การปลูกถั่วดาวอินคา

การปลูกถั่วดาวอินคา

การปลูกถั่วดาวอินคา ง่ายไม่มีขั้นตอนอะไรมาก ปลูกแล้วดูแลให้ดี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ 5 เดือนหลังการเพาะปลูกจนถึง 50 ปี แต่ละปียังเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายรอบ และทำรายได้จากหลายๆ ส่วนของลำต้น ผลผลิตและรายได้จาก การปลูกถั่วดาวอินคา ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาหลังการปลูก ปัจจัยสำคัญในการปลูกถั่วดาวอินคา ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีและและยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ในการปลูกถั่วดาวอินคา เพราะถั่วดาวอินคามีความไวจากผลกระทบที่เกิดจากสารเคมีและอุณหภูมิมาก แทนที่จะได้ผลผลิตที่ดี อาจได้ความเสียหายมาแทน ให้น้ำพอชุ่ม อย่าปล่อยให้มีน้ำขังรอบลำต้น หรือปลูกแบบยกร่องสูงป้องกันน้ำท่วม ตัดแต่งกิ่งถั่วดาวอินคาให้โปร่งอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น สถานที่และสภาพดินที่เหมาะสม ถั่วดาวอินคา ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาคของประเทศไทย และทุกสภาพดิน ขอเพียงแค่ได้รับน้ำอย่างชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะ ไม่ขัง และไม่น้อยเกินไป และไม่อยู่ใกล้แหล่งสารเคมี ฤดูกาลที่เหมาะสม ในการปลูกถั่วดาวอินคา เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน เตรียมเพาะกล้า และแปลงปลูก เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน (ฤดูฝน) นำต้นกล้าปลูกลงในแปลงปลูก การเตรียมเมล็ดพันธุ์ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์ เมล็ดไม่ลีบ ไม่มีเชื้อรา สีเข้ม มีน้ำหนัก ***เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีอัตราการงอกสูง คือเมล็ดที่มีอายุไม่เกิน 2 – […]

Read more

มือใหม่หัดปลูกกล้วยไม้

มือใหม่หัดปลูกกล้วยไม้

วิธีปลูกกล้วยไม้ สำหรับมือใหม่หัดปลูก ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากอะไร ก่อนปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เราควรศึกษาประเภท สายพันธุ์ การนำไปใช้ประโยชน์ ให้ดีเสียก่อน เรียกว่ารู้หน้าแล้ว ต้องรู้ใจด้วย เพราะกล้วยไม้แต่ละชนิด มีความต้องการต่างกัน นอกจากภาชนะ และเครื่องปลูกแล้ว วิธีการปลูกยังเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็เจริญงอกงามได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ละขั้นตอนในการปลูกกล้วยไม้นั้น ต้องพิถีพิถันเป็นอย่างดี วิธีปลูกกล้วยไม้ แบ่งตามลักษณะของต้นพันธุ์ ได้ 5 แบบ ดังนี้ การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ การปลูกกล้วยไม้ในกระเช้า การปลูกกล้วยไม้ต้นใหญ่ การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มาดู วิธีปลูกกล้วยไม้ แต่ละแบบกันค่ะ….. การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ล้างลูกกล้วยไม้ ก่อนปลูก นำลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ออกจากขวดเพาะ แล้วล้างเศษวุ้นอาหารให้หมด จุ่มลูกกล้วยไม้ลงในน้ำยานาตริฟิน ในอัตราส่วน น้ำยา 1 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง ในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถาง 1 นิ้ว วิธีปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ปลูกในกระถาง 1 […]

