กาแฟ

กาแฟ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กาแฟยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในหลายประเทศ ด้วยประโยชน์ของกาแฟที่มีมากเกินกว่าการนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม สำหรับประเทศไทยกาแฟกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีการเพาะปลูกในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปลูกทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ปลูกแซมต้นยางพาราในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน เกษตรกรที่เคยปลูกกาแฟเป็นรายได้เสริม แซมไม้ยืนต้นในพื้นที่เพาะปลูกหลายราย เริ่มหันมาปลูกกาแฟเป็นรายได้หลัก สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกกาแฟ ควรทำความรู้จักกับกาแฟให้ลึกมากขึ้นนะคะ ว่าต้นกาแฟเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้าง และรู้จักกับสายพันธุ์กาแฟ เพื่อเป็นข้อมูลในการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เมล็ดกาแฟ คงเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี แต่ส่วนอื่นๆ ของต้นกาแฟ มีลักษณะดังนี้ค่ะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟ กาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 3 ถึง 5 เมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กาแฟ ลำต้น กาแฟมีลำต้นตรง ในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะไม่แตกกิ่ง แต่มีใบแตกออกตรงข้ออยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ต่อมาเมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก็มีการแตกกิ่งออกจากลำต้นในลักษณะที่แยกออกจากกันและอยู่ตรงข้ามกันกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะมีใบแตกออกเป็นคู่ๆ อยู่ตรงข้อเช่นเดียวกับลำต้น กิ่งจะขนานไปกับระดับพื้นดินหรือห้อยต่ำลงดิน ซึ่งเป็นที่เกิดของดอกและผลต่อไป นอกจากการแตกกิ่งออกจากตา ของลำต้นอีกเป็นจำนวนมากทำให้หน่อเกิดขึ้นใหม่นี้เบียดกับต้นเดิม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ให้เจริญเติบโตเรื่อยๆ โดยไม่มีการปลิดทิ้งหรือตัดจะทำให้กาแฟมีทรงพุ่มที่แนบแน่นทึบเป็นที่สะสมของโรคแมลง และให้ผลผลิตลดต่ำลง     ดอก ดอกกาแฟมีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมคล้ายมะลิป่า รูปร่างคล้ายดาว มีก้านดอกสั้น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การออกดอกของกาแฟขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ถ้าในพื้นที่ที่มีฝนตกเป็นฤดู ดอกจะออกหลังจากฝนตกประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าหากอากาศชุ่มชื่นตลอดทั้งปีหรือมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ […]

Read more

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นพืชสารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นทางอาหาร อุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรม ในบทความนี้ นอกจากจะส่งเสริมให้ การปลูกถั่วเหลืองเป็นพืชหมุนเวียนในพื้นที่การเกษตรแล้ว ยังส่งเสริมให้เกษตรได้ต่อยอดจากการปลูกถั่วเหลือง สร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น     ประโยชน์ของ ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีเมล็ดอันอุดมไปด้วยโปรตีนและน้ำมัน ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ดังนี้ 1. ทางอาหาร ใช้เป็นอาหาร นำมาต้มรับประทานเมื่อเมล็ดเจริญดีแล้วแต่ยังไม่แก่หรือสุกเต็มที่ เรียกว่าถั่วแระ ถั่วเหลืองบางพันธุ์มีเมล็ดโต ใช้ปรุงบริโภคเป็นถั่วเหลืองฝักสด หรือบรรจุกระป๋อง ใช้เมล็ดสุกมาทำถั่วงอกซึ่งให้ลักษณะต้นถั่วงอกคล้ายถั่วเขียว ใช้ทำเต้าเจี้ยว เต้าหู้ ซีอิ้ว และนมถั่วเหลือง ใช้ผลิตและปรับปรุงให้เป็นอาหารมังสะวิรัติ เป็นเนื้อคล้ายเนื้อสัตว์ซึ่งเรียกว่าเนื้อเทียม โดยอาจทำให้มีลักษณะเป็นเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวง แฮม และเบคอน ฯลฯ แป้งถั่วเหลืองใช้ผสมหรือปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำขนมต่าง ๆ อาหารทารก น้ำมันซึ่งสกัดจากถั่วเหลืองใช้ในการปรุงอาหาร ทำมักการีน น้ำสลัด ฯลฯ 2. ทางอุตสาหกรรม ใช้ในทางอุตสาหกรรม ใช้ผลิตกาว ใช้เป็นส่วนผสมยาฆ่าแมลง สี ปุ๋ย วิตามิน ยาต่าง ๆ กระดาษ ผ้า ฉนวนไฟฟ้า […]

