กล้วยไม้

กล้วยไม้ เป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างดี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และให้ประโยชน์กับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ไม่เพียงได้ประโยชน์ทางสายตา จากสีสันและความสวยงามของกล้วยไม้เท่านั้น ประโยชน์ของกล้วยไม้ กล้วยไม้กับชีวิตประจำวัน ใช้ประดับตกแต่ง อาคาร สถานที่ ให้สวยงาม หรูหรา ใช้ไหว้พระ หรือใช้ในการทำบุญตักบาตร เพื่อแสดงความเคารพ ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ใช้เป็นสารปรุงแต่งรส และกลิ่นอาหาร ของหวาน เครื่องดื่ม ใช้ทำสารสกัดเป็นส่วนผสมของยา ใช้ทำสารสกัดทำเครื่องหอม กล้วยไม้กับศาสตร์ความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานพิธี งานเทศกาล งานประเพณีต่างๆ กล้วยไม้กับศาสตร์ฮวงจุ้ย ใช้เป็นพันธุ์ไม้ตามหลักฮวงจุ้ย ซึ่งเชื่อว่า กล้วยไม้เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง อดทน และแข็งแกร่ง เก็บมาฝาก…..สำหรับการปลูกกล้วยไม้ไว้ในบริเวณบ้าน ผู้ที่เกิดวันเสาร์ ช่วยเสริมโชคลาภ นำความเจริญมาให้ผู้อยู่อาศัย ช่วยให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง ผู้ที่เกิดราศีกรกฎ ปลูกกล้วยไม้ช่วยเสริมพลังชีวิต ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ผู้ที่เกิดราศีสิงห์ กล้วยไม้ช่วยเสริมพลังชีวิต เสริมบารมี หากผู้อ่านท่านใด สนใจปลูกกล้วยไม้ไว้ใช้ประโยชน์ภายในบ้าน หรือเพื่อการค้า อย่าพลาดบทความที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ในด้านอื่นๆ นะคะ ผู้เขียนตั้งใจนำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ ขั้นตอนง่ายๆ และเคล็ดลับต่างๆ สำหรับการปลูกกล้วยไม้ไว้ให้ได้ศึกษา และทดลองปฏิบัติกัน สำหรับท่านที่เคยซื้อกล้วยไม้มาปลูกที่บ้าน แล้วไม่สวย ไม่ออกดอก เหมือนตอนอยู่ที่ร้าน […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูชมพู่

โรคและแมลงศัตรูชมพู่ พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญจะพบว่า โรคและแมลงศัตรูชมพู่ มีเพียงโรคแอนแทรคโนส โรครากเน่า แมลงวันผลไม้ และหนอนกระทู้หอม เข้ามารบกวนและทำลายชมพู่ ในบางครั้ง ถึงแม้เกษตรกรหรือผู้ปลูกชมพู่ จะปฏิบัติและดูแลรักษาชมพู่เป็นอย่างดีแล้วก็อาจพบการระบาดได้ ก็ควรรีบกำจัดในทันที เพื่อป้องกันความเสียหายหรือการทำลายในขั้นรุนแรง จนต้นชมพู่ตายได้ในที่สุด ดังนั้น เกษตรกรหรือผู้ปลูกควรศึกษาลักษณะอาการ การป้องกันและกำจัด โรคและแมลงศัตรูชมพู่ แล้วนำไปปฏิบัติ โรคชมพู่ โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคชมพู่ที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุด คือ โรคแอนแทรคโนส หรือ โรคผลเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. มักพบระบาดและสร้างความเสียหายให้กับชมพู่ในช่วงที่อากาศร้อนชื้น อบอ้าว และจะระบาดมากขึ้นหากใช้วัสดุห่อผลซ้ำกัน ฝนตกชุกมากเกินไป ผลโดนแดดเผา อุณหภูมิสูงมากทำให้คายน้ำมากจนทำให้เกิดไอน้ำภายในถุงและทำให้ถุงแนบติดกับผลและเกิดการเน่าได้ รวมไปถึงการไว้ผลในช่อมากเกินไปจนทำให้ผลเบียดกัน ทำให้ผลเน่า เมื่อเกิดการเน่าก็จะเป็นช่องทางให้เชื้อราเข้าทำลายและระบาดมากขึ้น โดยเข้าทำลายที่ผลของชมพู่ เริ่มเป็นแผลฉ่ำน้ำ และมีสีน้ำตาลที่ก้นผล แล้วค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น และถ้าสภาวะความชื้นของอากาศเหมาะสม จะมีเส้นใยของรามีลักษณะเป็นผงสีดำอยู่ตามบริเวณรอยแผล การป้องกันและกำจัด หลีกเลี่ยงการไว้ผลในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ควรพ่นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม เช่น คาร์เบนดาซิมแมนโคเซบ ล่วงหน้า 1 ถึง 2 วัน ก่อนทำการห่อผลทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ถุงห่อผลซ้ำ เพราะอาจจะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ ควรไว้ผลต่อช่อ […]

