แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า

แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า

แมลงศัตรูพืช ของกล้วยน้ำว้า มีอยู่หลายชนิด และนี่ก็คือสาเหตุที่ผู้เขียนได้เน้นย้ำไว้ในบทความ การดูแลกล้วยน้ำว้า, โรคของกล้วยน้ำว้า, การปลูกกล้วยน้ำว้า, การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า ไว้ว่า ไม่ควรปล่อยปละละเลยกล้วยน้ำว้า รสชาติที่แสนอร่อยของกล้วย ไม่ว่าจะเป็นปลี หรือผล ที่ถูกปากคนทั่วไป ก็คงดึงดูด แมลงศัตรูพืช ชนิดต่างๆ ได้มากเช่นกัน แต่ แมลงศัตรูพืช ไม่ได้ชอบลิ้มลองแค่ปลี และผลกล้วยเท่านั้น แต่สามารถทำลายล้างได้ทุกส่วนของกล้วยเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตัวเล็กฤทธิ์เยอะกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง? มีความสามารถอะไรบ้าง? และจะกำจัดกันอย่างไร? ด้วง 1. ด้วงงวงไชเหง้า ด้วงชนิดนี้ ระยะที่เป็นตัวหนอนทำความเสียหายแก่ต้นกล้วยน้ำว้ามากกว่าตัวแก่ ตัวหนอนจะเจาะกินไชเหง้ากล้วยใต้ระดับโคนต้น โดยไม่ทิ้งร่องร่อยที่ชัดเจนนัก ทำลายและหยุดระบบส่งน้ำ ส่งอาหารไปเลี้ยงลำต้น เมื่อเป็นมากๆ แม้จะมีหนอนเพียง 5 ตัวในหนึ่งเหง้า ก็สามารถไชเข้าไปทำลายกล้วยให้ตายได้ พบการทำลายได้ทุกระยะ ตั้งแต่หน่อไปถึงต้นแก่ ภายหลังตัดเครือแล้ว เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าเป็นดักแด้จนเป็นตัวแก่ออกมานอกเหง้า แถวโคนต้นในระดับชิดผิวดินหรือต่ำกว่าเล็กน้อย หรือรอผสมพันธุ์กันต่อไป การป้องกันและกำจัด ทำความสะอาดสวน กำจัดเศษชิ้นส่วนของต้นกล้วย กาบกล้วยไม่ให้เน่าเปื่อย ชื้นแฉะบริเวณโคนต้นไม่ให้เป็นที่วางไข่ ตัดต้นกล้วยเป็นท่อนๆ วางสุมเป็นจุดในสวน ล่อให้แมลงมาวางไข่ ประมาณ 7 วันต่อครั้ง เปิดตรวจดูช่วงเวลากลางวัน ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ให้ทำลาย […]

Read more

การแปรรูปกล้วยน้ำว้าและการจำหน่ายกล้วยน้ำว้า

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในสมัยก่อนมีการแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นการถนอมอาหาร แต่ในปัจจุบันสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า  ซึ่งสามารถทำได้หลายหลากวิธี เช่น กวน อบ นึ่ง เป็นต้น บทความนี้ ได้นำเสนอ การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำหว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีถนอมอาหาร ผู้อ่านสามารถติดตาม การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที ในบทความ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าได้ การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ให้ได้คุณภาพ และรสชาติที่ดีของผลิตภัณฑ์ ควรคัดเลือกกล้วยน้ำว้าให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยน้ำว้าในประเทศไทย จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ ‘กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง’ เหมาะที่จะทำกล้วยตาก จะได้กล้วยตากสีเหลืองสวย ไม่ดำคล้า, ทำกล้วยแผ่นอบ ได้สีเหลืองที่สวยพอดี กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกลุ่มกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด กล้วยน้ำว้าไส้แดง ไส้ค่อนข้างแข็งมีความฝาด เหมาะสำหรับทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด ไส้จะไม่เละ กล้วยกลุ่มไส้แดงนี้ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยจะคล้ำดำ สีไม่สวย ดูแล้วเหมือนผลิตภัณฑ์เก่า ทำกล้วยบวชชีก็ไม่อร่อย เพราะมีรสฝาด แต่กล้วยน้ำว้ากลุ่มนี้จะให้ผลผลิตค่อนข้างดก ตามที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น ถึงประโยชน์อันหลากหลายของกล้วยน้ำว้า การแปรรูปจากผลของกล้วยก็เป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ได้จากกล้วยน้ำว้า มีให้เลือกหลายรูปแบบ […]

