เลือกวัสดุทำปุ๋ยหมักอย่างไร…ให้ได้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ?
เลือกวัสดุทำปุ๋ยหมัก อย่างไร…ให้ได้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ? เป็นปัจจัยสำคัญในการทำปุ๋ยหมัก ธาตุอาหารที่พืชต้องการ หรือธาตุอาหารที่ดินจะได้รับจากปุ๋ยหมักนั้นมาจากวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก และมี ธาตุอาหารที่พืชต้องการ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วัสดุที่ย่อยสลายง่าย และวัสดุที่ย่อยสลายยาก
วัสดุที่ย่อยสลายง่าย มี ธาตุอาหารที่พืชต้องการ คือ มีสัดส่วนของคาร์บอนกับไนโตรเจน หรือ C/N ratio ต่ำกว่า 100 :1 ส่วนวัสดุที่ย่อยสลายยาก มีสัดส่วนสูงกว่า 100:1 ซึ่งวัสดุทั้ง 2 กลุ่มมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุอาหารพืช หรือ ธาตุอาหารในวัสดุทำปุ๋ยหมัก หลักๆ ดังนี้
ตารางคุณสมบัติของวัสดุอินทรีย์บางชนิดที่สามารถนำมาผลิตปุ๋ยหมักได้
ตารางคุณสมบัติของวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายชนิดต่างๆ
ตารางคุณสมบัติของวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายยากชนิดต่างๆ
วัสดุทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันในเรื่องของ ค่าเฉลี่ยไนโตรเจน และคาร์บอน วัสดุที่ย่อยสลายง่ายมีคาร์บอนน้อยกว่าวัสดุที่ย่อยสลายยาก และมีไนโตรเจนมากกว่าวัสดุที่ย่อยสลายยาก การที่มีคาร์บอนสูง ทำให้เยื่อใยแข็งที่เป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อพืชมากกว่า โครงสร้างซํบซ้อน จุลินทรีย์จึงย่อยสลายได้ช้าลงและใช้พลังงานมาก จึงจำเป็นต้องเพิ่มไนโตรเจนให้เหมาะสมเพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น
ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
อย่างที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นว่าการเลือกวัสดุทำปุ๋ยหมักต้องคำนึงถึง ธาตุอาหารที่พืชต้องการ เป็นปัจจัยหลักเพื่อให้พืชดูดซึมธาตุอาหารเหล่านั้นไปใช้ในการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ธาตุอาหารที่พืชต้องการ และมีความจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ
ธาตุคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชจะได้จากน้ำและอากาศ
ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ พืชจะใช้ในปริมาณที่น้อย แต่ขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม และ คลอรีน
ธาตุหลัก 6 ธาตุ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณที่มากจากดิน คือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม
หน้าที่สำคัญของธาตุอาหารต่างๆ ได้แก่
ไนโตรเจน (N) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของยอดอ่อน, ใบ และกิ่งก้าน -ลำต้นเหลือง
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ลำต้นเหลือง
- ใบเหลือง หรืออาจเจอสีชมพู จากใบล่างไปยังยอดใบ ปลายและขอบใบจะค่อยแห้งและลุกลามจนร่วง
- ผลผลิตต่ำ พืชไม่เติบโต หรือโตช้ามาก
มากไป - เสี่ยงกับอาการโคนต้นงอ
- ไม่ทนต่อภาวะแล้ง, โรคพืช และแมลง
- ใบสีเขียวเข้ม
- ไม่ค่อยให้ผลผลิต
ฟอสฟอรัส (P) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- ช่วยสังเคราะห์โปรตีนและสารอินทรีย์ที่สำคัญในพืช
- ช่วยสังเคราะห์แสง
- ช่วยในการหายใจ
- ช่วยให้รากดึงดูดโพแทสเซียมเข้ามาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
- ช่วยแก้ปัญหาไนโตรเจนสูง
- ช่วยส่งเสริมรากฝอยและรากแขนง ให้เจริญเติบโตในระยะแรกของการเจริญเติบโต
- ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว
- ช่วยในการออกดอกและสร้างเมล็ดของพืช
- เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด
- ผลผลิตมีคุณภาพดี
- พืชจำพวกข้าวมีลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- พืชชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกร็น ออกดอกช้า ผลไม่สมบูรณ์ ผลผลิตต่ำ
- พืชบางชนิด ลำต้นบิดเป็นเกลียว
- เนื้อไม้แข็ง แต่เปราะ หักง่าย
- สีของใบ โดยเฉพาะใบล่าง มีสีเหลือง ม่วง แดง ปนอยู่ และใบเล็กผิดปกติ อาการจะเริ่มต้นจากใบล่าง ขึ้นไปหายอดของต้น
- รากเจริญและกระจายลงดินช้า
- พืชที่ลำต้นอวบน้ำ หรือลำต้นอ่อน จะล้มง่าย
มากไป - อาจเกิดการขาดธาตุเหล็ก หรือสังกะสี
โพแทสเซียม (K) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- เป็นธาตุที่มีความสำคัญมากในการสังเคราะห์ และเคลื่อนย้ายแป้งในพืช
