การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยการปฏิบัติ ไม่ว่าจะปลูกเพื่อประดับบ้าน ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน หรือจำหน่าย การปลูกกล้วยไม้ มีการลงทุนค่อนข้างสูง แต่สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าแก่การลงทุน หากเกษตรกรมีการปฏิบัติตามขั้นตอน การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก อย่างสม่ำเสมอ การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก มีดังนี้ การให้น้ำ การให้น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้มาก ช่วยละลายสารอาหารต่างๆ ให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่าพีเอช pH ประมาณ 6.5 หากต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ ( การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ) การแก้ไขปัญหาความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ น้ำที่มีค่าพีเอช pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่ม หรือโอ่งไว้ แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับพีเอช pH จนกระทั่งน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 น้ำที่มีค่าพีเอช […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกันและกำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคกล้วยไม้ ที่พบมีดังนี้ โรคเน่าดำหรือยอดเน่า โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง ลักษณะอาการ ทำลายได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ ส่วนราก รากจะเน่าแห้ง มีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุด ส่วนยอด ทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย ขั้นรุนแรง เชื้อราจะเข้าไปในลำต้น ถ้าผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น การป้องกันและกำจัด ปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่มีกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป หากพบการแพร่ระบาดในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้ากล้วยไม้ที่โตแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราโรคนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรือใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา […]

Read more

ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี G A P

ปลูกมะนาว จี เอ พี G A P

ปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ จี เอ พี G A P แล้ว จี เอ พี คือ อะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และจะได้มาอย่างไร? จี เอ พี คืออะไร?……. G A P ย่อมาจากภาษาอังกฤษ 3 คำ G Good A Agricultural P Practice หมายถึง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ขอขยายความอีกนิด-ปฎิบัติการที่ดีในการผลิตพืช ผัก ผลไม้ ให้ได้ผลผลิตที่ได้ มาตรฐานปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพดี เริ่มตั้งแต่ การเตรียมพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว บันทึกการปฏิบัติงาน เป็นการปลูกพืชที่ปลอดภัยต่อเกษตรกร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาย ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรค ผลผลิตได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ถ้าเกษตรกรปฏิบัติตามจะได้ประโยชน์อะไร? เกษตรกร และผู้ซื้อ ได้บริโภคพืช ผัก ผลไม้ ที่คุณภาพดี […]

Read more

เทคนิคการปลูกมะนาวนอกฤดู

ปลูกมะนาวนอกฤดู

เทคนิคการปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตดีและเพิ่มผลผลิตมะนาวนอกฤดู มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก แต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า ในการปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตดีมีเทคนิค และเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันในบทความนี้ รวมถึงเทคนิคเพิ่มผลผลิต มะนาวนอกฤดู ในการปลูกมะนาวในภาชนะ เริ่มต้นกันที่…เคล็ดลับในการป้องกันแก้ไข ปัญหาแมลงศัตรูมะนาว แบบปลอดสาร น้ำส้มควันไม้ ใช้ได้ทั้งปี ในการป้องกันแก้ไขได้ทั้งโรค และแมลงศัตรูมะนาว นำขวดน้ำพลาสติกมาเจาะรูเล็กๆ ด้านบนของขวดหลายๆ รู เพื่อให้กลิ่นน้ำสัมควันไม้ออกมาได้ ใส่น้ำส้มควันไม้ลงในขวดพลาสติกที่เจาะรูไว้แล้วจนเกือบถึงรูระบายกลิ่น ใช้เชือกมัดขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำส้มควันไม้ แล้วนำไปมัดแขวนไว้ที่ต้นมะนาว 1 ขวด ต่อ มะนาว 1 ต้นหรือใช้ฉีดพ่นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ใช้ลูกเหม็นไล่แมลง นำขวดน้ำพลาสติกมาเจาะรูเล็กๆ ด้านบนของขวดหลายๆ รู เพื่อให้กลิ่นลูกเหม็นออกมาได้ ใส่ลูกเหม็นลงไปในขวดพลาสติกที่เจาะรูไว้แล้ว 1 ถึง 2 ลูก ใช้เชือกมัดขวดพลาสติกที่บรรจุลูกเหม็น แล้วนำไปมัดแขวนไว้ที่ต้นมะนาว 1 ขวด ต่อ มะนาว 1 ต้น การกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง ด้วยวิธีธรรมชาติ ส่วนผสม: เหล้าขาว 1 ลิตร,ยาเส้น หรือ ยาสูบ 50 กรัม, มะข้าว(ฟักข้าว) 2 […]

Read more

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ ช่วยบำรุงและปรับสภาพให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้นานหรือมีขนาดกอใหญ่ และสภาพทรุดโทรมให้กลับมามีสภาพที่ดี และเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่ดี และหลากหลาย นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจในการจำหน่ายต้นพันธุ์ หรือจำหน่ายในลักษณะของไม้กระถาง สร้างรายได้เพิ่มขึ้นมา ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลายราย มีรายได้หลักล้านต่อปีจากการจำหน่ายต้นพันธุ์ ทำไมผู้เขียนจึงเน้นให้ทำ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ด้วยตนเอง หากเกษตรกรผู้ปลูก หรือ ถึงแม้จะเป็นมือใหม่ ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก การขยายพันธุ์ด้วยตนเองนั้น เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ศึกษาขั้นตอนและทดลองทำดูนะคะ การขยายพันธุ์กล้วยไม้แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ 1.การขยายพันธุ์แบบไม่ผสมเกสร – เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่ได้จำนวนน้อย เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับกล้วยไม้ที่มีคุณลักษณะดี สวย เหมาะเป็นกล้วยไม้เพื่อการตัดดอก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิม โดยนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ (ที่ไม่ได้มาจากการผสมเกสร ) ไปขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่มีการผสมเกสรแบ่งวิธีการขยายพันธุ์ตามลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ดังนี้ การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตประเภทแตกกอ เช่น หวาย แคทลียา เมื่อหน่อหรือลูกกล้วยไม้ผลิดอกและต้นโรย กล้วยไม้จะแตกหน่อใหม่ออกมาแทน ทำให้กอแน่นขึ้น หากปล่อยไว้จะทำให้กอแน่นเกินไป กล้วยไม้อาจทรุดโทรมเพราะมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ ควรตัดแยกหน่อไปปลูกใหม่ ซึ่งได้ประโยชน์ถึง 2 ทาง คือ ได้กล้วยไม้เพิ่มขึ้นและทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามดี ควรทำในช่วงต้นฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตดีและแตกหน่อใหม่ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม […]

Read more
1 3 4 5