Read more

การแปรรูปมะม่วง

การแปรรูปมะม่วง

การเสริมรายได้ หรือการมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วย การแปรรูปมะม่วง ไม่ได้มีเพียงเพื่อสนองความต้องการของตลาดในประเทศเท่านั้น ตลาดส่งออกต่างประเทศ ก็ประสบผลสำเร็จด้วยเช่นกัน เพราะความหลากหลายในวิธี การแปรรูปมะม่วง หากเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจลงทุนด้าน การแปรรูปมะม่วง สามารถทดลอง หรือดัดแปลงจากสูตรเหล่านี้ได้ตามความชอบ เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปาก ถูกใจ ผู้รับประทานการแปรรูปมะม่วง แบบแช่เยือกแข็ง ปัจจุบันมีผู้ผลิต “เนื้อมะม่วงสุกแช่เยือกแข็ง” ส่งออกกันมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะเป็นการแช่เยือกแข็งเนื้อมะม่วงสุกเฉพาะส่วนที่บริโภคได้เท่านั้น และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน สะดวกในการเก็บรักษาและขนส่ง มีกลิ่นและรสชาติเหมือนเนื้อมะม่วงสด และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น มีปริมาณวิตามินซีและสารแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารเบต้า-แคโรทีน ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ในร่างกาย เนื้อมะม่วงสุกยังเป็นแหล่งของโพแทสเซียมและเส้นใยอาหารด้วย นอกจากนี้ การแปรรูปมะม่วง โดยการนำผลมะม่วงสุกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อมะม่วงสุกแช่เยือกแข็ง ยังเป็นวิธีลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงวันทอง จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลมะม่วงได้อีกทางหนึ่ง สูตร การแปรรูปมะม่วง มะม่วงดองเค็ม ส่วนผสม 1. เกลือ 100 กรัม 2. น้ำสะอาด 900 มิลลิลิตร 3. มะม่วงแก้ว ผลแก่เนื้อแข็ง วิธีทำ 1.นำมะม่วงแก้ว ผลแก่มาคัดผลคุณภาพ ล้างทำความสะอาดผล 2.เตรียมน้ำเกลือ อัตราส่วน น้ำ 900 มิลลิลิตร […]

