การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยการปฏิบัติ ไม่ว่าจะปลูกเพื่อประดับบ้าน ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน หรือจำหน่าย การปลูกกล้วยไม้ มีการลงทุนค่อนข้างสูง แต่สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าแก่การลงทุน หากเกษตรกรมีการปฏิบัติตามขั้นตอน การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก อย่างสม่ำเสมอ การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก มีดังนี้ การให้น้ำ การให้น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้มาก ช่วยละลายสารอาหารต่างๆ ให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่าพีเอช pH ประมาณ 6.5 หากต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ ( การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ) การแก้ไขปัญหาความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ น้ำที่มีค่าพีเอช pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่ม หรือโอ่งไว้ แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับพีเอช pH จนกระทั่งน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 น้ำที่มีค่าพีเอช […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกันและกำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคกล้วยไม้ ที่พบมีดังนี้ โรคเน่าดำหรือยอดเน่า โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง ลักษณะอาการ ทำลายได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ ส่วนราก รากจะเน่าแห้ง มีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุด ส่วนยอด ทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย ขั้นรุนแรง เชื้อราจะเข้าไปในลำต้น ถ้าผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น การป้องกันและกำจัด ปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่มีกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป หากพบการแพร่ระบาดในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้ากล้วยไม้ที่โตแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราโรคนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรือใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา […]

Read more

ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี G A P

ปลูกมะนาว จี เอ พี G A P

ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี G A P แล้ว จี เอ พี คือ อะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และจะได้มาอย่างไร? จี เอ พี คืออะไร?……. G A P ย่อมาจากภาษาอังกฤษ 3 คำ G Good A Agricultural P Practice หมายถึง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ขอขยายความอีกนิด-ปฎิบัติการที่ดีในการผลิตพืช ผัก ผลไม้ ให้ได้ผลผลิตที่ได้ มาตรฐานปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพดี เริ่มตั้งแต่ การเตรียมพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว บันทึกการปฏิบัติงาน เป็นการปลูกพืชที่ปลอดภัยต่อเกษตรกร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาย ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรค ผลผลิตได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ถ้าเกษตรกรปฏิบัติตามจะได้ประโยชน์อะไร? เกษตรกร และผู้ซื้อ ได้บริโภคพืช ผัก ผลไม้ ที่คุณภาพดี […]

Read more

เทคนิคการปลูกมะนาวนอกฤดู

ปลูกมะนาวนอกฤดู

เทคนิคการปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตดีและเพิ่มผลผลิตมะนาวนอกฤดู มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก แต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า ในการปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตดีมีเทคนิค และเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันในบทความนี้ รวมถึงเทคนิคเพิ่มผลผลิต มะนาวนอกฤดู ในการปลูกมะนาวในภาชนะ เริ่มต้นกันที่…เคล็ดลับในการป้องกันแก้ไข ปัญหาแมลงศัตรูมะนาว แบบปลอดสาร น้ำส้มควันไม้ ใช้ได้ทั้งปี ในการป้องกันแก้ไขได้ทั้งโรค และแมลงศัตรูมะนาว นำขวดน้ำพลาสติกมาเจาะรูเล็กๆ ด้านบนของขวดหลายๆ รู เพื่อให้กลิ่นน้ำสัมควันไม้ออกมาได้ ใส่น้ำส้มควันไม้ลงในขวดพลาสติกที่เจาะรูไว้แล้วจนเกือบถึงรูระบายกลิ่น ใช้เชือกมัดขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำส้มควันไม้ แล้วนำไปมัดแขวนไว้ที่ต้นมะนาว 1 ขวด ต่อ มะนาว 1 ต้นหรือใช้ฉีดพ่นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ใช้ลูกเหม็นไล่แมลง นำขวดน้ำพลาสติกมาเจาะรูเล็กๆ ด้านบนของขวดหลายๆ รู เพื่อให้กลิ่นลูกเหม็นออกมาได้ ใส่ลูกเหม็นลงไปในขวดพลาสติกที่เจาะรูไว้แล้ว 1 ถึง 2 ลูก ใช้เชือกมัดขวดพลาสติกที่บรรจุลูกเหม็น แล้วนำไปมัดแขวนไว้ที่ต้นมะนาว 1 ขวด ต่อ มะนาว 1 ต้น การกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง ด้วยวิธีธรรมชาติ ส่วนผสม: เหล้าขาว 1 ลิตร,ยาเส้น หรือ ยาสูบ 50 กรัม, มะข้าว(ฟักข้าว) 2 […]

