การปลูกพริก

การปลูกพริก

การปลูกพริก มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และเทคนิคของแต่ละบุคคล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการในขั้นต้นก็มีพื้นฐานเดียวกัน ในบทความนี้ ได้นำเสนอ วิธีการขั้นพื้นฐานให้กับท่านผู้อ่าน ส่วนเทคนิคและเคล็ดลับที่จำแนกตามสายพันธุ์นั้น ติดตามได้ในบทความ “เทคนิคการปลูกพริกแต่ละสายพันธุ์” ก่อนลงมือปลูก เราต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ก่อนนะคะ… สภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกพริก อุณหภูมิ พริกเกือบทุกสายพันธุ์ ทนต่ออากาศร้อนได้ดี แต่ไม่ทนต่ออากาศหนาว สำหรับการให้ผลผลิต พริกจะเจริญเติบโต ผลิดอกออกผลได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่ 20 ถึง 30 องศาเซลเซียส ยกเว้นพริกหวาน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพริกหวานต้องอยู่ประมาณ 18 ถึง 27 องศาเซลเซียส หากอากาศแปรปรวน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในฤดูร้อน อาจทำให้ดอกหรือผลอ่อนร่วง แสง การปลูกพริกในประเทศไทย ไม่มีปัญหาเรื่องแสง เพราะพริกจะได้รับแสงเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน เกือบตลอดทั้งปี ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพริก ดิน ดินร่วนโปร่ง เป็นดินที่พริกชอบ เพราะระบายน้ำได้ดี มีความชุ่มชื้น เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี ถ้ามีน้ำท่วมขัง พริกจะเหี่ยวตายได้ง่าย ส่วนการขาดน้ำ จะทำให้ดอกและผลร่วง ดินร่วนปนทราย บนพื้นที่ดอน เหมาะกับการปลูกพริกในฤดูฝน หรือการปลูกแบบยกแปลงให้สูงๆ เพื่อการระบายน้ำที่ดี ดินที่เหมาะสมในการปลูกพริกนั้น นอกจากมีความร่วนซุยแล้ว ควรมีอินทรียวัตถุ […]

Read more

การดูแลพริกหลังการปลูก

การดูแลพริกหลังการปลูก

การดูแลพริก หลังการปลูก มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับฤดูกาล เรียกได้ว่า ดูแลตามความต้องการของพริก ถ้าเกษตรกรปล่อยปละละเลย หรือเห็นว่าไม่สำคัญ ก็จะมีผลกระทบต่อผลผลิต หรือสร้างความเสียหายแก่พริกที่ปลูกไว้ได้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายนะคะ หากเกิดโรคระบาด หรือความเสียหายแล้วจึงคิดป้องกันหรือแก้ไข วิธีที่ดีที่สุด คือ การดูแลพริก อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามขั้นตอนที่ผู้เขียนนำมาฝากในบทความนี้ค่ะ ขั้นตอน การดูแลพริก การให้น้ำ หลังการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก ต้องให้น้ำทันที หลังการปลูกต้นกล้า เป็นเวลา 1 เดือน ต้องรดน้ำให้ชุ่ม ทุกวัน ในตอนเช้า หลังการให้ปุ๋ยทุกครั้ง ต้องให้น้ำทันที ในช่วงที่พริกเริ่มออกดอก เป็นช่วงที่พริกต้องการน้ำมากกว่าปกติ หากพริกได้รับน้ำไม่พอเพียง จะทำให้ดอกร่วง และได้ผลผลิตต่ำ ในฤดูหนาว หรือในสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ต้องลดการให้น้ำลง เพื่อป้องกันการชะลอการเจริญเติบโต การติดดอกที่ต่ำลง และดอกร่วง วิธีการให้น้ำ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำ และงบประมาณของเกษตรกร ซึ่งวิธีการให้น้ำต้นพริกนั้น มี 4 วิธี ดังนี้ แบบใช้สายยางติดหัวฉีดพ่นฝอย—รดทุกวัน ในตอนเช้า แบบระบบสปริงเกลอร์พ่นฝอย—ทุกวัน ในตอนเช้าเช่นกัน แบบปล่อยน้ำลงร่องระหว่างแปลงปลูก แล้ววิดน้ำสาดขึ้นหลังแปลง […]