Read more

การปลูกกล้วยไม้ลงดิน

การปลูกกล้วยไม้ลงดิน

การปลูกกล้วยไม้ลงดิน แนะนำกล้วยไม้ดินสกุลสปาโตกลอสติส (Spathoglottis) หรือ กล้วยไม้ดินใบหมาก เนื่องจากเป็นที่นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่าง แพร่หลาย หาซื้อต้นพันธุ์ได้งาย พบได้ทุกภาคของประเทศไทย กล้วยไม้สกุลสปาโตกลอสติสนี้ ปกติเราเรียกว่า ‘กล้วยไม้ดิน’ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงสกุลหนึ่งของกล้วยไม้ดินเท่านั้น ยังมีกล้วยไม้ดิน สกุลอื่นอีกหลายชนิด ลักษณะของกล้วยไม้ดิน สปาโตกลอสติส ดอก เหมือนกล้วยไม้ทั่วไป คือ มีกลีบเลี้ยง กลีบดอก เส้าเกสร เท่ากันกับกล้วยไม้สายพันธุ์อื่น ออกดอกเป็นกลุ่มที่ปลายช่อ ออกดอกได้ทั้งปี ดอกบานติดต่อกันได้นานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป แล้วแต่ชนิดพันธุ์ แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ดินป่า จะออกดอกปีละครั้ง ช่อดอก แทงออกมาจากหน่อๆ ละ 1 ถึง 3 ช่อ แต่กล้วยไม้สายพันธุ์รากอากาศจะแทงช่อออกจากลำต้น ใบ จะเหมือนใบหมาก หรือใบต้นอ่อนของปาล์ม จึงมีชื่อเรียกง่ายๆ ไทยๆ ว่า ‘กล้วยไม้ดินใบหมาก’ ลำต้น เป็นกอ หน่อ ใช้ในการขยายพันธุ์ได้ง่าย ประเภทของกล้วยไม้ดินใบหมาก แบ่งได้ง่ายตามขนาดความสูงของลำต้น พันธุ์สูง-ต้นสูงได้ตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป (แต่ผู้เขียนเคยเห็นที่เป็นกอใหญ่ แล้วดูรกๆ เลยชอบ พันธุ์กลาง กับพันธุ์แคระมากกว่า-เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ) […]

Read more

ต้นอ่อนข้าวสาลีช่วยโรคมะเร็ง

ต้นอ่อนข้าวสาลีช่วยโรคมะเร็ง

ต้นอ่อนข้าวสาลี ( Wheatgrass ) เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในกลุ่มผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และกลุ่มคนรักสุขภาพ ด้วยการนำมาคั้นน้ำต้นอ่อนดื่มสดๆ แต่วิธีการใช้ประโยชน์จากต้นอ่อนข้าวสาลีนั้น เป็นเหตุจูงใจให้ผู้เขียนนำเสนอวิธีการปลูกต้นอ่อนข้าวสาลีไว้ใช้ประโยชน์ด้วยตนเอง หรือถ้าสนใจจะปลูกเป็นอาชีพ ก็นำไปดัดแปลงให้เหมาะสมได้ จากวิธีการที่นำมาฝาก การเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี สายพันธุ์เมล็ดข้าวสาลี แนะนำให้ใช้ เมล็ดข้าวสาลี พันธุ์ฝาง-60 เป็นพันธุ์ผสม เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศในบ้านเรา และให้ผลผลิตดีกว่าเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อุปกรณ์ ถาดเพาะกล้าพลาสติก ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร และสูง 3.5 เซนติเมตร หรือใช้กระบะไม้ หรือวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ที่มีรูระบายน้ำ กระสอบพลาสติกสาน หรือผ้าฟาง เมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี วัสดุปลูก ใช้ ขุยมะพร้าว ผสม แกลบ วิธีการเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี (วิธีนี้ใช้ปลูกเป็นอาชีพได้) 1.นำเมล็ดข้าวสาลีแช่น้ำ 1 คืน โดยเปลี่ยนน้ำ 2 ถึง 3 ครั้ง ถ้าน้ำขุ่น เพื่อป้องกันการบูดเน่า เมล็ดที่พร้อมจะนำไปปลูกจะสังเกตเห็นจมูกข้าวสีขาวที่เมล็ด 2.เตรียมวัสดุปลูกใส่ในถาดเพาะพอประมาณ 3.โรยเมล็ดที่แช่น้ำแล้วบนวัสดุปลูกในถาดที่เตรียมไว้ อย่าให้เมล็ดทับซ้อนกันเป็นกระจุก จะทำให้เกิดเชื้อรา […]

