ในหลวงรัชกาลที่ 9

ครบรอบ 1 ปี ทำดีเพื่อพ่อ ท่านได้ทบทวนกันบ้างหรือไม่ว่าได้ทำความดีอะไรเพื่อพ่อกันไปบ้าง และทำอย่างไร แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราคนไทย ต้องไม่ลืมว่าพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราทรงทำสิ่งใดไว้ให้กับประชาชนคนไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 หรือ พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ของชาวไทย เสด็จสู่สวรรคาลัย แต่ทุกพระราชกรณียกิจที่ท่านทรงทำเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ปวงประชายังคงดำเนินต่อ ปวงชนชาวไทยบ้างนำมาปฏิบัติ บ้างพยายามปฏิบัติ เป็นวิถี ทำดีเพื่อพ่อ ทำดีเพื่อชีวิต และทำดีเพื่อประเทศชาติกันต่อเนื่องมา 13 ตุลาคม 2560 ครบรอบ 1 ปี ที่พ่อจากไป ได้ระลึกถึงพระราชกรณียกิจที่ให้ประโยชน์ใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ ด้านทรัพยากรน้ำ และ การเกษตร ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” โครงการตามพระราชดำริของพระองค์และพระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในฐานะประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในจังหวัดของ ‘โครงการแก้มลิง’ ที่เลือกกล่าวถึงโครงการนี้เป็นอันดับแรก เพราะเป็นโครงการในพระราชดำริที่ใกล้ตัวที่สุด ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม จังหวัดสมุทรสาครจึงได้ถูกจัดอยู่ในพื้นที่ในโครงการแก้มลิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้จังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดใน ‘โครงการแก้มลิง’ […]

Read more

การดูแลกล้วยน้ำว้าให้ผลออกตลอดปี

การดูแลกล้วยน้ำว้า

หลังการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้ว การดูแลกล้วยน้ำว้า เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้ได้ผลผลิต และรายได้ต่อเนื่อง หากเกษตรกรปล่อยปละละเลย นอกจากจะได้ผลกล้วยที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว โรคของกล้วยน้ำว้า และ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ก็จะตามมา ท่านผู้อ่านสามารถติดตามทั้งสองบทความที่กล่าวถึง เพื่อศึกษาวิธีป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชของกล้วย เพื่อให้ การดูแลกล้วยน้ำว้า เป็นไปอย่างครบวงจร การดูแลกล้วยน้ำว้ามีหลายด้านให้ปฎิบัติดังนี้ ให้น้ำ เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกกล้วยน้ำว้า แต่อย่าให้ท่วมขัง เพราะรากจะเน่า ควรหาเศษฟาง เศษใบไม้แห้ง หรือใบตองที่ได้จากการตัดแต่งใบต้นกล้วยคลุมที่โคนต้น การให้น้ำต้นกล้วยน้ำว้าช่วงที่ปลูกใหม่ ให้รดน้ำวันเว้นวัน ประมาณครั้งละ 10 นาที เมื่อกล้วยตั้งตัวได้แล้ว รดน้ำ 2-3วันครั้ง หรือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แหล่งน้ำ น้ำฝน น้ำจากชลประทาน น้ำบ่อบาดาล หรือบ่อกักเก็บ น้ำจากแม่น้ำลำคลอง ระบบการให้น้ำ แบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่ แบบให้น้ำเหนือผิวดิน แบบให้น้ำไหลตามผิวดิน แบบให้น้ำใต้ผิวดิน ในสวนกล้วยนิยม ให้น้ำเหนือผิวดินมากที่สุด เพราะเป็นการให้น้ำเลียนแบบธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบอื่นๆ วิธีการให้น้ำเหนือผิวดินมีวิธีการปลีกย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ การให้น้ำโดยทั่วถึง และการให้น้ำแบบเฉพาะจุด เช่น การให้แบบน้ำหยด และการให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ เป็นต้น […]

