มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ เมื่อได้ยินชื่อนี้เรามักจะนึกถึงส้มตำกันเป็นอันดับแรก สาวๆ ส่วนใหญ่นิยมรับประทานส้มตำมะละกอเพื่อรักษาหุ่น มะละกอ เป็นผลไม้ที่รับประทานได้ทั้งดิบ สุก สด และปรุงสุก ซึ่งเป็นความพิเศษของมะละกอที่มีความหลากหลายในรูปแบบรับประทาน แถมพกพาความอร่อยไปกับทุกรูปแบบนั้นด้วย การรับประทานมะละกอตามวิถีไทยนั้น นำมะละกอมาเป็นส่วนประกอบอาหาร รับประทานสดเป็นผลไม้ และเป็นยาแก้ท้องผูกชั้นดี อาหารที่มีมะละกอเป็นเครื่องชูรส เช่น ส้มตำ แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า และผัดใส่ไข่ เป็นต้น ส่วนการรับประทานมะละกอสดเป็นผลไม้หลังมื้ออาหาร หรือรับประทานแก้ท้องผูก บางคนก็จะบีบมะนาวให้ทั่วจานมะละกอสีส้มที่หั่นเป็นชิ้นๆ ไว้ แล้วจิ้มเกลือ ได้สามรส หวาน เปรี้ยว เค็ม หรือรับประทานเปล่าๆ ได้รสชาติฉ่ำหวานของมะละกอสุกก็เป็นที่นิยมกันมาแต่ดั้งเดิม เมื่อพูดถึงความนิยมที่มีมาแต่ดั้งเดิม ทราบมั๊ยคะว่า แต่ดั้งเดิมของมะละกอกำเนิดมาจากไหน?….มะละกอกำเนิดเกิดขึ้นในอเมริกากลาง แล้วเดินทางมาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี จนมีเกลื่อนตาตามบ้านเรือนทั่วไปในสมัย 4.0 นี้ หลายๆ คนน่าจะคิดว่ามะละกอเป็นผลไม้ไทยไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะไม่มีชาติใดในโลกนำมะละกอมาทำเป็นอาหารรสจัดจ้าน เป็นอาหารขึ้นชื่ออย่างชาวไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และส้มตำก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของอาหารไทย ข้อนี้ต้องยกนิ้วให้ผู้ที่ริเริ่มนำมะละกอมาทำส้มตำเป็นคนแรกนะคะ มะละกอที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ที่เราพบเห็นมีไม่กี่สายพันธุ์ มาทำความรู้จักกับมะละกอกันให้มากขึ้นนะคะ ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้าง สายพันธุ์ใดเหมาะรับประทานแบบไหน ประโยชน์และโทษของมะละกอมีอะไรบ้าง? ติดตามในบทความนี้ได้เลยค่ะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอ มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุก อายุหลายปี ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีเกือบทุกสภาพอากาศ ลำต้น […]

Read more

กุหลาบ

กุหลาบ

กุหลาบ ราชินีแห่งดอกไม้ (Queen of flower) ที่เราใช้สื่อความรักกันมากที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั่วทั้งโลก ด้วยความสมบูรณ์แบบในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สีสัน และกลิ่นหอม ทำให้กุหลาบเป็นดอกไม้ที่มีเสน่ห์มาหลายล้านปี จนกลายเป็นไม้ตัดดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจระดับโลก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ กุหลาบ มีการซื้อขายติดอันดับหนึ่งในตลาดประมูลไม้ดอกที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ประเทศที่ผลิตกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจที่ดอกไม้ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซียได้แพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) ถ้าท่านผู้อ่านสนใจจะปลูกกุหลาบ ก็สามารถติดตามรายละเอียดในบทความ ‘การปลูกกุหลาบ’ ที่ผู้เขียนนำข้อมูลต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกกุหลาบ […]

