เกร็ดความรู้เรื่องมะพร้าว

เกล็ดความรู้มะพร้าว

เกล็ดความรู้เรื่องมะพร้าว จากที่ผู้เขียนเคยเกริ่นไว้ในบทความ การแปรรูปมะพร้าว ถึงการทดลองทำการแปรรูปมะพร้าว และดัดแปลงสูตรหรือกรรมวิธีต่างๆ ที่อาจต่อยอดทางธุรกิจได้ จึงอยากนำเสนอ เกร็ดความรู้เรื่องมะพร้าว ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับ เกร็ดความรู้เรื่องมะพร้าว เล็กๆ น้อยๆ และตัวอย่างการดัดแปลง คิดค้นกรรมวิธีใหม่ๆ หรือการใช้นวัตกรรมใหม่ เข้ามามีส่วนร่วม และ/หรือ เป็นส่วนสำคัญหลักในการแปรรูปมะพร้าว ซึ่งน่าจะเอื้อประโยชน์กับท่านผู้อ่านให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ให้เกิดผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่แปลกใหม่ หรือให้ประโยชน์ที่คุ้มค่า แก่ผู้บริโภค นอกเหนือจาก เกร็ดความรู้เรื่องมะพร้าว ในการแปรรูปแล้ว ยังมี เกร็ดความรู้ ในการบริโภคมะพร้าวให้ได้รับประโยชน์ตามสรรพคุณได้อย่างถูกต้อง ในตอนท้ายของบทความด้วยนะคะ มะพร้าวเผาสะดวกเปิด จากความชื่นชอบในรสชาติมะพร้าวเผา ของวิศวกรหนุ่ม คุณบรรพต เคลียพวงพิทย์ ได้เกิดความคิดในการพัฒนามะพร้าวเผาที่คงรสชาติตามธรรมชาติไว้ แต่รับประทานง่ายเหมือนเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องที่เปิดฝารับประทานได้ด้วยนิ้วเดียว แนวคิดมะพร้าวเผาสะดวกเปิดนี้ ใช้เวลานับสิบปีในการพัฒนาคิดค้น จนเกิดมะพร้าวเผาสะดวกเปิด ยี่ห้อ โคโค่ อีซี่ (Coco Easy) จากธุรกิจเล็กๆ ที่ให้รายได้เสริมจากการขายมะพร้าวเผาหลักร้อยลูกต่อวัน เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นอาชีพหลัก ผลิตมะพร้าวเผาหลักพันลูกต่อวัน และส่งออกขายต่างประเทศในปัจจุบัน เช่น จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ และได้รับรางวัลอันดับ 1 ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเชิงนวัตกรรม จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมกับได้จดสิทธิบัตรมะพร้าวเผาสะดวกเปิด มะพร้าวเผาโคโค่ อีซี่ […]

Read more

เห็ดเป็นยา ได้จริงหรือ ??

เห็ดเป็นยา

เห็ดเป็นยา หรือเห็ดที่ใช้ประโยชน์ทางยาเห็ดถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางยาเพราะมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็งและเนื้องอก ทำลายไรโบโซม มีฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันและกดภูมิคุ้มกันได้  เห็ดที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางยานั้น มีทั้งในรูปแบบเห็ดยาพื้นบ้าน ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน และยาที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน หรือ เห็ดยาทางการแพทย์ ***ข้อควรระวัง*** การบริโภคเห็ดเป็นยานั้นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการบริโภคว่าควรบริโภคแบบใดและจำนวนที่ใช้ อย่างเคร่งครัด เห็ดเป็นยาที่นิยมใช้และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน เห็ดหอม การรักษา : ควบคุมภูมิคุ้มกัน  ระงับการเจริญของเนื้องอก ต่อต้านไวรัส และแบคทีเรียปกป้องตับ  การรับประทาน : ได้ทั้งแบบสด และแห้ง ( ในรูปชา หรือซุป ) สารสกัด และเม็ด ไม่มีพิษ เห็ดหลินจือ การรักษา : กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระงับการเจริญของเนื้องอก ขับเสมหะ ตับอักเสบ ความดัน โลหิต อ่อนเพลีย การรับประทาน : แบบแห้ง สารสกัด และเม็ด มีพิษน้อยมาก เห็ดนางรม การรักษา : ระงับการเจริญของเนื้องอก ไขมันในหลอดเลือดสูง การรับประทาน […]

