การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ มีข้อดี คือ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตดี บริหารจัดการเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี เนื่องจากมีระยะห่างระหว่างกอข้าวให้แสงแดดส่องทั่วถึง อากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตจะสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคหรือแมลงมา  รบกวน เพราะมีลมช่วย มีตัวห้ำ และตัวเบียนเข้าช่วยในการกำจัดศัตรูพืชได้อีกทาง ไม่มีปัญหาอย่างการทำนาหว่าน การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ มีขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมน้ำหมักจุลินทรีย์ (หน่อกล้วย) ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม หน่อกล้วย 1 ต้น เครื่องดื่มกลูโคส 1 ขวด ขัณฑสกร 2 ช้อนโต๊ะ ลูกแป้งข้าวหมาก 6 ลูก ยาคูลย์ 2 ขวด (เพราะไม่มีสารกันบูด) น้ำส้มสายชู 1 ขวด น้ำเปล่า 150 ลิตร หิน ขนาด 1 ถึง 2 นิ้ว 1ก้อน ตะแกรงพลาสติก หรือกระถางปลูกกล้วยไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว (ให้ใส่ก้อนหินที่เตรียมไว้ได้) เชือก ถังพลาสติก 200 […]

Read more

สมุนไพรใกล้ตัวภูมิปัญญาชาวบ้าน

สมุนไพรใกล้ตัวภูมิปัญญาชาวบ้าน

สมุนไพรใกล้ตัวผักสวนครัวยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าวแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาแต่โบราณ แต่เรากลับหันไปใช้สารเคมีกัน จนสุขภาพและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ผู้คนจึงหันกลับมาหา ยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือที่เราได้ยินคำว่า ‘เกษตรอินทรีย์’ เกษตรอินทรีย์ หมายรวมถึง การปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่บำรุง ดูแล แบบปราศจากการใช้สารเคมีทุกขั้นตอน แต่ใช้สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา เช่น ใช้ แตนบียน ตัวมวน ตัวห้ำ กบ เขียด คางคก ในการกำจัดศัตรูพืช และ ใช้สมุนไพร ผักสวนครัว บำรุงพืช กำจัดโรคและศัตรูพืช การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เกษตรอินทรีย์ทำได้ไม่ยากเลย ยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว ที่รวบรวมสูตรมานำเสนอ เพื่อให้เกิดทางเลือกจากสมุนไพรให้มากที่สุด เท่าที่จะหาได้ในท้องถิ่น ดังนี้ สมุนไพรกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช บอระเพ็ด วิธีเตรียมและการใช้ ใช้เถาบอระเพ็ดสด 5 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 12 ลิตร ทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำบอระเพ็ดที่กรองแล้ว ผสมสารจับใบ เช่น ผงซักฟอก […]

Read more

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การป้องกันปัญหาข้าวไรซ์เบอร์รี่