Read more

การดูแลกุหลาบหลังการปลูก

การดูแลกุหลาบหลังการปลูก

การดูแลกุหลาบ หลังการปลูก เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้วก็เป็นตัวตัดสินได้ว่าเราปลูกกุหลาบได้ผลเพียงใด จากสภาพของต้นกุหลาบ ดอกไม้ที่มีคุณค่าทางสายตา และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่นกุหลาบนี้ ต้องการการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ในทุกครั้ง ผู้เขียนจะเน้นย้ำให้ดูแลปฏิบัติกับพืชผลที่ปลูกในลักษณะนี้ เชื่อเถอะค่ะ เพราะผลที่ตามมาจะทำให้ท่านผู้ปลูกได้เบิกบานใจ ยิ่งถ้าปลูกเพื่อการค้าด้วยยิ่งจะเพิ่มผลกำไรให้มากทีเดียว     ขั้นตอน การดูแลกุหลาบ มีไม่มากหรอกค่ะ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ตกแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช ป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามพื้นฐานการดูแลทั่วไป แต่ปฏิบัติอย่างรู้ใจกุหลาบสักหน่อย ก็จะได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ และยั่งยืน ติดตามรายละเอียดดังนี้ค่ะ การให้น้ำ ข้อควรจำในการให้น้ำกุหลาบ รดน้ำเฉพาะโคนต้นเท่านั้น อย่ารดโดนส่วนอื่นๆ ที่อยู่เหนือโคนต้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่สามารถกระจายไปกับน้ำ ไม่ควรรดน้ำด้วยความแรงของกระแสน้ำ เพราะเมื่อน้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เม็ดดินที่กระเด็นขึ้นไปจับส่วนอื่นที่อยู่เหนือโคนต้นจะทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินกระจายตามขึ้นไปด้วย ไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน ขึ้นอยู่กับสภาพดินและอากาศ และเมื่อทำการรดน้ำ ต้องกะปริมาณว่า น้ำซึมลึกลงในดินได้ประมาณ 16 ถึง 18 นิ้ว เพื่อให้กุหลาบได้ความชุ่มชื้นที่พอเพียง อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ระบบน้ำ ระบบน้ำหยด ในปริมาณ 6 ถึง 7 ลิตร ต่อตารางเมตร ต่อวัน หรือ […]

Read more

การปลูกโกโก้และการดูแลหลังการปลูก

การปลูกโกโก้และการดูแลหลังการปลูก

การปลูกโกโก้ และการดูแลหลังการปลูก ช่วยให้เกษตรกรหรือผู้ปลูกได้เมล็ดโกโก้ที่มีคุณภาพ จำหน่ายได้ราคา เพราะถึงแม้ว่าโกโก้จะเป็นพืชที่ปลูกในประเทศไทยได้แต่ก็ไม่ใช่พืชพื้นเมือง ดังนั้น การดูแลหลังการปลูกอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปลูกโกโก้ นอกจากนี้ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปโกโก้ยังต้องการความพิถีพิถันไม่ต่างกันกับกาแฟ เกษตรกรไทยยุคใหม่ นิยมปลูกโกโก้เป็นพืชแซมพืชเศรษฐกิจต่างๆ เป็นรายได้เสริม เช่น ยางพารา ทุเรียน มะม่วง ลางสาด หรือมะพร้าว เป็นต้น การปลูกโกโก้ เริ่มจากภาคใต้ของประเทศไทยและกระจายไปยังภาคอื่นๆ ที่มีสภาพแวดล้อมดังนี้ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกโกโก้ พื้นที่ – มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 6 เปอร์เซ็นต์ – ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรต่ำกว่า 90 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน – มีสภาพน้ำท่วมขังติดต่อกันได้นานถึง 5 เดือน – มีร่มเงา เพราะโกโก้ไม่ต้องการแสงแดดมาก ต้นขนาดเล็กต้องการแสงน้อยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออายุต้นโตต้องการแสงมากขึ้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อต้นโกโก้เจริญเติบโตเต็มที่มีใบปกคลุมต้นหนาแน่นแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแสงแดดจัด ต้นโกโก้ต้องการปริมาณของแสงแดดในการเจริญเติบโตทั้งปีในอัตรา 1,110 ถึง2,700 ชั่วโมง อุณหภูมิ – ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส แหล่งน้ำ […]

