การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์  การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ไว้กินหรือบริโภคในครัวเรือน หรือเป็นรายได้เสริมนั้น สามารถปลูกได้ทุกชนิด แต่ถ้าปลูกเป็นเชิงการค้าแล้ว เกษตรกรควรคำนึงถึง : 1. อายุเก็บเกี่ยว—วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วสามารถปลูกพืชต่อได้ทันที ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นมาปลูก ในระยะเวลา 1 ปี ก็จะมีการเพาะปลูกได้หลายรอบกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน 2. ราคาผลผลิต—ปัจจุบันผักปลอดสารพิษ, ผักนอกฤดู และผักที่ปลูกทดแทนการนำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็ไม่ต้องไปแข่งขันกับผักที่ปลูกในดินที่มีต้นทุนต่ำกว่าให้มากนัก ถึงแม้ว่าราคาผักของพืชที่ปลูกในดินจะต่ำกว่าด้วยก็ตาม หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดผักที่ปลูกให้ยืดหยุ่นไปตามฤดูกาลและความต้องการของตลาด ก็เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง 3. ฤดูปลูก—ถ้าวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ดีกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน เช่น ใช้โรงเรือนในการเพาะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์—ไม่ต้องเสี่ยงต่ออากาศร้อน, ฝนตก, แมลง หรือว่า โรค เกษตรกรสามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ทุกฤดูกาล แล้วทำไมเกษตรกรจึงต้องเลือกชนิดผักโดยคำนึงถึงฤดูกาลด้วย? นั่นเป็นเพราะ ผักที่ไม่เหมาะจะปลูกในช่วงฤดูฝน จะมีผลผลิตน้อย ราคาผลผลิตจะสูงขึ้น ถ้าเกษตรกรเลือกนำมาปลูกในช่วงนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น อุปกรณ์ (วัสดุ เน้นต้นทุนต่ำ) เมล็ดพันธุ์ : มี 2 แบบ 1. แบบเคลือบ เคลือบด้วยดินเหนียวเพื่อรักษาเมล็ดให้มีสภาพคงเดิม(ต้องเก็บไว้ในที่เย็นหรือตู้เย็น) งอกง่ายสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะเมล็ดมีขนาดใหญ่ หยิบง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญ แต่ราคาแพง 2. แบบไม่เคลือบ ราคาถูกกว่าแบบเคลือบ […]

Read more

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มีไม่มากเหมือนการปลูกผักบนดิน และวิธีป้องกัน หรือกำจัดก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากจะให้ได้ผลที่สุด คือเกษตรกร หรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ควรปฎิบัติตามหลักการ และขั้นตอนต่างๆ อย่างเคร่งครัด และดูแลเอาใจใส่ผักไฮโดรโปนิกส์อย่างสม่ำเสมอ และถ้าผู้อ่านติดตามอ่านบทความนี้ ก็จะได้ทราบถึงปัญหาที่เป็นกระแสเกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์ในเรื่องของไนเตรท และเคล็ดลับแก้ไขปัญหานี้ง่ายๆ ให้เราได้รับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีคุณภาพกันโดยปราศจากพิษภัย เรามาเริ่มศึกษา ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กันเลยนะคะ ว่ามีอะไรบ้าง? ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กับระบบ NFT ผักสีไม่แดง ผักพวกที่มีสีแดง เช่น เรดโอ๊ค เรดคอรัล เมื่อปลูกแล้วสีอาจไม่แดงเข้ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ พันธุ์ที่ใช้ปลูก ผักบางชนิดจะมีสีอ่อน บางชนิดสีเข้ม ต้องเลือกให้เหมาะ  สภาพแวดล้อม เม็ดสีในใบผักสลัดมี 2 ชนิดคือ คลอโรฟิลล์ จะให้สีเขียวจำเป็นในการสังเคราะห์แสง และ แอนโธไซยานินส์ จะให้สีแดง ซึ่งในผักสลัดสีแดงจะมีทั้งสองตัวนี้ ถ้ามีแอนโธไซยานินส์มากก็จะเป็นสีแดงมาก ถ้ามีน้อย สีแดงก็จะจาง ซึ่งปริมาณคลอโรฟิลล์ และ แอนโธไซยานินส์ จะมีมากมีน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปริมาณแสงและอุณหภูมิ โดยแอนโธไซยานินส์จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อแสงมากขึ้นและอุณหภูมิต่ำลง ดังนั้นผักสลัดปลูกในหน้าหนาวจึงมีสีแดงเข้ม และถ้าปลูกผักในร่ม จะมีสีซีดลง ผักที่ปลูกในสารละลายเข้มข้นจะมีสีแดงเข้มกว่าผักในสารละลายเจือจาง นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณ K ในสารละลายอาจจะช่วยเพิ่มความเข้มของสีได้ด้วย […]

Read more

หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์-DRFT

หลักด้วยระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique ) เป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะ ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ DFT และมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศแลสารละลายธาตุอาหารพืชแต่ผู้ปลูกควรศึกษา หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT ให้ดีเสียก่อนลักษณะของระบบจะเป็นโรงเรือนขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีขนาด 2×7 เมตร หลังคามุงด้วยพลาสติกใสป้องกันแสง UV ทำให้ทนต่อแสงแดด อายุการใช้งานนาน 2-3 ปี ด้านข้างเป็นมุ้งป้องกันแมลง ดังนั้น ระบบน้ำจะเป็นระบบปิด เป็นระบบที่มีการปลูกแพร่หลายระบบหนึ่งในประเทศไทย ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกได้แก่ ผักไทย เพราะมีระบบรากเยอะ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุดก็ตาม ก็ยังมีข้อเสียตามมาควรศึกษาระบบน้ำให้ดีเสียก่อนผู้อ่านสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ แล้วจึงตัดสินใจเลือกระบบน้ำ หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT  มีข้อดี และข้อเสีย ดังนี้ : ข้อดี ระบบไม่ยุ่งยากดูแลง่าย อุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาและซ่อมแซมได้ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง ระบบการให้น้ำง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ทำการป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆ […]

Read more