โรคและแมลงศัตรูอะโวคาโด้

โรคและแมลงศัตรูอะโวคาโด้

โรคและแมลงศัตรูอะโวคาโด้ สร้างความเสียหายให้ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของผู้ปลูกด้วย อะโวคาโด้ต้องการการดูแลมากที่สุดคือ ช่วง 1 ปีแรก หลังจากนั้น ให้น้ำ ให้ปุ๋ยตามกำหนด และเพียงแค่หมั่นสังเกตว่ามีความผิดปกติกับอะโวคาโด้บ้างหรือไม่ แต่ถ้าผู้ปลูกปล่อยปละละเลย ก็เป็นจุดอ่อนให้ โรคและแมลงศัตรูอะโวคาโด้ เข้าทำลายได้ อาการและวิธีป้องกันแก้ไข โรคและแมลงศัตรูอะโวคาโด้ มีดังนี้ โรคอะโวคาโด้ โรครากเน่า เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของอะโวคาโด้ โดยเฉพาะช่วงอายุประมาณ 10 ปีที่อะโวคาโด้กำลังให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ โรคนี้เกิดจากเชื้อราในดิน ถ้าการระบายน้ำในดินไม่ดี หรือเกิดน้ำท่วมขัง เชื้อโรคนี้ก็จะเริ่มระบาด หรือถ้ารากมีบาดแผลเชื้อโรคนี้ก็จะเข้าทำลายทางบาดแผล อาการที่สังเกตได้ คือ ใบจะเล็กลง เหี่ยว และร่วง, กิ่งแห้งจากยอดมาหาราก, ต้นมีสีดำ เน่า แห้ง และ ผล จะมีขนาดเล็กลง การป้องกันและกำจัด รดน้ำในปริมาณที่เหมาะสม แค่พอชุ่มแต่ไม่แฉะ ควบคุมการให้น้ำเมื่อเกิดโรค อย่าให้น้ำและหน้าดินจากต้นที่เป็นโรคไหลไปหาต้นข้างเคียง ใช้ต้นตอที่ปลอดโรค หรือมีความต้านทานโรครากเน่าได้ดี เมื่อเกิดอาการให้แก้ไขในทันที โดยใช้สารสกัดสมุนไพร (มีจำหน่ายแบบสำเร็จรูป) ผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดข้างขวด กำจัดด้วยการฉีดพ่นให้ทั่วต้น หรือใช้จุลินทรีย์สับปะรดกำจัด ควบคุมการเกิดโรครากเน่า ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ควรฉีดพ่นทุก 10 ถึง 15 […]

Read more

การดูแลเมล่อนหลังการปลูก

การดูแลเมล่อนหลังการปลูก

การดูแลเมล่อน หลังการปลูก เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการปลูกเมล่อน เพราะเมล่อนเป็นพืชที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ตามที่เคยกล่าวถึงไว้ในบทความ การปลูกเมล่อน ในโรงเรือน ว่าโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถเข้าทำลายเมล่อนได้ในทุกระยะของการปลูก โดยเฉพาะ การเด็ดแขนงยอด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ผู้เขียนแนะนำให้ปลูกเมล่อนในโรงเรือนที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคและแมลง รวมทั้งบริหารจัดการได้ง่ายในเรื่อง การดูแลเมล่อน หลังการปลูก ขั้นตอน การดูแลเมล่อน เด็ดแขนงยอด การเด็ดแขนงยอด ควรทำในช่วงเช้า เพราะเมื่อเด็ดแขนงแล้วลำต้นจากเป็นแผลจากแขนงที่ถูกเด็ดออกไป ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อราชอบเข้าไปทำลายต้นจากทางบาดแผล แสงแดดในตอนกลางวันจะช่วยให้แผลแห้ง ช่วยป้องกันเชื้อราโดยวิธีธรรมชาติ หรือถ้ามีฝนตก หรืออากาศชื้น ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ในตอนเย็น หลังการปลูกกล้า 10 ถึง 15 วัน เด็ดใบเลี้ยง คือใบที่งอกตอนเพาะ ออกก่อน เด็ดแขนงข้อที่ 1 ถึง 8 ออก ให้เหลือแต่ลำต้น ส่วนข้อที่เหลือไปถึงยอด เก็บไว้สำหรับการผสมเกสร หมั่นตรวจสอบการแตกแขนง ถ้าแตกออกมาใหม่ ให้เด็ดออก ใช้มือเด็ดให้ชิดลำต้นพอประมาณ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนแขนงยาว ให้ใช้กรรไกรตัดอย่าให้ชิดลำต้นมาก เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่ จะเกิดการผสมเกสร ควรตัดใบออก ให้เหลือประมาณ 20 ถึง 25 ใบ ต่อต้น เพื่อให้อาหารส่งไปเลี้ยงลูกเมล่อนได้เต็มที่ การให้น้ำ […]