Read more

โกโก้

โกโก้ใช่ช็อกโกแลตไหม

โกโก้ ใช่ช็อกโกแลตหรือไม่?… โกโก้ (Cocoa) ที่คนไทยเรียกกัน มาจากต้นคาเคา (Cacao) พืชดั้งเดิมที่ชนเผ่ามายา และชาวแอชเทคส์ (ประเทศเม็กซิโก) ได้มีการปลูก และนำมาประกอบอาหารเป็นชนชาติแรก ในประเทศไทยมีการปลูกโกโก้มาในแถบจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช โดยนิยมปลูกแซมในสวนมะพร้าวหรือสวนปาล์ม และพบได้บ้างเล็กน้อยในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และตราด ช็อกโกแลต (Chocolate) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเมล็ดโกโก้ โดยนำเมล็ดโกโก้หมักมาบดจนได้โกโก้หนืดที่มีส่วนของเนื้อโกโก้กับไขมันโกโก้ เรียกโกโก้หนืดนี้ว่า ช็อกโกแลต หลังจากนั้นเติมเครื่องแต่งกลิ่น และรสตามต้องการ เช่น นม หรือมิ้นท์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปโกโก้นี้ ไม่ได้มีเพียงแค่ความอร่อยเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ในภาษากรีกโกโก้จึงได้ชื่อว่า Theobroma cacao L. หมายถึง food of the gods หรือ อาหารของพระเจ้า เดิมพืชชนิดนี้สะกดว่า Cacao แต่ในปัจจุบันมักนิยมสะกดว่า Cacao เมื่อระบุถึงโกโก้ในฐานะพืช หรือวัตถุดิบที่นำมาผลิต และสะกดว่า Cocoa เมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ปัจจุบันโกโก้จัดอยู่ในวงศ์ชบา […]

Read more

การใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี

การใช้สารเคมี

การใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี เป็นขั้นตอนหนึ่งของการดูแลพืชผลหลังการปลูก แม้ว่าจะมีการส่งเสริมให้ปลูกพืชด้วยระบบอินทรีย์มากขึ้นในปัจจุบันก็ตาม แต่สิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ได้ส่งผลให้โรคและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายพืชผล อย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งมาจากความบกพร่องในการดูแลพืชผล เมื่อเกิดโรค หรือการเข้าทำลายของแมลงศัตรูในขั้นรุนแรงแล้ว ก็ยากที่จะกำจัด และในบางครั้งการใช้สารเคมีก็ไม่สามารถช่วยกำจัดแก้ไขได้ หรือสายเกินแก้นั่นเอง สาเหตุหนึ่งที่ผู้เขียนหยิบยก การใช้สารเคมีให้ถูกวิธี มานำเสนอในบทความนี้ เนื่องจากการใช้สารเคมีที่ถูกวิธีนั้น เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และศัตรูธรรมชาติ เนื่องจากสารเคมีที่ตกค้าง หรือนำมาใช้แบบผิดๆ ไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนเท่านั้น ยังทำลายศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นผู้ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชชั้นยอด และในทางกลับกัน หากเราใช้สารเคมีอย่างถูกวิธีแล้วช่วยรักษาศัตรูธรรมชาติได้ จะส่งผลยังอนาคตข้างหน้าในการประหยัดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกรอีกด้วย (ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับศัตรูธรรมชาติได้ในบทความ ‘การกำจัดศัตรูพืช ด้วยแมลงดีและชีววิธี’ ขั้นตอน การใช้สารเคมีให้ถูกวิธี การเลือกใช้และการเลือกซื้อสารเคมี เลือกใช้สารเคมีที่ตรงกับชนิดของศัตรูพืช เฉพาะกรณีที่จำเป็น ในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้ง ภาชนะที่บรรจุไม่แตกหรือรั่ว มีฝาปิดมิดชิด มีฉลากหรือเอกสารกำกับถูกต้องชัดเจน ประกอบด้วย : – ชื่อเคมี – ชื่อสามัญของสารออกฤทธิ์ – ชื่อการค้า – ระบุปริมาณของสารออกฤทธิ์และสารอื่นๆ ที่ผสม – ชื่อผู้ผลิตและแหล่งผลิต – วันหมดอายุ (ถ้ามี) หรือวันผลิต – คำอธิบาย ประโยชน์ วิธีใช้ […]

