การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

ป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา–เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ของเชื้อราโรคพืช ช่วยยังยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการขยายพันธุ์ ด้วยกลไก 3 ประการ คือ การทำลายโดยตรง การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต การสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคชนิดอื่น นอกจากนี้ การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มายังช่วยกระตุ้นให้ผักไฮโดรโปนิกส์สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช กระตุ้นให้รากผักเจริญเติบโตดีขึ้น ทำให้รากยาวและแข็งแรง และเมื่ออยู่ในดินจะสร้างสารที่ไปละลายธาตุอาหารในเม็ดหิน และดิน ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อผักไฮโดรโปนิกส์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินทั่วไป มีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืช โดยมุ่งเน้นไปที่เชื้อราโรคพืชที่เกิดจากดิน พบว่าสามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้ดีหลายชนิด เช่น เชื้อไฟทอบธอร่า, พิเทียม, ฟิวซาเรียม, สเครอโรเทียม, ไรช็อคโทเนีย เป็นต้น ซึ่งเชื้อราเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า โรคกล้าเน่าหรือกล้ายุบ โรคเน่าระดับดิน โรคเหี่ยวในพืชตระกูลพริก โรคถอดฝักดาบของข้าว เป็นต้น ปัจจุบันพบว่า นอกจากจะเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินแล้ว ยังสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชในส่วนต่างๆ ของพืชที่อยู่เหนือดินได้ดีเช่นกัน เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น และมีแนวโน้มที่จะมีผลไปกระตุ้นให้ผักไฮโดรโปนิกส์มีความต้านทานต่อเชื้อไวรัสโรคพืชได้อีกด้วย จึงนับว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับการป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อน เหมือนกับชีวภัณฑ์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาใช้ทั้งในด้านป้องกันและรักษาโรค โดยมีวิธีการใช้ […]

Read more

การแปรรูปเห็ดกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

แปรรูปเห็ดกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

การแปรรูปเห็ด การแปรรูปเห็ด นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารคาว อาหารหวาน เครื่องดื่ม ยารักษาโรคแล้ว ในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เห็ดก็ทำรายได้ได้ดีไม่แพ้กัน เห็ดกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การแปรรูปเห็ด ในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหาร แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สำเร็จรูป เห็ดกระป๋อง เห็ดแห้ง เห็ดแช่แข็ง กึ่งสำเร็จรูป เห็ดดองเกลือ รูปแบบ การแปรรูปเห็ด 1. แช่แข็ง Freezing 2. กระป๋อง Sterilization 3. ทำแห้ง Drying 4. ดอง Pickle คุณสมบัติของดอกเห็ดที่ใช้ในการแปรรูป 1. ดอกเห็ดที่สมบูรณ์เนื้อของดอกเห็ดแน่น 2. ดอกเห็ดสะอาดไม่มีเศษวัสดุอื่นปลอมปน 3. ดอกเห็ดไม่ถูกทำลายโดยแมลงและโรค การทำลายความหนาแน่นของจุลินทรีย์และน้ำย่อย 1. นำเห็ดที่ต้องการมาล้างในน้ำที่สะอาดเอาเศษวัสดุต่างๆที่อาจติดมากับดอกเห็ดออก 2. นำเห็ดมาลวกหรือนึ่งในน้ำร้อนอุณหภูมิ 85 – 90 องศาเซลเซียสซึ่งปกติจะใช่วิธีนึ่งเพราะจะทำให้สูญเสียคุณภาพทางอาหารน้อยกว่าและทำได้ในปริมาณที่มากกว่า ส่วนน้ำที่ใช้ต้มทั้งลวกโดยตรง หรือแบบนึ่งควรเติมกรดที่ช่วยลดปฏิบัติการใช้ออกซิเจนของเซล เช่น กรดน้ำมะนาว หรือกรด วิตามินซี […]

