เกษตรผสมผสาน : การเลี้ยงสัตว์ร่วมยาง

เกษตรผสมผสาน : การเลี้ยงสัตว์ร่วมยาง เป็นอีกหนึ่งแนวทางสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราให้มีรายได้หมุนเวียน แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ เป็นการแก้ปัญหาให้กับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอบทความ ‘เกษตรผสมผสาน : การปลูกพืชแซมสวนยาง’ ไปก่อนหน้านี้ การเลี้ยงสัตว์ร่วมยาง เป็นการนำการปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ปีกและแมลงเศรษฐกิจ และการประมง มาผสมผสานในพื้นที่ว่างระหว่างต้นยางพาราให้เป็นประโยชน์และรายได้ บทความนี้ผู้เขียนนำการเลี้ยงด้วงสาคู และหนอนนกมาให้เรียนรู้วิธีเลี้ยง และวิธีดูแล เพื่อให้ การเลี้ยงสัตว์ร่วมยาง เป็นทางเลือกในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ด้วงสาคู ด้วงสาคู หรือด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงลาน หรือแมงหวัง เป็นแมลงพื้นบ้านที่รู้จักกันดี และเป็นที่นิยมในการบริโภคโดยเฉพาะทางภาคใต้ มีคุณค่าทางอาหาร ให้โปรตีนและพลังงานสูง แต่เป็นแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชผลทางการเกษตร เป็นอันตรายต่อพืชตระกูลปาล์ม เช่นสาคู ลาน และมะพร้าว เป็นต้น สภาพอากาศของทางภาคใต้ของไทยเหมาะในการเลี้ยงด้วงสาคูมากที่สุด ปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงกำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อนำไปรับประทาน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200 ถึง 300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2 ถึง 3 เดือน การเลี้ยงด้วงสาคู การคัดเลือกพันธุ์ คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ด้วงสาคูที่มีตัวโตแข็งแรง มีอวัยวะครบส่วน รูปแบบการเลี้ยง การเลี้ยงด้วงสาคู […]

Read more

การปลูกผักสวนครัว

การปลูกผักสวนครัว ที่ผู้เขียนได้รวบรวมขั้นตอน การปลูกผักสวนครัว มาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษากันในบทความนี้ เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจ หรือเป็นมือใหม่หัดปลูก เพื่อนำหลักการต่างๆ ไปปฏิบัติ และก็ไม่ลืมของฝากสำหรับมือเก่าหรือเกษตรที่ปลูกผักสวนครัวอยู่แล้ว ผู้เขียนก็มีเทคนิค และวิธีการเสริมรายได้มาเผื่อด้วยนะคะ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจติดตาม จากการปลูกผักสวนครัว เพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือนในบริเวณรอบๆ บ้านของคนไทย ช่วยลดรายจ่าย ให้ประโยชน์ทางโภชนาการ และปราศจากสารพิษ ได้กลับกลายมาเป็น การปลูกผักสวนครัว เพื่อการค้าพาเกษตรกรไทยร่ำรวยกันหลายราย แล้วทำอย่างไร จึงจะร่ำรวยได้ด้วยการปลูกผักสวนครัว?…ศึกษา นำไปปฏิบัติ ปรับปรุงหรือประยุกต์ใช้ และดูแลเป็นประจำ รวมทั้งทำการเกษตรแบบผสมผสานให้มีรายได้หมุนเวียน เพียงเท่านี้ ก็เป็นเกษตรกรที่มีรายได้มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ปัญหาการปลูกผักสวนครัว หรือพืชผักชนิดอื่นๆ ที่ประสบอยู่ในทุกวันนี้ คือ พื้นที่ทำกินเริ่มน้อยลงทุกวัน การเพาะปลูกพืชจึงถูกพัฒนาไปตามวิถีความเป็นอยู่ เท่ากับสิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์บนพื้นโลก ต้องปรับเปลี่ยนวิถี และวิธีการดำรงชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมก็ว่าได้ เช่นเดียวกันกับรูปแบบของ การปลูกผักสวนครัว ที่ปัจจุบันมีหลากรูปแบบให้เราได้เลือกปฏิบัติ ให้เข้ากับความสะดวกและสภาพแวดล้อมของผู้ปลูก มาดูกันนะคะ ว่ามีรูปแบบใดบ้าง? รูปแบบการปลูกผักสวนครัว สวนครัวหลังบ้าน รูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชนบท ชานเมือง หรือบ้านเดี่ยวที่มีบริเวณหรือพื้นที่ที่สามารถทำแปลงผัก ปลูกลงดินได้ และสามารถเลือกชนิดผักได้ตามความชอบของสมาชิกครอบครัว ขนาดแปลงที่เหมาะสมในการปลูกผักสวนครัวเพื่อรับประทานในครัวเรือน กว้างไม่เกิน 1 เมตร ความยาว 4 เมตร หรือตามขนาดพื้นที่ […]

