ถั่วดาวอินคา
ถั่วดาวอินคา ( Sacha inchi ) เป็นพืชที่เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยกันได้ไม่นาน โดยส่วนตัวผู้เขียนเอง รู้จักกับถั่วดาวอินคาครั้งแรกจากเคาน์เตอร์ขนมในร้านกาแฟแฟรนไชส์ ด้วยความสงสัยว่าทำไมชื่อนี้ ก็ถามกูเกิ้ล…ขออนุญาตเล่าต่อจากกูเกิ้ลนะคะ ถั่วดาวอินคา พบได้แพร่หลายในประเทศแถบอเมริกาใต้ แต่ต้นกำเนิดการใช้ประโยชน์มาจากชาวอินคา ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มีระบุไว้ว่าถั่วดาวอินคามีมาแต่เมื่อไร แต่จักรวรรดิอินคาเป็นจักรวรรดิที่รุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณโดยเฉพาะบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรู ชาวอินคาไม่มีตัวอักษรใช้บันทึกข้อความ แต่ใช้ ‘กีปู’ ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ (กีปู คือ การผูกเชือกหลากสีเป็นปมเล่าเรื่องต่างๆ) เข้าใจว่า คนรุ่นหลังได้จดจำเรื่องราวมาตั้งแต่ยุคอินคา และบวกกับรูปร่างที่เหมือนสัญลักษณ์รูปดาว ถั่วชนิดนี้เลยได้ชื่อว่า ‘ถั่วดาวอินคา’ และมีอีกหลายชื่อในภาษาอื่นๆ เช่น Sacha inchi, Inca peanut, Sacha peanut, Mountain peanut, Supua peanut
ลักษณะของถั่วดาวอินคา
ถั่วดาวอินคาปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 2,000 เมตร รวมถึงประเทศไทย เป็นไม้เลื้อยเหมือนถั่วฝักยาว สามารถเก็บเกี่ยวได้ 10 ถึง 50 ปี แต่ต้องปลอดสารเคมีทุกขั้นตอน แก่นเถาของต้นถั่วอินคาจะแข็งและเหนียว ต้นแก่สังเกตได้จากโคนเถาที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล นอกจากผลรูปดาวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ใบ ยังเป็นรูปหัวใจอีกด้วยนะคะ ดอก มีสีเขียวอมเหลือง เพาะเมล็ดงอกแล้วรอประมาณ 5 เดือน จะออกดอก หลังจากนั้นประมาณ 3 ถึง 4 เดือน ก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ผล และเมล็ด เรียกเป็น ฝัก มี 4 ถึง 7 แฉกหรือพูใน 1 ฝัก เมล็ดกลมแบนถูกห่ออยู่ในพู เมล็ดมีเปลือกสีน้ำตาลอมดำห่อเนื้อเมล็ดอีกชั้นหนึ่ง ฝักอ่อนมีสีเขียวสดปนประสีขาว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จนแห้ง มาถึงระยะนี้ เปลือกจะปริแตกจนมองเห็นเมล็ดด้านใน ตามที่เล่าไว้ตอนต้นว่า ชาวอินคานำถั่วอินคามาใช้ประโยชน์ ความพิเศษของถั่วอินคาไม่ใช่แค่เมล็ดที่มีความมันอร่อย หรือน้ำมันที่มีอยู่ในเมล็ดเท่านั้น แต่เราใช้ ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของถั่วอินคาได้เกือบทั้งต้น
ประโยชน์จากถั่วดาวอินคา
เมล็ดถั่วดาวอินคา
- รับประทานสุก โดยคั่วไฟร้อนๆ ให้สุกก่อนรับรับประทานเป็นอาหารขบเคี้ยว หอม กรอบ มันอร่อย
- แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วดาวอินคาคั่วเกลือ, ถั่วดาวอินคาทอด เป็นต้น
- แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงอาหาร เช่น ซอส, ซีอิ้ว, เต้าเจี้ยว เป็นต้น
- แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประกอบอาหาร เช่น แป้งทำอาหารและขนมหวาน
- สกัดน้ำมัน สำหรับรับประทานแบบบรรจุขวดหรือแคปซูล, น้ำมันในการทำอาหาร, ส่วนผสมเครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุง, สบู่, น้ำหอม และโฟมล้างหน้า เป็นต้น, น้ำมันนวด ทาแก้ปวดเมื่อย และน้ำมันบำรุงผม