Read more

การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

การป้องกันแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลกุ้งก้ามแดง หากผู้เลี้ยงปล่อยปละละเลยไม่ดูแล ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็จะตามมา : ปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง โรคสนิม เป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวร์ มีผงสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลทองคล้ายสนิมเกาะที่กุ้ง ต้องอาศัยเกาะติดกับสัตว์น้ำ ในฐานะปรสิต อาศัยสัตว์น้ำ สามารถสังเคราะห์แสงได้เหมือนพืช จะดูดซับสารอาหาร จากตัวกุ้ง ทำให้เกิดแผล ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราแทรกซ้อนได้ กุ้งมีอาการซึม ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร จนตายในที่สุด โรคในกลุ่มของ โรควิบริโอซีส มีรอยไหม้สีดำตามรยางค์ของกุ้ง (รยางค์ คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องใต้ลำตัวจากส่วนหัวจนถึงท้อง แต่ละปล้องจะมีรยางค์ 1 คู่) ตับและตับอ่อนอักเสบ ไม่เจริญอาหารและในที่สุดก็ตาย (มีการระบาด เมื่อสภาพน้ำมีความเค็มสูง) การป้องกัน ควบคุมการให้อาหาร ในปริมาณที่พอเหมาะกับจำนวนกุ้ง และให้อาหารที่มีคุณภาพ ดูแลรักษาน้ำให้สะอาด โรคสนิม จะลุกลามได้เร็วในสภาพน้ำที่ไม่ดี กุ้งจะลอกคราบไม่ผ่าน และตายได้ ยาที่ใช้ในการรักษา ใช้สารเคมีกลุ่มไอโอดีน ใช้ยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ การแก้ไข ถ่ายน้ำ และเร่งให้กุ้งลอกคราบ ด้วยน้ำที่มีค่าอัลคาลินิตี้สูงกว่าน้ำที่ใช้เลี้ยงในบ่อ (น้ำจืด 80 – 100 ppm น้ำเค็ม 150 – […]

Read more

ต้นอ่อนทานตะวันกับประโยชน์ที่ควรรู้

ต้นอ่อนทานตะวัน

ต้นอ่อนทานตะวัน คืออะไร คือของอร่อย มีประโยชน์ ที่อยากแนะนำค่ะ แต่คำตอบในทางทฤษฎี ต้นอ่อนทานตะวัน ก็คือ ต้นอ่อนของดอกทานตะวัน ที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 11 วัน เท่านั้น ก็นำมารับประเทานสดๆ หรือเป็นอาหารปรุงสุกได้หลายเมนู เช่น ต้นอ่อนทานตะวันผัดน้ำมันหอย ต้นอ่อนทานตะวันอบชีส ต้นอ่อนทานตะวันผัดเต้าหู้ยี้ ยำซีฟู้ดต้นอ่อนทานตะวัน ไข่เจียวต้นอ่อนทานตะวัน แกงส้มต้นอ่อนทานตะวัน ผัดหมี่ฮ่องกงใส่ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนทานตะวันทอด ราดน้ำยำ หรือรับประทานร่วมกับผักสลัดอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ความจิ๋วแต่แจ๋วของต้นอ่อนทานตะวัน ไม่ใช่แค่ความอร่อยแค่นั้น สารอาหารที่อุดมอยู่ในเจ้าต้นอ่อนจิ๋วๆ นี้ก็มีไม่น้อย เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี โพแทสเซียม ไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย และมีสารกาบ้า (GABA- gamma aminobotyric acid) ส่วนคุณประโยชน์นั้น น่าทึ่งค่ะ ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด GABA ช่วยป้องกันโรคมากมายหลายชนิด อาทิเช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอความแก่ชรา […]