Read more

เชื้อราไตรโคเดอร์มา

เชื้อราไตรโคเดอร์มา

เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อปฏิปักษ์ที่ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ในการดูแลพืชผลอยู่ในบทความส่วนใหญ่ แต่ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจของเชื้อราไตรโคเดอร์มามาฝาก ให้ท่านได้เรียนรู้วิธีใช้ ข้อควรระวังต่างๆ การทำหัวเชื้อหรือเชื้อสดไว้ใช้เองเพื่อประหยัดต้นทุนแต่ได้ผลกำไรจากผลผลิตมากขึ้น สิ่งสำคัญคือ อยากให้ท่านได้นำมาใช้ในการทำเกษตรถึงแม้ว่าท่านจะไม่ผลิตหัวเชื้อเองก็ตาม เพราะด้วยประโยชน์ที่สำคัญของ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ค่ะ ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ช่วยลดกิจกรรมของเชื้อโรคพืชได้ – โดยยับยั้งและทำลายการงอกของสปอร์ – แย่งอาหารที่เชื้อโรคพืชใช้เพื่อการเจริญของเส้นใย – ทำให้เชื้อโรคลดความรุนแรงลง ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคพืช – โดยการพันรัดและแทงเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช – ทำลายโครงสร้างสำหรับการขยายพันธุ์ของเชื้อโรค – ทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคพืชสร้างขึ้นเพื่ออยู่ข้ามฤดูกาล ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืช – โดยป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง – ผลิตสารเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้ – ช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตดี ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช – กระตุ้นความต้านทานโรคให้แก่พืช – ทำให้พืชมีระบบรากดี เจริญเติบโตดี แข็งแรง จึงต้านทานโรคได้ดีขึ้น หากสงสัยว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มา คืออะไร? คือ เชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยอยู่ตามเศษซากพืช ซากสัตว์ และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า ‘โคนิเดีย’ หรือ ‘สปอร์’ จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด […]

Read more

ธรรมชาติบำบัด บำรุง ปรับปรุงดิน

ธรรมชาติบำบัด

ธรรมชาติบำบัด บำรุง ปรับปรุงดิน เป็นแนวทางปฏิบัติ ที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายองค์กรพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรนำมาแก้ปัญหาความเสื่อมสภาพของดินในพื้นที่เพาะปลูก แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยที่ใช้ธรรมชาติบำบัด บำรุง ปรับปรุงดิน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต้องหาทางแก้ปัญหาการเงิน แบบเฉพาะหน้า สำหรับการเกษตร ถ้าเกษตรกรไม่มองการณ์ไกลไปกว่าการได้รายได้มาหมุนเวียนในครอบครัว…ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ได้รายได้แค่หมุนเวียนจริงๆ ค่ะ ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรง จากเกษตรกรในละแวกใกล้เคียง ที่ทำนาข้าวติดต่อกันตลอดทั้งปีหลังการเก็บเกี่ยว ด้วยวิธี เผาตอซังข้าวเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ จากนั้นไถพลิกดินตามขั้นตอน หว่านข้าว ใส่ปุ๋ยเคมี ฉีดฮอร์โมน ฉีดยากำจัดวัชพืช และอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ใช่ระบบอินทรีย์ ผลกำไรส่วนหนึ่งจากการเก็บเกี่ยวรุ่นก่อน ถูกนำมาเป็นต้นทุนให้กับสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในนาข้าวรุ่นต่อมาทั้งสิ้น…เมื่อข้าวออกรวงก็ทำการเกี่ยว และปลูกข้าวต่อเป็นวัฏจักรเช่นนี้ตลอดทั้งปีของทุกปี ผู้เขียนเคยตั้งคำถามถึงเรื่องสภาพดิน แต่ไม่เคยได้รับคำตอบจากเจ้าของที่นาแปลงดังกล่าว ได้รับเพียงแค่ท่าทีที่แสดงออกว่าไม่คำนึงถึงอะไรเลย นี่คือเกษตรกรที่ปฏิเสธทุกวิธีการที่ดีในการทำเกษตรอย่างยั่งยืน สิ่งที่ปฏิบัติคือ การทำวิธีการส่วนตัวเพื่อรายได้ที่มีต้นทุนสูง ซึ่งมาจากความคิดที่ปราศจากการมองการณ์ไกล (ขออนุญาตออกความคิดเห็นส่วนตัวสักนิดนะคะ เพราะได้เห็นแล้วรู้สึกหนักใจในฐานะมนุษย์ที่อยู่ในโลกใบเดียวกัน และรู้สึกหนักใจแทนเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ที่พยายามส่งเสริมและเผยแพร่วิธีการทำเกษตรอย่างยั่งยืน ไม่ต้องพูดถึงประโยชน์ระดับมหาชนหรือการอนุรักษ์ระดับประเทศนะคะ แค่เพียงว่า ดินในพื้นที่เพาะปลูกของเราควรมีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ควรมีคุณภาพ มีสารอาหารครบถ้วน และปลอดสารเคมี อีกเรื่องหนึ่งคือ การประหยัดต้นทุนการผลิตที่สุดควรทำอย่างไร นี่แหละค่ะ คือสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม) ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับดิน ที่ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดแก่เกษตรกร เกษตรกรมือใหม่ และผู้ที่สนใจการเพาะปลูกได้เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมและสามารถนำไปปฏิบัติในการบำรุง ปรับปรุงดิน ดังนี้ ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก […]