Read more

การปลูกชมพู่

การปลูกชมพู่ ที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความ ‘ชมพู่’ ไว้ว่า จะมาเฉลยในบทความนี้ว่า ทำไมจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านปลูกชมพู่? ด้วยจุดเด่นที่ทำให้ชมพู่ก้าวเข้ามาเป็นไม้ผลเชิงการค้าของประเทศไทยค่ะ ที่ทำให้ชมพู่ น่าปลูก ชมพู่ มีจุดเด่นดังนี้ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาในการปลูก บางพันธุ์ทนน้ำท่วมขังได้ดี บางพันธุ์ทนแล้งได้ดี และบางพันธุ์ทนอากาศหนาวเย็นได้ดี และมีโรคและแมลงรบกวนน้อยกว่าไม้ผลเชิงการค้าชนิดอื่น เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว ออกดอกและติดผลได้ง่าย อายุการเก็บเกี่ยวผลสั้น ให้ผลผลิตหลายชุดต่อปี เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและหลายวิธี มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก เป็นไม้ผลอายุยืน ให้ผลผลิตได้หลายปี ให้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง เป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตดี มีรูปทรงผลที่สวย สีสันสดใส น่ารับประทาน เกษตรกรได้ทุนคืนเร็ว ให้ผลตอบแทนสูง มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อย ซึ่งทำให้ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกชมพู่ พื้นที่ เป็นดินร่วน ดินทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่ระบายน้ำได้ดี ชมพู่จะให้ผลผลิตที่มีรสชาติดีในการปลูกในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย เพราะมีธาตุไนโตรเจนน้อยกว่าดินเหนียว และอุ้มน้ำได้น้อยกว่าจึงทำให้ความหวานในผลชมพู่เพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าชมพู่ที่ปลูกในดินเหนียว น้ำไม่ท่วมขัง เป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ อุณหภูมิ ชมพู่เป็นพืชเขตร้อน แต่อุณหภูมิก็ยังคงมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตชมพู่ คือ หากอากาศร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิสูงมากเกินไปในบางช่วง ชมพู่จะออกดอกติดผลได้ไม่ดี ดอกจะร่วงได้ง่าย การขยายขนาดผลไม่ค่อยดี สีผลซีดจาง ผลแก่เร็ว […]

