว ต้นกล้วย ชานอ้อย เป็นต้น 4. อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา ขี้วัว ไส้นุ่น รำละเอียด 5. อาหารกระตุ้นหัวเชื้อ ได้แก่ แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว 6. พลาสติกใสสำหรับคุม 7. สุ่มไก่ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำเป็นโครง เช่น ชั้นโครงเหล็ก 8. น้ำสะอาด วิธีเพาะ 1. เลือกพื้นที่สำหรับวางโครงเหล็กหรือสุ่มไก่ ควรเป็นพื้นที่ที่มีแสงรำไร หรือแสงอ่อนๆ น้ำไม่ท่วมขัง สามารถป้องกันการรบกวนจากสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ […]

Read more

ทำไมเรียกผักไฮโดรโปนิกส์

ผักไฮโดรโปนิกส์

ผักไฮโดรโปนิกส์ รู้หรือไม่ว่า ?? ทำไมถึงเรียกว่า ผักไฮโดรโปนิกส์และมีกี่ประเภท ผักสลัดต่างประเทศ : ตัวอย่างพันธุ์ผักสลัด เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด บัตตาเวีย   เรดคอรัล ฟิลเล่ซ์ไอซ์เบิร์ก กรีนคอส มิซูน่าและ วอเตอร์เครlส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ระบบ NFT ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยเฉพาะในต่างประเทศ เพราะได้รับการออกแบบมาเพื่อปลูกผักทรงพุ่ม โต๊ะปลูกจะเตี้ยใช้ต้นทุนต่ำกว่าระบบอื่น แต่เกษตรกรต้องรองรับความเสี่ยงในเรื่องของไฟฟ้าดับให้ดี เพราะเมื่อไฟฟ้าดับอุณหภูมิของน้ำสารละลายธาตุอาหารสูงขึ้น ( น้ำร้อนขึ้น ) จะทำให้ผักไฮโดรโปนิกส์ตายหมด                              ผักไทย-จีน : ตัวอย่างพันธุ์ผักไทย-จีน: คะน้า กวางตุ้ง กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักบุ้งจีน ผักโขม    ป่วยเล้ง ตั้งโอ๋ ทาไข คี่นช่าย และผักชี  เหมาะกับระบบ DRFT หรือระบบที่ใช้แผ่นโฟม จะให้ผลผลิตสูง […]

Read more

เรื่องกล้วย ๆ กับกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า   กล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ประเภทใบเดี่ยว ออกลูกเป็นเครือ ขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า(เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน)ส่วนลำต้นที่อยู่บนดินเกิดจากกาบใบที่หุ้มซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อเรียกว่า ‘หัวปลี’ พบว่าเป็นพื้นบ้านแถบเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่นิยมปลูกกล้วยน้ำว้ากันมาก เนื่องจากทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ ชอบอากาศร้อนชื้น และจะให้ผลผลิตที่ดีมากในสภาวะอากาศที่ไม่แปรปรวน สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ กล้วยน้ำว้า ที่มีมานาน และชื่อเสียงโด่งดังก็คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง สายพันธุ์ที่มีการสนับสนุนให้ปลูกกันมาก คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 และสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ยักษ์ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง  (หรือ กล้วยน้ำว้าขาว) เป็นพันธุ์โบราณดั้งเดิม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและแปรรูป ใช้หน่อในการขยายพันธุ์ มีหลายชื่อให้เรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียกว่า กล้วยน้ำว้ามณีอ่อง ภาคอีสาน เรียกว่า กล้วยน้ำว้าทะนีอ่อง ภาคกลาง เรียกว่า กล้วยน้ำว้าอ่อง หรือ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ภาคใต้ เรียกว่า กล้วยน้ำว้าใต้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง เมื่อสุกมีรสชาติหวานไม่ฝาด เปลือกสีจะเหลืองทองเข้มกว่าพันธุ์อื่น เนื้อละเอียดนุ่ม ไส้ขาว ไม่มีเมล็ด แต่เวลาสุกงอม […]

Read more

ทำความรู้จักมะพร้าว

มะพร้าว อยู่เมืองไทยไปที่ไหนก็เจอ มะพร้าว ยิ่งเวลาอากาศร้อนๆ สิ่งที่เรานึกถึงมะพร้าวได้เป็นอย่างแรกคือ การได้ดื่มน้ำมะพร้าวสด ๆ รสชาติที่หวานชื่นใจ กลิ่นหอม ช่วยคลายร้อนได้ดีมะพร้าวถูกจัดเป็นสมุนไพรที่มีธาตุเย็น มีสรรพคุณมากมายและมีประโยชน์ที่ได้จากทุกส่วนของมะพร้าว ก่อนนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์เรามารู้จักกับส่วนประกอบของมะพร้าวกันก่อนนะคะ ว่ามีอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง น้ำมะพร้าว เป็นเครื่องดื่ม หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้นมะพร้าว เนื้อมะพร้าวอ่อน เป็นส่วนผสมในขนมต่างๆ หรือแปรรูป เช่น มะพร้าวแก้ว เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก, ขูดโรยหน้าขนม กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้, ขัดพื้นบ้าน ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมากเพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า ‘สลัดเจ้าสัว’ ใยมะพร้าว นำไปใช้ทำไส้ที่นอน ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบ หรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว กะลามะพร้าว  นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว  ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว […]