Read more

ผักสวนครัว

ผักสวนครัว รั้วกินได้ บ่งบอกถึงลักษณะการปลูกผักไว้ในบริเวณครัวเรือน ริมรั้ว ที่อยู่อาศัย ไว้ใช้ประโยชน์ในการบริโภคในครอบครัว ใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยในการเพาะปลูกของวิถีไทยในอดีตเรื่อยมา จนทุกวันนี้กลายเป็น การปลูกผักสวนครัวเพื่อการค้า ที่เกื้อหนุนให้เกษตรกรมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายขึ้นในสังคมที่ใช้เวลาในการทำงานเป็นหลัก ผู้คนในเมืองหันมาประกอบอาชีพเสริมด้วยการปลูกผักสวนครัวแนวตั้ง ใช้พื้นที่ที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือปลูกบนพื้นดินในรูปแบบเดิม หรือปลูกแบบไร้ดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง ท่านที่สนใจอยากลองปลูก ผู้เขียนมีข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ผักสวนครัว มาให้ศึกษากันในบทความนี้ และบทความ ‘การปลูกผักสวนครัว’ และ ‘โรคและแมลงศัตรูผักสวนครัว’ ลองติดตามดูนะคะ ว่าข้อมูลและขั้นตอนต่างๆ ที่เก็บมาฝากกัน เมื่อไปปฏิบัติในการปลูกได้ผลเพียงใด…ลองซักนิด ไม่เสียหลายค่ะ เราได้ประโยชน์อะไรจากการปลูกผักสวนครัว? …มีคำตอบค่ะ ประโยชน์จากการปลูกผักสวนครัว สมาชิกในครอบครัวได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารพิษ ใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรค เช่น หอม กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ และสะระแหน่ เป็นต้น ช่วยลดรายจ่ายและสามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน หรือทำเป็นรั้วบ้าน โดยปลูกล้อมกั้นเป็นเขตของบ้าน เช่น กระถิน ชะอม ตำลึง หรือมะระ เป็นต้น เป็นการใช้เวลาว่างและพื้นที่ว่างภายในบ้านให้เป็นประโยชน์ของครอบครัว ช่วยให้เกิดกิจกรรมร่วมกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ และความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว ข้อควรพิจารณาในการปลูก สถานที่และทำเลการปลูก – ควรอยู่ใกล้ที่พักอาศัย […]

Read more

การปลูกลูกเดือยและการดูแลหลังการปลูก

การปลูกลูกเดือย และการดูแลหลังการปลูก อาจทำให้ท่านผู้อ่านได้แปลกใจกับความง่ายจนอยากทดลองปลูก แต่สายพันธุ์ลูกเดือยที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีให้เลือกไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับสายพันธุ์ลูกเดือยถึงระดับรับรองสายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูก ส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกกันเป็นพันธุ์พื้นเมือง คือ พันธุ์วังสะพุง และ พันธุ์เลย นอกจากการปลูกเพื่อการค้าแล้ว การปลูกลูกเดือย ยังเป็นที่นิยมปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนกันมากถ้าเปรียบเทียบกับบรรดาธัญพืชต่างๆ ในขั้นทดลองปลูก ผู้เขียนแนะนำ ลูกเดือยข้าวเหนียว ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง เนื้อแป้งอ่อนนิ่ม น้ำหนักเบา ต้มแล้วลื่นและมีเมือกมาก ลักษณะเมล็ดกลมโตยาว เปลือกบางเปราะแตกง่าย เป็นที่นิยมตามท้องตลาด (ติดตามข้อมูลสายพันธุ์ลูกเดือยเพิ่มเติมได้ในบทความ ‘ลูกเดือย’) การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการหว่านหรือหยอดเมล็ด ในอัตรา เมล็ดพันธุ์ประมาณ 30 กิโลกรัม ต่อไร่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกลูกเดือย  พื้นที่ – พื้นที่ดอนหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 3 ถึง 45 องศา – มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง – มีการคมนาคมที่สะดวก ดิน – มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร – มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี – ไม่อุ้มน้ำมาก อากาศ – มีแสงแดดจัด และมีปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ฤดู – ฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน […]