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะปฏิบัติโดยปราศจากการใช้สารเคมี และส่วนใหญ่แล้ว การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีปัญหาเรื่องโรค และแมลงศัตรูพืชน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะให้การดูแล เอาใจใส่ และป้องกันเป็นอย่างดี โดยวิธีธรรมชาติ แต่หากเกิดปัญหา หรือความเสียหาย ให้รีบแก้ไขทันที การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีดังนี้ ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ โรคเชื้อราในการเพาะกล้า อาการของโรค เริ่มพบอาการได้หลังจากการเพาะกล้าข้าวในถาดเพาะ เมล็ดข้าวบางส่วนที่เพาะไม่งอกและมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุมส่วนเมล็ดที่งอก ต้นกล้าจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าข้าวปกติ และเมื่อถอนต้นกล้าข้าวขึ้นมาดู ก็จะพบส่วนรากและโคนต้นกล้ามีแผลสีน้ำตาล และแผลที่เกิดบนโคนต้นจะลุกลามขึ้น ไปยังส่วนบนของต้นกล้าทำให้ต้นกล้าเน่าตาย ในขณะเดียวกันเชื้อราสาเหตุของโรคจะขยายจากจุดเริ่มต้นที่เป็นโรคออกไปบริเวณโดยรอบไปยังต้นกล้าข้างเคียง ในกรณีที่เพาะต้นกล้าหนาแน่น เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของถาดเพาะได้อย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นก็จะพบอาการตายของต้นกล้าข้าวเป็นหย่อมๆ กรณีที่เป็นโรคถาดเพาะกล้ารุนแรงทำให้ไม่สามารถนำต้นกล้าข้าวนั้นไปใช้ปักดำได้ การป้องกันกำจัด การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับขี้เถ้าแกลบ เช่น การตากขี้เถ้าแกลบเป็นเวลาประมาณ 1 ถึง 2 วัน จากนั้นนำขี้เถ้าแกลบลงไปแช่น้ำที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร เป็นเวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที และเทน้ำทิ้งจากนั้นจึงสามารถนำไปเพาะกล้าได้ต่อไป การใช้สารคอปเปอร์ซันเฟต โดยป็นสารที่สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้รับรองว่าสามารถใช้ได้ในการปลูกข้าวระบบเกษตรอินทรีย์ ทำการฉีดพ่น อัตราส่วน 19 กรัม ต่อน้ำ 18 […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์และยางรถยนต์เก่า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

  การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์และยางรถยนต์เก่า สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณบ้าน หรือพื้นที่ที่มีจำกัด เหมาะสำหรับการปลูกข้าวไว้รับประทานกันในครัวเรือน โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปลูกแบบอินทรีย์ ต้องการการดูแลเอาใจใส่ให้ต้นข้าวมีความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง การปลูกสามารถทำได้ในภาชนะที่ขังน้ำได้ เช่น บ่อซีเมนต์ อ่างเลี้ยงปลา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ การปลูกในวงบ่อซีเมนต์ และยางรถยนต์เก่า เท่านั้น ข้อแตกต่าง ของ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์และยางรถยนต์เก่า วงบ่อซีเมนต์ จะมีความสะดวกในการทำวาล์วเปิดปิดระบายน้ำ ส่วนยางรถยนต์เก่า จะระบายน้ำได้ยากกว่า ถ้าหาวิธีทำวาล์วเปิดปิด หรือช่องระบายน้ำไม่ได้ ต้องใช้ขันตักน้ำออก วงบ่อซีเมนต์ สามารถสั่งซื้อแบบที่มีพื้นบ่อสำเร็จรูปได้ ส่วนยางรถยนต์เก่าต้องใช้ซีเมนต์หล่อพื้น ยางรถยนต์ ประหยัดพื้นที่กว่า วงบ่อซีเมนต์แข็งแรงกว่า มีอายุการใช้งานนานกว่า การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์ สิ่งที่ต้องเตรียม วงบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สามารถสั่งทำแบบมีพื้นบ่อสำเร็จรูป หรือ ซื้อพื้นรองวงบ่อซีเมนต์ขนาดเดียวกัน แต่จะต้องป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมออกจากบ่อได้ โดยใช้ปูนผสมน้ำยากันซึม เทปิดหรือฉาบร่องระหว่างวงบ่อกับพื้นรองให้เรียบ อย่าลืมเว้นช่องระบายน้ำไว้ ปล่อยไว้ให้แห้ง จากนั้นทำซ้ำขั้นตอนเดิม เมื่อแห้งแล้ว ทดลองใส่น้ำเพื่อทดสอบรอยรั่ว ถ้ายังมีน้ำซึมออกได้ให้ทำซ้ำขั้นตอนเดิมจนกว่าจะไม่มีน้ำรั่วซึมออกมา ใส่ดินสูง 30 ถึง 35 เซนติเมตร ใส่น้ำให้ท่วมดิน ทิ้งไว้ […]

