การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ

การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปลูกกาแฟแล้วค่ะ การขนส่งและจัดจำหน่ายผลผลิตกาแฟนั้นเป็นเรื่องที่ง่าย แต่การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการแปรรูปผลผลิตต้องปฏิบัติด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตให้คงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น หรือรสชาติก็ตาม ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากกว่าข้อปฏิบัติอื่นๆ ในการปลูกกาแฟ แต่อย่าลืมนะคะ ว่ากาแฟ เป็นผลผลิตที่มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิตด้วย การเก็บเกี่ยวกาแฟ กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านสภาวะความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว หลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 จากนั้นจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุกสีแดง วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกสีแดงเท่านั้น ผลผลิตในหนึ่งช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ผลกาแฟที่แก่แต่ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี ใช้วัสดุที่เป็นแผ่น เช่น ตาข่ายตาถี่ปูใต้โคนต้นแล้วเก็บเฉพาะผลที่สุกร่วงหล่นลงมาบนตาข่ายแล้ว รวบรวมผลผลิตของแต่ละต้นนำไปคัดแยกคุณภาพ ไม่ควรเก็บผลกาแฟโดยใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำ นำผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วมาคัดแยกคุณภาพ ผลกาแฟที่แก่จัดเกินไปซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หรือหล่นตามพื้น ควรถูกคัดแยกออกจากกัน จากนั้นให้นำผลกาแฟทั้งหมดออกตากแดดโดยเร็วที่สุด อายุการเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวกาแฟตามสภาพพื้นที่ มีดังนี้ ระดับความสูง 700 ถึง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล ถึง ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล ถึง ผลสุก) […]

Read more

การดูแลกาแฟหลังการปลูก

การดูแลกาแฟหลังการปลูก

การดูแลกาแฟ หลังการปลูก เป็นการเพิ่มพูนรายได้ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่เกษตรกรโดยตรง ขั้นตอนของการปลูกกาแฟนั้นไม่ยุ่งยาก แต่ต้องปฏิบัติตามหัวใจสำคัญในการปลูกกาแฟ คือ การดูแลกาแฟ หลังการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ต้องใช้พันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง ต้นเจริญเติบโตเร็ว ต้านทานโรคและแมลง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นการปลูก การปลูกกาแฟ มีประโยชน์โดยรวมในการปลูกทดแทนฝิ่น หรือช่วยหยุดยั้งการทำไร่เลื่อนลอย ใช้ประโยชน์ที่ดินภูเขาซึ่งไม่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ ได้ถูกต้องตามความเหมาะสม กาแฟสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ประโยชน์ที่ได้รับจากการดูแลกาแฟให้ดีและถูกต้อง หลังการปลูก กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายปี การเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีผลิตเมล็ดกาแฟไม่ยุ่งยาก ผลผลิตเก็บไว้ได้ไม่เน่าเสีย สะดวกในการขนส่งในบริเวณที่การคมนาคมไม่สะดวก เพราะเมล็ดกาแฟแข็งไม่ชอกช้ำเสียหายระหว่างการขนส่ง ผลผลิตมีราคาสูงพอสมควร เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ดังนั้น การดูแลกาแฟอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เป็นประจำ สม่ำเสมอ ก็จะส่งผลดีต่อรายได้ของเกษตร หรือเป็นการเพิ่มพูนรายได้ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ขั้นตอน การดูแลกาแฟ การจัดการร่มเงา พื้นที่บนที่สูงหรือลาดชันนั้น นอกจากจะมีสภาพอากาศหนาวเย็นแล้ว ยังมีความเข้มของแสงแดดมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้บังร่มชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ไม้บังร่มชั่วคราว ควรเป็นไม้โตเร็ว และเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ทองหลางไร้หนาม แคฝรั่ง ขี้เหล็กอเมริกัน ควรเว้นระยะปลูก 4×6 เมตร หรือ 6×6 เมตร และปลูกหลายชนิดสลับกัน ไม้บังร่มถาวร ควรเป็นไม้พุ่มใหญ่ ทรงพุ่มกว้างและให้ร่มเงาในระดับสูง […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูกาแฟ

โรคและแมลงศัตรูกาแฟ

โรคและแมลงศัตรูกาแฟ จะเข้าทำลายต้นกาแฟและผลผลิต ทำให้เกิดความเสียหายหากไม่ป้องกันหรือกำจัดในทันทีที่สำรวจพบ และความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นอาจถึงขั้นรุนแรงทั่วพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างรวดเร็วในฤดูการระบาด เพราะฉะนั้น เราควรศึกษาอาการของโรคกาแฟ และลักษณะการเข้าทำลายของแมลงศัตรูกาแฟ เพื่อการป้องกันและกำจัดได้ถูกต้องและทันท่วงที ให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนนะคะ ลักษณะอาการ การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูกาแฟ มีดังนี้ โรคกาแฟ โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้าทั้งใบแก่และใบอ่อนมานานกว่าร้อยปี ทั้งในระยะที่เป็นต้นกล้าในเรือนเพาะชำและต้นโตในแปลง อาการเริ่มแรกมักจะเกิดเป็นจุดสีเหลืองเล็กๆ ขนาดประมาณ 3 ถึง 4 มิลลิเมตร กับใบแก่ก่อนบริเวณด้านในของใบ และเป็นจุดสีเหลืองบนใบขยายโตขึ้นเรื่อยๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้นสีบนแผลจะมีผงสีส้ม บริเวณด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้นใบกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น และกิ่งจะแห้งในเวลาต่อมา ในขั้นรุนแรงใบกาแฟจะร่วงเกือบหมดต้น การป้องกันและกำจัด ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคราสนิมได้ เช่น บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (Alkaline Bordeaux Mixture) 0.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ คูปราวิท (Cupravit) 85 เปอร์เซ็นต์ W.P. ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้พันธุ์กาแฟที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้แก่ กาแฟอาราบิก้าพันธุ์คาติมอร์ […]

Read more

กาแฟ

กาแฟ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กาแฟยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในหลายประเทศ ด้วยประโยชน์ของกาแฟที่มีมากเกินกว่าการนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม สำหรับประเทศไทยกาแฟกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีการเพาะปลูกในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปลูกทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ปลูกแซมต้นยางพาราในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน เกษตรกรที่เคยปลูกกาแฟเป็นรายได้เสริม แซมไม้ยืนต้นในพื้นที่เพาะปลูกหลายราย เริ่มหันมาปลูกกาแฟเป็นรายได้หลัก สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกกาแฟ ควรทำความรู้จักกับกาแฟให้ลึกมากขึ้นนะคะ ว่าต้นกาแฟเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้าง และรู้จักกับสายพันธุ์กาแฟ เพื่อเป็นข้อมูลในการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เมล็ดกาแฟ คงเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี แต่ส่วนอื่นๆ ของต้นกาแฟ มีลักษณะดังนี้ค่ะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟ กาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 3 ถึง 5 เมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กาแฟ ลำต้น กาแฟมีลำต้นตรง ในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะไม่แตกกิ่ง แต่มีใบแตกออกตรงข้ออยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ต่อมาเมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก็มีการแตกกิ่งออกจากลำต้นในลักษณะที่แยกออกจากกันและอยู่ตรงข้ามกันกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะมีใบแตกออกเป็นคู่ๆ อยู่ตรงข้อเช่นเดียวกับลำต้น กิ่งจะขนานไปกับระดับพื้นดินหรือห้อยต่ำลงดิน ซึ่งเป็นที่เกิดของดอกและผลต่อไป นอกจากการแตกกิ่งออกจากตา ของลำต้นอีกเป็นจำนวนมากทำให้หน่อเกิดขึ้นใหม่นี้เบียดกับต้นเดิม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ให้เจริญเติบโตเรื่อยๆ โดยไม่มีการปลิดทิ้งหรือตัดจะทำให้กาแฟมีทรงพุ่มที่แนบแน่นทึบเป็นที่สะสมของโรคแมลง และให้ผลผลิตลดต่ำลง     ดอก ดอกกาแฟมีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมคล้ายมะลิป่า รูปร่างคล้ายดาว มีก้านดอกสั้น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การออกดอกของกาแฟขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ถ้าในพื้นที่ที่มีฝนตกเป็นฤดู ดอกจะออกหลังจากฝนตกประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าหากอากาศชุ่มชื่นตลอดทั้งปีหรือมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ […]

Read more