Read more

การตลาดของมะม่วง

การตลาดของมะม่วง

การตลาดของมะม่วง จากที่มะม่วงเคยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมากแทบทุกครัวเรือนในประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้ มะม่วงกลายเป็นผลไม้ที่ปลูกเชิงการค้า และประสบความสำเร็จทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในประเทศ การตลาดของมะม่วง ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องมะม่วงล้นตลาด เนื่องจากคนไทยยังรับประทานมะม่วงกันเป็นหลัก ส่วนการส่งออกต่างประเทศนั้น การตลาดของมะม่วง มีรูปแบบที่ส่งออกมากที่สุดคือ มะม่วงอบแห้ง รองลงมาเป็น มะม่วงสดหรือมะม่วงแช่แข็งส่งออก และมะม่วงบรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าไม่ได้ ตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญ สำหรับมะม่วงสด ก็คือ ประเทศจีน เกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น ส่วนมะม่วงบรรจุภาชนะ ถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร มะม่วงอบแห้ง ตลาดส่งออกสำคัญก็คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร ขณะที่มะม่วงแช่แข็ง ส่งไปที่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์ แม้มะม่วงไทยจะมีจุดเด่น แต่ปัจจุบันคู่แข่งสำคัญคือ ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ทำให้ไทยต้องเร่งเพิ่มศักยภาพการ ผลิตมากขึ้น เช่น การผลิตนอกฤดู พัฒนามาตรฐานสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น เกษตรกรควรศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากมะม่วงให้มีคุณภาพที่ดีสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อผลกำไรที่ดีและต่อเนื่อง (แหล่งข้อมูล https://www.thairath.co.thจากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของ กรมศุลกากร ระบุว่า การส่งออกมะม่วงของไทยปี 2558) เทคนิคการผลิตมะม่วงนอกฤดู การผลิตมะม่วงนอกฤดูนั้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี ขั้นตอนการผลิตมะม่วงนอกฤดู จะเริ่มต้นหลังจากการเก็บเกี่ยวมะม่วงในฤดูแล้ว […]

Read more

ผลมะม่วง

ผลมะม่วง

มะม่วง เมื่อปลูกและดูแลจนกระทั่งออกผล ก็ยังต้องมีการบริหารจัดการเรื่อง ผลมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเกี่ยว การบ่ม การเก็บรักษา ตลอดจนการดูแลสวนมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว ผลมะม่วง ก่อนเก็บเกี่ยวผล ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรา ครั้งแรก ก่อนเก็บเกี่ยวผล 15 วัน และครั้งที่สอง ก่อนเก็บเกี่ยวผล 7 วัน เพื่อป้องกันโรคเน่า ไม่ควรทำการเก็บเกี่ยว ผลมะม่วง ช่วงเช้าตรู่ จนถึง 9 โมงเช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่น้ำยางไหลแรง จะเปรอะทำให้ผลมีตำหนิ โดยเฉพาะเมื่อผลสุก รอยจะยิ่งชัดขึ้น การเก็บเกี่ยวควรพยายามให้ขั้วผลหรือก้านติดมาด้วยจะช่วยป้องกันน้ำยางทะลักออก สำหรับผลมะม่วงที่ไม่เปรอะมาก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเบาๆ ช่วยลดความเสียหายของผลมะม่วงลงได้มาก การเก็บเกี่ยวผลมะม่วงด้วยมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสามารถเด็ดให้มีก้านทั้งก้านติดมาด้วย ถ้าใช้ตะกร้อสอย ควรใส่ใบมีดคมๆ บริเวณปากตะกร้อ ใบมีดจะตัดก้านมะม่วงพอดีเวลาสอย น้ำยางจะไม่ทะลักออก และระมัดระวังอย่าให้ผลเป็นรอย จากนั้น เด็ดก้านออกให้ชิดผล วางผลคว่ำหัวบนกระสอบหรือวัสดุที่ซับน้ำยางได้ พอสะเด็ดน้ำยางดีแล้วจึงนำไปกำจัดเชื้อรา การฆ่าเชื้อโรคที่ภาชนะบรรจุ โรงคัด หรือห้องบ่ม ตลอดจนห้องเก็บรักษา และการจุ่มผลมะม่วงในน้ำร้อน 52 องศาเซลเซียส และมีสารบีโนมิล 50 เปอร์เซ็นต์ นาน 5 นาที […]