Read more

การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

บำรุงข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ เนื่องจากข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นสายพันธุ์ข้าวที่เน้นการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ การให้น้ำเลี้ยงโคนต้นข้าวจนออกรวงนั้น ไม่เพียงพอต่อต้านโรคและแมลงได้ 100 เปอร์เซนต์ ด้วยเหตุผลทางสิ่งแวดล้อมต่างต่างนานา การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยต้านโรคและแมลงได้อย่างมาก นอกจากนี้แล้ว ยังได้เมล็ดข้าวที่เต่ง สมบูรณ์ ผู้เขียนมีความตั้งใจ รวบรวมสูตร ปุ๋ยสมุนไพร และแถมท้ายด้วย ฮอร์โมนสมุนไพร มาฝากเกษตรกร และเกษตรกรมือใหม่ เพื่อนำไปใช้หรือดัดแปลงให้สะดวก และได้ประโยชน์มากที่สุด และท่านสามารถสืบค้นสูตรสมุนไพรไล่แมลง และต่อต้านโรค ได้จากบทความ สมุนไพรใกล้ตัว ผักสวนครัว ยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน และ การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยปุ๋ยสมุนไพร ปุ๋ยสมุนไพร น้ำหมักชีวภาพสูตรเศษอาหารเหลือทิ้ง สูตรที่1 (คุณสมยศ รักษาวงศ์) ส่วนผสม ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน วิธีทำ ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน […]

Read more

โรงเรือนปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ

โรงเรือนปลูกพืช แบบปลอดสารพิษ

โรงเรือนปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ ใช้ได้ในการเพาะปลูกทั้งแบบใช้ดิน และไร้ดิน ไม่ว่าจะเป็นผักสลัด, ผักสวนครัว, กล้วยไม้ โดยเฉพาะผักและดอกไม้เมืองหนาว ประโยชน์ของ โรงเรือนปลูกพืช ป้องกันโรค และแมลงศัตรูพืช ป้องกันวัชพืช ช่วยกรองแสงแดดในเวลากลางวัน กันน้ำค้างเวลากลางคืน ป้องกันน้ำฝน สามารถให้น้ำได้ตามความเหมาะสม ลดการเกิดโรคที่เกิดจากน้ำฝนได้ สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี สามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือน ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และขนาดของโรงเรือน ซึ่งมีตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักแสน โครงสร้างโรงเรือน วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างโรงเรือนนั้น เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามต้องการและงบประมาณ แต่ควรคำนึงถึงความแข็งแรง และอายุการใช้งาน เช่น โครงไม้ – ไม้เนื้อแข็งจะมีราคาแพงกว่าไม้เนื้ออ่อน และแน่นอนความแข็งแรงของไม้เนื้อแข็งย่อมมากกว่า ที่สำคัญ ไม้เนื้ออ่อนจะมีปัญหาเรื่องปลวก หรือมอด ที่คอยกัดกินเนื้อไม้ให้       ผุกร่อนเร็วขึ้น ซึ่งถ้าแก้ปัญหาด้วยการใช้ยากำจัดปลวก ก็จะมีผลกระทบด้านสารเคมีต่อพืชผักที่อยู่ในโรงเรือน โครงท่อพีวีซี หรือท่อน้ำประปาสีฟ้า-ราคาถูก แต่อายุการใช้งานสั้น แตกหักง่ายเมื่อถูกกระแทกหรือกดทับ และเมื่อตากแดดตากฝนไปนานๆ ก็จะกรอบแตก โครงเหล็กชุบกัลวาไนซ์ – ราคาแพงกว่าท่อพีวีซี แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณสมบัติกันแล้ว ก็นับว่าไม่แพงกว่ากันเท่าไหร่ เพราะมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี แข็งแรง ไม่เป็นสนิมเพราะชุบกัลวาไนซ์ และไม่มีปัญหาอื่นๆ […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า หรือ แบบพาราชูท (Parachute) เป็นหนึ่งในสองทางเลือกของการทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ทำให้เราได้บริโภคข้าวอินทรีย์ที่ปราศจากสารพิษ ที่สำคัญ ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรผู้ปลูกข้าว ให้ได้รับผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ คำแนะนำ การทำนาด้วยวิธีโยนกล้า ใช้แมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 5 กิโลกรัม ต่อ 1ไร่ ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ แบ่งพื้นที่บางส่วน หรือประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ขั้นตอน การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้า 2 แบบคือ วิธีเตรียมถาดเพาะกล้าแบบแห้งวิธีเพาะต้นกล้าข้าวไรซ์เบอร์รี่ เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ตามขั้นตอนในบทความ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ใส่ดินปลูกลงในหลุมของถาดเพาะครึ่งหลุม หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำแล้วหลุมละ 3 ถึง 4 เมล็ด (ถ้าใช้เครื่องหยอดเมล็ด จะหยอด 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม) โรยดินปลูกทับเมล็ดให้พอดีปากหลุม รดด้วยน้ำที่เป็นฝอยละเอียด (อาจใช้ฝักบัวรดน้ำหรือหัวฉีดที่เป็นฝอยละเอียด) เมล็ดพันธุ์ข้าวจะไม่กระเด็น ใช้ผ้าฟาง, สแลน หรือกระสอบป่านเก่าคลุม แต่ถ้าใช้สแลนจะรดน้ำได้ง่ายไม่ต้องคอยเปิดปิดวัสดุคลุม รดน้ำทั้งเช้า และเย็น ประมาณ 5 ถึง 7 […]