Read more

ชมพู่

ชมพู่ ผลไม้ที่มีรสหวานอร่อย ฉ่ำน้ำ รับประทานง่าย เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในตลาดผลไม้ประเทศไทยมาเป็นเวลานาน บางสายพันธุ์มีราคาแพง เช่น ชมพู่ทับทิมจันทร์ ที่เป็นไม้ผลทำเงิน จนเกิดเกษตรกรเงินล้านขึ้นมาหลายราย บางสายพันธุ์มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน เช่น ชมพู่มะเหมี่ยว ผู้เขียนจะขออุบเหตุผลที่อยากชักชวนท่านผู้อ่านปลูกชมพู่ไว้ก่อนค่ะ ( ถ้าอยากทราบ ติดตามบทความ ‘การปลูกชมพู่’ นะคะ ) ในอดีต คนไทยนิยมปลูกชมพู่ไว้เป็นไม้ผลกินได้ที่ให้ร่มเงาในบริเวณบ้าน แต่เมื่อชมพู่เพชรบุรีเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นจึงมีเกษตรกรปลูกชมพู่เป็นการค้าเพิ่มขึ้นมาก ชมพู่หลายชนิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แล้วค่อยแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ปัจจุบัน ชมพู่พบปลูกในทุกภาคของประเทศไทยโดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และสมุทรสาคร ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยรวมของชมพู่ ลำต้น สูงประมาณ 5 ถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาลหรือเทา มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น ใบ ชมพู่ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงกันข้าม ใบหนาผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม และมักเจือด้วยสีแดงหรือม่วง ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ สีดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจจะเป็นสีขาว เหลือง ชมพูหรือแดง การออกดอกในประเทศไทยแบ่งได้เป็นรุ่น 2 รุ่นใหญ่ รุ่นแรกเริ่มประมาณเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน รุ่นที่สองเริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม […]

Read more

การดูแลชมพู่หลังการปลูก

การดูแลชมพู่ หลังการปลูก มีหลายขั้นตอนและต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในขณะที่การปลูกชมพู่นั้นง่ายนิดเดียว อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ต้องใส่ใจดูแลเป็นประจำ แต่สำหรับชมพู่แล้ว ผู้เขียนเคยสงสัยว่าทำไมจึงมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อได้รู้ถึงขั้นตอนการผลิต ก็รู้สึกได้ว่า ราคาค่าเหนื่อย ที่เทียบกับรสชาติที่อร่อยของชมพู่นั้น คุ้มค่าสมราคาจริงๆ ลองศึกษาขั้นตอนต่างๆ ดูนะคะ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือปรับใช้ในการปลูกชมพู่ ขั้นตอนการดูแลชมพู่ การให้น้ำ การวางแผนและการจัดการระบบน้ำ เป็นหัวใจสำคัญของ การดูแลชมพู่ เพราะชมพู่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมแหล่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของพืชในการออกดอกติดผล โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกเป็นหลัก ดังนี้ พื้นที่ลุ่ม ควรใช้การปลูกแบบยกร่อง โดยมีร่องน้ำกั้นระหว่างแปลงปลูก ความกว้างของแปลงที่นิยมที่สุดประมาณ 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่จะทำการให้น้ำด้วยเรือรดน้ำได้สะดวก พื้นที่ดอน ชมพู่ที่ปลูกบนพื้นที่โดยตรงด้วยระบบยกร่องลูกฟูก นิยมให้น้ำด้วยการติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ เพื่อความสะดวกในการให้น้ำ หรือระบบลากสายยางรดน้ำซึ่งลงทุนน้อยกว่าระบบสปริงเกลอร์ ส่วนระบบน้ำที่เหมาะกับการปลูกชมพู่มากที่สุด คือ ระบบมินิสปริงเกลอร์ ที่อัตราการจ่ายน้ำอย่างน้อย 150 ลิตร ต่อชั่วโมง รัศมีน้ำประมาณ 2 เมตร หรือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร หลักการให้น้ำชมพู่ที่มีประสิทธิภาพ คือ การให้น้ำแบบค่อยๆ ซึมลงไป ไม่ไหลออกนอกเขตรากมากเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนการให้น้ำในปริมาณมากและระยะสั้น […]

