ลักษณะและชนิดของดาวเรือง

ลักษณะและชนิดของดาวเรือง

ชื่อสามัญ : Marigold ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L. คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ) บ่วงสิ่วเก็ก เฉาหู้ยัง กิมเก็ก (จีน) ดาวเรืองนิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆ อีกหลายพันธุ์ ลักษณะทั่วไป ต้นดาวเรือง เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศแม็กซิโก ดาวเรืองจัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุได้รวมประมาณ 1 ปี ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร ดาวเรืองจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก (แต่อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า) เจริญเติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ลำต้นดาวเรือง ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน ใบดาวเรือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่ ออกเรียงตรงกันข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ […]

Read more

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด โดยธรรมชาติแล้ว เห็ด สามารถเกิดและเจริญเติบโตได้เอง คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมเราจึงต้องมีการเพาะเห็ด? เพราะคุณประโยชน์ของเห็ดเป็นตัวผลักดันให้ เห็ด กลายเป็นพืชผักเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้คนนิยมบริโภคเห็ดกันมากขึ้น ทั้งในรูปแบบอาหาร และยาสมุนไพร จึงได้มีการพัฒนาเชิงวิชาการผสมผสานกับหลักธรรมชาติของเห็ด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และมีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุด เริ่มต้นเพาะเห็ด อย่างไรดี? ถ้าเราสนใจเพาะเห็ดไว้บริโภคในครัวเรือน หรือ คิดไปไกลกว่านั้น คือ เพาะเห็ดเป็นธุรกิจ แต่ไม่มีประสบการณ์ ควรเริ่มต้นจาก…ซื้อก้อนเชื้อสำเร็จรูปมาทดลองดูก่อน ก้อนเชื้อเห็ดสำเร็จรูปที่ว่านี้ มีการหยอดเชื้อมาแล้ว แค่เพียงรดน้ำให้เห็ดออกดอกก็นำมาปรุงอาหารรับประทานได้เลย เมื่อมีประสบการณ์ตรงนี้แล้ว ค่อยเพิ่มจำนวนและศึกษาวิธีการเพาะ เมื่อมีความชำนาญขึ้น จึงเริ่มลงทุนผลิตก้อนเชื้อ พัฒนาคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น แต่การเพาะเห็ดนั้น นอกจากความรู้ความสนใจที่ผู้ลงทุนมีแล้ว ยังต้องมีความอดทน มีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจาก การเพาะเห็ด ที่คุ้มค่ากับการลงทุน ขั้นตอนแรกของ การเพาะเห็ด ต้องเริ่มจาก…..ทำความรู้จักกับ เห็ด ก่อนที่จะเริ่มทำการเพาะเห็ด ผู้อ่านสามารถทำความรู้จักกับ เห็ด ว่าเห็ดที่รับประทานได้มีอะไรบ้าง เห็ดมีคุณประโยชน์อะไรบ้าง มีโทษอะไรบ้าง จากบทความเรื่อง เห็ด เห็ดเป็นยา หรือ คุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด จากนั้นก็เลือกชนิดเห็ด—ง่ายที่สุด คือ […]

Read more

แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า

แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า

แมลงศัตรูพืช ของกล้วยน้ำว้า มีอยู่หลายชนิด และนี่ก็คือสาเหตุที่ผู้เขียนได้เน้นย้ำไว้ในบทความ การดูแลกล้วยน้ำว้า, โรคของกล้วยน้ำว้า, การปลูกกล้วยน้ำว้า, การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า ไว้ว่า ไม่ควรปล่อยปละละเลยกล้วยน้ำว้า รสชาติที่แสนอร่อยของกล้วย ไม่ว่าจะเป็นปลี หรือผล ที่ถูกปากคนทั่วไป ก็คงดึงดูด แมลงศัตรูพืช ชนิดต่างๆ ได้มากเช่นกัน แต่ แมลงศัตรูพืช ไม่ได้ชอบลิ้มลองแค่ปลี และผลกล้วยเท่านั้น แต่สามารถทำลายล้างได้ทุกส่วนของกล้วยเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตัวเล็กฤทธิ์เยอะกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง? มีความสามารถอะไรบ้าง? และจะกำจัดกันอย่างไร? ด้วง 1. ด้วงงวงไชเหง้า ด้วงชนิดนี้ ระยะที่เป็นตัวหนอนทำความเสียหายแก่ต้นกล้วยน้ำว้ามากกว่าตัวแก่ ตัวหนอนจะเจาะกินไชเหง้ากล้วยใต้ระดับโคนต้น โดยไม่ทิ้งร่องร่อยที่ชัดเจนนัก ทำลายและหยุดระบบส่งน้ำ ส่งอาหารไปเลี้ยงลำต้น เมื่อเป็นมากๆ แม้จะมีหนอนเพียง 5 ตัวในหนึ่งเหง้า ก็สามารถไชเข้าไปทำลายกล้วยให้ตายได้ พบการทำลายได้ทุกระยะ ตั้งแต่หน่อไปถึงต้นแก่ ภายหลังตัดเครือแล้ว เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าเป็นดักแด้จนเป็นตัวแก่ออกมานอกเหง้า แถวโคนต้นในระดับชิดผิวดินหรือต่ำกว่าเล็กน้อย หรือรอผสมพันธุ์กันต่อไป การป้องกันและกำจัด ทำความสะอาดสวน กำจัดเศษชิ้นส่วนของต้นกล้วย กาบกล้วยไม่ให้เน่าเปื่อย ชื้นแฉะบริเวณโคนต้นไม่ให้เป็นที่วางไข่ ตัดต้นกล้วยเป็นท่อนๆ วางสุมเป็นจุดในสวน ล่อให้แมลงมาวางไข่ ประมาณ 7 วันต่อครั้ง เปิดตรวจดูช่วงเวลากลางวัน ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ให้ทำลาย […]

