ความเป็นมาของการทำนาโยน

ความเป็นมาทำนาโยน

ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน ตั้งแต่อดีตมานั้น คนส่วนมากจะรู้จักวิธีการปลูกข้าว แบบทำนาดำ และนาหว่าน ซึ่งการทำนาแบบทั้งสองวิธีนั้น มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยนาดำนั้นมีข้อดี คือ ระยะห่างของต้นข้าวนั้นจะพอดีไม่เบียดกัน ทำให้ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่มีข้อเสียคือต้องใช้เวลานานในการปักดำต้นข้าว ส่วนนาหว่านนั้นใช้เวลาที่น้อยกว่าและได้ปริมาณต้นข้าวที่มากกว่าด้วยการหว่านเมล็ด แต่มีข้อเสียคือในขณะที่รอต้นข้าวเติบโตนั้นก็จะเสียเมล็ดไปกับการมาจิกกินของนก และหากฝนตกในวันที่หว่านแล้วเมล็ดข้าวก็จะลอยหายไปกับน้ำ แต่ด้วยประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่อุดมด้วยภูมิปัญญาในเรื่องการเกษตร จึงได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลลิตที่ดีออกมา ซึ่งการทำ “นาโยน” ก็ได้เป็นอีกหนึ่งวิธีใหม่ในการทำนาในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของการทำนาโยนคือ การประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องสูญเสียไปกับน้ำ ระยะห่างของต้นข้าวที่มีมากกว่าก็ทำให้ข้าวสามารถแตกกอได้ดีกว่า และการเติบโตของต้นกล้าข้าวที่โยนลงไปก็ไม่หยุดชะงักเหมือนนาดำที่ต้องปักต้นกล้า อีกทั้งยังใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่า การทำนาโยน เป็นการทำนารูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและพืชทั่วไป โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในปี 2545 ถึง 2548 และเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้าเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาด้วยวิธีอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า อายุต้นกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดีมาก ใช้แรงงานเตรียมดินเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือใช้เมล็ดเพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85% […]

Read more

มาเลี้ยงปลาในนาข้าวกัน ดีทั้งปลา ดีทั้งนาข้าว

เลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่งผลดีกับทั้งปลา ส่งผลดีกับทั้งนาข้าว เลี้ยงปลาในนาข้าว พอปลาโต ข้าวผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อให้อาหารปลา พอปลาขับถ่ายก็เป็นการช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อาหารในน้ำ ข้าวก็ได้ปุ๋ยไปด้วยทำให้เจริญเติบโตได้ดี และปลายังช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ถ้าข้าวในแปลงนาเก็บเกี่ยวตกหล่นก็ยังใช้เป็นอาหารปลาได้อีก ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลา ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งปลา ได้ประโยชน์ทั้งข้าว ดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเกษตรกรควรที่จะให้ความสนใจอย่างยิ่ง เลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นนับว่าอีกเป็นอาชีพหลักเพิ่มอย่างหนึ่งของเกษตรกรชาวนา การปรับปรุงวิธีการเลี้ยงได้ถูกพัฒนาตามหลักสากลนิยมเรื่อยมา เพื่อให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการนำมาบริโภคภายในครอบครัวอีกทั้งยังเหลือมาจำหน่ายต่อได้อีกด้วย การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นก็ต้องมีการใส่ใจ ดูแล ปลาอีกเช่นกัน ทั้งจาก ฝนฟ้าอากาศ อาหารการกิน โรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนสัตว์อื่นที่มาทำลาย ผู้เลี้ยงจึงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ปลานั้นเจริญเติบโตและมีปริมาณมาก ขณะเดียวกันความขยันอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีการศึกษาหาประสบการณ์เพิ่ม สุดท้ายคือการเฝ้าสังเกตความเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุเป้าหมาย หมายเหตุ การเลี้ยงปลาในนาข้าว จะกระทำได้ เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปี ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลา พอที่จะใช้เป็นอาหารได้ ขั้นตอนการเลี้ยงปลาในนาข้าว 1. เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา ให้มีความกว้าง 0.5 ถึง 1.5 เมตร และลึก 0.25 ถึง 0.4 เมตร นำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น […]

Read more

การทำนาโยน ช่วยประหยัดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าว

อ่าน: ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน การทำนาโยน   การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำนาโยน 1.เมล็ดพันธุ์ข้าว 2.ถาดเพาะกล้านาโยน 3.ที่โรยเมล็ดและดิน 4.สแลนสำหรับพรางแสง 5.เกรียงปาดดิน ขั้นตอนการทำนาแบบโยนกล้า เตรียมถาดเพาะกล้าพันธุ์ 1. ย่อยดินที่แห้งให้ละเอียด โดยให้เม็ดดินที่ย่อยมีขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร โดยประมาณ ดินนั้นต้องไม่มีเมล็ดข้าวและวัชพืชปนอยู่ด้วย 2. วางเรียงถาดเพาะกล้านาโยนสำหรับใส่เมล็ดพันธุ์เป็นแถวตอนยาว 3. หว่านดินที่ย่อยไว้แล้วลงไปในหลุมถาดเพาะกล้า ประมาณ 50% ของหลุม 4. หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราประมาณ 3 ถึง 4 กิโลกรัม ต่อ 50 ถึง 60 ถาด (ต่อไร่) 5. หว่านดินตามลงไปใช้เกรียงปาดดินให้เต็มเสมอปากหลุมพอดี ระวังอย่าให้ดินล้นปากหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวพันกันเวลาโยนต้นกล้า มันจะไม่กระจายตัว 6. เตรียมหน้างาน หรือลานแปลง สำหรับวางแผงถาดเพาะกล้า ให้เสร็จเรียบร้อย 7. วางแผงถาดเพาะกล้าลงบนหน้างาน หรือลานแปลง 8. ให้น้ำแล้วนำสแลนมาคลุม จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้า กลางวัน เย็น (ถ้าหากฝนไม่ตก) โดยจะต้องรดทุกวันจนกว่าข้าวจะขึ้นและยาวพอที่จะได้เวลาหว่าน โดยจะต้องหยุดให้น้ำก่อนวันที่นำไปหว่านประมาณ 2 […]

Read more