การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด โดยธรรมชาติแล้ว เห็ด สามารถเกิดและเจริญเติบโตได้เอง คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมเราจึงต้องมีการเพาะเห็ด? เพราะคุณประโยชน์ของเห็ดเป็นตัวผลักดันให้ เห็ด กลายเป็นพืชผักเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้คนนิยมบริโภคเห็ดกันมากขึ้น ทั้งในรูปแบบอาหาร และยาสมุนไพร จึงได้มีการพัฒนาเชิงวิชาการผสมผสานกับหลักธรรมชาติของเห็ด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และมีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุด เริ่มต้นเพาะเห็ด อย่างไรดี? ถ้าเราสนใจเพาะเห็ดไว้บริโภคในครัวเรือน หรือ คิดไปไกลกว่านั้น คือ เพาะเห็ดเป็นธุรกิจ แต่ไม่มีประสบการณ์ ควรเริ่มต้นจาก…ซื้อก้อนเชื้อสำเร็จรูปมาทดลองดูก่อน ก้อนเชื้อเห็ดสำเร็จรูปที่ว่านี้ มีการหยอดเชื้อมาแล้ว แค่เพียงรดน้ำให้เห็ดออกดอกก็นำมาปรุงอาหารรับประทานได้เลย เมื่อมีประสบการณ์ตรงนี้แล้ว ค่อยเพิ่มจำนวนและศึกษาวิธีการเพาะ เมื่อมีความชำนาญขึ้น จึงเริ่มลงทุนผลิตก้อนเชื้อ พัฒนาคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น แต่การเพาะเห็ดนั้น นอกจากความรู้ความสนใจที่ผู้ลงทุนมีแล้ว ยังต้องมีความอดทน มีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจาก การเพาะเห็ด ที่คุ้มค่ากับการลงทุน ขั้นตอนแรกของ การเพาะเห็ด ต้องเริ่มจาก…..ทำความรู้จักกับ เห็ด ก่อนที่จะเริ่มทำการเพาะเห็ด ผู้อ่านสามารถทำความรู้จักกับ เห็ด ว่าเห็ดที่รับประทานได้มีอะไรบ้าง เห็ดมีคุณประโยชน์อะไรบ้าง มีโทษอะไรบ้าง จากบทความเรื่อง เห็ด เห็ดเป็นยา หรือ คุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด จากนั้นก็เลือกชนิดเห็ด—ง่ายที่สุด คือ […]

Read more

โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด

โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด โรคและปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกเห็ดถุงหรือเห็ดฟางขาย คือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใยเห็ด การเกิดแบคทีเรียสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด ปัญหา และโรคต่างๆ อาจเกิดจากความสะอาด กระบวนการเพาะ วัสดุที่นำมาใช้ในการเพาะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะทำให้มีพิษตกค้างในเห็ด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในปัจจุบันหลายได้มีการใช้จุลินทรีย์มาแก้ปัญหา ซึ่งนับว่าได้ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ กำจัดหนอนของแมลง โรคและปัญหาที่สำคัญของการเพาะเห็ดฟาง 1. โรค ราเม็ดผักกาด โรคนี้มักเกิดกับกองเห็ดฟางที่ใช้ฟางเก่าเก็บค้างปี ตากแดดตากฝนมาก่อน ส่วนใหญ่ โรคราเม็ดผักกาดนี้มักเกิดกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ลักษณะที่สังเกตเห็นคือเส้นใยของเชื้อรามีลักษณะหนากว่าเส้นใยของเห็ดฟาง โรค จะเริ่มเกิดขึ้นได้ในวันที่ 3 หรือ 4ของการเพาะและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาจะเกิดเส้นใยแผ่ขยายออกไป มีลักษณะเป็นวงกลม เมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้นจะสร้างส่วนขยายพันธุ์รูปร่างกลมมีสีขาวเมื่ออ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ลักษณะคล้ายคลึงกับเมล็ดผักกาด จึงได้ชื่อว่า ราเม็ดผักกาด–ทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ทำให้ดอกเห็ดอ่อนมีลักษณะนิ่มกว่าดอกปกติ 2. โรค ราเขียว โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา 3 ชนิด เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินหรืออยู่ในอากาศก็ได้ เมื่อดินหรือวัสดุเพาะมีความชื้น เชื้อราจะเริ่มเจริญขึ้นที่ดินและเจริญต่อไปถึงขี้ฝ้ายและฟางข้าว ราเขียวเป็นราประเภทสร้างสปอร์มากและมีขนาดเล็กปลิวได้ในอากาศ เชื้อราเขียวเหล่านี้เป็นเชื้อราแข่งขันหรือราคู่ของเชื้อเห็ดฟาง โรคนี้จะทำให้เห็ดฟางเจริญไม่ทัน นอกจากนี้โรคราเขียวยังทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ด้วย […]

Read more

การเพาะเห็ดถุง

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดถุง ทำได้กับเห็ดเกือบทุกสายพันธุ์ นอกจากจะเป็นการเพาะเพื่อจำหน่ายดอกเห็ดแล้ว ยังสามารถจำหน่ายเชื้อเห็ดถุงได้อีกด้วย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ การเพาะเห็ดถุง 1. วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื้อยไม้ยางพารา ไม้เบญจพรรณ ชานอ้อย อาหารเสริม 2. แม่เชื้อเห็ด ชนิดที่ต้องการ 3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 1/2 x12 1/2 นิ้ว หรือ 8×12 นิ้ว 4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว 5. สำลี, ยางรัด, จุกสำเร็จ 6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน 7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย และโรงเปิดดอกแยกกัน การผลิตเชื้อวุ้นสำหรับ การเพาะเห็ดถุง สูตรอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. ในการเตรียมอาหารวุ้นจำนวน ๑ ลิตร จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ – มันฝรั่ง 200-300 กรัม – น้ำตาลเด๊กโทรสหรือกูโคส 20 กรัม – วุ้น 15 […]

Read more

เทคนิคการเพาะเห็ด ( เห็ดถุงชนิดต่างๆ )

เทคนิคการเพาะเห็ด

เทคนิคการเพาะ เห็ดถุงชนิดต่าง ๆ                                                                        1. เทคนิคการเพาะ เห็ดนางฟ้า เป็นเห็ดในสกุลเดียวกันกับเห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ แต่เห็ดนางฟ้ามีหมวกดอกหนา เนื้อแน่นกว่าเห็ดนางรม ในปัจจุบันมีการผสมและปรับปรุงเพื่อให้ได้พันธุ์ดีอยู่ตลอดเวลา เห็ดภูฐานที่นำมาจากประเทศภูฐาน และประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ที่มีข้อดีหลายประการดังนี้ เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดีในอาหารวุ้น พี.ดี.เอ โดยเฉพาะอาหารวุ้นที่ผสมถั่วเหลืองหรือถั่วเขียว และสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในเมล็ดธัญพืชที่ทำหัวเชื้อ เห็ดนางฟ้าภูฐานเป็นพันธุ์ที่ออกดอกเร็ว หลังจากเขี่ยหัวเชื้อลงปุ๋ยหมักแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็เจริญเต็มถุงก้อนเชื้อ และสามารถเปิดถุงให้ออกดอกได้ นอกจากนี้ […]

Read more