ใบอ่อน และยอดอ่อน
ความอร่อยจากใบอ่อนและยอดอ่อนที่มีเนื้อใบนิ่ม นำมาประกอบอาหารได้ ไม่เหม็นเขียว เช่น แกงจืด, แกงเลียง, แกงอ่อม, ผัดน้ำมันหอย, ลวกจิ้มน้ำพริม, รับประทานกับลาบ หรือเมี่ยงคำ และนำมาตำส้มตำ เป็นต้น
ใบแก่
- ใบสีเขียวเข้ม นำมาทำชาใบถั่วดาวอินคา
- ใบที่มีสีเขียวสด นำมาสกัดคลอโรฟิลล์หรือนำมาปั่นเป็นเครื่องดื่มคลอโรฟิลล์รักษาสุขภาพ
เปลือกฝัก และเปลือกเมล็ด
- ใช้ทำปุ๋ยหมัก
- ใช้ทำเชื้อเพลิงอัดแท่ง
- ใช้ทำเชื้อเห็ด
- ใช้ทำอาหารสัตว์
คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วดาวอินคา
โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, เส้นใย
แร่ธาตุ : แคลเซียม, เหล็ก, โซเดียม
วิตามิน : ซี, เอ รวมถึงวิตามิน อี ชนิดโทโคเฟอรอล แคโรทีน โพลีฟีนอล ไฟโตสเตอรอล และกรดอะมิโนหลายชนิด ได้แก่ ซิสเตอีน ไทโรซีน ทรีโอนีน ทริปโตฟาน
สารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ หรือ ลิพิด (Lipid) : กรดไขมัน และคอเลสเตอรอล
กรดไขมันโอเมก้า 3, 6 และ 9 (Omega-3, 6, 9 fatty acid)
สรรพคุณถั่วดาวอินคา
การรับประทานเมล็ดถั่วดาวอินคา
- ลดคอเลสเตอรอล, ช่วยลดไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
- ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน
- ลดน้ำหนัก
- ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้หลับสบาย
- ส่งเสริมพัฒนาการของสมอง, กระตุ้นความจำ ป้องกันโรคสมองเสื่อม
- เสริมสร้าง และรักษาความแข็งแรงของเซลล์
- ป้องกัน และลดการอักเสบของหลอดเลือด
- ป้องกัน และลดอาการของโรคไขข้อ
- รักษาโรคผิวหนัง เช่น กลาก, เกลื้อน และสะเก็ดเงิน เป็นต้น
- ป้องกัน และบรรเทาโรคหอบหืด
- รักษาโรคไมเกรน
- บำรุงสายตา, ควบคุมความดันในลูกตา และเส้นเลือด และป้องกันโรคต้อหิน ต้อกระจก
- ดูแลผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ดูอ่อนวัย ด้วยการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์
- กระตุ้น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- เป็นยารักษาโรครูมาตอยด์ และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (ตำรับยาสมุนไพร ของชาวอเมซอนด้วยเมล็ดถั่วดาวอินคา)
- เพิ่มพัฒนาการทางสมองให้กับเด็ก
- ลดอาการท้องผูก
- ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
- ต้านการอักเสบในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ลดภาวะเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อฝ่อ
- ลดไขมันเลว
- ลดรอยดำ และรอยแผลเป็น
การรับประทานใบและยอดอ่อน
- ลดน้ำตาลในเลือด
- ลดไขมันในเส้นเลือด
- ป้องกันโรคหลอดเลือด และสมอง
- ป้องกันโรคเบาหวาน
ผลข้างเคียงจากการรับประทาน ถั่วดาวอินคา
อาจเกิดอาการ :
- อาการคลื่นไส้
- เรอ
- รู้สึกร้อนวูบวาบ
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง หรือ ท้องผูก
วิธีปลูกถั่วดาวอินคา และขั้นตอนการดูแลนั้นไม่ยาก ติดตามได้ในบทความ การปลูกถั่วดาวอินคา
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล : www.sukkaphap-d.com, www.puechkaset.com, https://th.wikipedia.org/wiki/จักรวรรดิอินคา)