Read more

ทำไมเรียกผักไฮโดรโปนิกส์

ผักไฮโดรโปนิกส์

ผักไฮโดรโปนิกส์ รู้หรือไม่ว่า ?? ทำไมถึงเรียกว่า ผักไฮโดรโปนิกส์และมีกี่ประเภท ผักสลัดต่างประเทศ : ตัวอย่างพันธุ์ผักสลัด เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด บัตตาเวีย   เรดคอรัล ฟิลเล่ซ์ไอซ์เบิร์ก กรีนคอส มิซูน่าและ วอเตอร์เครlส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ระบบ NFT ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยเฉพาะในต่างประเทศ เพราะได้รับการออกแบบมาเพื่อปลูกผักทรงพุ่ม โต๊ะปลูกจะเตี้ยใช้ต้นทุนต่ำกว่าระบบอื่น แต่เกษตรกรต้องรองรับความเสี่ยงในเรื่องของไฟฟ้าดับให้ดี เพราะเมื่อไฟฟ้าดับอุณหภูมิของน้ำสารละลายธาตุอาหารสูงขึ้น ( น้ำร้อนขึ้น ) จะทำให้ผักไฮโดรโปนิกส์ตายหมด                              ผักไทย-จีน : ตัวอย่างพันธุ์ผักไทย-จีน: คะน้า กวางตุ้ง กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักบุ้งจีน ผักโขม    ป่วยเล้ง ตั้งโอ๋ ทาไข คี่นช่าย และผักชี  เหมาะกับระบบ DRFT หรือระบบที่ใช้แผ่นโฟม จะให้ผลผลิตสูง […]

Read more

เรื่องกล้วย ๆ กับกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า   กล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ประเภทใบเดี่ยว ออกลูกเป็นเครือ ขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า(เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน)ส่วนลำต้นที่อยู่บนดินเกิดจากกาบใบที่หุ้มซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อเรียกว่า ‘หัวปลี’ พบว่าเป็นพื้นบ้านแถบเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่นิยมปลูกกล้วยน้ำว้ากันมาก เนื่องจากทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ ชอบอากาศร้อนชื้น และจะให้ผลผลิตที่ดีมากในสภาวะอากาศที่ไม่แปรปรวน สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ กล้วยน้ำว้า ที่มีมานาน และชื่อเสียงโด่งดังก็คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง สายพันธุ์ที่มีการสนับสนุนให้ปลูกกันมาก คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 และสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ยักษ์ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง  (หรือ กล้วยน้ำว้าขาว) เป็นพันธุ์โบราณดั้งเดิม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและแปรรูป ใช้หน่อในการขยายพันธุ์ มีหลายชื่อให้เรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียกว่า กล้วยน้ำว้ามณีอ่อง ภาคอีสาน เรียกว่า กล้วยน้ำว้าทะนีอ่อง ภาคกลาง เรียกว่า กล้วยน้ำว้าอ่อง หรือ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ภาคใต้ เรียกว่า กล้วยน้ำว้าใต้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง เมื่อสุกมีรสชาติหวานไม่ฝาด เปลือกสีจะเหลืองทองเข้มกว่าพันธุ์อื่น เนื้อละเอียดนุ่ม ไส้ขาว ไม่มีเมล็ด แต่เวลาสุกงอม […]

Read more

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค  ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน 1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน 2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง 3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และ อื่นๆ เช่น […]

Read more

ทำความรู้จักมะพร้าว

มะพร้าว อยู่เมืองไทยไปที่ไหนก็เจอ มะพร้าว ยิ่งเวลาอากาศร้อนๆ สิ่งที่เรานึกถึงมะพร้าวได้เป็นอย่างแรกคือ การได้ดื่มน้ำมะพร้าวสด ๆ รสชาติที่หวานชื่นใจ กลิ่นหอม ช่วยคลายร้อนได้ดีมะพร้าวถูกจัดเป็นสมุนไพรที่มีธาตุเย็น มีสรรพคุณมากมายและมีประโยชน์ที่ได้จากทุกส่วนของมะพร้าว ก่อนนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์เรามารู้จักกับส่วนประกอบของมะพร้าวกันก่อนนะคะ ว่ามีอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง น้ำมะพร้าว เป็นเครื่องดื่ม หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้นมะพร้าว เนื้อมะพร้าวอ่อน เป็นส่วนผสมในขนมต่างๆ หรือแปรรูป เช่น มะพร้าวแก้ว เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก, ขูดโรยหน้าขนม กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้, ขัดพื้นบ้าน ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมากเพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า ‘สลัดเจ้าสัว’ ใยมะพร้าว นำไปใช้ทำไส้ที่นอน ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบ หรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว กะลามะพร้าว  นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว  ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว […]