Read more

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ ช่วยบำรุงและปรับสภาพให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้นานหรือมีขนาดกอใหญ่ และสภาพทรุดโทรมให้กลับมามีสภาพที่ดี และเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่ดี และหลากหลาย นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจในการจำหน่ายต้นพันธุ์ หรือจำหน่ายในลักษณะของไม้กระถาง สร้างรายได้เพิ่มขึ้นมา ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลายราย มีรายได้หลักล้านต่อปีจากการจำหน่ายต้นพันธุ์ ทำไมผู้เขียนจึงเน้นให้ทำ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ด้วยตนเอง หากเกษตรกรผู้ปลูก หรือ ถึงแม้จะเป็นมือใหม่ ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก การขยายพันธุ์ด้วยตนเองนั้น เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ศึกษาขั้นตอนและทดลองทำดูนะคะ การขยายพันธุ์กล้วยไม้แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ 1.การขยายพันธุ์แบบไม่ผสมเกสร – เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่ได้จำนวนน้อย เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับกล้วยไม้ที่มีคุณลักษณะดี สวย เหมาะเป็นกล้วยไม้เพื่อการตัดดอก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิม โดยนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ (ที่ไม่ได้มาจากการผสมเกสร ) ไปขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่มีการผสมเกสรแบ่งวิธีการขยายพันธุ์ตามลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ดังนี้ การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตประเภทแตกกอ เช่น หวาย แคทลียา เมื่อหน่อหรือลูกกล้วยไม้ผลิดอกและต้นโรย กล้วยไม้จะแตกหน่อใหม่ออกมาแทน ทำให้กอแน่นขึ้น หากปล่อยไว้จะทำให้กอแน่นเกินไป กล้วยไม้อาจทรุดโทรมเพราะมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ ควรตัดแยกหน่อไปปลูกใหม่ ซึ่งได้ประโยชน์ถึง 2 ทาง คือ ได้กล้วยไม้เพิ่มขึ้นและทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามดี ควรทำในช่วงต้นฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตดีและแตกหน่อใหม่ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม […]

Read more

พุทรานมสด

พุทรานมสด

พุทรานมสด เป็นพุทราที่มีสีเปลือก และ รูปทรงคล้ายแอปเปิ้ลสีเขียว ย่อส่วนลงมา และเป็นคู่แข่งกับพุทราแอปเปิ้ล ที่นำเข้ามาจากจีนพุทรานมสดหรือ Milk Jujube (มิ้ลค์ จูจุ๊บ) เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างพุทราสาย พันธุ์ ‘ฮันนี่ จูจุ๊บ’(Jujube Honey) จากไต้หวัน กับพุทราพันธุ์ดอกพิเศษ จากประเทศอินเดีย และใช้ต้นตอพุทราป่าของไทย ทำให้ได้พุทราพันธุ์ใหม่ ที่มีรสชาติละมุนลิ้น ฉ่ำน้ำ เนื้อหนา กลิ่นหอม เป็นที่ถูกปากถูกคอผู้บริโภค ประโยชน์ของ พุทรานมสด พุทรานมสดมีประโยชน์ และสารอาหารใกล้เคียงกับพุทราชนิดอื่นๆ แต่จะมีวิตามินซี น้อยกว่าพุทราพันธุ์อื่นอยู่สักหน่อย แช่น พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์แอปเปิ้ล วิตามินซีในพุทรานมสด ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และต้านสารอนุมูลอิสระ เส้นใยอาหารในผลไม้ประเภทพุทรา ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว , ช่วยในการขับถ่าย เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย แคลเซียมในพุทรา ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน โพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิต และ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ฟอสฟอรัส เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก และฟัน รองจากแคลเซียม ข้อดีของ พุทรานมสด […]

Read more

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับการปลูกพุทรานมสด เกษตรกรจะได้ผลผลิตมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ค่ะ โดยเฉพาะ การให้น้ำหมักนมสด และการตัดแต่งกิ่ง ขั้นตอน การดูแลพุทรานมสด การให้นํ้า รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า ในระยะ 3 เดือนแรก หลังปลูก หลังจากนั้น อาจจะรดน้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วันครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าร้อนจัด ให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำ หรือสังเกตจากสภาพดินหากแห้งเกินไป ควรเพิ่มการให้น้ำ เดือนที่ 6 หรือ เดือนที่ 7 ช่วงเริ่มติดดอก ต้องหมั่นให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตและจะให้ผลโต การให้ปุ๋ย ในระยะเริ่มต้นต้องให้ปุ๋ยคอกเม็ด ทุก 10 วัน ต้นละครึ่งช้อนโต๊ะ โรยห่างจากโคนต้นโดยรอบ เดือนที่ 4 หลังการปลูกก ต้นพุทราจะเริ่มออกดอก ให้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่มีธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงทุก ๆ 10 วัน เมื่อพุทรานมสดเริ่มติดลูก ให้เปลี่ยนใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง พร้อมกับให้ปุ๋ยหมักนมสดเพื่อเพิ่มรสชาติให้พุทรามีความหวานกรอบ เมื่อต้นพุทรานมสดมีอายุขึ้นปีที่ 2 […]