Read more

ทำความรู้จักกับเห็ด

เห็ด หรือ ดอกเห็ด ถือว่าเป็นราชั้นสูงในขณะเดียวกันก็ถูกจัดว่าเป็นพืชชั้นต่ำ เพราะ เห็ด สร้างอาหารเองไม่ได้ เนื่องจากเห็ดไม่มีคลอโรฟิล หรือสารสีเขียวที่ใช้สังเคราะห์แสง  เห็ด มี หมวก อยู่ส่วนบนสุด หมวกเห็ดมีรูปร่าง ผิว และสีต่างกัน ใต้หมวก มี ครีบ เป็นแผ่นบางๆ ดอกเห็ดจะชูขึ้นด้านบนโดยมี ก้าน เป็นตัวช่วย และติดอยู่กับดอกเห็ดเป็นเนื้อเดียวกัน ข้างในหมวก และก้าน มีลักษณะเหมือนเส้นใย ที่อาจจะเปราะ เหนียว นุ่ม หรือลื่น นั่นคือ เนื้อเห็ด ระหว่างก้าน กับขอบหมวก จะมีเนื้อเยื่อบางๆ คือ วงแหวน ยึดไว้ แต่พอดอกเห็ดบานวงแหวนก็จะขาดออกจากหมวก ช่วงที่ดอกเห็ดยังอ่อนอยู่ เปลือกหรือเยื่อหุ้มดอก เห็ดจะหุ้มหมวกและก้านไว้ด้านนอกสุด พอดอกเห็ดเริ่มบานก็เริ่มปริออกตามไปด้วยแต่จะยังหุ้มโคนเห็ดไว้ไม่ปริตามเห็ดนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ด รวมทั้งคุณค่าทางอาหารของเห็ดจึงแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์คนส่วนใหญ่จะรู้จักนำ “เห็ด” มาใช้เพียงแค่ทำอาหาร แต่โดยรวมแล้วเห็ดนั้นมีคุณประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นอีกมากมาย ‘เห็ด’ เป็นยา และ เห็ด ก็ยังมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เห็ดสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? เห็ดช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการย่อยสลายสิ่งตกค้างจากพืช โดยเฉพาะมีส่วนประกอบของเซลลูโลส ลิกนิน และมูลสัตว์ให้ประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตลดปริมาณของเสียจากพืชและสัตว์โดยธรรมชาตินอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีการใช้เห็ดในการประกอบพิธีกรรมและการเฉลิมฉลอง ในปัจจุบันเห็ดได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความนิยมในการรับประทานเห็ดมีเพิ่มขึ้นตามมาเมนู […]

Read more

ปลูกลิ้นจี่อย่างไร ให้ลดต้นทุน ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ปลูกลิ้นจี่

เทคนิคการปลูกลิ้นจี่ ให้ลดต้นทุน แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น หากเดิมมีการปลูกลิ้นจี่ไว้อยู่แล้ว แต่ว่าให้ผลผลิตน้อย มีราคา หรือคุณภาพไม่ค่อยดี ให้ใช้วิธีการปลูกเพิ่มเข้าไปตามเทคนิคในบทความนี้ โดยยังไม่ต้องตัดต้นลิ้นจี่เก่าทิ้งรอจนกว่าต้นใหม่จะเจริญเติบโตจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อน แล้วค่อยตัดหรือโค่นต้นลิ้นจี่เก่าทิ้งนะครับ 🙂 แต่ถ้าเพิ่งหันมาสนใจปลูกลิ้นจี่ หรือเริ่มทำสวนลิ้นจี่ ก็มาเริ่มอ่านวิธีการปลูกได้เลยครับ การปลูกลิ้นจี่ ควรจะปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกลิ้นจี่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีดังนี้ 1. ดิน ดินที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของลิ้นจี่ ควรเป็นดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุมาก ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ถึงเป็นกลาง คือ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 5-6 และต้องมีการระบายน้ำ ดีและควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 400 เมตรโดยเฉพาะพันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ กิมเจ็ง และ พันธุ์จักรพรรดิ 2. อากาศ อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและออกดอกติดผลของลิ้นจี่ควรมีอากาศเย็นในฤดูหนาว และไม่มีอากาศร้อนจัดคืออุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และในช่วงก่อนดอกต้องการอุณหภูมิต่ำ กว่า 15 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง หรือต่ำ กว่า 10 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงเมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร […]

Read more

วางแผนปลูกพริกไทย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต

ปลูกพริกไทย

เทคนิคการปลูก พริกไทย ที่ช่วยลดต้นทุน แถมยังเพิ่มผลผลิต แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพสำหรับสวนพริกไทย ตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกไทย พื้นที่ ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 0-1200 เมตร มีความลาดเอียงประมาณ 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน พื้นดินที่เป็น ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี มีความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร และมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 วิธีการปลูก การเตรียมกิ่งพันธุ์ พริกไทย ทำได้ 2 วิธี คือ 1. ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนงข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกลงหลุม หลุมละ 20 กิ่ง 2. นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9×14 นิ้ว ประมาณ […]

Read more
1 2