ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว พืชตระกูลถั่วที่มีเปลือกเมล็ดสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง สามารถนำเมล็ดมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การประกอบอาหาร การทำขนม การเพาะถั่วงอก การแปรรูปเป็นวุ้นเส้น การประกอบอาหารสัตว์ และเป็นปุ๋ยบำรุงดิน โดยปลูกเป็นพืชหมุนเวียนในนาข้าว หรือพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ และสร้างรายได้ที่ดี ซึ่งมีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก ถั่วเขียวมีรากเป็นระบบรากแก้ว เหมือนกับถั่วเหลือง และมีรากแขนง ทำให้ถั่วเขียวเติบโตได้เร็ว ดินที่มีความชื้น บริเวณรากมักจะพบปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียม ทำหน้าที่ช่วยตรึงไนโตรเจน ลำต้น ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ไม่ใช่เถาเลื้อย ความสูงของลำต้นประมาณ 30 ถึง 150 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียว และมีขนอ่อนปกคลุม ในบางสายพันธุ์อาจมีลักษณะลำต้นเลื้อย ใบ มีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม รูปไข่ ตามก้านใบและบนใบมีขนสีขาว ดอก ดอกมีลักษณะเป็นช่อ เกิดขึ้นบริเวณมุมใบด้านบนบริเวณปลายยอด และกิ่งก้าน ช่อดอกประกอบด้วยก้านดอก ยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกเกิดเป็นกลุ่ม จำนวนดอกประมาณ 10 ถึง […]

Read more

ถั่วพุ่ม

ถั่วพุ่ม

ถั่วพุ่ม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการปลูกพืชหมุนเวียน ใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน  ถั่วพุ่ม จะให้ธาตุไนโตรเจนประมาณ 6 ถึง 13 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพืชหลักที่ปลูกสลับกับถั่วพุ่ม ส่วนฝักสดและเมล็ดให้ธาตุอาหารสูงเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับคน และสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เมล็ดถั่วพุ่มมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย วิตามิน คาร์โบไฮเดรท และโปรตีน สามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ส่วนต้นและใบของถั่วพุ่มหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะยังคงมีสีเขียวสด และมีโปรตีนค่อนข้างสูง สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ๆ กึ่งเลื้อย สามารถทนแล้งได้ดี มีฝักลักษณะคล้ายคลึงกับถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทนแล้ง และปลูกง่าย สามารถปลูกได้ทั้งใน สภาพไร่และสภาพนา หลังเก็บเกี่ยวข้าว ใบ สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ดอก สีของกลีบดอกม่วงอ่อน ม่วงเข้ม ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม ฝักสด สีเขียวอ่อน รูปร่างฝักยาว ค่อนข้างแคบ สั้น กลม โค้งเล็กน้อย เมล็ด รูปไต สีเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วพุ่มมีหลายสี แต่เมล็ดสีดำเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด จุดประสงค์การปลูกถั่วพุ่ม เพื่อเพาะปลูกเป็นพืชหมุนเวียน หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อปรับปรุงดิน และบำรุงดิน เพื่อเป็นอาหารสำหรับคน และสัตว์ […]

Read more

มะเขือเทศ

มะเขือเทศ

มะเขือเทศ เป็นพืชที่นิยมรับประทานสด และเป็นส่วนประกอบของอาหารทุกๆ ชาติ สำหรับประเทศไทย มะเขือเทศ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ด้วยความอุดมของคุณค่าทางอาหารที่ประกอบด้วย วิตามิน เอ วิตามิน ซี โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด หากเกษตรกรเลือก มะเขือเทศ มาปลูกเป็นพืชหมุนเวียนเพื่อเพาะปลูกสลับกับพืชหลักในพื้นที่แล้ว ยังจะได้รายได้เสริมจากผลผลิตของมะเขือเทศอีกด้วยนะคะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุก ที่มีอายุได้ถึง 1 ปี ลำต้น เป็นลำต้นตั้งตรง เป็นพุ่ม มีขนอ่อนๆ ปกคลุมทั่วทั้งลำต้น ใบ เป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีขนปกคลุมใบ ดอก ออกดอกเป็นช่อ หรือดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบ ดอกสีเหลือง ผล เป็นผลเดี่ยว มีขนาดและรูปร่างต่างกันตามสายพันธุ์ มีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร มีรูปร่างกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวผลเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือสีเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม สีแดง หรือสีม่วงดำ […]