Read more

การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ ง่ายเหมือนปอกกล้วย แล้วทำไมจึงต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปลูก การดูแล และการป้องกันกำจัดโรคและแมลง? เพื่อการปลูกเชิงการค้าและมีปริมาณมาก จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนที่พิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การเลือกพื้นที่ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตมะละกอที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะการส่งออก ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าต้องปลอดสารเคมีในทุกขั้นตอนหากคิดจะปลูกมะละกอเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ มาดูกันนะคะ ว่าจะแบบไหนที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะละกอ? สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะละกอ พื้นที่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารต่างๆ ครบ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจนถึงดินทราย แต่ดินที่ดีที่สุดสำหรับมะละกอ คือดินร่วน หากพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทราย ควรมีการปรับปรุงดินให้มีความร่วยซุย มีการระบายน้ำที่ดี หน้าดินมีความลึกที่จะให้รากมะละกอเกาะยึดได้แน่นพอสมควร พื้นที่ที่มีหน้าดินและมีชั้นดินดานอยู่ด้านล่างในระดับตื้นๆ ไม่ควรปลูกมะละกอ เพราะจะทำการรากแผ่กระจายออกได้ยาก รากจะเกาะยึดดินได้ไม่แน่นทำให้โค่นล้มได้ง่าย และเมื่อฝนตก น้ำฝนนจะซึมลงในดินได้ยาก ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมขังได้ง่าย ในขณะที่ฤดูแล้งดินจะอุ้มน้ำได้น้อย ต้นมะละกอจะขาดน้ำ หรือมีต้นทุนในการให้น้ำสูงขึ้น ดินมีความเป็นกรดด่างประมาณ 6 ถึง 7 ไม่มีน้ำท่วมขัง มะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขัง หากถูกน้ำท่วมโคนต้นติดต่อกันนานเพียงแค่ 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจทำให้ต้นมะละกอตายได้ หากไม่ตายก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ยากมาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดจัด เพื่อให้ลำต้นมีความแข็งแรงไม่โค่นล้มง่าย และให้ผลดก เป็นพื้นที่มีอากาศถ่ายเท ช่วยเพิ่มอัตราการคายน้ำจากใบ เพื่อให้มะละกอดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น ช่วยในการผสมเกสรได้ดี […]

Read more

การขยายพันธุ์มะละกอ

การขยายพันธุ์มะละกอ สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ทั้งแบบใช้เพศ ได้แก่ การเพาะเมล็ด และแบบไม่ใช้เพศ ได้แก่ การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเนื้อเยื่อ แต่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศในการปลูกมะละกอเพื่อการค้า เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะได้รับ ส่วนขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศมักจะทำกันในกรณีที่ต้องการรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ เนื่องจากการขยายพันธุ์แบบนี้จะทำให้มะละกอไม่มีการกลายพันธุ์ และเพื่อเปลี่ยนยอดมะละกอที่มีดอกตัวผู้มีจำนวนมากเกินไป ให้เป็นต้นตัวเมียหรือต้นสมบูรณ์เพศ มือใหม่หัดปลูกมะละกอจะต้องสงสัยเรื่องเพศของมะละกออย่างแน่นอน…มีคำอธิบายค่ะ มะละกอมีปัญหาในการปลูก คือ เพศของมะละกอ โดยสังเกตได้จากดอกซึ่งสามารถแบ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ 3 เพศ 1. มะละกอต้นตัวผู้ ออกแต่ดอก ไม่ติดผล มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสายยาวประมาณ 70 ถึง 120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ การปลูกมะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง 2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลางประมาณ 5 […]

Read more

การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ

การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปลูกกาแฟแล้วค่ะ การขนส่งและจัดจำหน่ายผลผลิตกาแฟนั้นเป็นเรื่องที่ง่าย แต่การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการแปรรูปผลผลิตต้องปฏิบัติด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตให้คงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น หรือรสชาติก็ตาม ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากกว่าข้อปฏิบัติอื่นๆ ในการปลูกกาแฟ แต่อย่าลืมนะคะ ว่ากาแฟ เป็นผลผลิตที่มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิตด้วย การเก็บเกี่ยวกาแฟ กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านสภาวะความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว หลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 จากนั้นจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุกสีแดง วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกสีแดงเท่านั้น ผลผลิตในหนึ่งช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ผลกาแฟที่แก่แต่ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี ใช้วัสดุที่เป็นแผ่น เช่น ตาข่ายตาถี่ปูใต้โคนต้นแล้วเก็บเฉพาะผลที่สุกร่วงหล่นลงมาบนตาข่ายแล้ว รวบรวมผลผลิตของแต่ละต้นนำไปคัดแยกคุณภาพ ไม่ควรเก็บผลกาแฟโดยใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำ นำผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วมาคัดแยกคุณภาพ ผลกาแฟที่แก่จัดเกินไปซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หรือหล่นตามพื้น ควรถูกคัดแยกออกจากกัน จากนั้นให้นำผลกาแฟทั้งหมดออกตากแดดโดยเร็วที่สุด อายุการเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวกาแฟตามสภาพพื้นที่ มีดังนี้ ระดับความสูง 700 ถึง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล ถึง ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล ถึง ผลสุก) […]