Read more

แมลงศัตรูมะม่วง

แมลงศัตรูมะม่วง

แมลงศัตรูมะม่วง ด้วงงวงกัดใบมะม่วง ตัวเต็มวัยเพศเมีย วางไข่บนใบอ่อนเบริเวณเส้นกลางใบ แล้วจะกัดใบใกล้ขั้วใบเป็นแนวเส้นตรงคล้ายถูกกรรไกรตัด ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไขติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน หนอนที่ฟักแล้วจะเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ การป้องกันและกำจัด เก็บใบอ่อนที่ด้วงกัดร่วมตามโคนต้นมะม่วงไปเผาหรือฝัง เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อน หรือพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น ตัวเต็มวัย เป็นด้วงหนวดยาว วางไข่ในเวลากลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้งและยืนต้นตายได้ สังเกตรอยทำลายได้จายขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น การป้องกันและกำจัด เก็บหนอน และดักจับด้วงด้วยตาข่ายเพื่อตัดวงจรการระบาด และพ่นลำต้นมะม่วงที่มีรอยทำลายด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ SL อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือ อเซทาบิพริด 20 เปอร์เซ็นต์ SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรเพลี้ยไฟมะม่วง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงทำให้ขอบใบและปลายใบแห้ง ดอกร่วง ผลเป็นขี้กลาก มีรอยสากด้าน หรือบิดเบี้ยว ระบาดเมื่ออากาศแห้ง การป้องกันและกำจัด พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ EC […]

Read more

การแปรรูปกล้วยน้ำว้าและการจำหน่ายกล้วยน้ำว้า

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในสมัยก่อนมีการแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นการถนอมอาหาร แต่ในปัจจุบันสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า  ซึ่งสามารถทำได้หลายหลากวิธี เช่น กวน อบ นึ่ง เป็นต้น บทความนี้ ได้นำเสนอ การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำหว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีถนอมอาหาร ผู้อ่านสามารถติดตาม การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที ในบทความ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าได้ การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ให้ได้คุณภาพ และรสชาติที่ดีของผลิตภัณฑ์ ควรคัดเลือกกล้วยน้ำว้าให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยน้ำว้าในประเทศไทย จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ ‘กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง’ เหมาะที่จะทำกล้วยตาก จะได้กล้วยตากสีเหลืองสวย ไม่ดำคล้า, ทำกล้วยแผ่นอบ ได้สีเหลืองที่สวยพอดี กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกลุ่มกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด กล้วยน้ำว้าไส้แดง ไส้ค่อนข้างแข็งมีความฝาด เหมาะสำหรับทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด ไส้จะไม่เละ กล้วยกลุ่มไส้แดงนี้ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยจะคล้ำดำ สีไม่สวย ดูแล้วเหมือนผลิตภัณฑ์เก่า ทำกล้วยบวชชีก็ไม่อร่อย เพราะมีรสฝาด แต่กล้วยน้ำว้ากลุ่มนี้จะให้ผลผลิตค่อนข้างดก ตามที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น ถึงประโยชน์อันหลากหลายของกล้วยน้ำว้า การแปรรูปจากผลของกล้วยก็เป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ได้จากกล้วยน้ำว้า มีให้เลือกหลายรูปแบบ […]

Read more

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า มีนำเสนอไว้ใน การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีถนอมอาหาร ซึ่งสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน หรือทำรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ นอกเหนือจากนั้น เราสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที หรือจะทำเป็นธุรกิจเสริมรายได้จากการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า ในบทความนี้ได้รวบรวมสูตรง่ายๆ ไว้ให้ผู้อ่านดังนี้ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า โดยการแปรรูปด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที กล้วยบวชชี หรือ กล้วยบวดชี สูตรขนมหวานที่โปรดปรานของหลายๆ คน พร้อมเคล็ดลับวิธีทำกล้วยบวชชีไม่ให้ฝาด ด้วยความหอมหวานอร่อยกลมกลมของน้ำกะทิและน้ำตาล บวกกับความอร่อยของกล้วยน้ำว้า จริงๆ แล้วกล้วยบวชชีเป็นสูตรขนมไทยที่ทำง่าย ที่มีสูตรขั้นตอนดังนี้ 1.กล้วยบวชชีสูตรอร่อย ส่วนผสม 1. กล้วยน้ำว้า 1 หวี…(เลือกห่ามๆ) 2. น้ำเปล่า 5 ถ้วยตวง 3. หัวกะทิจากถุง 2 + 1/2 ถ้วยตวง 4. น้ำตาลทราย 1 + 3/4 ถ้วยตวง 5. เกลือป่น 2 ช้อนชา วิธีทำ 1. ปอกเปลือกกล้วย ผ่ากล้วยแต่ละลูกเป็น 4 ชิ้น 2. […]