Read more

การดูแลพริกหลังการปลูก

การดูแลพริกหลังการปลูก

การดูแลพริก หลังการปลูก มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับฤดูกาล เรียกได้ว่า ดูแลตามความต้องการของพริก ถ้าเกษตรกรปล่อยปละละเลย หรือเห็นว่าไม่สำคัญ ก็จะมีผลกระทบต่อผลผลิต หรือสร้างความเสียหายแก่พริกที่ปลูกไว้ได้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายนะคะ หากเกิดโรคระบาด หรือความเสียหายแล้วจึงคิดป้องกันหรือแก้ไข วิธีที่ดีที่สุด คือ การดูแลพริก อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามขั้นตอนที่ผู้เขียนนำมาฝากในบทความนี้ค่ะ ขั้นตอน การดูแลพริก การให้น้ำ หลังการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก ต้องให้น้ำทันที หลังการปลูกต้นกล้า เป็นเวลา 1 เดือน ต้องรดน้ำให้ชุ่ม ทุกวัน ในตอนเช้า หลังการให้ปุ๋ยทุกครั้ง ต้องให้น้ำทันที ในช่วงที่พริกเริ่มออกดอก เป็นช่วงที่พริกต้องการน้ำมากกว่าปกติ หากพริกได้รับน้ำไม่พอเพียง จะทำให้ดอกร่วง และได้ผลผลิตต่ำ ในฤดูหนาว หรือในสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ต้องลดการให้น้ำลง เพื่อป้องกันการชะลอการเจริญเติบโต การติดดอกที่ต่ำลง และดอกร่วง วิธีการให้น้ำ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำ และงบประมาณของเกษตรกร ซึ่งวิธีการให้น้ำต้นพริกนั้น มี 4 วิธี ดังนี้ แบบใช้สายยางติดหัวฉีดพ่นฝอย—รดทุกวัน ในตอนเช้า แบบระบบสปริงเกลอร์พ่นฝอย—ทุกวัน ในตอนเช้าเช่นกัน แบบปล่อยน้ำลงร่องระหว่างแปลงปลูก แล้ววิดน้ำสาดขึ้นหลังแปลง […]

Read more

เพิ่มรายได้ด้วยพริกปลอดสาร

เพิ่มรายได้ด้วยพริกปลอดสาร

เพิ่มรายได้ด้วย พริกปลอดสาร ด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์และสารชีวภาพช่วยป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูพริก ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก จากวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เป็นการลดต้นทุนในการเพาะปลูกพริก ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น และลดการใช้สารเคมี ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทาน พริกปลอดสาร รวมถึงผู้ปลูกหรือเกษตรกรก็ปลอดภัยจากสารเคมี และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงควบคู่ไปกับต้นพริกที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วยเช่นกัน แต่หลายท่านอาจจะสงสัยว่าสารชีวภัณฑ์ และสารชีวภาพแตกต่างกันอย่างไร?…..หากท่านได้ติดตามบทความอื่นๆ มาก่อนแล้ว คงจะคุ้นตากับเชื้อราไตรโคเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส นั่นแหละค่ะ สารชีวภัณฑ์ที่ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ป้องกันโรคพริก ส่วนสารชีวภาพนั้น เป็นสารที่สกัดจากสมุนไพร ที่หาได้ง่ายๆ ตามท้องตลาด หรือท้องถิ่นที่เราอยู่อาศัย ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลมาฝากในบทความนี้…ศึกษาข้อมูล ทดลองทำ และนำไปใช้นะคะ สารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพริก เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อปฏิปักษ์ หรือเป็นศัตรูของเชื้อราสาเหตุโรคพริกหลายชนิด สามารถเจริญอยู่บนผิวและใต้ผิวรากพืช ช่วยปกป้องรากพืชจากเชื้อโรค ช่วยละลายแร่ธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชผัก ช่วยเพิ่มอัตราความงอกของเมล็ดพริก ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบราก ช่วยสร้างความเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และช่วยให้พริกทนต่อโรคต่างๆ ได้ดี โรคพริกที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันได้ โรคแอนแทรกโนส โรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา โรคกล้าเน่ายุบจากเชื้อรา วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา วิธีที่1 แช่เมล็ดพันธุ์พริกในเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ในอัตราส่วน 10 กรัม (1ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 6 ถึง […]

