กาแฟ

กาแฟ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กาแฟยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในหลายประเทศ ด้วยประโยชน์ของกาแฟที่มีมากเกินกว่าการนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม สำหรับประเทศไทยกาแฟกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีการเพาะปลูกในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปลูกทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ปลูกแซมต้นยางพาราในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน เกษตรกรที่เคยปลูกกาแฟเป็นรายได้เสริม แซมไม้ยืนต้นในพื้นที่เพาะปลูกหลายราย เริ่มหันมาปลูกกาแฟเป็นรายได้หลัก สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกกาแฟ ควรทำความรู้จักกับกาแฟให้ลึกมากขึ้นนะคะ ว่าต้นกาแฟเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้าง และรู้จักกับสายพันธุ์กาแฟ เพื่อเป็นข้อมูลในการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เมล็ดกาแฟ คงเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี แต่ส่วนอื่นๆ ของต้นกาแฟ มีลักษณะดังนี้ค่ะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟ กาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 3 ถึง 5 เมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กาแฟ ลำต้น กาแฟมีลำต้นตรง ในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะไม่แตกกิ่ง แต่มีใบแตกออกตรงข้ออยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ต่อมาเมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก็มีการแตกกิ่งออกจากลำต้นในลักษณะที่แยกออกจากกันและอยู่ตรงข้ามกันกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะมีใบแตกออกเป็นคู่ๆ อยู่ตรงข้อเช่นเดียวกับลำต้น กิ่งจะขนานไปกับระดับพื้นดินหรือห้อยต่ำลงดิน ซึ่งเป็นที่เกิดของดอกและผลต่อไป นอกจากการแตกกิ่งออกจากตา ของลำต้นอีกเป็นจำนวนมากทำให้หน่อเกิดขึ้นใหม่นี้เบียดกับต้นเดิม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ให้เจริญเติบโตเรื่อยๆ โดยไม่มีการปลิดทิ้งหรือตัดจะทำให้กาแฟมีทรงพุ่มที่แนบแน่นทึบเป็นที่สะสมของโรคแมลง และให้ผลผลิตลดต่ำลง     ดอก ดอกกาแฟมีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมคล้ายมะลิป่า รูปร่างคล้ายดาว มีก้านดอกสั้น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การออกดอกของกาแฟขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ถ้าในพื้นที่ที่มีฝนตกเป็นฤดู ดอกจะออกหลังจากฝนตกประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าหากอากาศชุ่มชื่นตลอดทั้งปีหรือมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ […]

Read more

ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ (Soursop) ผลไม้รูปร่างหน้าตาอย่างนี้ คนไทยภาคใต้จะรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีในชื่อ‘ทุเรียนน้ำ’ ภาคกลางจะรู้จักกันในชื่อ ‘ทุเรียนแขก’ ทางภาคเหนือเรียกกันว่า ‘มะทุเรียน’ ภาคอีสาน เรียก ‘หมากเขียบหลด’ ปัจจุบันมีผู้นำมาปลูกกันมากขึ้นเมื่อมีการวิจัยพบว่า ผลไม้สมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษามะเร็งได้ เดิมทีนั้น ทุเรียนเทศ เป็นพืชท้องถิ่นอยู่ในเขตอินเดียตะวันตก อเมริกากลาง และบราซิล จนกระทั่งกลายมาเป็นพืชที่มีการปลูกทั่วไปในเอเชียเขตร้อน สำหรับประเทศไทยนั้น ทุเรียนเทศ เพิ่งเริ่มมีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้ไม่นาน แต่ในต่างประเทศนิยมรับประทานทุเรียนเทศทั้งผลสด และแบบที่แปรรูปแล้ว เพราะประโยชน์ที่ได้รับจากทุเรียนเทศนั่นเองค่ะ อยากรู้แล้วใช่มั๊ยคะว่าทุเรียนเทศมีประโยชน์อย่างไร? ประโยชน์ของทุเรียนเทศ ใบ เมล็ด และลำต้น มีฤทธิ์ในการต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง (งานวิจัยในอเมริกา) โดยนำส่วนของใบ เมล็ด และลำต้นมาสกัด ผล ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผลสุก) ใช้รักษาโรคบิด (ผลดิบ) ใช้เป็นยาสมานแผล โดยนำผลดิบมาตำแล้วพอก ช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับมารดาที่ให้นมบุตร ช่วยในการขับพยาธิ (น้ำสกัดจากเนื้อผล) ช่วยในการขับปัสสาวะ (น้ำผลไม้) สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลไม้กวนต่างๆ ผลไม้เชื่อม ไอศกรีม เยลลี่ ซอส และผลไม้กระป๋อง ใช้ประกอบอาหาร อย่างเช่น แกงส้ม (ภาคใต้ของไทย) ใบ ช่วยทำให้นอนหลับสบาย โดยนำใบมาชงดื่ม […]