Read more

การดูแลกาแฟหลังการปลูก

การดูแลกาแฟหลังการปลูก

การดูแลกาแฟ หลังการปลูก เป็นการเพิ่มพูนรายได้ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่เกษตรกรโดยตรง ขั้นตอนของการปลูกกาแฟนั้นไม่ยุ่งยาก แต่ต้องปฏิบัติตามหัวใจสำคัญในการปลูกกาแฟ คือ การดูแลกาแฟ หลังการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ต้องใช้พันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง ต้นเจริญเติบโตเร็ว ต้านทานโรคและแมลง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นการปลูก การปลูกกาแฟ มีประโยชน์โดยรวมในการปลูกทดแทนฝิ่น หรือช่วยหยุดยั้งการทำไร่เลื่อนลอย ใช้ประโยชน์ที่ดินภูเขาซึ่งไม่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ ได้ถูกต้องตามความเหมาะสม กาแฟสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ประโยชน์ที่ได้รับจากการดูแลกาแฟให้ดีและถูกต้อง หลังการปลูก กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายปี การเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีผลิตเมล็ดกาแฟไม่ยุ่งยาก ผลผลิตเก็บไว้ได้ไม่เน่าเสีย สะดวกในการขนส่งในบริเวณที่การคมนาคมไม่สะดวก เพราะเมล็ดกาแฟแข็งไม่ชอกช้ำเสียหายระหว่างการขนส่ง ผลผลิตมีราคาสูงพอสมควร เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ดังนั้น การดูแลกาแฟอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เป็นประจำ สม่ำเสมอ ก็จะส่งผลดีต่อรายได้ของเกษตร หรือเป็นการเพิ่มพูนรายได้ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ขั้นตอน การดูแลกาแฟ การจัดการร่มเงา พื้นที่บนที่สูงหรือลาดชันนั้น นอกจากจะมีสภาพอากาศหนาวเย็นแล้ว ยังมีความเข้มของแสงแดดมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้บังร่มชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ไม้บังร่มชั่วคราว ควรเป็นไม้โตเร็ว และเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ทองหลางไร้หนาม แคฝรั่ง ขี้เหล็กอเมริกัน ควรเว้นระยะปลูก 4×6 เมตร หรือ 6×6 เมตร และปลูกหลายชนิดสลับกัน ไม้บังร่มถาวร ควรเป็นไม้พุ่มใหญ่ ทรงพุ่มกว้างและให้ร่มเงาในระดับสูง […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูกาแฟ

โรคและแมลงศัตรูกาแฟ

โรคและแมลงศัตรูกาแฟ จะเข้าทำลายต้นกาแฟและผลผลิต ทำให้เกิดความเสียหายหากไม่ป้องกันหรือกำจัดในทันทีที่สำรวจพบ และความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นอาจถึงขั้นรุนแรงทั่วพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างรวดเร็วในฤดูการระบาด เพราะฉะนั้น เราควรศึกษาอาการของโรคกาแฟ และลักษณะการเข้าทำลายของแมลงศัตรูกาแฟ เพื่อการป้องกันและกำจัดได้ถูกต้องและทันท่วงที ให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนนะคะ ลักษณะอาการ การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูกาแฟ มีดังนี้ โรคกาแฟ โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้าทั้งใบแก่และใบอ่อนมานานกว่าร้อยปี ทั้งในระยะที่เป็นต้นกล้าในเรือนเพาะชำและต้นโตในแปลง อาการเริ่มแรกมักจะเกิดเป็นจุดสีเหลืองเล็กๆ ขนาดประมาณ 3 ถึง 4 มิลลิเมตร กับใบแก่ก่อนบริเวณด้านในของใบ และเป็นจุดสีเหลืองบนใบขยายโตขึ้นเรื่อยๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้นสีบนแผลจะมีผงสีส้ม บริเวณด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้นใบกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น และกิ่งจะแห้งในเวลาต่อมา ในขั้นรุนแรงใบกาแฟจะร่วงเกือบหมดต้น การป้องกันและกำจัด ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคราสนิมได้ เช่น บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (Alkaline Bordeaux Mixture) 0.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ คูปราวิท (Cupravit) 85 เปอร์เซ็นต์ W.P. ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้พันธุ์กาแฟที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้แก่ กาแฟอาราบิก้าพันธุ์คาติมอร์ […]

Read more
1 2 3 4 5 23