ไพล
ไพล เป็นสมุนไพรที่คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะได้รู้จัก หรือคุ้นชื่อจากลูกประคบสมุนไพร แก้ปวดเมื่อย คลายเส้น คลายกล้ามเนื้อ ซึ่งมีไพลเป็นส่วนประกอบหลัก แต่สรรพคุณของไพลไม่ได้มีเพียงแค่นี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนไทยยังนำไพลมาใช้ประโยชน์ทางยากันอย่างต่อเนื่อง และยิ่งมีการพัฒนาการแปรรูป ให้ไพล มีความสะดวกในการนำมาใช้ด้วยแล้ว ตลาดของไพลจึงขยายวงกว้างขึ้น
สรรพคุณยาใช้ภายนอกของ ไพล
- ผสมในลูกประคบ แก้ปวดเมื่อย
- เป็นยาใส่แผล
- ใส่ในหม้อต้มน้ำสมุนไพร ใช้อาบ อบ และประคบ
- ใช้เป็นยารักษาอาการเคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อย ฟกช้ำ
วิธีนำไพลมาใช้ประโยชน์ ของยาภายนอก
แก้ปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก
วิธีที่ 1 นำเหง้าไพลสดมาตำ คั้นน้ำ ทาบริเวณที่ปวดเมื่อย ขัดยอก
วิธีที่ 2 ตำเหง้าไพลสดให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำมาห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า และเย็น จนกว่าอาการจะหาย
วิธีที่ 3 ทำเป็นน้ำมันไพล โดยใช้ไพลสด 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อน ๆ ประมาณ 10 นาที กรอง รอจน น้ำมันอุ่นๆ จึงใส่ การบูรลงไป 4 ช้อนชา เทใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท รอจนเย็นจึงเขย่าการบูรให้ละลาย ได้เป็นน้ำมันไพล ใช้ทาถูนวดเมื่อปวดเมื่อย วันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น
วิธีที่ 4 ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้หัวไพลนำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมหรือเคล็ดขัดยอก
วิธีที่ 5 ใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด) ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
เหง้าไพล ที่นำมาใช้เป็นยาควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี จะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.8 เปอร์เซนต์ ซึ่งมีองค์ประกอบ หลักเป็นสารกลุ่ม terpenoid และ phenylbutanoid เช่น a-pinene , sabinene, a-terpinene, terpinen-4-o1 เป็นต้น และมีสารสีเหลือง ชื่อ curcumin
ยาทาแผลพุพอง หนองฝี หรือโรคผิวหนังบางชนิด
ไพลมีฤทธิ์ต้านจุลชีพได้ หลายชนิด เช่น ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองฝี ต้านเชื้อราบางชนิด ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้
- ใช้เป็นยาสมานแผล โดย นำเหง้าสด 1 แง่ง มาฝานเป็นชิ้นบางๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด)
- แก้ผดผื่นคัน
นำเหง้ามาบด ทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาด ฝนแล้วทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน - แก้เล็บถอด
ใช้เหง้าสด 1 แง่ง (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูร อย่างละครึ่งช้อนชา แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นหนอง โดยควรเปลี่ยนยาที่ใช้พอกวันละ 1 ครั้ง
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาภายนอก
- ใบ
ช่วยแก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย - เหง้า
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง เมื่อยขบ
ช่วยรักษาฝี
ช่วยดูดหนอง
ช่วยแก้ผดผื่นคัน
ใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อได้
ช่วยรักษาโรคเหน็บชา
ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
ใช้เป็นยาสมานแผล
ใช้เป็นยาแก้เล็บถอด
ใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรีได้
สรรพคุณยาใช้ภายใน ของไพล
มีฤทธิ์แก้บิด
ช่วยขับลม
แก้หอบหืด ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น
มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
ช่วยต้านการเต้นของ หัวใจที่ผิดปกติ
ช่วยฆ่าเชื้ออสุจิ
ช่วยต้านการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูก และต้านเชื้อ แบคทีเรีย
ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ
ช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร
ช่วยคล้ายกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยลดการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ รวมไปถึงกระเพาะอาหาร
ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรีย
วิธีนำไพลมาใช้ประโยชน์ของยาภายใน
- ยารักษาหอบหืด
ใช้เหง้าแห้ง 5 ส่วน, ดีปลี 2 ส่วน, พริกไทย 2 ส่วน, กานพลู 1/2 ส่วน, พิมเสน 1/2 ส่วน นำมาบดผสมรวมกัน
ใช้ผงยา 1 ช้อนชาชงกับน้ำร้อนแล้วรับประทาน หรือจะปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วยการใช้น้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วรับประทานครั้งละ 2 ลูก โดยต้องรับประทานติดต่อกันเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น - ยาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ นำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง แล้วรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ด้วยการนำมาชงกับน้ำร้อน และผสมเกลือเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
- ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ใช้เหง้าสดประมาณ 4-5 แว่น นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชาแล้วนำมารับประทาน หรือจะฝนกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้เช่นกัน
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาภายใน
- ดอกไพล
ช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน - ต้นไพล
ช่วยแก้ธาตุพิการ หรือแก้อุจจาระพิการ - ใบ
ช่วยแก้ไข้
ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว - หัวไพล
ช่วยแก้อาเจียน อาการอาเจียนเป็นโลหิต
ช่วยแก้อาการปวดฟัน - เหง้า
ช่วยขับโลหิต
ช่วยรักษาโรคที่บังเกิดแต่โลหิตออกทางปากและจมูก
ช่วยแก้อาการท้องผูก
ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ
ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ - หัวไพล, เหง้า
ช่วยขับระดู ประจำเดือนของสตรี ขับเลือดร้ายทั้งหลาย และแก้มุตกิดระดูขาว - ราก
ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลออกทางจมูก
ข้อควรระวัง ในการใช้ประโยชน์จากไพล
- การรับประทานในปริมาณที่สูง หรือการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ และยังไม่มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหืด และไม่ควรนำมารับประทานแบบเดี่ยวๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากจะมีการขจัดสารที่เป็นพิษต่อตับออกไปเสียก่อน
- การใช้ครีมไพล ห้ามใช้ทาบริเวณขอบตา เนื้อเยื่ออ่อน และบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือมีแผลเปิด
- ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร และเด็กเล็ก
ติดตามวิธีปลูก และการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ กันต่อ ในบทความ รวยง่ายๆ ด้วย การปลูกไพล นะคะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล : www.medthai.com, www.banhealthy.com, www.halsat.com)