Read more

ลูกเดือย

ลูกเดือย คือ ธัญพืชที่ผู้เขียนชอบรับประทานที่สุดในบรรดาธัญพืชทั้งหมดทั้งมวน ไม่ว่าจะใส่น้ำเต้าหู้ ลูกเดือยเปียกราดน้ำกะทิ หรือน้ำลูกเดือย อร่อยทั้งนั้นนะคะ ลูกเดือยไม่ได้มีประโยชน์ สำหรับรับประทานเท่านั้น ติดตามต่อในบทความนี้แล้วท่านผู้อ่านจะได้รู้จักสรรพคุณและประโยชน์ต่างๆ ของลูกเดือยมากขึ้น ในประเทศไทย ลูกเดือย เป็นที่รู้จักทั่วทุกภาค ถิ่นใด ภาษาใด คนไทยก็เรียก ลูกเดือย พบการปลูกลูกเดือยในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา ปัจจุบันพบปลูกมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเลยที่ปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกต่างประเทศ เคยเห็นต้นลูกเดือยกันบ้างมั๊ยคะ? (มีภาพมาฝาก) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกเดือย ลำต้น ลำต้นลูกเดือยมีลักษณะเหมือนกับหญ้าทั่วไป มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ทรงกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 1 ถึง 3.5 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีใบแตกออกบริเวณข้อ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมเทาและมีนวลขาวปกคลุม เมื่อลำต้นมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ขึ้นไป จะแตกลำต้นหรือเหง้าเพิ่มเป็น 4 ถึง 5 ลำต้น ใบ ลูกเดือยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเป็นแผ่นเรียวยาว สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า ยาวประมาณ 20 […]

Read more

กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว รูปร่างลักษณะของผลคล้ายกะหล่ำปลีย่อส่วน เริ่มปลูกในประเทศแทบยุโรป และถูกนำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศเย็นในทวีปอื่นๆ สำหรับคนไทย กะหล่ำดาว เพิ่งเป็นผักที่นิยมรับประทานกันได้ไม่นานนัก รสชาติอร่อย ไม่ว่าจะรับประทานกับน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย แต่ที่ผู้เขียนชอบมากที่สุด คือ ผัดกะหล่ำดาวใส่เบค่อน (เริ่มน้ำลายสอกันแล้วใช่มั๊ยค่ะ) มาทำความรู้จักกับ ‘กะหล่ำหัวจิ๋ว รสชาติแจ๋ว’ กันค่ะ ‘บรัสเซล สเปร้าท์’ (Brussel sprout)เป็นชื่อเรียกภาษาอังกฤษของ กะหล่ำดาว สเปร้าท์หรือหัวเล็กๆ ของกะหล่ำดาว จะเกิดขึ้นเมื่อต้นกะหล่ำดาวเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่ง จะเริ่มมีตาข้างอยู่ที่มุมใบ ตาข้างนี้จะเจริญพัฒนาเป็นกะหล่ำปลีเล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ถึง 3 เซนติเมตร ซึ่งหัวเล็กๆ แต่ละอันนี้แหละค่ะที่เรียกว่า ‘สเปร้าท์’ (Sprout) แต่ละต้นจะมีสเปร้าท์เกาะติดอยู่รอบๆ โคนต้นมากมาย และนี่คือที่มาของชื่อ ‘กะหล่ำดาว’ กะหล่ำดาวเป็นกะหล่ำปลีชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลักษณะดังนี้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก แต่บางสายพันธุ์มีขนาดสูงถึง 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม สูงยาวใหญ่มีข้อสั้น มีก้านใบยาวและมีหัวเล็กๆ หรือสเปร้าท์หุ้มรอบลำต้น มีสีเขียว หรือสีม่วงตามสายพันธุ์ ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงเวียนบนลำต้น มีลักษณะทรงกลม […]