Read more

การดูแลมะพร้าวหลังการเพาะปลูก

การดูแลมะพร้าวหลังปลูก

พืชผัก ผลไม้ทุกชนิด เมื่อปลูกแล้วควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูก ก็เช่นกัน เราปลูกมะพร้าวแล้วจะได้รับประทานน้ำมะพร้าวที่รสชาติหวาน กลิ่นหอม ได้เนื้อมะพร้าวที่ให้น้ำกะทิเข้มข้น มัน หรือได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สูง ก็ขึ้นอยู่กับ การดูแลมะพร้าว ที่ดีและสม่ำเสมอ เพราะไม่เพียงแค่คุณภาพที่ดีที่จะได้รับ ผลผลิตที่สูงก็จะตามมาอย่างคุ้มค่ากับการลงทุน การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูกนั้น ผู้ปลูกควรเริ่มจากการให้น้ำ การให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การป้องกันและกำจัดศัตรู จนกระทั้งไปถึงขั้นตอน การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ( ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้น สามารถติดตามได้ในบทความ โรคของมะพร้าว และแมลงศัตรูพืชของมะพร้าว  ) การให้น้ำ การปลูกมะพร้าวนั้นอาศัยวิธีการให้น้ำแบบอาศัยธรรมชาติ คือ ปลูกในฤดูฝน รอน้ำจากธรรมชาติ คือน้ำฝน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่หากเกิดภาวะฝนแล้ง ก็มีผลกระทบกับมะพร้าวเช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ มักจะปลูกมะพร้าวด้วยวิธียกร่อง เพื่อให้มะพร้าวได้รับน้ำตลอดทั้งปี ที่สำคัญ ต้องดูแลดินให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการดูแลมะพร้าว การให้ปุ๋ย เป็นขั้นตอนของการดูแลดิน พืชผลทุกชนิดรวมทั้งมะพร้าวมีปริมาณผลผลิตที่ขึ้นอยู่กับธาตุอาหารในดิน การที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ คือดินมีแร่ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของมะพร้าว การให้ปุ๋ยเพื่อปรับสภาพดินนั้น สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7   การให้ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการของมะพร้าวนั้น ควรเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ด้วย เพื่อการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุดในการเพิ่มจำนวนผลผลิต และธาตุอาหารอื่นตามลำดับ ดังนี้ […]

Read more

ประโยชน์ของมะม่วงเป็นโต๊ะ

โต๊ะไม้มะม่วง

มะม่วง ผลไม้โปรดของหลายๆ คนที่คนไทยรู้จักกันดี นอกจากเป็นผลไม้ที่มีหลายสายพันธุ์ หลากรสชาติ รับประทานได้ทั้งดิบ ทั้งสุก และแบบแปรรูป ซึ่งได้เคยแนะนำไว้ในบทความ มะม่วง แล้วนั้น คราวนี้เรามารู้จักสรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง ว่าให้อะไร ช่วยอะไรเราได้บ้างยังมีอีกหลายคนที่ไม่รับประทานมะม่วง เพราะคิดว่ามะม่วงมีแป้งเยอะ รับประทานแล้วอ้วนนั้น ตามข้อมูล สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง มะม่วงเป็นผลไม้ที่ไม่มี ไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอล และโซเดียมต่ำ เหมาะกับการลดความอ้วน หรือการคุมน้ำหนัก แต่มะม่วงดิบมีน้ำตาลน้อยกว่ามะม่วงสุก ส่วนมะม่วงสุกนั้นรับประทานเป็นเครื่องดื่มผสม      โยเกิร์ต ช่วยสลายพุงได้ ดีต่อระบบขับถ่าย นอกจากนี้ มะม่วงยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน บี 6  วิตามิน เอ วิตามิน ซี น้ำ น้ำตาล ธาตุเหล็ก โปรตีนโพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี เควอซิทิน เบต้าแคโรทีน กรดโฟลิก และแอสตรากาลิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง คุณค่าทางโภชนาการที่สูงของมะม่วงคงจะช่วยเปลี่ยนใจใครอีกหลายคนให้หันมารับประทานมะม่วง และให้มะม่วงช่วยดูแลสุขภาพร่างกายกันเพิ่มขึ้น นอกจากคุณประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อมะม่วงแล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะม่วงก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยหน้ากันเลยทีเดียว เราลองมาศึกษารายละเอียดสรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง กันว่ามีอะไรบ้าง สรรพคุณของมะม่วง 1. ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต—มะม่วงเป็นผลไม้ที่สามารถลดระดับความดันโลหิตได้ เพราะมะม่วงมีสารอาหารที่สำคัญต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ […]

Read more

การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าและเทคนิคการปลูกกล้วยแบบประหยัดต้นทุน

ขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า

การขยายพันธุ์กล้วยแต่ดั้งเดิม เคยใช้การเพาะเมล็ด เช่น กล้วยตานี ที่มีเมล็ดมาก แต่ใช้ระยะเวลาในการเพาะประมาณ 4 เดือน จึงจะมีต้นอ่อนงอกออกมา เนื่องจากเปลือกเมล็ดมีความหนา การเพาะเมล็ดจึงเสื่อมความนิยมไป สำหรับ การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าไม่มีเมล็ด จึงขยายพันธุ์ด้วยวิธี : 1. การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากหน่อ นิยมโดยทั่วไปโดยขุดหน่อที่แตกมาจากต้นแม่มาปลูก 1.1 วิธีเลือกหน่อกล้วยน้ำว้าเพื่อขยายพันธุ์ เลือกหน่อใบแคบ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ ที่เกิดจากต้นแม่ ใบยังไม่คลี่ เรียว ยาวเหมือนมีดดาบ มีความสูงประมาณ75-80 เซนติเมตร แข็งแรง สมบูรณ์เพราะจะมีอาหารสะสมอยู่มาก หน่อที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้น ควรมีเหง้าอยู่ใต้ดินรากลึก เหมาะสำหรับแยกไปปลูกเพราะจะได้ต้นกล้วยที่แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ไม่ควรเลือกหน่อที่โผล่อยู่บนผิวดินเพราะไม่แข็งแรงต้นแม่ ต้องไม่เป็นโรคหรือมีแมลงศัตรูกล้วย โดยเฉพาะด้วงงวง และเหง้าต้องไม่ถูกโรคและแมลงทำลาย หากเป็นหน่อกล้วยที่มาจากแหล่งอื่น ต้องเป็นกล้วยที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน เหง้าใหญ่ ไม่ช้ำ 1.2 วิธีเตรียมหน่อกล้วย 1.2.1 ตัดยอดต้นแม่ ให้เหลือความสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ต้นแม่แต่ละต้นจะให้หน่อได้ประมาณ 5 หน่อต่อต้น 1.2.2 ขุดแยกหน่อจากต้นแม่ ทุกๆ 2 เดือน แล้วสุมดินที่โคนต้นแม่ทุกครั้ง ต้นแม่จะให้หน่อประมาณต้นละ 10 หน่อต่อปี […]

Read more

การปลูกผักสลัดระบบ-NFT

การปลูกผักสลัดระบบNFT

การปลูกผักสลัด นิยมใช้ระบบ NFT เพราะเป็นผักทรงพุ่ม เหมาะกับรูปแบบการปลูกที่ได้รับการออกแบบไว้ แต่ก่อนอื่น เราควรทำความรู้จักกับระบบ NFT กันให้ละเอียดขึ้น      ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) เป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร) ในรางปลูกผักกว้างได้ตั้งแต่ 5-35 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ความกว้างรางขึ้นอยู่กับชนิดผักที่ปลูก ความยาวของรางตั้งแต่ 5-20 เมตร สารละลายจะไหลอย่างต่อเนื่อง อัตราไหลอยู่ในช่วง 1-2 ลิตร/นาที/ราง รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำ หนา 80-200ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป ทำจากโฟมขึ้นรูปเป็นรางติดกัน 3-5 ราง และต่อกันตามแนวยาวและบุภายในด้วยแผ่นพลาสติกกันน้ำรั่ว หรืออาจทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรืออะลูมิเนียม และบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย โดยจะมีปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรากพืชและเวียนกลับมายังถังเก็บสารละลาย ข้อดีและข้อเสียของ ระบบ NFT 1. ข้อดี คือไม่จำเป็นต้องมีเครื่องควบคุมการให้น้ำเนื่องจากระบบนี้จะมีการให้น้ำแก่ผักไฮโดรโปนิกส์ตลอดเวลา […]

Read more

หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์-DRFT

หลักด้วยระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique ) เป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะ ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ DFT และมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศแลสารละลายธาตุอาหารพืชแต่ผู้ปลูกควรศึกษา หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT ให้ดีเสียก่อนลักษณะของระบบจะเป็นโรงเรือนขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีขนาด 2×7 เมตร หลังคามุงด้วยพลาสติกใสป้องกันแสง UV ทำให้ทนต่อแสงแดด อายุการใช้งานนาน 2-3 ปี ด้านข้างเป็นมุ้งป้องกันแมลง ดังนั้น ระบบน้ำจะเป็นระบบปิด เป็นระบบที่มีการปลูกแพร่หลายระบบหนึ่งในประเทศไทย ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกได้แก่ ผักไทย เพราะมีระบบรากเยอะ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุดก็ตาม ก็ยังมีข้อเสียตามมาควรศึกษาระบบน้ำให้ดีเสียก่อนผู้อ่านสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ แล้วจึงตัดสินใจเลือกระบบน้ำ หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT  มีข้อดี และข้อเสีย ดังนี้ : ข้อดี ระบบไม่ยุ่งยากดูแลง่าย อุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาและซ่อมแซมได้ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง ระบบการให้น้ำง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ทำการป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆ […]