Read more

การแก้ไขปัญหาการปลูกเมล่อน

การแก้ไขปัญหาการปลูกเมล่อน

การป้องกันและแก้ไขปัญหาในการปลูกเมล่อน เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมล่อน หลังการปลูก ซึ่งไม่ได้มีเพียงการป้องกันและแก้ไขเรื่องโรคและแมลงศัตรูเมล่อนเท่านั้น ปัญหาในการปลูกเมล่อน ยังมีอีกหลายเรื่องที่ควรป้องกันไว้ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก หากป้องกันแล้วยังเกิดปัญหา ควรรีบแก้ไขในทันทีเพื่อป้องกันการลุกลาม และความเสียหายขั้นรุนแรง ปัญหาในการปลูกเมล่อน โรคเมล่อน และแมลงศัตรูของเมล่อน โรคเหี่ยวจากเชื้อรา เชื้อเข้ามาทางราก ทำให้ใบเหี่ยว จะเริ่มเหี่ยวจากส่วนยอดไล่ลงมา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต้นจะแตก สังเกตเห็นเชื้อราได้ เมื่อโคนและซอกใบเริ่มเน่า ต้นเมล่อนจะเริ่มตาย วิธีป้องกันและแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือป้องกันการเกิดซ้ำ ด้วยการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ราดที่โคนต้น 15วัน ก่อนปลูก และหลังปลูกกล้า ได้ 60 วัน ถอนต้นที่เป็นโรคไปเผาทิ้ง ปรับสภาพดิน โดยดินที่เหมาะกับเมล่อนจะอยู่ที่ pH 6-7 ลดความรุนแรง โดยใส่ ไนโตรเจน หรือปุ๋ยไนเตรท หรือใส่ทั้ง2 โรคราน้ำค้าง ระยะแรกของโรคเริ่มที่ใบล่างลามขึ้นไป จะเกิดจุดเล็กๆ สีน้ำตาลหรือสีเหลือง แล้วขยายใหญ่เป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ เกิดเส้นเชื้อราสีขาวหรือสีเทาใต้ใบในช่วงเช้ามืด ขอบใบม้วน แห้งและร่วง เป็นโรคที่เกิดในเขตร้อน ช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง น้ำค้างลงจัด ระบาดมากในฤดูฝน และฤดูหนาว วิธีป้องกันและแก้ไข เริ่มป้องกันตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ควรเป็นชนิดพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง ใช้วิธีรดน้ำล้างใบพืชในช่วงเช้า พร้อมการให้น้ำ […]

Read more

ถาดเพาะกล้าเสริมอาชีพขายต้นกล้า

ถาดเพาะกล้า

ถาดเพาะกล้าเสริมอาชีพขายต้นกล้า สำหรับยุคนี้ อาชีพขายต้นกล้าไม่ใช่แค่อาชีพเสริมเท่านั้น เกษตรกรรับรายได้งดงามจากการเพาะต้นกล้าขาย ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากกันมากขึ้น เดิมที ประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่รัฐบาลกำลังส่งเสริมภาคการเกษตรให้เป็นไปตามรูปแบบไทยแลนด์ 4.0 จึงมีอุปกรณ์ วัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่อาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นมากมายหลายชนิด เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้ ร่ำรวยมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน เกษตรกรไทยในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่แล้ว ยังเกาะติดข่าวสารและข้อมูลทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และจะให้ดีมากคือ การนำมาข้อมูลใช้ประโยชน์ การพัฒนาขั้นตอนการเพาะปลูก การดูแลบริหารการเกษตรกรรมของตน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเพิ่มรายได้ อาชีพเพาะต้นกล้า ใช่ว่าเพิ่งเริ่มทำกัน แต่คนรุ่นใหม่หันไปสร้างรายได้ในอาชีพนี้เป็นหลักกันหลายราย มีการนำเครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงต่างๆ มาใช้ และ ถาดเพาะ ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำทีเดียว ตัวอย่าง ถาดเพาะกล้า  434 หลุม A-55 104 หลุม แบบมีขอบ และ ไม่มีขอบ (60 ไมครอน, 65 ไมครอน และ 70 ไมครอน) 105 หลุม และ 200 หลุม (70 ไมครอน) 72 […]