Read more

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ก่อนหน้านี้ไม่นานการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย เป็นประเด็นที่ถกกันทั้งในโลกโซเชียล และในกลุ่มผู้สนใจการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ซึ่งจริงๆ แล้ว หากมีการให้ข้อมูลอย่างชัดเจนและส่งเสริม การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ให้แพร่หลายมากขึ้น เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสามารถทำเป็นอาชีพเสริมจากเกษตรทางเลือกแขนงนี้ หรืออาจทำเป็นอาชีพหลักกันเพิ่มขึ้น ด้วยความที่เลี้ยงดูง่าย โตเร็ว และด้วยราคากุ้งก้ามแดงในท้องตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรที่ทำนาข้าวแบบอินทรีย์ หรือทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็มีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงกันในนาข้าวกันหลายราย ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบนิเวศและรายได้ของเกษตรกร แต่กุ้งก้ามแดง เป็นสัตว์ควบคุมพิเศษตามกฎหมายของกรมประมง ถ้าจะเลี้ยงเพื่อการค้าหรือเพื่อจำหน่ายให้ถูกกฎหมาย ต้องไปขอขึ้นทะเบียนก่อน ไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยวิธีไหนก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับที่อยู่ในอัตราสูง เพราะกุ้งก้ามแดงเดินทางมาจากต่างบ้านต่างเมือง จึงได้ชื่อว่าเป็น ‘เอเลี่ยนสปีชี่ส์’ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อพืชหรือสัตว์น้ำในประเทศ งงมั๊ยคะ? ว่าทำไมเกษตรกรไทยนำไปเลี้ยงในนาข้าวได้ ข้าวก็พืชไทย มิหนำซ้ำ ระบบนิเวศในนาข้าวกลับดี และไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าสนใจจะเลี้ยงแล้ว เก็บความงุนงงสงสัยไว้แล้วไปขอขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมายดีกว่า ข้อยกเว้น สำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเพื่อความสวยงาม (เลี้ยงไว้ดูเล่น) หรือ เลี้ยงไว้เป็นอาหารในครัวเรือนนั้นไม่ต้องขอจดทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามแดง การจดทะเบียนกุ้งก้ามแดง เอกสารในการขอจดทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ที่ต้องเตรียมไป สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ รูปแผนที่บ้านที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้ง ไปที่ หน่วยงานกรมประมงของพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามแดง เพื่อขอจดทะเบียน ให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่ตามความเป็นจริง เช่น รูปแบบการเลี้ยง, จำนวน, […]