Read more

การดูแลหม่อนหลังการปลูก

การดูแลหม่อนหลังการปลูก

การดูแลหม่อนหลังการปลูก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกหม่อนให้ได้ผลผลิตสูง การดูแลหม่อนหลังการปลูก ไม่ยากแต่ต้องรู้ใจหม่อน ถ้าเปรียบเทียบกับคน หม่อนจะเป็นคนที่เป็นระเบียบ ไม่ชอบอะไรที่รกรุงรัง เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งให้หม่อนบ่อยๆ เด็ดใบออก แล้วหม่อนก็จะผลิดอกออกผลให้เต็มต้น นอกจากนี้ การดูแลหม่อน ยังรวมไปถึงการให้น้ำ ให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืช การดูแลเรื่องโรคและแมลงที่มารบกวนหม่อน ช่วงท้ายของบทความ ผู้เขียนมีเคล็ดลับดีๆ มาฝากด้วยนะคะ ติดตามเลยค่ะ ขั้นตอน การดูแลหม่อน การให้น้ำ ในฤดูแล้งควรให้น้ำแก่หม่อน เพื่อให้หม่อนใช้ในการเจริญเติบโต การให้น้ำสามารถใช้ปล่อยน้ำไหลเข้าไปในแถวของหม่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1ครั้งในฤดูแล้ง หรือรดน้ำพอชุ่มทุกวันในช่วงเช้า หม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาทุกวันในช่วงเช้า หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก ให้น้ำพอชุ่ม และจัดการการระบายน้ำอย่างให้ท่วมขัง ช่วยให้ดินสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีรากหม่อนไม่ขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ในดินสามารถเจริญเติบโตได้ดี หากปล่อยให้น้ำขังโคนต้น หม่อนจะแสดงอาการใบเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต และต้นหม่อนจะเหี่ยว การพรวนดินและการรักษาความชื้นในดิน ในฤดูแล้ง ดินจะขาดความชุ่มชื้น ทำให้หม่อนชะงักการเติบโต ไม่มีใบเลี้ยงไหมหรือทำชา การพรวนดินให้ร่วนซุยและใช้วัสดุ เช่น หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งคลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น การให้ปุ๋ย ปริมาณการให้ปุ๋ยนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งนอกจากปุ๋ยแล้ว อาจจะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย แต่การใส่ปูนขาวควรเพิ่มอินทรียวัตถุและต้องใส่ให้เหมาะสม ถ้าใส่ปูนขาวมากเกินไปจะทำให้ปุ๋ยสลายตัวเร็วจนพืชไม่ทันใช้ให้เป็นประโยชน์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก […]

Read more

การปลูกหม่อน

การปลูกหม่อน

การปลูกหม่อน ในปัจจุบันนี้ ใช่ว่าจะปลูกเพื่อเลี้ยงไหมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีจุดประสงค์เพื่อจำหน่ายในรูปแบบผลสด ใบชา การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป หรือเพื่อประโยชน์ทางยา การปลูกหม่อน กลายเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ในรั้วบ้าน และเป็นเกษตรกรรมทางเลือกใหม่ ที่ทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำทีเดียว ในบทความ หม่อน ผู้เขียนได้เกริ่นไว้ว่า การปลูกหม่อน การดูแลหม่อนนั้นง่ายและไม่ยุ่งยาก แต่ต้องดูแลอย่างถูกวิธี เพราะฉะนั้น เราต้องศึกษาความต้องการของหม่อนให้ดีเสียก่อน ที่จะนำหม่อนมาปลูกนะคะ เริ่มต้นที่…สายพันธุ์ สายพันธุ์หม่อน ที่นิยมปลูกในประเทศไทย พันธุ์เชียงใหม่ 60 ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับรับประทานสดและแปรรูปทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม พันธุ์นครราชสีมา 60 ให้ผลผลิตสูง นิยมใช้คุณภาพของใบกับการเลี้ยงไหม และทำใบชา ใบเป็นรูปไข่ สีเขียว มีความนุ่ม ลำต้นมีสีเทา พันธุ์บุรีรัมย์ 60 นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสดและทำใบชา ซึ่งหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 นี้ให้ผลผลิตใบหม่อน เฉลี่ย 4,300 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี ใบใหญ่ หนานุ่ม ไม่เหี่ยวง่าย มีคุณค่าทางอาหารสูง มีความต้านทานต่อโรคใบด่าง ต้านทานโรคราแป้งได้ปานกลาง แต่ไม่แข็งแรงพอที่จะต้านทานโรคราสนิม ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงโดยตรง ควรปลูกในเขตชลประทาน หรือเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูง พันธุ์ศรีสะเกษ 33 […]