Read more

การเลี้ยงจิ้งหรีด

การเลี้ยงจิ้งหรีด

การเลี้ยงจิ้งหรีด ในยุค ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อผู้บริโภคที่รัก และต้องการดูแลสุขภาพด้วยอาหารที่มีโภชนาการสูง แต่ต้องตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตทางสังคมที่เปลี่ยนไป คือ คุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพ สะดวกต่อการซื้อและบริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีดสามารถตอบโจทย์นี้ได้อย่างดี ปัจจุบัน การเลี้ยงจิ้งหรีด จึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างดี ปีพ.ศ.2561 เป็นปีที่จิ้งหรีด กับนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารจะก้าวเข้าไปสู่ตลาดสหภาพยุโรป สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตรขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่สหภาพยุโรปของจิ้งหรีดและแมลงอื่นๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม (ร่าง) มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด ได้ที่ www.acfs.go.th ข้อดี ของ การเลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงง่าย อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ใช้พื้นที่และปริมาณน้ำในการเลี้ยงน้อย ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีและต้นทุนสูงในการเลี้ยง รายได้ดี เพราะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงไม่นาน ก็สามารถจำหน่ายได้ สายพันธุ์จิ้งหรีด ที่เกษตรกรนิยมเลี้ยง มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ จิ้งหรีดบ้าน (แมงสะดิ้ง) พันธุ์ทองดำ จิ้งหรีดขาว ระยะเวลาในการเลี้ยง และราคาจำหน่าย จิ้งหรีดบ้าน ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 40 ถึง 50 วัน ราคาจำหน่าย (ราคาส่ง) กิโลกรัมละ […]