Read more

การปลูกทุเรียนเทศ

การปลูกทุเรียนเทศ

การปลูกทุเรียนเทศ ปลูกและดูแลได้ง่ายมาก ท่านผู้อ่านสามารถเริ่มต้นจากการทดลองปลูกเป็นสมุนไพรในรั้วบ้านก่อนลงทุนปลูกเป็นอาชีพ แต่ต้องไม่ลืมปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ นะคะ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง สภาพดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชุ่มชื้น อากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม ชอบความชื้นสูง ชอบแสงแดดรำไร หรือต้องการแสงแดดเพียงครึ่งวัน การขยายพันธุ์ทุเรียนเทศ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ ติดตา หรือนำยอดจากต้นพันธุ์มาเสียบกับต้นตอ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ทุเรียนเทศใช้เวลาในการออกผลเพียง 2 ปี การเพาะเมล็ดทุเรียนเทศ  วัสดุเพาะ ควรใช้ขุยมะพร้าว หรือดินร่วนซุย วิธีเพาะเมล็ด แช่เมล็ดทุเรียนเทศไว้ในน้ำสะอาด 1 ถึง 2 คืน เพื่อกระตุ้นการงอก จากนั้นนำไปเพาะในถุงชำ 1 เมล็ด ต่อ 1 ถุง กลบดินหรือวัสดุปลูกหนาประมาณ 1 ถึง 1.5 เซนติเมตร รดน้ำ แล้ววางถุงชำไว้ในที่ร่มมีแดดรำไร รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น เมล็ดทุเรียนเทศจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ดจะงอกออกมาเป็นต้นอ่อน ขั้นตอน การปลูกทุเรียนเทศ เมื่อต้นพันธุ์ที่มีอายุเพาะชำประมาณ 3 ถึง 5 […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม

โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม

  โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม มีอยู่ไม่มากนัก และมีวิธีป้องกันกำจัดที่ไม่ยุ่งยาก หากเกษตรกรหรือผู้ปลูกอินทผาลัมละเลย ไม่ใส่ใจดูแล ก็จะทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นยาก และเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน…กันไว้ดีกว่าแก้ดีกว่านะคะ   ขั้นตอนการป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม โรคอินทผาลัม โรคใบไหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis อาการของโรคใบไหม้ เกิดแผลรูปร่างกลมรีที่มีรอยบุ๋มตรงกลางเนื้อแผลสีน้ำตาล ขอบแผลนูน มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ความยาวของแผลประมาณ 7 ถึง 8 มิลลิเมตร ในขั้นรุนแรง แผลขยายตัวรวมกันทำให้ใบแห้งม้วนงอ เปราะ และฉีกขาดง่าย ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต และตายได้   การป้องกันและกำจัด เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม 75 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 ถึง 7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด   โรคยอดเน่า พบระบาดมากในฤดูฝน โรคนี้สามารถเข้าทำลายต้นอินทผาลัมตั้งแต่ในระยะต้นกล้า และพบมากกับต้นอินทผาลัมที่มีอายุ 1 ถึง […]

Read more

การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก

การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก

การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก ตามที่เคยกล่าวถึงในบทความ อินทผาลัมว่าการดูแลอินทผาลัม นั้นง่าย แต่ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี ให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง สมกับการรอคอย การดูแลอินทผาลัม ให้ถูกวิธีจะเน้นไปที่เรื่องการให้น้ำเป็นหัวใจสำคัญ       ขั้นตอนการดูแลอินทผาลัม มีวิธีปฏิบัติดังนี้ การให้น้ำ   เมื่อนำต้นกล้าปลูกลงดินแล้ว รดน้ำอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง เป็นระยะเวลา 1 เดือน เมื่อต้นโต ควรรดน้ำต้นอินทผาลัมประมาณ 1 ถึง 3 วัน ต่อครั้ง ในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น โดยรดน้ำให้ชุ่มหรือประมาณ 15 ถึง 25 ลิตร ต่อต้น ต่อครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นกับความชื้นในอากาศ หากอากาศชื้น ดินชุ่มชื้น การให้น้ำสามารถเว้นระยะห่างออกไปได้ ในฤดูฝน ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ หรือหากมีฝนทิ้งช่วงและดินรอบโคนต้นแห้ง ให้รดน้ำให้ชุ่ม การปลูกอินทผาลัมในเชิงพาณิชย์ ควรติดตั้งระบบการให้น้ำ เพื่อให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกฤดูกาล ในฤดูร้อน พ่นละอองน้ำโดยรอบเพื่อความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า ควรพ่นละอองน้ำวันละ 1 ถึง 2 ครั้งในช่วง 3 ถึง 4 […]