Read more

การแปรรูปมะนาว

การแปรรูปมะนาว ปัจจุบันนี้เราไม่ได้ทำเพื่อการถนอมอาหารเท่านั้น แต่ การแปรรูปมะนาว ช่วยแก้ปัญหามะนาวล้นตลาด ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการ เป็นการต่อยอดธุรกิจ ได้ตรงตามโมเดล ไทยแลนด์ 4.0 ความอร่อยของรสชาติเปรี้ยวที่มีในผลมะนาว เมื่อนำมาปรุงแต่งกับส่วนผสมอื่นๆ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ขบเคี้ยวจากมะนาวแบบไทยๆ กันหลายรูปแบบ เช่น มะนาวดองเปรี้ยวหวาน มะนาวดองอบแห้ง มะนาวแช่อิ่ม น้ำมะนาวสำเร็จรูปบรรจุขวด กิมจ้อมะนาว เปลือกมะนาวสามรส เปลือกมะนาวเส้นปรุงรส เปลือกมะนาวเชื่อม เปลือกมะนาวแช่อิ่ม เป็นต้น หรือ จะทำเป็นผลิตภัณฑ์มะนาวแบบชาวตะวันตก เช่น แยมผิวมะนาว เยลลี่มะนาว ก็อร่อยไม่แพ้กัน สำหรับภาคอุตสาหกรรม การแปรรูปมะนาว เช่น มะนาวผง น้ำมะนาวปรุงอาหาร น้ำมะนาวเข้มข้น เครื่องดื่มผสมน้ำมะนาว บทความนี้ มีสูตรการแปรรูปมะนาว ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนไม่สูง สามารถนำมาทำหรือดัดแปลงสูตรไว้บริโภคในครัวเรือน หรือ เป็นธุรกิจเสริม มาฝาก ดังต่อไปนี้ มะนาวดองเปรี้ยวหวาน ส่วนผสม มะนาวแก่ 30 ผล น้ำตาลรำ ½ กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง ½ กิโลกรัม เกลือป่น 1 […]

Read more

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม มีทั้งสายพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศ นำเข้าจากต่างประเทศ และผสมขึ้นมาใหม่ ทำให้กล้วยไม้จากประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม ในประเทศไทย มีดังนี้ แคทลียา เรียกว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้ก็คงไม่ผิดนัก ดอกของแคทลียามีรูปทรงเฉพาะตัวขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม บางสายพันธุ์ยังมีกลิ่นหอมชวนหลงใหลอีกด้วย เจริญเติบโตได้ดีในแถบภูมิอากาศร้อน จึงเหมาะกับการนำมาปลูกในประเทศเรามากที่สุด รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต (ภาษามาเลเซีย หมายถึงรองเท้าของสตรี) กลีบดอก หรือที่เรียกว่า ‘กระเป๋า’ มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึงรองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้น หรือ ไรโซม หรือ เหง้า ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น ราก ออกเป็นกระจุกที่โคนต้น ทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่ จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในกลุ่มผู้บริโภค หรือชาวนามือใหม่ที่หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่กันในปัจจุบัน ด้วยความรักสุขภาพ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณปประโยชน์สูง แต่มีราคาสูงตามไปด้วย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้คนสนใจ หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ไว้รับประทานกันเอง ทั้งในที่นาสำหรับคนที่มีพื้นที่ และในยางรถยนต์เก่า หรือวงบ่อซีเมนต์ สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย ถึงแม้ว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ไม่เป็นที่นิยมเพาะปลูกในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ข้าวที่ดูแลรักษายาก ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสภาวะแวดล้อมของพื้นที่เพาะปลูกก็บีบบังคับหากที่นาข้างเคียงยังมีการใช้สารเคมีอยู่ การเกษตรแบบอินทรีย์ก็เป็นไปค่อนข้างยาก รวมไปถึงสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในระบบเกษตรอินทรีย์ คือ พื้นที่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือสมัครเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการปลูกข้าวอินทรีย์ ซึ่งจะดูแลในทุกขั้นตอนตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการตลาด ตัวอย่าง โครงการข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ http://www.riceberryvalley.org/ เกษตรกรที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิ้งค์ที่ให้ หรือ ติดต่อ 084-920-8758, 085-408-0178, 086-479-5603 ก่อนศึกษาข้อมูล การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขอแนะนำที่มาของไรซ์เบอร์รี่ซักนิด… ข้าวไรซ์เบอรี่ (ภาษาอังกฤษ: Rice Berry) เป็นข้าวสายพันธุ์ไทย จากผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และทีมนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 […]

Read more
1 13 14 15 16 17 23