Read more

เลือกให้ของขวัญเลือกให้ไม้มงคล

เลือกของขวัญไม้มงคล

เลือกให้ ของขวัญ เลือกให้ ไม้มงคล เป็นของขวัญสำหรับเทศกาลปีใหม่ มีความหมายเข้ากับเทศกาลดีมาก ทั้งยังได้ประโยชน์ ได้คุณค่าทางจิตใจ เป็นไม้ประดับ เสริมบารมี มีมงคลกับชีวิต แถมบางชนิดช่วยดูดสารพิษรอบๆ ตัวเราได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ ไม้มงคล มีราคาไม่แพงเกินไป เป็นของขวัญที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในวัยเรียน, วัยทำงาน จนถึงวัยสูงอายุ การให้ต้นไม้เป็นของขวัญ มีส่วนช่วยให้ผู้รับมีงานอดิเรกเล็กๆ ทำก๊อกๆ แก๊กๆ ซึ่งไม่ว่าความเป็นสิริมงคลที่คนส่วนใหญ่เชื่อถือกันนั้น จะพิสูจน์ได้หรือไม่ได้ก็ตาม ของแบบนี้ไม่มีคำไหนเหมาะสมที่จะพูดว่า ‘ไม่เชื่ออย่าลบหลู่’ เพราะอย่างน้อยๆ ก็สร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้รับ ว่าเริ่มต้นปีด้วยสิ่งที่เป็นสิริมงคล มีสิ่งยึดมั่นว่า จะได้รับสิ่งที่ดี จะสู้งาน เพราะมีมงคลชีวิตคอยสนับสนุนเสริมแรงให้ประสบความสำเร็จได้….อย่ากระนั้นเลย ไปเลือกของขวัญกันได้แล้ว…..ประเดิมเคล็ดลับเสริมความรวย ด้วย ไม้มงคลเหล่านี้ : (ลืมบอกไปค่ะ…ว่า แอบบอกวิธีขยายพันธุ์ ให้ร่ำรวย มั่งคั่ง ยั่งยืน ไปเลย) เศรษฐีรับเงิน เปิดตัวไม้มงคลชนิดแรกด้วย เศรษฐีรับเงิน รับทรัพย์กับไม้มงคลตระกูลเดียวกับสาวน้อยประแป้ง นิยมปลูกประดับอาคาร, บ้านเรือน, สำนักงาน และคอนโด ใบของเศรษฐีรับเงินมีลายคล้ายหินอ่อน เป็นรูปใบพายขอบสีเขียว ใช้ลำต้น ปักชำเพื่อขยายพันธุ์ ชอบอยู่ในดินร่วนซุย ไม่ค่อยทนต่อความแห้งแล้ง หมั่นรดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่แฉะ […]