Read more

การปลูกอินทผาลัม

การปลูกอินทผาลัม

การปลูกอินทผาลัม จะได้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกอะโวคาโดค่ะ ต้นอินทผาลัมจะเริ่มให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 3 ปี อย่าเพิ่งท้อนะคะ ผู้เขียนขอแนะนำให้ทำไร่นาสวนผสมด้วยการปลูกอินทผาลัมเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีอายุยืนยาวถึงหลักร้อยปี และในพื้นที่เดียวกัน ควรปลูกพืชล้มลุก พืชหมุนเวียน หรือเลี้ยงสัตว์ให้มีรายได้หลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นรายได้หลัก รายได้เสริม เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น แม้ว่าจะรวยไม่ได้ ก็ขอให้มีความเป็นอยู่ที่สบาย มีรายได้หมุนเวียน มีเงินทุนสำรอง คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรง และหลังจากที่เราปลูกอินทผาลัมไปประมาณ 5 ปี คราวนี้ล่ะค่ะ เราจะมีรายได้จากผลผลิตอินทผาลัมไปอีกหลายสิบปี ถึงรุ่นหลานกันเลย ขอพูดถึงอินทผาลัมอีกสักนิดนะคะ ก่อนจะพาท่านผู้อ่านไปถึงขั้นตอนการปลูก เพราะเด็กๆ รุ่นใหม่จะได้รู้จักอินทผาลัมกันมากขึ้น…อินทผาลัมถือเป็นผลไม้มงคล ซึ่งหมายถึง ผลไม้ของพระอินทร์ เป็นการผสมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตค่ะ หลายคนคงรู้สึกว่า ชื่อแปลกจากภาษาไทยไปบ้าง คำว่า ‘อินฺท’ (inda) ในภาษาบาลีหรือ ‘อินฺทฺร’ (indra) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง พระอินทร์ ผสมกับคำว่า ‘ผลมฺ’ (phalam) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ผลไม้ จึงได้ชื่อว่า ‘อินทผาลัม—ผลไม้ของพระอินทร์’ นับว่าอินทผาลัมเป็นผลไม้ที่มีตำนาน มีความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวพันมากกว่าผลไม้อื่นๆ และรสชาติของอินทผาลัมก็หวานขั้นเทพนะคะ ที่เปรียบเปรยแบบนี้ ก็เพราะอินทผาลัมหวานฉ่ำตามธรรมชาติ อร่อยตามธรรมชาติ เมื่อนำมาแปรรูป ก็ไม่ต้องปรุงแต่งรสใดๆ […]