Read more

ทำความรู้จักกับเห็ด

เห็ด หรือ ดอกเห็ด ถือว่าเป็นราชั้นสูงในขณะเดียวกันก็ถูกจัดว่าเป็นพืชชั้นต่ำ เพราะ เห็ด สร้างอาหารเองไม่ได้ เนื่องจากเห็ดไม่มีคลอโรฟิล หรือสารสีเขียวที่ใช้สังเคราะห์แสง  เห็ด มี หมวก อยู่ส่วนบนสุด หมวกเห็ดมีรูปร่าง ผิว และสีต่างกัน ใต้หมวก มี ครีบ เป็นแผ่นบางๆ ดอกเห็ดจะชูขึ้นด้านบนโดยมี ก้าน เป็นตัวช่วย และติดอยู่กับดอกเห็ดเป็นเนื้อเดียวกัน ข้างในหมวก และก้าน มีลักษณะเหมือนเส้นใย ที่อาจจะเปราะ เหนียว นุ่ม หรือลื่น นั่นคือ เนื้อเห็ด ระหว่างก้าน กับขอบหมวก จะมีเนื้อเยื่อบางๆ คือ วงแหวน ยึดไว้ แต่พอดอกเห็ดบานวงแหวนก็จะขาดออกจากหมวก ช่วงที่ดอกเห็ดยังอ่อนอยู่ เปลือกหรือเยื่อหุ้มดอก เห็ดจะหุ้มหมวกและก้านไว้ด้านนอกสุด พอดอกเห็ดเริ่มบานก็เริ่มปริออกตามไปด้วยแต่จะยังหุ้มโคนเห็ดไว้ไม่ปริตามเห็ดนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ด รวมทั้งคุณค่าทางอาหารของเห็ดจึงแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์คนส่วนใหญ่จะรู้จักนำ “เห็ด” มาใช้เพียงแค่ทำอาหาร แต่โดยรวมแล้วเห็ดนั้นมีคุณประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นอีกมากมาย ‘เห็ด’ เป็นยา และ เห็ด ก็ยังมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เห็ดสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? เห็ดช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการย่อยสลายสิ่งตกค้างจากพืช โดยเฉพาะมีส่วนประกอบของเซลลูโลส ลิกนิน และมูลสัตว์ให้ประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตลดปริมาณของเสียจากพืชและสัตว์โดยธรรมชาตินอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีการใช้เห็ดในการประกอบพิธีกรรมและการเฉลิมฉลอง ในปัจจุบันเห็ดได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความนิยมในการรับประทานเห็ดมีเพิ่มขึ้นตามมาเมนู […]

Read more

ความเป็นมาของการทำนาโยน

ความเป็นมาทำนาโยน

ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน ตั้งแต่อดีตมานั้น คนส่วนมากจะรู้จักวิธีการปลูกข้าว แบบทำนาดำ และนาหว่าน ซึ่งการทำนาแบบทั้งสองวิธีนั้น มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยนาดำนั้นมีข้อดี คือ ระยะห่างของต้นข้าวนั้นจะพอดีไม่เบียดกัน ทำให้ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่มีข้อเสียคือต้องใช้เวลานานในการปักดำต้นข้าว ส่วนนาหว่านนั้นใช้เวลาที่น้อยกว่าและได้ปริมาณต้นข้าวที่มากกว่าด้วยการหว่านเมล็ด แต่มีข้อเสียคือในขณะที่รอต้นข้าวเติบโตนั้นก็จะเสียเมล็ดไปกับการมาจิกกินของนก และหากฝนตกในวันที่หว่านแล้วเมล็ดข้าวก็จะลอยหายไปกับน้ำ แต่ด้วยประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่อุดมด้วยภูมิปัญญาในเรื่องการเกษตร จึงได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลลิตที่ดีออกมา ซึ่งการทำ “นาโยน” ก็ได้เป็นอีกหนึ่งวิธีใหม่ในการทำนาในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของการทำนาโยนคือ การประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องสูญเสียไปกับน้ำ ระยะห่างของต้นข้าวที่มีมากกว่าก็ทำให้ข้าวสามารถแตกกอได้ดีกว่า และการเติบโตของต้นกล้าข้าวที่โยนลงไปก็ไม่หยุดชะงักเหมือนนาดำที่ต้องปักต้นกล้า อีกทั้งยังใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่า การทำนาโยน เป็นการทำนารูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและพืชทั่วไป โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในปี 2545 ถึง 2548 และเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้าเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาด้วยวิธีอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า อายุต้นกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดีมาก ใช้แรงงานเตรียมดินเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือใช้เมล็ดเพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85% […]