Read more

ประโยชน์ของเห็ดและคุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด

ประโยชน์ของเห็ด

รูปจาก : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์  สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ประโยชน์ของเห็ด และคุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด ประโยชน์ของเห็ด ที่ถูกนำมาใช้นั้น ผู้บริโภคจะได้รับเต็มที่หรือไม่เต็มที่ ขึ้นอยู่กับวิธีที่นำมาใช้ เช่น การปรุงอาหาร เห็ดแต่ละชนิดมีวิธีรับประทานให้ได้ผลตามสรรพคุณต่างกัน บางชนิดอาจถูกลดสรรพคุณลงด้วยความร้อน ส่วนการนำมาสกัดเป็นยา ก็ต้องทำให้ถูกวิธีเช่นกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลในบทความนี้แล้ว ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลได้ในบทความ การเพาะเห็ดถั่งเช่า เห็ดเป็นยา ราคาแพง, เห็ดเป็นยา, การแปรรูปเห็ด แล้วเราก็จะได้นำเห็ดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี ส่วนใหญ่เรามักจะคิดกันว่า ประโยชน์ของเห็ด คือใช้เป็นอาหาร และยา แต่เห็ดมีคุณสมบัติอื่นๆ มากกว่านั้น และจะว่าไปแล้ว เห็ดที่เคยถูกจัดให้เป็นเพียงพืชชั้นต่ำนั้น กลับเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมากทีเดียว…คุณเคยทราบมาก่อนหรือไม่ ว่าเห็ด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยังไง?–อ่านต่อนะคะ จะได้ทราบว่า เห็ดที่รูปร่างหน้าตาน่ารัก น่ากิน มีคุณประโยชน์ที่น่ารักอะไรอย่างอื่นอีก? คุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด เห็ดช่วยอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้เพื่อการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ และ การขจัดสารปนเปื้อนด้วยเห็ด: เห็ดถูกนำมาใช้ในวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเพื่อกำจัดของเสีย เป็นรูปแบบการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพในการขจัดสารปนเปื้อน ลดมลพิษ และจุลินทรีย์ รวมทั้งกรองพิษในน้ำและในดิน เห็ด ช่วยในการฟื้นฟูทางระบบนิเวศ เห็ดช่วยทำความสะอาดดินและน้ำที่ปนเปื้อน กำจัดของเสียจากครัวเรือน ใช้เห็ดต่างๆ ดักจับสิ่งปฏิกูลในน้ำ […]

Read more

สูตรการแปรรูปเห็ดและผลิตภัณฑ์เห็ด

  สูตรการแปรรูปเห็ด  และผลิตภัณฑ์เห็ด ด้วยความหลากหลายของสายพันธุ์เห็ด และคุณประโยชน์ที่มีมากมาย ทำให้เห็ดได้รับความนิยมนำมาบริโภคกันมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบการรับประทานสด ปรุงสุก และผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปต่างๆ สูตรการแปรรูปเห็ด ที่นำเสนอเหล่านี้ ผู้เขียนได้พยายามสืบค้นและรวบรวม สูตรการแปรรูปเห็ด  ซึ่งมีอยุ่มากมายและมีความแตกต่างกัน–พูดง่ายๆ ว่าแล้วแต่รสนิยมของเจ้าของสูตร และขอขอบคุณทุกๆ สูตรการแปรรูปเห็ด ที่ได้รวบรวมมาไว้ในบล็อคเพื่อเป็นประโยชน์ให้มากที่สุด สามารถนำไปดัดแปลงให้ถูกปาก ได้รสชาติตามความต้องการของผู้อ่าน หรือถ้าหากจะยังประโยชน์ให้ไปต่อยอดทางธุรกิจได้ก็ยิ่งดี ผลิตภัณฑ์อาหารคาว เห็ดฟางดอง เห็ดตระกูลนางรมในน้ำเกลือบรรจุในขวดแก้ว เห็ดดองน้ำมันพืช เห็ดดองน้ำปลา เห็ดสวรรค์      ลูกชิ้นเห็ดหอม แหนมเห็ด แหนมเห็ดโคนญี่ปุ่น น้ำพริกเผาเห็ดหอม น้ำพริกเห็ด น้ำพริกนรกเห็ด น้ำพริกหนุ่ม      น้ำพริกเห็ดอบสมุนไพร น้ำพริกตาแดงเห็ด น้ำพริกอ่องเห็ดหอมเจ น้ำพริกป่นเห็ดหอมเจ ข้าวเกรียบเห็ดดิบ ข้าวเกรียบเห็ด หมูยอเห็ด ไส้อั่วเห็ด กุนเชียงเห็ดหอม เห็ดจ๊อ บอลเห็ด ไส้กรอกเห็ดนางฟ้าทอดมันเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าสามรส เห็ดนางฟ้าแดดเดียว เห็ดหยอง เห็ดเค็มป่น เห็ดแผ่น เห็ดกรอบสมุนไพร เห็ดแห้ง เห็ดหลินจืออบแห้ง เห็ดผง ซอสเห็ด […]