Read more

หินฟอสเฟตในการเพาะปลูก

หินฟอสเฟตในการเพาะปลูก

หินฟอสเฟต ในการเพาะปลูก เคยถูกกล่าวถึงในหลายบทความ เช่น บทความ ‘การปลูกไผ่’ และเกษตรกรที่หันมาปลูกพืชผัก และทำนาข้าวแบบอินทรีย์จะรู้จักกับหินฟอสเฟตกันมาแล้วจากการนำมาใช้ในการเพาะปลูก และการนำปุ๋ยฟอสเฟตมาใช้บำรุงพืชผักและข้าวที่ปลูกในพื้นที่ บทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำ หินฟอสเฟต ให้ท่านผู้อ่านรู้จักประโยชน์และการนำมาใช้ให้ได้ผลผลิตที่สูง และมีคุณภาพดี เหมือนๆ กับเกษตรกรท่านอื่นๆ ที่มีประสบการณ์การนำหินฟอสเฟตมาใช้ หินฟอสเฟต(Rock Phosphate)หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า ร๊อคฟอสเฟตนั้น เป็นชื่อทางการค้าของแร่ฟอตเฟส (Mineral Phosphate) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการขุดแร่และกระบวนการถลุงแร่ที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ธาตุฟอสฟอรัส จะช่วยกระตุ้นรากพืชให้เจริญอย่างรวดเร็วและทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วขึ้น พืชมีความต้องการใช้มากในช่วงที่มีการออกดอก ผสมเกสร และในระยะที่เป็นผลแล้ว ถ้าในดินมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียมน้อยพืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารเหล่านี้ให้เห็นได้ทันที การใช้หินฟอสเฟตในประเทศไทย การใช้หินฟอสเฟตในประเทศไทย มีที่มาหลายประการ ความเสื่อมสภาพของดิน ในพื้นที่การเกษตร—สาเหตุมาจากการใช้วัสดุปูนหลายชนิด เช่น ปูนมาร์ล ปูนเปลือกหอย ปูนแคลเซียม ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ และฟอสเฟต ที่เหมาะต่อการนำไปใช้ในในเลือกสวนไร่นา ซึ่งที่ผ่านมานั้น ภาครัฐได้จำแนกแจกจายให้เกษตรกรนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การใช้วัสดุเหล่านี้กับดินที่มีค่าพีเอชเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่แล้วนั้นจะทำให้เกิดการสะสมด่างในดิน จากนั้นดินก็เกิดความเสียหายกลายเป็นดินด่าง ขาดความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการปลูกพืช หรือเร่งการเจริญเติบโต เพราะปุ๋ยและธาตุอาหารบางตัวจะถูกจับตรึงไว้ และปล่อยไนโตรเจนให้สูญสลายไป ในทางกลับกัน ทำให้โมลิบดินั่ม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ละลายออกมามากจนเป็นอันตรายต่อพืชทำให้ใบไหม้ ผลเสียที่ตามมา คือ เกษตรกรต้องสิ้นเปลืองเงินในการแก้ไขปรับปรุงดินด่างให้กลับมาอยู่ในสภาพที่เป็นกรดอ่อน และใช้ระยะเวลานานในการฟื้นฟูสภาพดิน สภาวะทางเศรษฐกิจ […]

Read more

การปลูกไผ่แก้จน

การปลูกไผ่

การปลูกไผ่แก้จน เป็นการเกษตรและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ด้วยประโยชน์ที่ได้กล่าวถึงในบทความ ไผ่ และนวัตกรรมใหม่ๆ ท่านผู้อ่านที่สนใจปลูกไผ่ไม่ต้องลังเลเลยนะคะ เพราะตลาดไผ่ที่ผ่านมายังไม่มีปัญหาล้นตลาดให้เกษตรกรต้องลำบาก ยิ่งยุคนี้เป็นยุค ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยแล้ว การเป็นเกษตรกรปลูกไผ่ และเป็นผู้ประกอบการสินค้าแปรรูปจากไผ่ได้ด้วย ก็นับว่าท่านได้นำโมเดลไทยแลนด์ 4.0 มาใช้อย่างถูกต้อง เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน หากยังตัดสินใจลงมือปลูกไม่ได้ ลองมาศึกษาข้อดีข้อเสียของการปลูกไผ่กันก่อนค่ะ ผู้เขียนขอแนะนำให้ปลูกไผ่รวก เป็นการเริ่มต้น… ข้อดี ข้อเสีย ของการปลูกไผ่รวก ข้อดีของการปลูกไผ่ คือ ไม่มีความเสี่ยงเรื่องภัยธรรมชาติ ต้นทุนต่ำ ปลูกง่าย และเจริญเติบโตได้ดีและเร็ว ในทุกสภาวะอากาศ ไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลง ไม่ทำลายดิน สามารถแปรรูปได้ครบวงจร ปลูกทดแทนได้อย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ ไผ่รวกมีอายุยาวนานได้ประมาณ 30 ปี ข้อเสียของการปลูกไผ่รวก ปลูกโดยใช้กล้าพันธุ์ไผ่รวกจากเมล็ดคือ การตั้งกอ การให้ลำไผ่ที่ใช้ประโยชน์ได้ จะช้ากว่ากล้าที่มาจากการขุดเหง้า ปลูกโดยใช้กล้าไผ่รวกจากการขุดเหง้ามาชำ ปลูกแล้วตั้งกอ ให้ผลผลิตลำไผ่เร็วกว่ากล้าพันธุ์จากเมล็ด แต่กล้าที่ขุดมาชำหากไม่ทราบอายุเริ่มต้น เมื่อปลูกไปประมาณ 1 ถึง 2 ปี อาจทยอยตายซึ่งก็เป็นความเสี่ยงของผู้ที่มีพื้นที่การปลูกไผ่จำนวนมาก ปลูกโดยใช้กล้าพันธุ์จากการแยกเหง้า ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และได้ปริมาณจำกัด […]