Read more

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน เป็นการปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสุง ควรทำอย่างไร?…ควรทำความรู้จักกับสายพันธุ์ และศึกษา ขั้นตอน การปลูกเมล่อน, การดูแลเมล่อน และ การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช เมื่อเรียนรู้แล้วจึงลงมือปลูกนะคะ เมล่อน รับประทานในรูปแบบไหนก็ได้รสชาติอร่อย เนื้อนุ่ม ฉ่ำ หวาน มีคุณประโยชน์ และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ถือเป็นราชินีของพืชตระกูลแตง ถ้ารับประทานในรูปแบบผัก เช่น รับประทานคู่กับพาร์ม่าแฮมก็อร่อยเข้ากัน หรือรับประทานเป็นเครื่องสลัด, รับประทานเป็นของว่าง เช่น ใส่ในน้ำแข็งใสหรือฟรุ้ตสลัด หรือไอศกรีม และในรูปแบบผลไม้ โดยการรับประทานสด หรือทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น นอกจากนี้ เมล่อนยังมีสีสันน่ารับประทาน ไม่ว่าจะสีขาว สีครีม สีส้ม สีแสด สีเหลือง หรือสีเขียว และยังมีหลายชนิด แต่ขอแนะนำให้รู้จักกับชนิดเมล่อนโดยการแบ่งตามลักษณะผลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ร็อคเมล่อน – เปลือกนอกแข็ง มีลายขรุขระนิดหน่อย เน็ตเมล่อน – เปลือกมีลายร่างแหคลุมไว้ทั่วทั้งผล เมล่อนผิวเรียบ – หรือที่นิยมเรียกกันว่า แคนตาลูป ถ้าจะให้ตัดสินว่าชนิดไหนอร่อยกว่ากันคงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่ชนิดไหนก็มีประโยชน์ไม่ต่างกัน ประโยชน์ชองเมล่อน คลายร้อน คลายเครียด หลับสบาย ช่วยลดน้ำหนัก สมาธิดีขึ้น เหมาะให้ผู้ป่วยรับประทาน […]

Read more

ปลูกอะโวคาโด้ผลิตเครื่องสำอาง

ปลูกอะโวคาโด้ผลิตเครื่องสำอาง

ปลูกอะโวคาโด้ผลิตเครื่องสำอาง เป็นเกษตรกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาหลายปีแล้วอะโวคาโด้ เป็นหนึ่งในไม้ผล 8 ชนิด ที่ได้รับการทดสอบสาธิตเพื่อทดสอบพืชพันธุ์ใหม่ ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่และชาวไทยภูเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากโครงการในพระราชดำริ เมื่อปี 2522 จนถึงปัจจุบัน อะโวคาโด้ ได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว และแผ่ขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย เพราะการปลูกอะโวคาโด้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงเพื่อจำหน่ายผลสดเท่านั้น แต่เป้าหมายหลักของการปลูกอะโวคาโด้ คือ รายได้จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง อาทิ ครีมบำรุงผิว, ครีมกันแดด, ครีมขัดผิว, ครีมหมักผม, ทรีทเม้นท์, สบู่ และแชมพู เป็นต้น การทำการเกษตรไม้ผลเพื่อจำหน่ายผลผลิตในรูปแบบของผลสด มีปัญหาและความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ขนาดและรูปร่างของผล, ผลผลิตไม่ตรงตามฤดูกาล, ผลผลิตล้นตลาด และเงินทุนในการแปรรูป การปลูกอะโวคาโด้เพื่อจำหน่ายผลสดและเพื่อผลิตเครื่องสำอางนี้ เป็นนวัตกรรมทางความคิดที่ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่า เกษตรกรจะไม่ได้เป็นผู้ประกอบการเองก็ตาม แต่อะโวคาโด้ก็มีตลาดรองรับ ไม่ต้องกลัวปัญหาในด้านของรายได้ค่าตอบแทน ด้วยคุณสมบัติที่อะโวคาโด้มีอยู่ คือ สารต้านอนุมูลอิสระที่มีปริมาณสูง ลดริ้วรอยร่องลึกได้ดีกว่าผลไม้ชนิดอื่น เครื่องสำอางที่ผลิตจากอะโวคาโด้จึงเข้าสู่ตลาดเครื่องสำอางได้อย่างรวดเร็ว ส่วนผลสดนั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายไม่แพ้กัน ประโยชน์จากการรับประทานผลสดอะโวคาโด้ ลดน้ำหนักและกำจัดไขมันชนิดเลว อะโวคาโด้เป็นผลไม้ที่มีไขมันสูงถึง 17.3 กรัม […]