- ช่วยให้ผลเจริญเติบโตเร็ว
- พืชแข็งแรง มีความต้านทานโรคบางชนิด โดยเฉพาะพืชผักประเภทหัว ที่ต้องการโพแทสเซียมสูงกว่าพืชชนิดอื่น
- ช่วยให้พืชผักที่รับประทานใบและต้น มีคุณภาพดีขึ้น เช่น กะหล่ำปลี ห่อปลีได้ดี ปลีมีน้ำไหลมาก เนื้อแน่น เป็นเงาน่ารับประทาน ปรุงอาหารได้อร่อยกวาผักที่ขาดโพแทสเซียม
- ผักที่รับประทานใบ ตัดออกจากต้นแล้วจะไม่เหี่ยวเฉาง่าย มีการสูญเสียน้ำหนักระหว่างการขนส่งน้อย
- พืชผักประเภทหัวและราก เช่น หอม มีผลต่อปริมาณน้ำตาลในหัวหอม มีน้ำหนัก และเนื้อแน่นเก็บได้นาน ไม่งอกหน่อ รากเจริญเติบโต และดูดน้ำได้ดีขึ้น
- สร้างเนื้อผลไม้ให้มีคุณภาพดี
- พืชมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ และ โรคต่างๆ
- ป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพืช เนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไป
- ช่วยเพิ่มคุณภาพพืชผัก และ ผลไม้ มีสีสัน ขนาด ความหวาน และทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ขอบใบเหลือง และกลายเป็นสีน้ำตาลและแห้งเหี่ยวไป เริ่มจากปลายใบเข้าสู่กลางใบ เกิดจากใบล่างก่อนแล้วลามขึ้นข้างบน
- ขนาดดอกและผลเล็กผิดปกติ รสชาติไม่หวาน ผลผลิตตกต่ำ
- พืชอ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรคพืชและแมลง
- พืชจำพวกธัญพืช เมล็ดจะลีบ มีน้ำหนักเบา
- พืชหัวมีแป้งน้อย น้ำมาก
- ข้าวโพดมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ฝักเล็กมีรูปร่างผิดปกติ
- ใบยาสูบมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก กลิ่นไม่ดี
- ฝ้าย ใบจะมีสีน้ำตาลปนแดง สมอฝ้ายที่เกิด จะไม่อ้าเต็มที่เมื่อแก่
มากไป - เกิดอาการขาดแมกนีเซียม หรืออาจขาดแคลเซียมด้วย
แคลเซียม (Ca) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- พืชใช้ในการเจริญเติบโต
- ช่วยให้พืชนำไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
- มีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ด ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืช
- ลำต้นของพืชผักแข็งแรง พบว่ามีปริมาณมากบริเวณที่กำลังเจริญเติบโตคือ ยอด และราก
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ปลายกิ่งส่วนยอด หรือใบที่อยู่ใกล้ๆ กับยอด หรือส่วนปลายรากจะแห้งตาย
- ใบอ่อนจะบิดเบี้ยว ปลายใบม้วนงอเข้าไปหาลำต้น ขอบใบขาดเป็นริ้วๆ และหยักไม่เรียบ ต่อไปขอบใบจะแห้ง ยอดอ่อนจะตาย
- มะเขือเทศ ต้นจะเน่า
- ขึ้นฉ่าย เกิดอาการไส้ดำ
- พืชหัว ยอดจะตาย
- แครอท ก้านใบจะฉีกขาดและเป็นโพรงในราก พบในแหล่งที่ดินเป็นกรด ดินที่มีโพแทสเซียมสูงมาก ดินที่ขาดน้ำ แห้งแล้งมาก หรือดินทรายที่มีฝนตกชุก
- พืชเติบโตช้า หน่อใหม่จะตาย ผลเติบโตไม่ดี
มากไป - พืชดูดโพแทสสเซียมมาใช้ได้น้อย
- ผลผลิตคุณภาพไม่ดี
- อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียม
แมกนีเซียม (Mg) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- ช่วยสร้างอาหารและโปรตีนพืช ดูดอาหารของพืชและเคลื่อนย้ายธาตุอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะฟอสฟอรัส
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ใบล่างจะเหลืองแต่เส้นใบยังมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีขาวและสีน้ำตาลแล้วตายในที่สุด อาจมีจุดขาวกระจายไปทั่วใบแก่ และใบเปราะง่าย พบในแหล่งเดินที่เป็นกรด ดินที่มีโพแทสเซียมสูงมาก ดินทรายที่มีการชะล้าง
- ผลผลิตลดลง
- ต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด
มากไป - ปริมาณแมกนีเซียมที่ไม่สมดุลกับโปแตสเซียมและแคลเซียมจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า
กำมะถัน (S) ประโยขน์ที่มีต่อพืช
- มีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนหรือเหลืองคล้ายๆ อาการขาดธาตุไนโตรเจน แต่จะเริ่มจากยอดอ่อนก่อน หากมีอาการรุนแรงใบล่างจะมีอาการเช่นกัน ใบจะมีขนาดเล็กลง ยอดชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นลีบเล็ก เนื้อในแข็ง รากยาวผิดปกติ ใบล่างจะหนากระด้าง ลำต้นเกิดสีเขียวเหลือง
- ในพืชตระกูลถั่ว ใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนถึงเหลืองรวมทั้งเส้นใบ พบบริเวณที่ดินทรายถูกชะล้างมากไป
- ใบร่วงก่อนเวลา
แมงกานีส (Mn) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช
- ควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจนในต้นพืชโดยทำงานร่วมกับธาตุอื่นๆ เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ใบออกสีเหลือง เส้นใบสีเขียวปกติ มักเกิดกับใบอ่อนก่อน อาจเกิดเป็นจุดขาวๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นจะโตช้าใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง
- มักเกิดขึ้นในสภาพดินที่เป็นด่าง หรือใส่ปูนขาวมากเกินไป
มากไป - ในดินที่มีความเป็นกรดสูง ถ้ามีแมงกานีสมากจะเกิดพิษแก่ต้นพืช
เหล็ก (Fe) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- มีบทบาทสำคัญในการปรุงอาหารของพืช ช่วยกระตุ้นการหายใจและการปรุงอาหารของพืชเป็นไปอย่างสมบูรณ์
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ใบอ่อนจะเหลืองซีด แต่เส้นใบยังคงเขียว ใบแก่ยังมีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองซีดทั้งใบ ใบจะเล็กลงกว่าปกติและร่วงไปก่อนใบจะแก่เต็มที่ กิ่งแห้งตาย
- ผลผลิตลดลง ขนาดของผลเล็ก ผิวไม่สวยและเกรียม
- ยอดอ่อนไม่เจริญ
มากไป - เป็นพิษต่อต้นพืช
- พืชดึงธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ไม่ได้
สังกะสี (Zn) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
- มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง มีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ตายอดและข้อปล้องไม่ขยายใบออกมาซ้อนกัน
- เกิดสีเหลืองระหว่างเส้นใบ ขอบใบไหม้มีจุดน้ำตาล สำต้นยืดยาวช้า ใบเล็กแคบ พบในดินที่ใส่ปุ่ยฟอสฟอรัสมาก
ทองแดง (Cu) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- มีผลโดยอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสีเขียว เป็นองค์ประกอบของโปรตีน
- ช่วยในการหายใจ ทำให้พืชได้ใช้เหล็กมากขึ้น และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว
- เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช มีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล
- ช่วยให้พืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
ในระยะแรก พืชมีสีเขียวจัด ต่อมาจะค่อยๆ เหลืองลงจนในที่สุดชะงักการเจริญเติบโต โดยแสดงอาการจากยอดลงมาถึงโคน พบมากในเขตดินเปรี้ยว พบในแหล่งดินทรายที่เป็นกรดและถูกชะล้างมาก
โบรอน (B) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายน้ำตาล
- ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูดดึงธาตุแคลเซียมของราก และช่วยให้พืชใช้ธาตุไนโตรเจนได้มากขึ้น
- ช่วยให้พืชใช้ธาตุโพแทสเซียมได้มากขึ้น
- มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต
- เพิ่มคุณภาพ ทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล
- เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต
- ควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในกระบวนการปรุงอาหาร
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ยอดหรือส่วนอ่อนที่สุดชะงักการเจริญเติบโต บิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้านและตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว
- ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนา บางทีผลแตกเป็นแผล กิ่งก้านสั้น และแข็งกระด้าง อาการขาดธาตุโบรอนจะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบกับภาวะแล้ง หรือขาดน้ำมากๆ เกิดจุดสีน้ำตาลหรือดำในส่วนต่างๆ ของพืชโดยเฉพาะพืชที่ให้หัวที่ราก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม ผักในกลุ่มผักสลัด และผักกาดต่างๆ ที่เรียกว่า โรคโอกึน หรือ โอเก็ง ควรทำการปรับปรุงดินอย่าให้เป็นกรด-เป็นด่างมาก
คลอรีน (Cl) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง และทำให้พืชแก่เร็วขึ้น
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ใบจะเหี่ยวและเหลือง ใบมีสีบรอนซ์ ผักกาดหอมเป็นพืชที่ไวต่อการขาดคลอรีนมาก
มากไป - ขอบใบแห้ง และใบเหลืองก่อนกำหนด
โมลิบดีนัม (Mo) ประโยชน์ที่มีต่อพืช
- ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น
- จำเป็นสำหรับกระบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิด
ปัญหาปริมาณของธาตุอาหาร
น้อยไป
- ใบจะเป็นจุดด่างในขณะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดรุนแรง ใบจะม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง ผลแคระแกร็น เติบโตไม่เต็มที่
ขอบคุณสำหรับการติดตามนะคะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
เครดิต : บ้านและสวน