Read more

การปลูกมะม่วง

การปลูกมะม่วง

ผู้เขียนได้เคยแนะนำให้รู้จักมะม่วง,สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง,การขยายพันธุ์มะม่วงมาถึงบทความ  การปลูกมะม่วง เป็นบทความสำหรับผู้ที่สนใจ หรือเริ่มต้นจะปลูกมะม่วง ไม่ว่าจะปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือเป็นเชิงการค้า  การปลูกมะม่วง มีขั้นตอนดังนี้ การเตรียมดิน 1.1  ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่น ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำต่างๆ ต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ร่องน้ำกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องนั้นแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ หลังร่องยิ่งยกได้สูงมากยิ่งดี รากจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้ว ให้ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือถ้าดินเหนียวมากให้โรยปูนขาวเสียก่อนจึงลงมือขุด ปูนขาวจะช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน และทำให้ดินไม่จับตัวกันแน่น เนื่องจากมะม่วงไม่ชอบดินที่จับตัวกันแน่น การปรับปรุงดินให้ร่วนชุยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกแบบยกร่อง เพราะดินตามที่ราบลุ่มมักจะเป็นดินเหนียวจัด การขุดยกร่องใหม่ในปีแรก ดินอาจยังไม่ร่วนซุยดีพอ ให้ปลูกพืชผักอย่างอื่นสัก 1-2 ปี จนเห็นว่าดินร่วนซุยดีพอแล้ว จึงลงมือปลูกมะม่วง ซึ่งจะได้ผลดีและไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนในที่ที่เป็นร่องสวนเก่า มีคันคูและเคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินรวนซุยอยู่แล้ว อาจต้องปรับปรุงดินอีกเพียงเล็กน้อยก็ลงมือปลูกได้เลย                                       […]

Read more

การปลูกมะพร้าวพืชเงินล้าน

มะพร้าวพืชเงินล้าน

จากบทความ มะพร้าว สายพันธุ์มะพร้าว ที่ได้แนะนำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงสรรพคุณและประโยชน์ของมะพร้าว รวมทั้งได้รู้จักกับสายพันธุ์ต่างๆ ของมะพร้าวกันไปแล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปในบทความนี้ ได้รวบรวมวิธี และเทคนิค การปลูกมะพร้าว ให้ท่านที่สนใจได้ทดลองปลูกมะพร้าวกัน โดยเริ่มจากขั้นตอนแรกของ การปลูกมะพร้าว คือ การคัดเลือกพันธุ์ 1. การคัดเลือกพันธุ์—พื้นฐานของทุกคน มักจะเลือกตามความต้องการของการบริโภค หากปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือ ตามการนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะ การปลูกมะพร้าว เชิงการค้า ผู้ปลูกต้องพิจารณาว่า ต้องการจำหน่ายมะพร้าวในรูปแบบใด แบบสด หรือ แบบแปรรูป, ตลาดอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือไม่ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง, ความต้องการของการตลาดเป็นอย่างไร เมื่อเลือกสายพันธุ์มะพร้าวได้แล้ว เราไปที่ขั้นตอนต่อไปนะคะ 2. การคัดเลือกสวนพันธุ์ และ ต้นพันธุ์สวนพันธุ์—ควรปลูกมะพร้าวพันธุ์เดียวกันทั้งสวน ปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ เพื่อที่มะพร้าวจะได้รับการดูแลอย่างดี ต้นมะพร้าวขนาดไล่เลี่ยกัน ผู้ปลูกอาจจะเลือกต้นพันธุ์จากสวนขนาดใหญ่เกินกว่า 10 ไร่ หรือ ถ้าเป็นสวนพันธุ์ขนาดเล็กกว่านั้น ก็สามารถเลือกจากต้นพันธุ์เป็นหลัก ต้นพันธุ์—ควรอยู่บริเวณกลางสวน ไม่ใกล้บ้าน คอกสัตว์ หรือที่ที่ดีกว่าต้นอื่น ลำต้นตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปวงกลม หรือครึ่งวงกลม มีใบย่อยจำนวนมาก โคนทางสั้นและใหญ่ มีจั่นอย่างน้อย […]

Read more

เพาะเห็ดฟางพารวย

เพาะเห็ดฟาง

เพ(ร)าะเห็ดฟางพารวย มือใหม่ก็ทำได้ เหมาะกับผู้ที่สนใจเพาะเห็ดไว้รับประทานในครัวเรือน ผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม และเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย วัสดุในการเพาะ 1. หัวเชื้อเห็ดฟาง ที่ไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป ไม่มีสิ่งปนเปื้อน 2. ตะกร้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูง 11 นิ้ว มีช่องขนาด 1 ตารางนิ้ว ด้านล่างมีช่องระบายน้ำ 3. วัสดุเพาะ เช่น ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ฟางข้าว ต้นกล้วย ชานอ้อย เป็นต้น 4. อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา ขี้วัว ไส้นุ่น รำละเอียด 5. อาหารกระตุ้นหัวเชื้อ ได้แก่ แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว 6. พลาสติกใสสำหรับคุม 7. สุ่มไก่ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำเป็นโครง เช่น ชั้นโครงเหล็ก 8. น้ำสะอาด วิธีเพาะ 1. เลือกพื้นที่สำหรับวางโครงเหล็กหรือสุ่มไก่ ควรเป็นพื้นที่ที่มีแสงรำไร หรือแสงอ่อนๆ น้ำไม่ท่วมขัง สามารถป้องกันการรบกวนจากสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ […]

Read more
1 19 20 21 22 23