Read more

เทคนิคการปลูกพริกให้รวย

เทคนิคการปลูกพริก

เทคนิคการปลูกพริกให้รวย เป็นบทความที่ผู้เขียนรวบรวมมาเพื่อให้เกษตรกรและผู้ปลูก ได้นำไปปรับใช้ในการปลูกพริกตามสายพันธุ์ที่ท่านเลือกปลูก ซึ่งมีความแตกต่างกันนิดหน่อยจากบทความ การปลูกพริก ที่ผู้เขียนได้เคยนำเสนอไว้ เป็นวิธีการขั้นพื้นฐานที่ใช้ปฏิบัติในการปลูกพริกได้ทุกสายพันธุ์ เกษตรกรและผู้ปลูกสามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ตามความสะดวกและความเหมาะสมให้รวยได้ด้วย เทคนิคการปลูกพริก ของแต่ละสายพันธุ์ ดังนี้ พริกขี้หนู ขนาดผลยาวประมาณ 2 ถึง 3 เซนติเมตร ผลชี้ลงพื้นดิน ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลแก่มีสีส้ม สีแดง สีแดงเข้ม หรือสีเหลือง ยอดอ่อนของพริกขี้หนูนี้ คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหาร เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเลียง ใส่ไข่เจียว หรือแกงจืด สายพันธุ์พริกขี้หนู แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พริกจินดา-เลย พริกจินดา พริกยอดสน พริกห้วยสีทน พริกไชยปราการ และพริกหัวเรือ เบอร์ 13 พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พริกซุปเปอร์ฮอท พริกแชมป์เปี้ยน ฮอท 44 พริกสยาม ฮอท พริกชิ วาลรี ที1698 พริกเรดฮอท ทีเอ100 พริกรสแซบ ที2007 พริกจินดา […]

Read more

แมลงศัตรูพริก

แมลงศัตรูพริก

แมลงศัตรูพริก ที่พามาแนะนำให้รู้จักกันในบทความนี้ เป็นศัตรูที่เกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี แต่สำหรับเกษตรกรมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจจะปลูกพริกไว้รับประทานในครัวเรือนหรือเป็นอาชีพเสริมนั้น อย่าคิดว่า ความเผ็ดของพริก เป็นเกราะป้องกันแมลงต่างๆ ได้…พริก มีศัตรู ไม่น้อยไปกว่าพืชผักอื่นๆ และไม่ว่ารสชาติของพริก จะเผ็ดร้อนขนาดไหน ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะได้พบกับ แมลงศัตรูพริก หากผู้ปลูกไม่ดูแลเอาใจใส่ ป้องกัน หรือรีบกำจัดในทันทีที่พบเห็น ถ้าท่านผู้อ่านได้ติดตามบทความ โรคพริก มาก่อนแล้ว ก็เป็นที่ทราบดีว่า ผลที่ได้ควบคู่กันกับการป้องกันและกำจัด แมลงศัตรูพริก คือ ช่วยป้องกันโรคพริกที่มีแมลงเป็นพาหะ ได้อีกหลายโรค…แบบนี้เรียกว่า ‘ยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัว’…เห็นแบบนี้แล้วคงอยากรู้จักแมลงศัตรูพริกกันแล้วสินะคะ แมลงศัตรูพริกที่สำคัญ มีดังนี้ เพลี้ยไฟพริก เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 1.5 ถึง 2.0 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมเหลือง หรือสีน้ำตาลเข้ม ตัวเต็มวัยมีปีกบินได้ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟพริกนี้มีประสิทธิภาพทำลายต้นพริกได้เท่าๆ กัน ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่เนื้อเยื่อบริเวณ ยอดอ่อน ใบ ตาดอก ดอก และผลอ่อน ใบพริกจะหงิก งอ บิด ม้วน เหลือง แห้ง กรอบ และร่วงหล่น ส่วนผล จะงอเปลี่ยนรูป พบระบาดในสภาวะอุณหภูมิสูง […]

Read more

โรคพริก

โรคพริก

โรคพริก มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และไส้เดือนฝอย การนำเสนอบทความนี้ ผู้เขียนมีจุดประสงค์ให้ผู้ปลูกพริก หรือเกษตรกรได้เรียนรู้สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ การป้องกัน และการกำจัด โรคพริก อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพ ไม่เกิดความเสียหาย และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่การลงทุน โรคพริก มีหลายโรคด้วยกัน หากดูแลต้นพริกหลังการปลูกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ทั่วถึงแล้ว ก็จะพบกับอาการของโรคพริก ดังนี้ โรคแอนแทรกโนส หรือโรคกุ้งแห้ง โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ลักษณะแผลจะเป็นจุดฉ่ำน้ำรูปวงรีหรือรูปไข่ และแผลจะขยายได้กว้างอย่างไม่มีขอบเขต จากนั้นแผลจะบุ๋มลึกเป็นสีน้ำตาล และมีจุดสีดำเรียงซ้อนกันในแผล และแผลอาจมีเมือกสีส้มอ่อน ผลพริกจะโค้งงอหรือหดย่นคล้ายกุ้งแห้ง ในขั้นรุนแรง จะทำให้กิ่งแห้ง เชื้อโรคนี้สามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม หรือตกค้างในดิน และสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิระหว่าง 27 ถึง 30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ การป้องกันและกำจัด เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี เช่น สารแมนโคเซป หรือ สารคาร์เบ็นดาซิม ก่อนปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ หรือแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ควรเว้นระยะห่างตามความเหมาะสมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ต้นพริกได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง และง่ายต่อการกำจัดโรค ควรพ่นสารเคมี […]

Read more
1 4 5 6 7 8 23