Read more

เพิ่มรายได้ด้วยพริกปลอดสาร

เพิ่มรายได้ด้วยพริกปลอดสาร

เพิ่มรายได้ด้วย พริกปลอดสาร ด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์และสารชีวภาพช่วยป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูพริก ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก จากวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เป็นการลดต้นทุนในการเพาะปลูกพริก ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น และลดการใช้สารเคมี ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทาน พริกปลอดสาร รวมถึงผู้ปลูกหรือเกษตรกรก็ปลอดภัยจากสารเคมี และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงควบคู่ไปกับต้นพริกที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วยเช่นกัน แต่หลายท่านอาจจะสงสัยว่าสารชีวภัณฑ์ และสารชีวภาพแตกต่างกันอย่างไร?…..หากท่านได้ติดตามบทความอื่นๆ มาก่อนแล้ว คงจะคุ้นตากับเชื้อราไตรโคเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส นั่นแหละค่ะ สารชีวภัณฑ์ที่ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ป้องกันโรคพริก ส่วนสารชีวภาพนั้น เป็นสารที่สกัดจากสมุนไพร ที่หาได้ง่ายๆ ตามท้องตลาด หรือท้องถิ่นที่เราอยู่อาศัย ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลมาฝากในบทความนี้…ศึกษาข้อมูล ทดลองทำ และนำไปใช้นะคะ สารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพริก เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อปฏิปักษ์ หรือเป็นศัตรูของเชื้อราสาเหตุโรคพริกหลายชนิด สามารถเจริญอยู่บนผิวและใต้ผิวรากพืช ช่วยปกป้องรากพืชจากเชื้อโรค ช่วยละลายแร่ธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชผัก ช่วยเพิ่มอัตราความงอกของเมล็ดพริก ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบราก ช่วยสร้างความเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และช่วยให้พริกทนต่อโรคต่างๆ ได้ดี โรคพริกที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันได้ โรคแอนแทรกโนส โรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา โรคกล้าเน่ายุบจากเชื้อรา วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา วิธีที่1 แช่เมล็ดพันธุ์พริกในเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ในอัตราส่วน 10 กรัม (1ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 6 ถึง […]

Read more

เทคนิคการปลูกพริกให้รวย

เทคนิคการปลูกพริก

เทคนิคการปลูกพริกให้รวย เป็นบทความที่ผู้เขียนรวบรวมมาเพื่อให้เกษตรกรและผู้ปลูก ได้นำไปปรับใช้ในการปลูกพริกตามสายพันธุ์ที่ท่านเลือกปลูก ซึ่งมีความแตกต่างกันนิดหน่อยจากบทความ การปลูกพริก ที่ผู้เขียนได้เคยนำเสนอไว้ เป็นวิธีการขั้นพื้นฐานที่ใช้ปฏิบัติในการปลูกพริกได้ทุกสายพันธุ์ เกษตรกรและผู้ปลูกสามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ตามความสะดวกและความเหมาะสมให้รวยได้ด้วย เทคนิคการปลูกพริก ของแต่ละสายพันธุ์ ดังนี้ พริกขี้หนู ขนาดผลยาวประมาณ 2 ถึง 3 เซนติเมตร ผลชี้ลงพื้นดิน ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลแก่มีสีส้ม สีแดง สีแดงเข้ม หรือสีเหลือง ยอดอ่อนของพริกขี้หนูนี้ คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหาร เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเลียง ใส่ไข่เจียว หรือแกงจืด สายพันธุ์พริกขี้หนู แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พริกจินดา-เลย พริกจินดา พริกยอดสน พริกห้วยสีทน พริกไชยปราการ และพริกหัวเรือ เบอร์ 13 พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พริกซุปเปอร์ฮอท พริกแชมป์เปี้ยน ฮอท 44 พริกสยาม ฮอท พริกชิ วาลรี ที1698 พริกเรดฮอท ทีเอ100 พริกรสแซบ ที2007 พริกจินดา […]