Read more

สายพันธุ์มะพร้าว

สายพันธุ์มะพร้าว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ สายพันธุ์มะพร้าว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามะพร้าวมีถิ่นกำเนิดมาจากที่ไหน แต่ส่วนใหญ่มะพร้าวจะเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคในประเทศเขตร้อน และกึ่งร้อน แม้ว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศอันดับหนึ่งในการผลิตมะพร้าวเหมือนอย่างอินโดนีเซีย แต่มะพร้าวก็เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและนำมาใช้ประโยชน์กันมากสำหรับคนไทย สายพันธุ์มะพร้าว มีอยู่ไม่น้อย เช่น มะพร้าวไฟ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวซอ มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงทอง มะพร้าวสีสุก มะพร้าวพันธุ์สวี มะพร้าวพันธุ์ชุมพร มะพร้าวพันธุ์ก้นจีบหรือพันธุ์อ่างทอง มะพร้าวน้ำหอมสามพราน มะพร้าวพันธุ์หมูสีเขียว การที่มีหลาย สายพันธุ์มะพร้าว ในประเทศไทย เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ มะพร้าว มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม เพราะเป็นไม้ยืนต้นในตระกูลปาล์มนั่นเอง มะพร้าวมีรากฝอยขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น ลักษณะใบจะเหมือนขนนก แต่ละท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการนำมะพร้าวมาใช้เป็นสมุนไพร ด้วยสรรพคุณทางยาที่มีมากมาย (ติดตามบทความ มะพร้าว เพื่อศึกษาสรรพคุณของมะพร้าว และประโยชน์ พร้อมทั้งวิธีใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากมะพร้าวได้ถูกต้อง) หลายท้องถิ่นเรียกมะพร้าวต่างไป เช่น จันทบุรี เรียกมะพร้าวว่า ดุง, กาญจนบุรี เรียกมะพร้าวว่า โพล, แม่ฮ่องสอน เรียกมะพร้าวว่า คอส่า บางท้องถิ่น เรียก หมากอุ๋น, […]

Read more

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก เป็น 1 ใน 3 ชนิด ของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากซากเศษพืช หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหมักและให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ย อ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลปนดำ ปุ๋ยหมัก มีประโยชน์ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการเกษตร 1.ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ในน้ำและดิน 2.ช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น 3.ช่วยให้ซากต่างๆ (อินทรียวัตถุ) ในดินย่อยสลายเป็นอาหารให้พืชดูดซึมไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก 4.เร่งให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง 5.สร้างฮอร์โมนให้พืชได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี 6.ผลผลิตที่ได้จากพืชที่ใส่ปุ๋ยหมักจะเก็บรักษาไว้ได้นาน ด้านปศุสัตว์ 1.ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ เช่น ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชั่วโมง 2.ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ ภายใน 1-2 สัปดาห์ 3.ป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ได้ 4.ตัดวงจรชีวิตหนอนแมลงวัน ไม่ให้เป็นตัวแมลงวันได้ 5.สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรค อัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตสูง ด้านการประมง 1.ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2.แก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำได้ 3.รักษาโรคแผลต่างๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 4.เลนในบ่อจะไม่เน่าเหม็น นำเลนไปผสมเป็นปุ๋ยหมักได้ดี ด้านสิ่งแวดล้อม […]