Read more

ปัญหาของเห็ดถุงกับการผลิตดอกเห็ด

ปัญหาของเห็ดถุง

ปัญหาของเห็ดถุง ปัญหาของเห็ดถุง เกิดขึ้นได้ไม่ยากเลย หากเกษตรกรหรือผู้ลงทุนละเลย ไม่ดูแลเอาใจใส่ตามที่ควรจะปฏิบัติ ในแง่ของธรรมชาติ เห็ด สามารถเจริญเติบโตได้เอง แต่เมื่อเรานำเห็ดมาเพาะ เห็ดจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องมีการดูแลรักษาเหมือนเห็ดที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ปัญหาของเห็ดถุง ไม่ได้มีเพียง โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด, แมลงและศัตรูของเห็ด การป้องกัน การกำจัด ศัตรูเห็ด เท่านั้น ยังมีปัญหา และความเสียหายอื่นๆ ที่ทำให้เห็ดไม่สามารถผลิตดอกเห็ดออกมาได้ เกษตรกรและผู้ลงทุนควรศึกษา และตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิด พร้อมทั้งหาทางป้องกัน และแก้ไขให้ถูกวิธี เพื่อให้เห็ดผลิตดอกออกมาคุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาของเห็ดถุง ในการทำเชื้อเห็ด: 1. เชื้อเห็ดไม่เจริญ สาเหตุอาจเกิดจาก หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ มีก๊าซแอมโมเนียเหลืออยู่ ความชื้นในขี้เลื่อยสูงเกินไป อากาศในห้องบ่มเย็นเกินไป เป็นต้น 2. เชื้อเห็ดเสียเนื่องจากมีเชื้ออื่นปนเปื้อน สาเหตุอาจเกิดจากอุณหภูมิของหม้อนึ่งต่ำเกินไป ผสมไม่ได้ที่ ถุงพลาสติก รั่ว มีรู อาจจะนำพาเชื้อโรคได้ หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น 3. เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด หรือเดินเพียงบาง ๆ เนื่องจากขี้เลื่อยหมักไม่ได้ที่ ทำให้มีกลิ่นแอมโมเนียเหลืออยู่ มีสารที่เป็นพิษเจือติดอยู่ เช่น น้ำยางจากขี้เลื่อย น้ำมัน ผงซักฟอก อุณหภูมิในห้องบ่มต่ำเกินไป อาหารเสริมเปียกเกินไป หรือความชื้นในอาหารเสริมไม่สม่ำเสมอ […]

Read more

การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำกับวัสดุเพาะในท้องถิ่น

การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำ กับวัสดุเพาะในท้องถิ่น การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำ สามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมในปัจจุบันคือ การเลือกใช้วัสดุเพาะที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ก่อนนี้มีเพียงขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ในปัจจุบันมีการนำวัสดุอื่นๆ มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ฝักถั่วเขียว ผักตบชวา ทะลายปาล์ม เป็นต้น วัสดุที่ยกตัวอย่างข้างต้น เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับเพาะเห็ดฟาง ส่วนวิธีการเพาะผู้ลงทุนหรือเกษตรกรสามารถเลือกเพาะแบบกองเตี้ย กองสูง ในโรงเรือน ในตะกร้า หรืออื่นๆ ได้ตามปัจจัยด้านการลงทุน ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และความถนัด ซึ่งวิธีเพาะเห็ดฟางมีแนะนำขั้นตอนต่างๆ ในบทความ การเพาะเห็ดฟาง สำหรับมือใหม่, การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือน หรือเชิงธุรกิจ (ซึ่งรวมไปถึง วิธีการเพาะเชื้อเห็ดฟาง และเห็ดอื่นๆ ให้ได้ศึกษาหากต้องการขยายธุรกิจจากการผลิตดอกเห็ด ควบคู่ไปกับการเพาะเชื้อเพื่อเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ด) การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำ ด้วยเปลือกฝักถั่วเขียว วัสดุในการเพาะ 1. เชื้อเห็ดฟาง หมายถึง เส้นใยเห็ดฟางที่เจริญเติบโตในปุ๋ยหมักที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี แล้วสามารถที่จะนำไปเพาะได้เลย ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังมีแผ่นไม้กดใช้สำหรับกดเปลือกถั่วเขียว เพื่อความสะดวกในการทำกองเพาะ โดยใช้ไม้แผ่นขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร และมีไม้สำหรับทำด้ามจับลักษณะคล้ายเกรียงฉาบปูน 2. เปลือกถั่วเขียว ควรเลือกเปลือกของฝักถั่วเขียวที่มีลักษณะป่นเล็กน้อยหลังจากนวดเอาเมล็ดออกแล้วและต้องแห้งไม่ถูกน้ำหรือฝนจนกว่าจะนำมาเพาะเห็ดฟาง 3. สถานที่ ควรเป็นที่ดอน […]

