การดูแลหม่อนหลังการปลูก
การดูแลหม่อนหลังการปลูก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกหม่อนให้ได้ผลผลิตสูง การดูแลหม่อนหลังการปลูก ไม่ยากแต่ต้องรู้ใจหม่อน ถ้าเปรียบเทียบกับคน หม่อนจะเป็นคนที่เป็นระเบียบ ไม่ชอบอะไรที่รกรุงรัง เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งให้หม่อนบ่อยๆ เด็ดใบออก แล้วหม่อนก็จะผลิดอกออกผลให้เต็มต้น นอกจากนี้ การดูแลหม่อน ยังรวมไปถึงการให้น้ำ ให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืช การดูแลเรื่องโรคและแมลงที่มารบกวนหม่อน ช่วงท้ายของบทความ ผู้เขียนมีเคล็ดลับดีๆ มาฝากด้วยนะคะ ติดตามเลยค่ะ ขั้นตอน การดูแลหม่อน การให้น้ำ ในฤดูแล้งควรให้น้ำแก่หม่อน เพื่อให้หม่อนใช้ในการเจริญเติบโต การให้น้ำสามารถใช้ปล่อยน้ำไหลเข้าไปในแถวของหม่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1ครั้งในฤดูแล้ง หรือรดน้ำพอชุ่มทุกวันในช่วงเช้า หม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาทุกวันในช่วงเช้า หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก ให้น้ำพอชุ่ม และจัดการการระบายน้ำอย่างให้ท่วมขัง ช่วยให้ดินสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีรากหม่อนไม่ขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ในดินสามารถเจริญเติบโตได้ดี หากปล่อยให้น้ำขังโคนต้น หม่อนจะแสดงอาการใบเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต และต้นหม่อนจะเหี่ยว การพรวนดินและการรักษาความชื้นในดิน ในฤดูแล้ง ดินจะขาดความชุ่มชื้น ทำให้หม่อนชะงักการเติบโต ไม่มีใบเลี้ยงไหมหรือทำชา การพรวนดินให้ร่วนซุยและใช้วัสดุ เช่น หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งคลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น การให้ปุ๋ย ปริมาณการให้ปุ๋ยนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งนอกจากปุ๋ยแล้ว อาจจะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย แต่การใส่ปูนขาวควรเพิ่มอินทรียวัตถุและต้องใส่ให้เหมาะสม ถ้าใส่ปูนขาวมากเกินไปจะทำให้ปุ๋ยสลายตัวเร็วจนพืชไม่ทันใช้ให้เป็นประโยชน์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก […]
Read more