Read more

มาเลี้ยงปลาในนาข้าวกัน ดีทั้งปลา ดีทั้งนาข้าว

เลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่งผลดีกับทั้งปลา ส่งผลดีกับทั้งนาข้าว เลี้ยงปลาในนาข้าว พอปลาโต ข้าวผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อให้อาหารปลา พอปลาขับถ่ายก็เป็นการช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อาหารในน้ำ ข้าวก็ได้ปุ๋ยไปด้วยทำให้เจริญเติบโตได้ดี และปลายังช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ถ้าข้าวในแปลงนาเก็บเกี่ยวตกหล่นก็ยังใช้เป็นอาหารปลาได้อีก ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลา ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งปลา ได้ประโยชน์ทั้งข้าว ดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเกษตรกรควรที่จะให้ความสนใจอย่างยิ่ง เลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นนับว่าอีกเป็นอาชีพหลักเพิ่มอย่างหนึ่งของเกษตรกรชาวนา การปรับปรุงวิธีการเลี้ยงได้ถูกพัฒนาตามหลักสากลนิยมเรื่อยมา เพื่อให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการนำมาบริโภคภายในครอบครัวอีกทั้งยังเหลือมาจำหน่ายต่อได้อีกด้วย การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นก็ต้องมีการใส่ใจ ดูแล ปลาอีกเช่นกัน ทั้งจาก ฝนฟ้าอากาศ อาหารการกิน โรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนสัตว์อื่นที่มาทำลาย ผู้เลี้ยงจึงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ปลานั้นเจริญเติบโตและมีปริมาณมาก ขณะเดียวกันความขยันอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีการศึกษาหาประสบการณ์เพิ่ม สุดท้ายคือการเฝ้าสังเกตความเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุเป้าหมาย หมายเหตุ การเลี้ยงปลาในนาข้าว จะกระทำได้ เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปี ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลา พอที่จะใช้เป็นอาหารได้ ขั้นตอนการเลี้ยงปลาในนาข้าว 1. เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา ให้มีความกว้าง 0.5 ถึง 1.5 เมตร และลึก 0.25 ถึง 0.4 เมตร นำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น […]

Read more

การทำนาโยน ช่วยประหยัดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าว

อ่าน: ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน การทำนาโยน   การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำนาโยน 1.เมล็ดพันธุ์ข้าว 2.ถาดเพาะกล้านาโยน 3.ที่โรยเมล็ดและดิน 4.สแลนสำหรับพรางแสง 5.เกรียงปาดดิน ขั้นตอนการทำนาแบบโยนกล้า เตรียมถาดเพาะกล้าพันธุ์ 1. ย่อยดินที่แห้งให้ละเอียด โดยให้เม็ดดินที่ย่อยมีขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร โดยประมาณ ดินนั้นต้องไม่มีเมล็ดข้าวและวัชพืชปนอยู่ด้วย 2. วางเรียงถาดเพาะกล้านาโยนสำหรับใส่เมล็ดพันธุ์เป็นแถวตอนยาว 3. หว่านดินที่ย่อยไว้แล้วลงไปในหลุมถาดเพาะกล้า ประมาณ 50% ของหลุม 4. หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราประมาณ 3 ถึง 4 กิโลกรัม ต่อ 50 ถึง 60 ถาด (ต่อไร่) 5. หว่านดินตามลงไปใช้เกรียงปาดดินให้เต็มเสมอปากหลุมพอดี ระวังอย่าให้ดินล้นปากหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวพันกันเวลาโยนต้นกล้า มันจะไม่กระจายตัว 6. เตรียมหน้างาน หรือลานแปลง สำหรับวางแผงถาดเพาะกล้า ให้เสร็จเรียบร้อย 7. วางแผงถาดเพาะกล้าลงบนหน้างาน หรือลานแปลง 8. ให้น้ำแล้วนำสแลนมาคลุม จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้า กลางวัน เย็น (ถ้าหากฝนไม่ตก) โดยจะต้องรดทุกวันจนกว่าข้าวจะขึ้นและยาวพอที่จะได้เวลาหว่าน โดยจะต้องหยุดให้น้ำก่อนวันที่นำไปหว่านประมาณ 2 […]

Read more
1 20 21 22 23