ประโยชน์จากดอกดาวเรือง

ประโยชน์จากดอกดาวเรือง

ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้วยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้ ปลุกประดับเพื่อความสวยงาม ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงซ้อนกันแน่นและมีอายุการใช้งานนาน ดั้งนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน) แมลงไม่ชอบจึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่ง ที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้ ปลูกเพื่อจำหน่าย **ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป้นพวงมาลัยไหว้พระหรือพวงมาลัยสำหรับ คล้องคอในงานพิธีต่างๆ การตัดดอกดาวเรือง สำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้นหรือเหลือเฉพาะดอก **ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่มีลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบและมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขก ตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นานๆ**การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับ อาคาร สถานที่กันมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่างๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคาร บ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูงลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลงเมื่อดอกดาวเรืองเริ่มบานก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้ **จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่มี สารแซธโธฟีล (Xanthophyll) สูงเมื่อตากให้แห้งจะสามารถนำไปเป็นส่วนผสม อาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีดอกสีส้มอมแดง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่ […]

Read more

วิธีการเพาะและปลูกดาวเรืองในกระถาง

วิธีการเพาะและปลูกดาวเรืองในกระถาง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกดาวเรือง 1. เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง 2. ถาดเพาะขนาด 200 หลุม (ใช้สำหรับเพาะกล้าดาวเรือง) 3. ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน 4. ขุยมะพร้าว 3 ส่วน 5. ยาป้องกันเชื้อราอัตราส่วนการผสมน้ำยา 10 ซีซีต่อน้ำ 10 ลิตร ขั้นตอนการเพาะต้นกล้าดาวเรือง 1. นำปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับขุยมะพร้าวคลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. นำยาป้องกันเชื้อราที่ผสมน้ำเรียบร้อยแล้วราดลงบนกองปุ๋ยอินทรีย์กับขุยมะพร้าวที่ผสมเสร็จแล้วให้ทั่ว แล้วคลุกเคล้าอีกรอบ 3. หลังจากนั้นให้นำปุ๋ยอินทรีย์ ขุยมะพร้าวที่คลุกเคล้ากับยาป้องกันเชื้อราเรียบร้อยแล้วใส่ลงในถาดเพาะกล้าดาวเรืองที่เตรียมไว้ให้เต็ม 4. นำเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่เตรียมไว้หยอดใส่หลุมละ 1-2 เมล็ด โดยการใช้นิ้วชี้เขี่ยเป็นหลุมเล็กน้อยแล้วกลบทับด้วยปุ๋ยอินทรีย์กับขุยมะพร้าวที่ผสมอีกครั้ง แล้วนำไปวางไว้ในโรงเพาะที่คลุมด้วยแสลนทึบแสง การให้น้ำช่วงเพาะกล้าดาวเรือง ช่วงแรกของการเพาะกล้าควรรดน้ำให้มาก ควรรดน้ำให้กระจายเป็นฝอย สังเกตจากก้นถาดเพาะกล้าว่ามีน้ำไหลออกมาจึงหยุดควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน ต้นกล้าดาวเรืองก็เริ่มแตกเป็นต้นอ่อนขึ้นมา จากนั้นย้ายต้นกล้ามายัง โรงเพาะที่มีแสงแดดส่งผ่านรำไรเพื่อให้ใบอ่อนของดาวเรืองชูรับแสง ช่วงต้นกล้าดาวเรืองมีอายุ 1 สัปดาห์ เมื่อต้นกล้าดาวเรืองมีอายุ 1 สัปดาห์ ควรทำการย้ายถุงพลาสติกขนาด 3 นิ้ว […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูของดาวเรือง

โรคและแมลงศัตรูของดาวเรือง

แมลงศัตรูของดาวเรือง 1. เพลี้ยไฟ จะเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน จะทำให้ใบหงิกงอไม่แตกใบใหม่ มักเกิดในช่วงหลังจากเด็ดยอด และในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม ฟูโนบูคาร์บฟิโพรนิลทุกๆ 5-7 วัน หรือทุก 2-3 วัน หากมีการระบาดมาก 2. ไรแดง พบมากในช่างฤดูร้อนส่วนใหญ่อยู่ใต้ใบชอบอยู่เป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม พืชที่โดน ทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม อมิทราช, ไดโคโฟลทุกๆ 5-7 วัน 3. หนอนชอนใบ ตัวหนอนจะชอนไชเป็นทางยาว ใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็น บิดเบี้ยว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม คาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์ อบาแม็กติน ทุกๆ 5-7 วัน 4. หนอนเจาะดอก จะเข้าทำลายในช่วงที่ดอกตูมหรือดอกเริ่มบาน หากรุนแรงจะทำให้กลีบดอกร่วงเสียหายไม่สามารถจำหน่ายได้ ควรป้องกันโดยการฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม คาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์ ไซเพอร์เมทริน 35 ในช่วงดอกตูมทุก 3-5 วัน หากพื้นที่นั้นมีการระบาด โรคของดาวเรือง 1. โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา FUSARIUM อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น […]

Read more

ลักษณะและชนิดของดาวเรือง

ลักษณะและชนิดของดาวเรือง

ชื่อสามัญ : Marigold ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L. คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ) บ่วงสิ่วเก็ก เฉาหู้ยัง กิมเก็ก (จีน) ดาวเรืองนิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆ อีกหลายพันธุ์ ลักษณะทั่วไป ต้นดาวเรือง เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศแม็กซิโก ดาวเรืองจัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุได้รวมประมาณ 1 ปี ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร ดาวเรืองจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก (แต่อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า) เจริญเติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ลำต้นดาวเรือง ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน ใบดาวเรือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่ ออกเรียงตรงกันข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ […]

Read more