Read more

การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกอง

ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง

การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกองวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นผลการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2552 เกิดนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี ปริมาณมากครั้งละ 10-100 ตัน มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วัน ด้วยกรรมวิธี การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ แบบไม่กลับกอง เรียกว่า ‘วิศวกรรมแม่โจ้1’ การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ ไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น น้ำไม่เสีย ใช้วัตถุดิบมีเพียงเศษพืช กับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น ส่วนผสม เศษพืช : ฟางข้าว เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักตบชวา 4 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน เศษใบไม้ 3 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน วิธีทำ 1.นำฟางข้าว หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน กองเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.50 […]

Read more

การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และประหยัดต้นทุนการทำปุ๋ยหมัก ควรเลือก การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น คำว่าวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าในสวน ในบริเวณบ้านของเราจะมีวัสดุเหลือใช้ชนิดใด ก็สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ทั้งนั้น อาจจะทำไว้ใช้ในครัวเรือน เรือกสวนไร่นาของตัวเอง หรือจำหน่ายเสริมรายได้ ซึ่งไม่ต้องลงทุนมาก ตัวอย่างเช่น ทำสวนลำไย ก็ใช้กิ่งและใบลำไยมาทำปุ๋ยหมัก หรือ กิ่งและใบไม้อื่นๆ ก็นำมาผสมปนเปกันได้ ข้อมูล การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ในบทความนี้ ได้มาจากประสบการณ์ตรงของเกษตรกร โดยผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาจาก หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาต ศรีสะอาด หรือ ถ้าเกษตรกรอยู่ใกล้พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเศษวัสดุเหลือใช้ ที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ สามารถศึกษาสูตรการทำปุ๋ยหมักเพิ่มเติมจากบทความ เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก ด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม สูตรการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น มีดังนี้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย ของ คุณดำรงค์ จินะภาศ นายกเทศมนตรีดำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้คิดพัฒนาวิธีการทำให้ต้นไม้สมบูรณ์ขึ้น โดยใช้วัสดุเหลือใช้อย่างกิ่งและใบลำไย จนได้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย โดยมีรายละเอียดดังนี้ การทำปุ๋ยหมักใต้โคนต้น ส่วนผสม 1.กิ่งและใบลำไย 100-200 กิโลกรัม รัศมี 6 เมตร (ปริมาณที่ได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการตัดแต่งกิ่ง) หรือเศษพืชอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น 2.ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ต่อต้น (สำหรับต้นใหญ่ […]

Read more

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมักและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน ปุ๋ยหมักจะถูกใช้ประโยชน์ได้ดี ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดี บทความนี้ ไม่ได้นำเสนอเพียง การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เท่านั้น แต่ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลังการทำกองปุ๋ยแล้ว ติดตามรายละเอียดนะคะ การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก 1.ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่ารดโชกเกินไป การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดี จะมีกลิ่นเหม็นอับ 2.ตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการใช้มือล้วงลงไปในกองปุ๋ย แล้วหยิบเศษวัสดุออกมาบีบหรือขยำว่ามีน้ำเปียกที่มือ แสดงว่ามีความชื้นมากเกินไป 3.ป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ทำลายกองปุ๋ยหมัก ปัญหานี้จะเกิดกับกองปุ๋ยหมักที่ไม่มีคอก ควรหาวัสดุสิ่งของมาวางกันกองปุ๋ยหมักไว้ 4.การพลิกกลับกองปุ๋ย สำหรับกองปุ๋ยแบบกลับกอง ต้องหมั่นพลิกให้ออกซิเจนและระบายความร้อนให้กองปุ๋ย จะได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น สำหรับกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง ให้ทำช่องระบายอากาศไว้ ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้ พิจารณาลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1.ลักษณะของเศษวัสดุ—นุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งเหมือนช่วงแรก 2.สีของเศษวัสดุ—เมื่อเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์เศษวัสดุจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำ 3.กลิ่น—ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ต้องไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ ถ้ามี แสดงว่าเศษวัสดุยังย่อยสลายไม่สมบูรณ์ กลิ่นควรคล้ายกับกลิ่นดิน 4.ความร้อน หรืออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก—จะลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆ กอง แต่ควรระวังเรื่องความชื้น ถ้าน้อยหรือมากเกินไป อุณหภูมิในกองก็ลดลงได้เช่นกัน 5.หญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก—แสดงว่าไม่เป็นอันตรายต่อพืช นำไปใช้ได้ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เรานำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์ตามชนิดของพืช เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารไม่เท่ากัน ผู้เขียนได้นำข้อมูล การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก จากหนังสือ : นวัตกรรมปุ๋ยหมัก […]