Read more

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนหรือเชิงธุรกิจ

โรงเรือนเพาะเห็ดฟาง

การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในการเพาะเห็ดมาก่อน เช่น เคยทดลองเพาะเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งมีอยู่หลายวิธีให้เลือกทดลองเพาะตามที่เคย แนะนำไว้ใน การเพาะเห็ดฟาง สำหรับมือใหม่ ก่อนที่จะขยายการผลิตมาเป็น การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือน หรือเชิงธุรกิจนั้น เราลองมาศึกษาข้อดีข้อเสียของ การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือนกันก่อน ข้อดี 1. ให้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอ 2. สามารถใช้วัสดุที่มีราคาถูก ส่วนมากเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่น ดินถั่วต่าง ๆ โดยใช้ดินถั่วเหลืองและถั่วลิสง ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวา ต้นกล้วยและชานอ้อย เป็นต้น 3. เพาะได้ทุกฤดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูหนาวหรือฤดูฝน วิธีนี้เหมาะสม เป็นอย่างมาก 4. เพาะได้ในพื้นที่จำกัดกล่าวคือ หลังจากเก็บผลผลิตหมดและเอาปุ๋ย เก่าออกไปแล้ว สามารถเพาะต่อในที่เดิมได้เลย ภายใน 1 เดือน จะเพาะได้ 2 ครั้ง 5. ใช้เวลาในการเพาะนับตั้งแต่เริ่มหมักปุ๋ย จนกระทั่งเก็บดอกใช้เวลาไม่ เกิน 15 วัน ซึ่งนับว่าใช้ระยะเวลาสั้นมาก 6. ปัญหาเรื่องแมลงศัตรูเห็ดมีน้อยกว่า เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย […]

Read more

โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด

โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด โรคและปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกเห็ดถุงหรือเห็ดฟางขาย คือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใยเห็ด การเกิดแบคทีเรียสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด ปัญหา และโรคต่างๆ อาจเกิดจากความสะอาด กระบวนการเพาะ วัสดุที่นำมาใช้ในการเพาะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะทำให้มีพิษตกค้างในเห็ด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในปัจจุบันหลายได้มีการใช้จุลินทรีย์มาแก้ปัญหา ซึ่งนับว่าได้ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ กำจัดหนอนของแมลง โรคและปัญหาที่สำคัญของการเพาะเห็ดฟาง 1. โรค ราเม็ดผักกาด โรคนี้มักเกิดกับกองเห็ดฟางที่ใช้ฟางเก่าเก็บค้างปี ตากแดดตากฝนมาก่อน ส่วนใหญ่ โรคราเม็ดผักกาดนี้มักเกิดกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ลักษณะที่สังเกตเห็นคือเส้นใยของเชื้อรามีลักษณะหนากว่าเส้นใยของเห็ดฟาง โรค จะเริ่มเกิดขึ้นได้ในวันที่ 3 หรือ 4ของการเพาะและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาจะเกิดเส้นใยแผ่ขยายออกไป มีลักษณะเป็นวงกลม เมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้นจะสร้างส่วนขยายพันธุ์รูปร่างกลมมีสีขาวเมื่ออ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ลักษณะคล้ายคลึงกับเมล็ดผักกาด จึงได้ชื่อว่า ราเม็ดผักกาด–ทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ทำให้ดอกเห็ดอ่อนมีลักษณะนิ่มกว่าดอกปกติ 2. โรค ราเขียว โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา 3 ชนิด เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินหรืออยู่ในอากาศก็ได้ เมื่อดินหรือวัสดุเพาะมีความชื้น เชื้อราจะเริ่มเจริญขึ้นที่ดินและเจริญต่อไปถึงขี้ฝ้ายและฟางข้าว ราเขียวเป็นราประเภทสร้างสปอร์มากและมีขนาดเล็กปลิวได้ในอากาศ เชื้อราเขียวเหล่านี้เป็นเชื้อราแข่งขันหรือราคู่ของเชื้อเห็ดฟาง โรคนี้จะทำให้เห็ดฟางเจริญไม่ทัน นอกจากนี้โรคราเขียวยังทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ด้วย […]