Read more

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า มีนำเสนอไว้ใน การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีถนอมอาหาร ซึ่งสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน หรือทำรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ นอกเหนือจากนั้น เราสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที หรือจะทำเป็นธุรกิจเสริมรายได้จากการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า ในบทความนี้ได้รวบรวมสูตรง่ายๆ ไว้ให้ผู้อ่านดังนี้ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า โดยการแปรรูปด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที กล้วยบวชชี หรือ กล้วยบวดชี สูตรขนมหวานที่โปรดปรานของหลายๆ คน พร้อมเคล็ดลับวิธีทำกล้วยบวชชีไม่ให้ฝาด ด้วยความหอมหวานอร่อยกลมกลมของน้ำกะทิและน้ำตาล บวกกับความอร่อยของกล้วยน้ำว้า จริงๆ แล้วกล้วยบวชชีเป็นสูตรขนมไทยที่ทำง่าย ที่มีสูตรขั้นตอนดังนี้ 1.กล้วยบวชชีสูตรอร่อย ส่วนผสม 1. กล้วยน้ำว้า 1 หวี…(เลือกห่ามๆ) 2. น้ำเปล่า 5 ถ้วยตวง 3. หัวกะทิจากถุง 2 + 1/2 ถ้วยตวง 4. น้ำตาลทราย 1 + 3/4 ถ้วยตวง 5. เกลือป่น 2 ช้อนชา วิธีทำ 1. ปอกเปลือกกล้วย ผ่ากล้วยแต่ละลูกเป็น 4 ชิ้น 2. […]

Read more

โรคของกล้วยน้ำว้า

โรคของกล้วยน้ำว้า

แทบทุกครัวเรือนที่เราจะได้พบเห็นต้นกล้วยน้ำว้าอยู่ในบริเวณบ้านทั่วๆไป ใช่ว่าจะเป็นเรื่องกล้วยๆ ในการปลูกกล้วย หากเราไม่ดูแล และถ้าเป็นการปลูกกล้วยเชิงการค้าแล้ว ยิ่งจะต้องดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้เกิดโรค โรคของกล้วยน้ำว้า ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุเล็กๆ ของความไม่สม่ำเสมอในการดูแลกล้วย ของเกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ตามมา ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ควรปฏิบัติตามหลักการและคำแนะนำต่างๆ บทความนี้ รวบรวมเคล็ดลับง่ายในการดูแลกล้วยน้ำว้า เพื่อป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ไว้ดังนี้  : หลักการป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ในสวนแบบง่าย คือ (1) สภาพดินต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุอาหารที่กล้วยต้องการครบ (2) คัดเลือกพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่มีความต้านทานโรคต่างๆ ได้สูง (3) ดูแลเอาใจใส่ต้นกล้วยอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ (4) กำจัดวัชพืชอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ (5) มีระบบระบายน้ำที่ดี (6) ไถพลิกหน้าดิน พรวนดิน ปรับปรุงดินด้วยการใช้วิธีปลูกพืชคลุมดินแล้วไถกลบตากแดดไว้ หรือใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มคุณภาพให้กับดิน (7) ป้องกันและกำจัดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืชในสวนกล้วยน้ำว้า โรคของกล้วยน้ำว้า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุให้เกิด โรคของกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีลักษณะอาการแตกต่างกัน ดังนี้: โรคที่เกิดจากเชื้อรา รูปจาก : ไดนามิคพันธ์พืช 1. […]