Read more

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก ที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมานี้ เป็นสูตรการทำปุ๋ยหมักที่ใช้วัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของแต่ละคน ประหยัดต้นทุน และยังช่วยลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย อาทิ เช่น การนำผักตบชวามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดวัชพืชน้ำ, การนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ท่านที่สนใจการทำปุ๋ยหมัก ลองศึกษา สูตรปุ๋ยหมัก เหล่านี้ดูนะคะ แล้วพิจารณาดูว่าวัสดุในท้องถิ่น หรือใกล้บ้านเรามีอะไรที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้บ้าง สูตรปุ๋ยหมัก มีดังนี้ : ปุ๋ยหมักผักตบชวา—ถึงแม้ว้าผักตบชวาจะมีข้อเสีย คือ แพร่พันธุ์ได้เร็วมากก็ตาม แต่ผักตบชวามีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชบนดินทุกชนิด โดยเฉพาะ ธาตุโปแตสเซียมสูง รองลงมาคือ ธาตุไนโตรเจน และ ธาตุฟอสฟอรัส, ยังช่วยป้องกันวัชพืชให้กับพืชบนดินได้, เปลี่ยนดินเหนียวและดินทรายเป็นดินร่วน, ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น, รักษาความชุ่มชื้นและถ่ายเทอากาศในดินได้ดี, ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี, ช่วยพืชละลายธาตุอาหารบางอย่างให้ง่ายขึ้น, ไม่เป็นอันตรายต่อดิน ผักตบชวาที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง ซึ่งแบบสดมีข้อดี คือทำให้กองปุ๋ยมีความชื้นตลอด รดน้ำน้อยลง วิธีทำปุ๋ยหมักผักตบชวาแบบสด 1.ใช้ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว—แบบนี้ไม่ยุ่งยาก แต่ใช้เวลาย่อยสลายค่อนข้างนาน วิธีทำ รวบรวมผักตบชวาตามปริมาณที่ต้องการมากองรวมกัน กว้างไม่เกิน 4 เมตร สูงไม่เกิน 3 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่และปริมาณผักตบชวา แล้วย่ำให้แน่นๆ ปล่อยทิ้งไว้ รอเวลาให้กองปุ๋ยย่อยสลายประมาณ 2 ถึง […]

Read more

แมลงและศัตรูของเห็ดการป้องกัน

แมลงและศัตรูของเห็ด

แมลงและศัตรูของเห็ด แมลงและศัตรูของเห็ด เกิดขึ้นได้กับทั้งเห็ดฟาง และเห็ดถุงชนิดต่างๆ ในบทความนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ แมลงและศัตรูของเห็ด และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกัน และการกำจัดแมลงและศัตรูเห็ดฟาง และเห็ดถุงชนิดต่างๆ ไว้ดังนี้ แมลงและศัตรูของเห็ดฟาง การป้องกัน การกำจัด ไรเห็ด วงจรชีวิตไรในการเจริญเติบโต เริ่มตั้งแต่ตอนเป็น ไข่ จนโตนั้นสั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า ตัวเมียสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว โดยไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีก ระยะเวลาท้องแตกใช้เวลาประมาณ 9 วัน อายุของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมีชีวิตอยู่ประมาณ 7-11 วัน ซึ่งสั้นกว่าตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ คือประมาณ 10-16 วัน การระบาดของไร สามารถระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีพวกไรดังกล่าวระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกัน และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรพวกนี้ชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบทำลายเห็ดปลูกในไทยนั้น คือ ไรไข่ปลา วีธีสังเกตไรไข่ปลาที่ขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด อาการที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าก็คือ มีเม็ดกลมเล็กๆ ขึ้นเป็นกระจุกในก้อนเชื้อเห็ดที่ถูกทำลาย ซึ่งจริงๆ แล้วจุดกลมๆ ดังกล่าวเป็นส่วนท้องของไรตัวเมียที่มีไข่และตัวอ่อนสีเหลืองๆ เจริญอยู่ จึงดูเหมือนไข่ปลากระจายอยู่ทั่วไปในก้อนเชื้อเห็ด หากมีการแพร่ระบาดขั้นรุนแรง จะพบเห็นซากตัวเต็มวัยที่ตายแล้ว เป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อน คล้ายขี้เลื่อยละเอียด […]

Read more
1 14 15 16 17 18 23