Read more

อาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ด้วยโปรตีนจากไส้เดือนดินและวิธีการผลิต

โปรตีนจากไส้เดือน

ประโยชน์จากไส้เดือนดินนั้น ใช่ว่าจะนำมาย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักเท่านั้น แต่โปรตีนจากไส้เดือนดินสามารถใช้เป็น อาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะอุดมไปด้วยกรดอะมิโน และสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ หลายชนิดในเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินเหมาะสมแก่การเลี้ยงสัตว์ ปลา กบ สัตว์ปีก สุกร หนู มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีมากหากนำไส้เดือนดินหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไส้เดือนดินมาเป็นอาหารเสริม แต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ส่วนใหญ่นำตัวไส้เดือนดินมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงกบ ปลาตู้ ไก่ชน และเป็นเหยื่อตกปลา ในขณะที่ ต่างประเทศมีการใช้ไส้เดือนดินผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ในช่วงท้ายของบทความนี้ได้แนะนำวิธีการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดินไว้ด้วยนะคะ ศึกษาวิธีการและทดลองทำดูนะคะ ท่านผู้อ่านสามารถพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้ การใช้โปรตีนจากไส้เดือนดินเป็นโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ปลา การใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทเก้อร์ (หรือ อายซิเนีย ฟูทิดา-Eisenia Foetida), เรดเวิร์ม (หรือ ลัมบริคัส รูเบลลัส- Lumbricusrebellus) และอายซิเนีย ฟูทิดา อัลโลโบโพร่า ลองก้า (Eisenia Foetida Allobophora Longa) เลี้ยงปลาเทราท์ ปลานิล ปลาหลด ฯลฯ ได้ผลออกมาว่า ไส้เดือนดินมีศักยภาพเป็นอาหารเลี้ยงปลาได้โดยตรง หรือใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มโปรตีนใน อาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ สำหรับปลา ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น การทดลองใช้ไส้เดือนดินเป็นอาหาร ในการเพาะเลี้ยงปลาหลด (ผ.ศ. หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง […]

Read more

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และปัญหาจากการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก      จะเป็นกลุ่มไส้เดือนดินแดง เพราะไส้เดือนดินกลุ่มนี้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุสูง และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่วนไส้เดือนดินกลุ่มสีเทานั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ย เพราะไม่สามารถผลิตอินทรียวัตถุในปริมาณมากได้ และมีการขยายพันธุ์ในอัตราที่ต่ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุที่เป็นของเสีย การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก      จะเป็นกลุ่มไส้เดือนดินแดง เพราะไส้เดือนดินกลุ่มนี้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุสูง และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่วนไส้เดือนดินกลุ่มสีเทานั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ย เพราะไม่สามารถผลิตอินทรียวัตถุในปริมาณมากได้ และมีการขยายพันธุ์ในอัตราที่ต่ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุที่เป็นของเสีย ไส้เดือนดินจะกินจุลินทรีย์ที่เติบโตบนของเสียเป็นอาหาร และขณะเดียวกันก็ช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ มูลไส้เดือนดินจึงร่วนไม่เกาะตัว และมีจำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นกว่าที่กินเข้าไป ขบวนการย่อยอาหารของไส้เดือนดินจึงเป็นพื้นฐานของขบวนการทำปุ๋ยหมัก ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ได้ผลสำเร็จมีไม่กี่สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ไทเก้อร์, เรด ไทเก้อร์, แอฟฟริกัน ครอว์เล่อร์ เป็นต้น วิธีการใช้ปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน กับวัสดุปลูกพืชในกระถาง-แปลงปลูก วิธีที่ 1 ดินดำ 3 ส่วน ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน วิธีที่ 2 ดินร่วนปนทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน วิธีที่ 3 ดินดำ 3 ส่วน […]

Read more
1 16 17 18 19 20 23