Read more

ไผ่

ไผ่

ไผ่ พันธุ์ไม้ที่มีประโยชน์มากมายมาแต่โบราณ จากการใช้ประโยชน์ในครัวเรือน จนกระทั่งได้รับการพัฒนามาใช้ในการปศุสัตว์ ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ผลเป็นอย่างดีในยุคนี้ เด็กๆ รุ่นใหม่ในสังคมเมือง อาจจะได้รู้จักต้นไผ่กันผิวเผิน ผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของไผ่เพิ่มขึ้น ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง? ในบทความนี้ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มองไปทางไหนก็มักจะพบต้นไผ่ และต้นกล้วยปลูกตามเรือกสวน ไร่ คันนา และรั้วบ้าน แต่งแต้มสีเขียวให้ความสวยงาม และให้ประโยชน์ ไผ่มีหลากชนิดทั้งลำใหญ่และลำเล็ก แต่ละชนิดมีประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย เป็นวัตถุดิบที่หาง่าย และต้นทุนต่ำในภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญคือ ไผ่ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ประโยชน์ของไผ่ ด้านอาหาร เด็กๆ อาจจะงง ว่าต้นไผ่ลำเขียวๆ ที่พบเห็น รับประทานได้ด้วยหรือ? คนไทยนิยมรับประทานหน่อไผ่ หรือหน่อไม้กันทั่วทุกภาคค่ะ เมนูอร่อยของหน่อไม้ เช่น ซุปหน่อไม้ ผัดหน่อไม้ แกงเผ็ดใส่หน่อไม้ ต้มจืดหน่อไม้ใส่กระดูกหมูหรือน่องไก่ เป็นต้น ซึ่งจะใช้หน่อไม้สด หรือนำไปดองก่อนใช้ในการประกอบอาหารก็อร่อยไม่แพ้กัน นอกจากความอร่อยของหน่อไม้แล้ว ใบไผ่ก็เป็นเมนูแสนอร่อยของแพนด้าด้วยนะคะ ใช้ห่อขนมจ้าง ขนมบ๊ะจ่าง และทำชาใบไผ่ ต้นไผ่ ใช้ทำกระบอก บรรจุข้าวหลาม ใช้ทำไม้เสียบอาหาร ใช้ทำตะเกียบคีบอาหาร และเมื่อรับประทานอาหารอร่อยแล้ว มีเศษอาหารติดฟัน ก็ต้องใช้ไม้จิ้มฟันที่ทำจากต้นไผ่อีกเช่นกันค่ะ ด้านที่อยู่อาศัย บ้านตามวัฒนธรรมไทยในชนบท นิยมใช้วัสดุจากธรรมชาติ […]

Read more
1 2 3 4 5 6 23