Read more

วิธีการเพาะและปลูกดาวเรืองในกระถาง

วิธีการเพาะและปลูกดาวเรืองในกระถาง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกดาวเรือง 1. เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง 2. ถาดเพาะขนาด 200 หลุม (ใช้สำหรับเพาะกล้าดาวเรือง) 3. ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน 4. ขุยมะพร้าว 3 ส่วน 5. ยาป้องกันเชื้อราอัตราส่วนการผสมน้ำยา 10 ซีซีต่อน้ำ 10 ลิตร ขั้นตอนการเพาะต้นกล้าดาวเรือง 1. นำปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับขุยมะพร้าวคลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. นำยาป้องกันเชื้อราที่ผสมน้ำเรียบร้อยแล้วราดลงบนกองปุ๋ยอินทรีย์กับขุยมะพร้าวที่ผสมเสร็จแล้วให้ทั่ว แล้วคลุกเคล้าอีกรอบ 3. หลังจากนั้นให้นำปุ๋ยอินทรีย์ ขุยมะพร้าวที่คลุกเคล้ากับยาป้องกันเชื้อราเรียบร้อยแล้วใส่ลงในถาดเพาะกล้าดาวเรืองที่เตรียมไว้ให้เต็ม 4. นำเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่เตรียมไว้หยอดใส่หลุมละ 1-2 เมล็ด โดยการใช้นิ้วชี้เขี่ยเป็นหลุมเล็กน้อยแล้วกลบทับด้วยปุ๋ยอินทรีย์กับขุยมะพร้าวที่ผสมอีกครั้ง แล้วนำไปวางไว้ในโรงเพาะที่คลุมด้วยแสลนทึบแสง การให้น้ำช่วงเพาะกล้าดาวเรือง ช่วงแรกของการเพาะกล้าควรรดน้ำให้มาก ควรรดน้ำให้กระจายเป็นฝอย สังเกตจากก้นถาดเพาะกล้าว่ามีน้ำไหลออกมาจึงหยุดควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน ต้นกล้าดาวเรืองก็เริ่มแตกเป็นต้นอ่อนขึ้นมา จากนั้นย้ายต้นกล้ามายัง โรงเพาะที่มีแสงแดดส่งผ่านรำไรเพื่อให้ใบอ่อนของดาวเรืองชูรับแสง ช่วงต้นกล้าดาวเรืองมีอายุ 1 สัปดาห์ เมื่อต้นกล้าดาวเรืองมีอายุ 1 สัปดาห์ ควรทำการย้ายถุงพลาสติกขนาด 3 นิ้ว […]

Read more

แนะนำการปลูกอะโวคาโด้

การปลูกอะโวคาโด้

การปลูกอะโวคาโด้เริ่มต้นในระยะแรก ควรเป็นในรูปแบบการเกษตรแบบผสมผสาน อาศัยรายได้หลักจากพืชชนิดอื่นในระยะ 3 ถึง 4 ปีแรก ที่รออะโวคาโด้ออกผล คำแนะนำสำคัญของการปลูกอะโวคาโด้ สำหรับมือใหม่ ไม่ควรเลือกปลูกต้นอะโวคาโด้ด้วยการเพาะเมล็ด ควรเลือกซื้อต้นกล้าที่เสียบยอดมาปลูก เพราะอะไร?…อันที่จริง การขยายพันธุ์อะโวคาโด้มีหลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด, การติดตา, และการต่อกิ่ง แต่การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดให้ผลช้าที่สุด ใช้เวลาอย่างน้อย 6 ถึง 7 ปีจึงจะให้ผล ส่วนใหญ่เกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโด้จะใช้การเพาะเมล็ดขยายพันธุ์เพื่อใช้กิ่งเป็นต้นตอในการติดตาหรือต่อกิ่ง หรือเพื่อปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการได้ผลผลิตที่เร็วขึ้นผลผลิตที่ได้มีคุณภาพมาตรฐานดี ควรใช้ต้นกล้าการเสียบยอดพันธุ์บนต้นตอเพาะเมล็ด ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ในการปลูกอะโวคาโด้ สายพันธุ์ – การเลือกสายพันธุ์ นอกจากจะคำนึงถึงตลาดแล้ว การผสมเกสรของอะโวคาโด้ก็มีความสำคัญ สายพันธุ์อะโวคาโด้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการบานของดอก คือ กลุ่ม A : ดอกบานครั้งแรกในตอนเช้า เกสรตัวเมียพร้อมรับละอองเกสร แต่ตัวเกสรตัวผู้ไม่พร้อมผสม ดอกจะหุบในตอนเที่ยง ข้ามไปอีกหนึ่งวัน ดอกจะบานอีกครั้งในตอนบ่าย คราวนี้เกสรตัวผู้และตัวเมียพร้อมผสมพร้อมกัน กว่าจะได้ผสมใช้เวลาเกือบ 30 ชั่วโมง อะโวคาโด้กลุ่มนี้ติดผลยาก ได้แก่ พันธุ์แฮส (Hass), ปีเตอร์สัน (Peterson), ลูล่า(Lula), มอนโร(Monroe), ปากช่อง […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูของดาวเรือง

โรคและแมลงศัตรูของดาวเรือง

แมลงศัตรูของดาวเรือง 1. เพลี้ยไฟ จะเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน จะทำให้ใบหงิกงอไม่แตกใบใหม่ มักเกิดในช่วงหลังจากเด็ดยอด และในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม ฟูโนบูคาร์บฟิโพรนิลทุกๆ 5-7 วัน หรือทุก 2-3 วัน หากมีการระบาดมาก 2. ไรแดง พบมากในช่างฤดูร้อนส่วนใหญ่อยู่ใต้ใบชอบอยู่เป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม พืชที่โดน ทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม อมิทราช, ไดโคโฟลทุกๆ 5-7 วัน 3. หนอนชอนใบ ตัวหนอนจะชอนไชเป็นทางยาว ใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็น บิดเบี้ยว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม คาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์ อบาแม็กติน ทุกๆ 5-7 วัน 4. หนอนเจาะดอก จะเข้าทำลายในช่วงที่ดอกตูมหรือดอกเริ่มบาน หากรุนแรงจะทำให้กลีบดอกร่วงเสียหายไม่สามารถจำหน่ายได้ ควรป้องกันโดยการฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม คาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์ ไซเพอร์เมทริน 35 ในช่วงดอกตูมทุก 3-5 วัน หากพื้นที่นั้นมีการระบาด โรคของดาวเรือง 1. โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา FUSARIUM อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น […]

Read more

ระบบน้ำหัวใจการเกษตร

ระบบน้ำหัวใจการเกษตร

ระบบน้ำ เป็นหัวใจสำคัญของการเกษตร พืชทุกชนิดต้องการน้ำ ส่วนจะมากน้อยต่างกันเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของพืช การบริหารจัดการระบบน้ำที่ดีนั้นส่งผลต่อการเจริญเติบโต ช่วยป้องกันปัญหาและโรคต่างๆ ได้ดี การจัด ระบบน้ำ ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช มีผลให้ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณที่สูงได้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรสามารถเลือกจัดการกับระบบน้ำได้หลายประเภท ซึ่งไม่มีขั้นตอนยุ่งยากอะไร สามารถทำเองได้ ประเภทของ ระบบน้ำ ระบบน้ำหยด ระบบน้ำสปริงเกลอร์ ระบบน้ำมินิสปริมเกลอร์ ระบบน้ำเหวี่ยง ระบบน้ำพุ่ง ระบบน้ำหยด เป็นระบบน้ำที่ใช้ได้ทั้งพืชสวน พืชไร่ และพืชสวนครัว ใช้เวลาในการให้น้ำ 10 ถึง 30 นาที ต่อการให้น้ำ 1 ครั้ง ข้อดีของระบบน้ำหยด ประหยัดน้ำ และมีประสิทธิภาพการให้น้ำสูง ประหยัดน้ำ ประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลาในการให้น้ำ ใช้ได้ผลดีกับดินและพืชทุกชนิด ใช้งานและดูแลรักษาง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตร ค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำระบบน้ำหยดไม่สูง โอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำมีน้อย เนื่องจากมีถังสำรองน้ำไว้ใช้ ก่อนอื่นขอแนะนำ…อุปกรณ์สำหรับใช้ทำระบบน้ำหยด…ว่ามีอะไรบ้าง ปั๊มน้ำ-เลือกตามลักษณะการใช้งาน และสภาพแหล่งน้ำ ถังน้ำ-ขนาด 200 ลิตร ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ที่ใช้งาน แนะนำให้ใช้แบบพลาสติกเพื่อช่วยลดอุณหภูมิน้ำ ขาตั้งแท้งค์น้ำ-แข็งแรง ทนทาน สูง 1 […]

Read more
1 9 10 11 12 13 23