Read more

การปลูกกุหลาบ

การปลูกกุหลาบ หลายคนมักจะบ่นว่าเวลาไปซื้อต้นพันธุ์กุหลาบมาปลูก ตอนที่ต้นกุหลาบอยู่ที่ร้านนั้นดูสวยตลอด แต่เมื่อนำมาปลูกเองที่บ้านก็มักจะดูโทรมตลอด อันที่จริงถ้าเราเป็นมือสมัครเล่นก็มีวิธีปลูกกุหลาบให้งามได้ง่ายๆ ที่ควรปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอนะคะ ผู้เขียนมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันก่อนจะเข้าถึงรายละเอียดที่มากขึ้น (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะคะ) กุหลาบต้องให้ผู้หญิงปลูก เพราะเป็นราชินี กุหลาบต้องปลูกวันพุธ เพราะเป็นไม้ดอก กุหลาบต้องปลูกทางทิศตะวันออกของบ้าน…จึงจะงาม กุหลาบจะงาม ผู้ปลูกต้องรักต้นกุหลาบให้มากพอกันกับการรักดอกกุหลาบ เมื่อได้ทราบเคล็ดลับดีๆ อย่างนี้แล้ว ก็เลือกสายพันธุ์กุหลาบที่ชอบหรือสายพันธุ์อื่นๆ ได้จากบทความ ‘กุหลาบ’ ควบคู่ไปกับข้อสำคัญดังนี้ค่ะ การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบ ให้ผลผลิตสูง มีอายุการปักแจกันนาน อย่างน้อยสามารถบานในแจกันได้ประมาณ 16 วัน สามารถดูดน้ำได้ดี ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน กลิ่น กุหลาบกลิ่นหอมจะไม่ทน (แต่ปัจจุบันได้มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกให้มีกลิ่นหอมกันหลายพันธุ์บ้างแล้ว) มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง คำแนะนำสำหรับมือใหม่หัดปลูก หรือผู้ที่ต้องการปลูกไว้ใช้ในครัวเรือน หรือไว้ชื่นชมเป็นการส่วนตัว หากเลือกซื้อต้นกุหลาบมาไม่ว่าจะพันธุ์อะไรก็ตาม ให้พักต้นไว้ประมาณ 7 วัน ตัดดอกที่ติดมากับต้นไปปักแจกันให้หมดทั้งตูมทั้งบาน อย่าเสียดาย (นับลงมาจากดอก 5 ใบ แล้วตัด) การเตรียมดิน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุง แต่ควรรดน้ำตอนเช้าทุกวันเท่านั้น การรดน้ำต้นกุหลาบควรรดเฉพาะโคนต้นเท่านั้น อย่ารดน้ำให้โดนดอกหรือใบ เพื่อป้องกันโรคกุหลาบ […]

Read more

การปลูกกุยช่าย

การปลูกกุยช่าย เป็นผักสวนครัวในรั้วบ้านหรือปลูกเพื่อการค้า ล้วนแต่ใช้วิธีการปลูกและการดูแลที่ไม่แตกต่างกัน หากท่านผู้อ่านได้ทดลองปลูกแล้ว อาจจะนำวิธีการที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ไปปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความสะดวก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสูง และเช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผู้เขียนเคยย้ำเตือนว่า ให้ใส่ใจดูแลพืชผักผลไม้ที่ปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อปฎิบัติแล้วได้ผลที่ดี เราก็จะมีกำลังใจที่จะทำการเกษตร ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของวิถีชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ และที่น่ายินดีในตอนนี้คือ ประเทศไทยในยุค 4.0 ช่วยส่งเสริมการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ซึ่งพอจะมองเห็นแนวทางการเกษตรอย่างยั่งยืนได้ชัดเจนขึ้น ในแต่ละปี ราคาพืชผักผลไม้จะขึ้นและลงตามฤดูกาล การที่เราทดลองปลูกพืชผักหลากชนิด และใช้พื้นที่ที่มีอยู่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน นอกจากจะช่วยให้มีรายได้หมุนเวียนแล้วยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ เมื่อต้องการบริโภคพืชผักผลไม้ต่างๆ ในยามที่ราคาพุ่งสูงขึ้นไปตามราคาตลาด และสภาพภูมิอากาศ ในบทความนี้ นอกจากผู้เขียนจะมีวิธีการปลูก การดูแลหลังการปลูก วิธีการเก็บเกี่ยว และการป้องกันและกำจัดโรคและแมลง มาแนะนำแล้ว ยังมีเคล็ดลับกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างปลอดภัยมาฝาก อย่าพลาดติดตามกันนะคะ ขั้นตอน การปลูกกุยช่าย การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์กุยช่าย มี 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด ถือเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการผลิตกุยช่ายเขียว และกุยช่ายดอก และเพื่อเตรียมต้นกล้าสำหรับผลิตกุยช่ายขาว (ในอัตราการปลูก 1 กิโลกรัม 4 ไร่ สำหรับการปลูกเพื่อการค้า) วิธีการเพาะเมล็ด – การเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า โดยก่อนเพาะควรแช่เมล็ดในน้ำผสมปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท(13 – 0 – 50) […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูมะกรูด

โรคและแมลงศัตรูมะกรูด จะอยู่ในกลุ่มของพืชตระกูลส้ม ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกมะกรูดส่วนใหญ่นิยมใช้สูตร 1-4-7 ในการป้องกันและกำจัด คือ เมื่อมะกรูดแตกยอดอ่อน ให้นับเป็นวันที่ 1 เริ่มทำการฉีดพ่นด้วยยากลุ่มกำจัดหนอนชอนใบผสมกับสารจับใบเพื่อตัดวงจรของแมลง หลังจากนั้น เมื่อเข้าสู่วันที่ 4 ให้ปฏิบัติตามวิธีเดียวกันกับวันที่ 1 เพื่อรักษาใบอ่อน และเมื่อเข้าสู่วันที่ 7 ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับวันที่ 1 และ 4 แต่ให้เพิ่มตัวยากำจัดกลุ่มเพลี้ยเข้าไปตามสมควร เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และในส่วนของ โรคและแมลงศัตรูมะกรูด มีสาเหตุ อาการ และการกำจัด ดังนี้ค่ะ โรคมะกรูด โรคแคงเกอร์ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าทำลายใบอ่อน กิ่ง และผล จะสังเกตเห็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ ขนาดประมาณหัวไม้ขีดไฟ ขยายใหญ่และทำให้เป็นแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ แผลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นวงซ้อนกัน ต่อมาใบ กิ่ง และผลจะเหลือง แห้ง และหลุดร่วงไป พบระบาดในช่วงฝนตกติดต่อกัน อากาศชื้น หรือช่วงที่มะกรูดแตกใบอ่อน เกิดจากแผลที่ถูกหนอนชอนใบเข้าทำลาย ในขั้นรุนแรง ผลอาจจะแตกเป็นแผลมียางไหลลุกลามไปยังใบ ใบหลุดร่วง กิ่งแห้ง และต้นตายในที่สุด การป้องกันและกำจัด ให้เก็บใบ กิ่ง และผลที่เกิดโรคแคงเกอร์ไปเผาทำลายทันทีที่พบ ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ที่ตกตะกอนแล้ว ในอัตรา […]

Read more

มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ เมื่อได้ยินชื่อนี้เรามักจะนึกถึงส้มตำกันเป็นอันดับแรก สาวๆ ส่วนใหญ่นิยมรับประทานส้มตำมะละกอเพื่อรักษาหุ่น มะละกอ เป็นผลไม้ที่รับประทานได้ทั้งดิบ สุก สด และปรุงสุก ซึ่งเป็นความพิเศษของมะละกอที่มีความหลากหลายในรูปแบบรับประทาน แถมพกพาความอร่อยไปกับทุกรูปแบบนั้นด้วย การรับประทานมะละกอตามวิถีไทยนั้น นำมะละกอมาเป็นส่วนประกอบอาหาร รับประทานสดเป็นผลไม้ และเป็นยาแก้ท้องผูกชั้นดี อาหารที่มีมะละกอเป็นเครื่องชูรส เช่น ส้มตำ แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า และผัดใส่ไข่ เป็นต้น ส่วนการรับประทานมะละกอสดเป็นผลไม้หลังมื้ออาหาร หรือรับประทานแก้ท้องผูก บางคนก็จะบีบมะนาวให้ทั่วจานมะละกอสีส้มที่หั่นเป็นชิ้นๆ ไว้ แล้วจิ้มเกลือ ได้สามรส หวาน เปรี้ยว เค็ม หรือรับประทานเปล่าๆ ได้รสชาติฉ่ำหวานของมะละกอสุกก็เป็นที่นิยมกันมาแต่ดั้งเดิม เมื่อพูดถึงความนิยมที่มีมาแต่ดั้งเดิม ทราบมั๊ยคะว่า แต่ดั้งเดิมของมะละกอกำเนิดมาจากไหน?….มะละกอกำเนิดเกิดขึ้นในอเมริกากลาง แล้วเดินทางมาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี จนมีเกลื่อนตาตามบ้านเรือนทั่วไปในสมัย 4.0 นี้ หลายๆ คนน่าจะคิดว่ามะละกอเป็นผลไม้ไทยไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะไม่มีชาติใดในโลกนำมะละกอมาทำเป็นอาหารรสจัดจ้าน เป็นอาหารขึ้นชื่ออย่างชาวไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และส้มตำก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของอาหารไทย ข้อนี้ต้องยกนิ้วให้ผู้ที่ริเริ่มนำมะละกอมาทำส้มตำเป็นคนแรกนะคะ มะละกอที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ที่เราพบเห็นมีไม่กี่สายพันธุ์ มาทำความรู้จักกับมะละกอกันให้มากขึ้นนะคะ ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้าง สายพันธุ์ใดเหมาะรับประทานแบบไหน ประโยชน์และโทษของมะละกอมีอะไรบ้าง? ติดตามในบทความนี้ได้เลยค่ะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอ มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุก อายุหลายปี ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีเกือบทุกสภาพอากาศ ลำต้น […]

Read more
1 2