Read more

การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยสมุนไพร

การกำจัดโรคและแมลงศัตรูในผักไฮโดโปรนิกส์

การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร                                เป็นการป้องกันสารเคมีตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์ และพืชผักอื่นๆ ที่เกษตรกรควรเลือกนำมาปฏิบัติ ส่วนผสม วิธีทำ และขั้นตอนต่างๆ ของ การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก แต่เมื่อนึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับกลับมานั้น นับว่าคุ้มค่าที่จะนำมาใช้ วิธีการป้องกัน การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร มีดังนี้ : การหมักซากสัตว์ไล่แมลง ส่วนผสม : หอยเชอร์รี่ 1 ส่วน ปลา 1 ส่วน กุ้ง 1 ส่วน หมู 1 ส่วน เศษเนื้อ 1 ส่วน วิธีทำ : นำวัสดุทั้งหมดมาสับให้ละเอียด น้ำหนักรวมของเนื้อสัตว์ทั้งหมด + กากน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน เช่น เนื้อสัตว์สับละเอียด […]

Read more

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์  การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ไว้กินหรือบริโภคในครัวเรือน หรือเป็นรายได้เสริมนั้น สามารถปลูกได้ทุกชนิด แต่ถ้าปลูกเป็นเชิงการค้าแล้ว เกษตรกรควรคำนึงถึง : 1. อายุเก็บเกี่ยว—วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วสามารถปลูกพืชต่อได้ทันที ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นมาปลูก ในระยะเวลา 1 ปี ก็จะมีการเพาะปลูกได้หลายรอบกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน 2. ราคาผลผลิต—ปัจจุบันผักปลอดสารพิษ, ผักนอกฤดู และผักที่ปลูกทดแทนการนำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็ไม่ต้องไปแข่งขันกับผักที่ปลูกในดินที่มีต้นทุนต่ำกว่าให้มากนัก ถึงแม้ว่าราคาผักของพืชที่ปลูกในดินจะต่ำกว่าด้วยก็ตาม หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดผักที่ปลูกให้ยืดหยุ่นไปตามฤดูกาลและความต้องการของตลาด ก็เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง 3. ฤดูปลูก—ถ้าวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ดีกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน เช่น ใช้โรงเรือนในการเพาะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์—ไม่ต้องเสี่ยงต่ออากาศร้อน, ฝนตก, แมลง หรือว่า โรค เกษตรกรสามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ทุกฤดูกาล แล้วทำไมเกษตรกรจึงต้องเลือกชนิดผักโดยคำนึงถึงฤดูกาลด้วย? นั่นเป็นเพราะ ผักที่ไม่เหมาะจะปลูกในช่วงฤดูฝน จะมีผลผลิตน้อย ราคาผลผลิตจะสูงขึ้น ถ้าเกษตรกรเลือกนำมาปลูกในช่วงนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น อุปกรณ์ (วัสดุ เน้นต้นทุนต่ำ) เมล็ดพันธุ์ : มี 2 แบบ 1. แบบเคลือบ เคลือบด้วยดินเหนียวเพื่อรักษาเมล็ดให้มีสภาพคงเดิม(ต้องเก็บไว้ในที่เย็นหรือตู้เย็น) งอกง่ายสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะเมล็ดมีขนาดใหญ่ หยิบง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญ แต่ราคาแพง 2. แบบไม่เคลือบ ราคาถูกกว่าแบบเคลือบ […]

Read more
1 2