Read more

บวบ

บวบ ไม่ว่าจะเป็น บวบเหลี่ยม บวบหอม บวบงู เมื่อนำมาประกอบอาหารแล้ว ล้วนแต่ให้ความอร่อย บวบ ที่เรานิยมรับประทานมากที่สุด ก็เห็นจะเป็น บวบเหลี่ยม เพราะนอกจากจะรสชาติหวานอร่อยแล้ว ยังมีผลผลิตให้เราได้รับประทานกันตลอดทั้งปี บวบหอม ให้ผลผลิตเฉพาะฤดูฝน ส่วนบวบงู ให้ผลผลิตมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว     ลักษณะของบวบแต่ละสายพันธุ์ บวบเหลี่ยม พันธุ์นี้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย มีทั้งพันธุ์เบาผลเล็กสั้น ขนาดยาวไม่เกิน 12 นิ้ว อายุจากวันปลูกถึงวันเก็บผลครั้งแรก 50 วัน เหมาะสำหรับปลูกรับประทานเองในสวนครัว และยังมีพันธุ์หนัก ชนิดผลยาวประมาณ 2 ถึง 3 ฟุต อายุจากวันปลูกถึงวันเก็บผลครั้งแรก 75 วัน เหมาะสำหรับปลูกเป็นการค้า บวบหอม ชนิดผลสั้น มีลักษณะกลมรี ความยาวประมาณ 5 ถึง 6 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ถึง 4 นิ้วและชนิดผลยาว ลักษณะกลมรี ความยาวของผลประมาณ 24 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ถึง […]

Read more

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

  การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด มีหลากหลายวิธีตามความสะดวกของเราที่จะนำมาใช้นะคะ แต่ก็ต้องใช้ให้ได้สัดส่วน และใช้ตามวิธีที่ผู้เขียนรวบรวมมาฝากกัน เนื่องจาก การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเป็นผลสำเร็จ สำหรับการเพาะปลูก เชื้อราไตรโคเดอร์มามีส่วนช่วยให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพได้ในทุกขั้นตอน โดยไม่เกิดผลข้างเคียงที่ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้สารเคมีในการเพาะปลูกก็ควรใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถติดตามได้ในบทความ ‘การใช้สารเคมีให้ถูกวิธี’ผู้เขียนอยากฝากไว้สักนิดนะคะว่า หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้ข้อมูล การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ผู้เขียนอยากให้ทดลองผลิตเชื้อสดด้วย เพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร….ลองดูนะคะ ขั้นตอน การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด การใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสด 1 ส่วน รำข้าวละเอียด 4 ส่วน และปุ๋ยอินทรีย์ 100 ส่วน (อัตราส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนัก) สำหรับใส่หลุมปลูก หรือใช้เชื้อสดในอัตรา 10 ถึง 20 กรัม (1 ถึง 2 ช้อนแกง) คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือหว่านลงแปลงปลูก ด้วยอัตรา 50 ถึง 100 กรัมต่อตารางเมตร ใช้ผสมรวมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าโดย ใส่ส่วนผสมของเชื้อสดและปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ผสมร่วมกับดินหรือวัสดุปลูก 4 ส่วน นำดินหรือวัสดุปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช […]

Read more
1 2 3 23