Read more

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า

ประโยชน์กล้วยน้ำว้า

เมื่อได้ยินคำว่า กล้วยน้ำว้า เราก็มักจะนึกถึงกันแต่ ผล ของกล้วยน้ำว้า ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า มีจากทุกส่วนตั้งแต่ใบจดราก  ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้ : ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้วยผล—กล้วยน้ำว้า เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง และมีสารอาหารบางชนิดสูงกว่ากล้วยชนิดอื่น เช่น วิตามินเอ—สูงที่สุดในบรรดากล้วยทุกชนิด ธาตุเหล็ก—สูง—ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง โปรตีน—มีโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่ วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม—ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน เบต้าแคโรทีน—ช่วยบำรุงผิวพรรณ ไนอะซิน และใยอาหาร—ช่วยในการขับถ่าย วิตามิน บี1 บี 2 ซี และ บี 6 ตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้คนนิยมรับประทานผลกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น: อาหารคาว ประเภท แกงคั่ว, แกงป่า อาหารหวาน-อาหารว่าง ด้วยกรรมวิธี ฉาบ นึ่ง ปิ้ง ทอด อบ กวน ตาก ต้มและเชื่อม ให้เป็นอาหารแสนอร่อย เช่น ขนมกล้วย กล้วยบวชชี กล้วยแขกและกล้วยตาก เป็นต้น อาหารสำหรับทารก ด้วยการนำกล้วยสุกมาบดให้ทารกรับประทานเนื่องจากมีโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่ ย่อยง่าย […]

Read more

การดูแลกล้วยน้ำว้าให้ผลออกตลอดปี

การดูแลกล้วยน้ำว้า

หลังการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้ว การดูแลกล้วยน้ำว้า เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้ได้ผลผลิต และรายได้ต่อเนื่อง หากเกษตรกรปล่อยปละละเลย นอกจากจะได้ผลกล้วยที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว โรคของกล้วยน้ำว้า และ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ก็จะตามมา ท่านผู้อ่านสามารถติดตามทั้งสองบทความที่กล่าวถึง เพื่อศึกษาวิธีป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชของกล้วย เพื่อให้ การดูแลกล้วยน้ำว้า เป็นไปอย่างครบวงจร การดูแลกล้วยน้ำว้ามีหลายด้านให้ปฎิบัติดังนี้ ให้น้ำ เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกกล้วยน้ำว้า แต่อย่าให้ท่วมขัง เพราะรากจะเน่า ควรหาเศษฟาง เศษใบไม้แห้ง หรือใบตองที่ได้จากการตัดแต่งใบต้นกล้วยคลุมที่โคนต้น การให้น้ำต้นกล้วยน้ำว้าช่วงที่ปลูกใหม่ ให้รดน้ำวันเว้นวัน ประมาณครั้งละ 10 นาที เมื่อกล้วยตั้งตัวได้แล้ว รดน้ำ 2-3วันครั้ง หรือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แหล่งน้ำ น้ำฝน น้ำจากชลประทาน น้ำบ่อบาดาล หรือบ่อกักเก็บ น้ำจากแม่น้ำลำคลอง ระบบการให้น้ำ แบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่ แบบให้น้ำเหนือผิวดิน แบบให้น้ำไหลตามผิวดิน แบบให้น้ำใต้ผิวดิน ในสวนกล้วยนิยม ให้น้ำเหนือผิวดินมากที่สุด เพราะเป็นการให้น้ำเลียนแบบธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบอื่นๆ วิธีการให้น้ำเหนือผิวดินมีวิธีการปลีกย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ การให้น้ำโดยทั่วถึง และการให้น้ำแบบเฉพาะจุด เช่น การให้แบบน้ำหยด และการให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ เป็นต้น […]

Read more

การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าและเทคนิคการปลูกกล้วยแบบประหยัดต้นทุน

ขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า

การขยายพันธุ์กล้วยแต่ดั้งเดิม เคยใช้การเพาะเมล็ด เช่น กล้วยตานี ที่มีเมล็ดมาก แต่ใช้ระยะเวลาในการเพาะประมาณ 4 เดือน จึงจะมีต้นอ่อนงอกออกมา เนื่องจากเปลือกเมล็ดมีความหนา การเพาะเมล็ดจึงเสื่อมความนิยมไป สำหรับ การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าไม่มีเมล็ด จึงขยายพันธุ์ด้วยวิธี : 1. การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากหน่อ นิยมโดยทั่วไปโดยขุดหน่อที่แตกมาจากต้นแม่มาปลูก 1.1 วิธีเลือกหน่อกล้วยน้ำว้าเพื่อขยายพันธุ์ เลือกหน่อใบแคบ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ ที่เกิดจากต้นแม่ ใบยังไม่คลี่ เรียว ยาวเหมือนมีดดาบ มีความสูงประมาณ75-80 เซนติเมตร แข็งแรง สมบูรณ์เพราะจะมีอาหารสะสมอยู่มาก หน่อที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้น ควรมีเหง้าอยู่ใต้ดินรากลึก เหมาะสำหรับแยกไปปลูกเพราะจะได้ต้นกล้วยที่แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ไม่ควรเลือกหน่อที่โผล่อยู่บนผิวดินเพราะไม่แข็งแรงต้นแม่ ต้องไม่เป็นโรคหรือมีแมลงศัตรูกล้วย โดยเฉพาะด้วงงวง และเหง้าต้องไม่ถูกโรคและแมลงทำลาย หากเป็นหน่อกล้วยที่มาจากแหล่งอื่น ต้องเป็นกล้วยที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน เหง้าใหญ่ ไม่ช้ำ 1.2 วิธีเตรียมหน่อกล้วย 1.2.1 ตัดยอดต้นแม่ ให้เหลือความสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ต้นแม่แต่ละต้นจะให้หน่อได้ประมาณ 5 หน่อต่อต้น 1.2.2 ขุดแยกหน่อจากต้นแม่ ทุกๆ 2 เดือน แล้วสุมดินที่โคนต้นแม่ทุกครั้ง ต้นแม่จะให้หน่อประมาณต้นละ 10 หน่อต่อปี […]

Read more

เรื่องกล้วย ๆ กับกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า   กล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ประเภทใบเดี่ยว ออกลูกเป็นเครือ ขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า(เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน)ส่วนลำต้นที่อยู่บนดินเกิดจากกาบใบที่หุ้มซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อเรียกว่า ‘หัวปลี’ พบว่าเป็นพื้นบ้านแถบเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่นิยมปลูกกล้วยน้ำว้ากันมาก เนื่องจากทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ ชอบอากาศร้อนชื้น และจะให้ผลผลิตที่ดีมากในสภาวะอากาศที่ไม่แปรปรวน สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ กล้วยน้ำว้า ที่มีมานาน และชื่อเสียงโด่งดังก็คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง สายพันธุ์ที่มีการสนับสนุนให้ปลูกกันมาก คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 และสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ยักษ์ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง  (หรือ กล้วยน้ำว้าขาว) เป็นพันธุ์โบราณดั้งเดิม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและแปรรูป ใช้หน่อในการขยายพันธุ์ มีหลายชื่อให้เรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียกว่า กล้วยน้ำว้ามณีอ่อง ภาคอีสาน เรียกว่า กล้วยน้ำว้าทะนีอ่อง ภาคกลาง เรียกว่า กล้วยน้ำว้าอ่อง หรือ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ภาคใต้ เรียกว่า กล้วยน้ำว้าใต้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง เมื่อสุกมีรสชาติหวานไม่ฝาด เปลือกสีจะเหลืองทองเข้มกว่าพันธุ์อื่น เนื้อละเอียดนุ่ม ไส้ขาว ไม่มีเมล็ด แต่เวลาสุกงอม […]

Read more