ถั่วลิสง

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง เป็นพืชที่เหมาะสมในการนำมาปลูกเป็นพืชหมุนเวียนหลังฤดูทำนา หรือพืชไร่ชนิดอื่นๆ ในช่วงเวลาหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ช่วยสร้างรายได้และสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร และช่วยบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ในปัจจุบัน ความต้องการใช้ถั่วลิสงเพื่อการบริโภคมีสูงขึ้นเนื่องจากถั่วลิสง เป็นอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารหลายชนิด เช่น อาหารว่าง อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารเวียดนาม เป็นต้น ในบางท้องถิ่น เรียก ถั่วลิสง ว่า ถั่วดิน ถั่วขุด หรือถั่วยี่สง ถั่วลิสงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน และกึ่งร้อน ตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ หลักฐานทางโบราณคดีระบุไว้ว่า ชาวพื้นเมืองบริโภคถั่วลิสง มานานกว่า 4,000 ปี ชาวยุโรปได้นำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เมื่อประมาณ 400 ถึง 500 ปีก่อน ต่อมาจึงได้แพร่มายังทวีปเอเชีย และกลายเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่ว ถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงฤดูเดียว ถั่วลิสงขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เมื่อเมล็ดได้รับน้ำเพียงพอ ต้นอ่อนในเมล็ดจะงอก โดยขยายตัวแทงรากลงไปในดิน รากแก้วอาจหยั่งลึกลงไปถึง 2 เมตร รากแขนงจะแตกออกจากผิวของรากแก้ว เติบโตขยายไปทางแนวราบใต้ผิวดิน แผ่ออกเป็นบริเวณกว้าง และมีปมของจุลินทรีย์เกิดขึ้นเป็นกระจุกตามผิวราก ต้นอ่อนของถั่วลิสงเจริญเติบโตโผล่พ้นผิวดิน มีกิ่งแตกออกจากลำต้นตรงมุม ใบ มีจำนวน 3 ถึง […]

Read more

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว พืชตระกูลถั่วที่มีเปลือกเมล็ดสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง สามารถนำเมล็ดมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การประกอบอาหาร การทำขนม การเพาะถั่วงอก การแปรรูปเป็นวุ้นเส้น การประกอบอาหารสัตว์ และเป็นปุ๋ยบำรุงดิน โดยปลูกเป็นพืชหมุนเวียนในนาข้าว หรือพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ และสร้างรายได้ที่ดี ซึ่งมีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก ถั่วเขียวมีรากเป็นระบบรากแก้ว เหมือนกับถั่วเหลือง และมีรากแขนง ทำให้ถั่วเขียวเติบโตได้เร็ว ดินที่มีความชื้น บริเวณรากมักจะพบปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียม ทำหน้าที่ช่วยตรึงไนโตรเจน ลำต้น ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ไม่ใช่เถาเลื้อย ความสูงของลำต้นประมาณ 30 ถึง 150 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียว และมีขนอ่อนปกคลุม ในบางสายพันธุ์อาจมีลักษณะลำต้นเลื้อย ใบ มีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม รูปไข่ ตามก้านใบและบนใบมีขนสีขาว ดอก ดอกมีลักษณะเป็นช่อ เกิดขึ้นบริเวณมุมใบด้านบนบริเวณปลายยอด และกิ่งก้าน ช่อดอกประกอบด้วยก้านดอก ยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกเกิดเป็นกลุ่ม จำนวนดอกประมาณ 10 ถึง […]

Read more

ถั่วพุ่ม

ถั่วพุ่ม

ถั่วพุ่ม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการปลูกพืชหมุนเวียน ใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน  ถั่วพุ่ม จะให้ธาตุไนโตรเจนประมาณ 6 ถึง 13 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพืชหลักที่ปลูกสลับกับถั่วพุ่ม ส่วนฝักสดและเมล็ดให้ธาตุอาหารสูงเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับคน และสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เมล็ดถั่วพุ่มมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย วิตามิน คาร์โบไฮเดรท และโปรตีน สามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ส่วนต้นและใบของถั่วพุ่มหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะยังคงมีสีเขียวสด และมีโปรตีนค่อนข้างสูง สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ๆ กึ่งเลื้อย สามารถทนแล้งได้ดี มีฝักลักษณะคล้ายคลึงกับถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทนแล้ง และปลูกง่าย สามารถปลูกได้ทั้งใน สภาพไร่และสภาพนา หลังเก็บเกี่ยวข้าว ใบ สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ดอก สีของกลีบดอกม่วงอ่อน ม่วงเข้ม ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม ฝักสด สีเขียวอ่อน รูปร่างฝักยาว ค่อนข้างแคบ สั้น กลม โค้งเล็กน้อย เมล็ด รูปไต สีเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วพุ่มมีหลายสี แต่เมล็ดสีดำเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด จุดประสงค์การปลูกถั่วพุ่ม เพื่อเพาะปลูกเป็นพืชหมุนเวียน หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อปรับปรุงดิน และบำรุงดิน เพื่อเป็นอาหารสำหรับคน และสัตว์ […]

Read more