Read more

แมลงศัตรูพริก

แมลงศัตรูพริก

แมลงศัตรูพริก ที่พามาแนะนำให้รู้จักกันในบทความนี้ เป็นศัตรูที่เกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี แต่สำหรับเกษตรกรมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจจะปลูกพริกไว้รับประทานในครัวเรือนหรือเป็นอาชีพเสริมนั้น อย่าคิดว่า ความเผ็ดของพริก เป็นเกราะป้องกันแมลงต่างๆ ได้…พริก มีศัตรู ไม่น้อยไปกว่าพืชผักอื่นๆ และไม่ว่ารสชาติของพริก จะเผ็ดร้อนขนาดไหน ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะได้พบกับ แมลงศัตรูพริก หากผู้ปลูกไม่ดูแลเอาใจใส่ ป้องกัน หรือรีบกำจัดในทันทีที่พบเห็น ถ้าท่านผู้อ่านได้ติดตามบทความ โรคพริก มาก่อนแล้ว ก็เป็นที่ทราบดีว่า ผลที่ได้ควบคู่กันกับการป้องกันและกำจัด แมลงศัตรูพริก คือ ช่วยป้องกันโรคพริกที่มีแมลงเป็นพาหะ ได้อีกหลายโรค…แบบนี้เรียกว่า ‘ยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัว’…เห็นแบบนี้แล้วคงอยากรู้จักแมลงศัตรูพริกกันแล้วสินะคะ แมลงศัตรูพริกที่สำคัญ มีดังนี้ เพลี้ยไฟพริก เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 1.5 ถึง 2.0 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมเหลือง หรือสีน้ำตาลเข้ม ตัวเต็มวัยมีปีกบินได้ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟพริกนี้มีประสิทธิภาพทำลายต้นพริกได้เท่าๆ กัน ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่เนื้อเยื่อบริเวณ ยอดอ่อน ใบ ตาดอก ดอก และผลอ่อน ใบพริกจะหงิก งอ บิด ม้วน เหลือง แห้ง กรอบ และร่วงหล่น ส่วนผล จะงอเปลี่ยนรูป พบระบาดในสภาวะอุณหภูมิสูง […]

Read more

โรคพริก

โรคพริก

โรคพริก มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และไส้เดือนฝอย การนำเสนอบทความนี้ ผู้เขียนมีจุดประสงค์ให้ผู้ปลูกพริก หรือเกษตรกรได้เรียนรู้สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ การป้องกัน และการกำจัด โรคพริก อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพ ไม่เกิดความเสียหาย และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่การลงทุน โรคพริก มีหลายโรคด้วยกัน หากดูแลต้นพริกหลังการปลูกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ทั่วถึงแล้ว ก็จะพบกับอาการของโรคพริก ดังนี้ โรคแอนแทรกโนส หรือโรคกุ้งแห้ง โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ลักษณะแผลจะเป็นจุดฉ่ำน้ำรูปวงรีหรือรูปไข่ และแผลจะขยายได้กว้างอย่างไม่มีขอบเขต จากนั้นแผลจะบุ๋มลึกเป็นสีน้ำตาล และมีจุดสีดำเรียงซ้อนกันในแผล และแผลอาจมีเมือกสีส้มอ่อน ผลพริกจะโค้งงอหรือหดย่นคล้ายกุ้งแห้ง ในขั้นรุนแรง จะทำให้กิ่งแห้ง เชื้อโรคนี้สามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม หรือตกค้างในดิน และสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิระหว่าง 27 ถึง 30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ การป้องกันและกำจัด เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี เช่น สารแมนโคเซป หรือ สารคาร์เบ็นดาซิม ก่อนปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ หรือแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ควรเว้นระยะห่างตามความเหมาะสมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ต้นพริกได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง และง่ายต่อการกำจัดโรค ควรพ่นสารเคมี […]

Read more

พริก

พริก

พริก เป็นพืชที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทย และอยู่คู่คนไทยมาช้านาน เป็นส่วนประกอบอาหารสารพัดเมนู ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลสด หรือปรุงสุก ต้มยำ แกง ผัด ยำ อาหารแห้ง เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป ส่วนผสมอาหารเสริม ส่วนผสมทางยา และไม้ประดับ รู้หรือไม่ว่า พริก ให้คุณค่าทางอาหารอะไรบ้าง? พริกมีคุณค่าทางอาหารหลากหลายชนิดนะคะ อย่าคิดว่า พริกให้เพียงรสชาติความเผ็ดเพียงอย่างเดียว แต่คุณค่าทางอาหารของพริก มีทั้ง โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามิน เอ วิตามิน บี 1 วิตามิน บี 2 วิตามิน ซี และไนอาซีน ข้อดีของการปลูกพริก ปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน—เพื่อรับประทานทั้งแบบสดและแบบแห้งได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย หรือหากได้ผลผลิตดี ยังสามารถจำหน่ายสร้างรายได้เสริมได้อีกด้วย ปลูกเพื่อการค้า—พริกนั้น นอกจากปลูกได้ทั้งปี ยังให้ผลผลิตได้ทั้งปี และถ้าจะให้ดี เกษตรกรควรคำนวณช่วงเวลาการให้ผลผลิต และวางแผนการจำหน่ายให้ตรงกับช่วงเดือนที่มีราคาแพง คือ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม ของทุกปี พริกจะมีราคาแพงที่สุด อย่าพลาดติดตามข้อมูล “เทคนิคการปลูกพริกให้ได้ผลผลิตช่วงราคาแพง“ […]

Read more