Read more

การดูแลจิ้งหรีด

การดูแลจิ้งหรีด

การดูแลจิ้งหรีด เป็นขั้นตอนสำคัญในการเลี้ยงจิ้งหรีด หลังจากที่เราปล่อยพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ลงบ่อแล้ว แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร หากบริหารจัดการทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมบ่อเลี้ยงอย่างถูกวิธี รวมทั้งอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมรอบบ่อเลี้ยง ก็มีผลให้ การดูแลจิ้งหรีด เป็นไปอย่างราบรื่น การดูแลจิ้งหรีดให้ได้ผลผลิตดี ต้องรู้จักสัญญาณ ที่จิ้งหรีดใช้สื่อสาร…เสียงร้องของจิ้งหรีด เสียงร้องของจิ้งหรีด ไม่ได้ใสปิ๊งจากการกินน้ำค้าง แต่เกิดจากปีกที่เสียดสีกันของตัวผู้ เริ่มจากยกขาหน้าขึ้นถู กับฟันซี่เล็กๆ ใต้โคนปีกขวาด้านใน ถ้าเราได้ยินเสียง…กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก กริ๊กกกกกกกกกกกกกกก นานๆ อาจหมายถึง จิ้งหรีดอยากมีคู่ หรือไม่ก็ หลงบ้าน กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก เบาๆ แต่ถี่ๆ คือ จิ้งหรีดอยากผสมพันธุ์ กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก ยาวววว ยาว เป็นการแสดงอาณาเขต การเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จับจอง แต่ ถ้า กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก ยาวๆ ดังๆ 2 ถึง 3 ครั้ง เป็นการบ่งบอกว่า โกรธซึ่งไม่รู้ว่า ถ้าปล่อยให้หิว จิ้งหรีดจะโมโหหิวแล้วส่งเสียงแบบเดียวกันกับเวลาโกรธด้วยรึเปล่า แต่ทางที่ดี อย่าปล่อยให้จิ้งหรีดหิวนะคะ ให้น้ำ […]

Read more

เคล็ดลับการป้องกันศัตรูจิ้งหรีด

เคล็ดลับการป้องกันศัตรูจิ้งหรีด

การป้องกันโรคและศัตรูจิ้งหรีด เคล็ดลับ และข้อควรระวัง เป็นการปฏิบัติที่ต้องการความสม่ำเสมอ จิ้งหรีดเป็นสัตว์เลี้ยงง่ายก็จริง แต่ยังต้องการการดูแลเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย อาหาร น้ำ โรค และศัตรู หากไม่มี การป้องกันโรคและศัตรูจิ้งหรีด แล้วปล่อยให้เกิดความเสียหายขึ้น จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน หากมีการบริหารจัดการที่ดี ปฏิบัติตามวิธีป้องกัน เคล็ดลับ และข้อควรระวัง ก็ยังผลให้การส่งออก หรือทำกำไรจากผลผลิตจิ้งหรีด เป็นเรื่องที่ง่ายและเร็วขึ้น โรคจิ้งหรีดที่สำคัญ ได้แก่ โรคทางเดินอาหาร เกิดจากอาหารสกปรก มีเชื้อรา ภาชนะสกปรก วิธีป้องกัน ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับประชากรจิ้งหรีดในบ่อเลี้ยง เทอาหารและน้ำที่เหลือทิ้ง พร้อมทั้งเศษอาหารที่หล่นอยู่ในบ่อเลี้ยงและที่อยู่จิ้งหรีด ควรถูกเก็บทิ้งเช่นกัน ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารและน้ำให้สะอาดทุกครั้งที่ให้อาหาร โรคอิริโดไวรัส ในจิ้งหรีด ขอบคุณรูปภาพจาก www.niah.dld.go.th โรคติดเชื้อ อิริโดไวรัส เกิดอาการรุนแรงในจิ้งหรีด ถึงขั้นตาย แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สัตว์ตระกูลแมลงชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อนี้ได้ เช่น ตั๊กแตน และ แมลงสาบ เป็นต้น แต่ไม่สามารถติดต่อมาสู่คนได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส การติดต่อ ผ่านระบบทางเดินอาหาร ระยะเริ่มแรกอยู่ที่เซลล์ไขมันร่างกาย ระยะสุดท้ายของโรคจะอยู่ที่ชั้นใต้ผิวหนัง ของเหลวในหลอดลม กล้ามเนื้อของผนังลำไส้ ถุงหุ้มอวัยวะสืบพันธุ์ และเซลล์เม็ดเลือดของแมลง […]

Read more
1 2 3 4 5