Read more

การปลูกกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้ ในประเทศไทย มีกล้วยไม้ป่าอยู่ในธรรมชาติ ตามต้นไม้ ซอกเขา พื้นดิน ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตนั้น เริ่มจากการที่ชาวชนบทนำกล้วยไม้จากป่ามาปลูกเลี้ยงด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ขยับเข้าสู่สังคมเจ้านายชั้นสูงและบรรดาข้าราชการที่ใกล้ชิด เลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรก กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีอันจะกินในสมัยก่อน เลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำกัดอยู่ในวงแคบ นิยมปลูกเลี้ยงกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยนั้น นิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพง การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2493 ได้มีการวิจัย ฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ชมรมกล้วยไม้ เผยแพร่ความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ ผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้น ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบ มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ รวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่นำเข้า วงการกล้วยไม้ของไทยได้ตั้งเป้าหมายยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และประสบผลสำเร็จจนประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกกล้วยไม้เขตร้อนอันดับ 1 ของโลก เกษตรกรหลายท่าน ได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาจากอาชีพอื่น และประสบผลสำเร็จอย่างมาก ตลาดกล้วยไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังคงมีความต้องการกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เพราะฉะนั้น…การเริ่มต้นเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ยังไม่มีคำว่าสายเกินไป หลังจากได้แนะนำให้ ผู้ปลูกกล้วยไม้มือใหม่ได้รู้จักประเภท ของกล้วยไม้ ในบทความ กล้วยไม้ และรู้จักสายพันธุ์ จากบทความ สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม ไปแล้ว ท่านผู้อ่านคงมีตัวเลือกอยู่ในใจ ว่าจะปลูกสายพันธุ์ไหน […]

Read more

จิ้งหรีดเกษตรทางเลือกสู่เกษตรเงินล้าน

จิ้งหรีดเกษตรทางเลือกสู่เกษตรเงินล้าน

จิ้งหรีดเกษตรทางเลือกสู่เกษตรเงินล้าน ด้วยนโยบาย ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ย่างเข้าปี 2561 คุณประโยชน์ของจิ้งหรีด ยิ่งเพิ่มมูลค่ามากขึ้น จากเดิมที่การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นเพียงเกษตรทางเลือกให้เกษตรกรได้มีรายได้เสริม แก้ไขปัญหาพิษราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะ ราคาข้าว มีเกษตรกรน้อยรายที่หันมาเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดตามการส่งเสริมและสนับสนุนของรัฐบาล แต่ที่ว่าน้อยราย กลับมีรายได้หลักล้านจากการเลี้ยงจิ้งหรีด ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่ในตัวจิ้งหรีด และนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหาร ก่อนหน้านี้ การบริโภคจิ้งหรีดยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ส่วนใหญ่จะบริโภคในรูปแบบของ จิ้งหรีดทอด ในกลุ่มของผู้บริโภคแมลง, อาหารแปลก และผู้ที่รู้จักคุณประโยชน์ของจิ้งหรีด แต่การบริโภคจิ้งหรีดในรูปแบบเดิมๆ ก็แพร่ขยายไปได้ยาก ด้วยความเป็นรูปเป็นร่างของจิ้งหรีดที่ถูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารยังคงอยู่ หลายคนทำใจบริโภคไม่ได้ ถึงแม้จะอร่อย มีคุณค่าก็ตาม ในสมองส่วนความจำของเรา จิ้งหรีดเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ เสียงใส, เป็นพระเอกในนิทาน เช่น ลาโง่ กับ จิ้งหรีด เป็นต้น แม้กระทั่งตัวผู้เขียนเอง ยังไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า จิ้งหรีดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จนถึงกับจะได้เป็น Novel Food (โนเว่ล ฟู้ด) อาหารใหม่ อย่างเป็นทางการร่วมกับแมลงอีกหลายชนิดของสหภาพยุโรป ในปีพ.ศ. 2561 ซึ่งตลาดในสหภาพยุโรปทั้งหมด 28 ประเทศ จะประกาศให้นำเข้าแมลงอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีข้อกำหนดและกฎหมายหลายๆ เรื่อง ที่ต้องปฏิบัติตาม […]

Read more

การดูแลกุ้งก้ามแดงระหว่างการเพาะเลี้ยง

การดูแลกุ้งก้ามแดง

การดูแลกุ้งก้ามแดง ระหว่างการเพาะเลี้ยง มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก หากผู้เลี้ยงปฏิบัติตาม และเอาใจใส่ดูแลเป็นประจำตามขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การถ่ายน้ำ, อุณหภูมิ, การลอกคราบ, การผสมพันธุ์, การดูแลแม่พันธุ์ระหว่างอุ้มไข่จนกระทั่งคลอด การอนุบาลลูกกุ้ง, และรวมไปถึงการป้องกันแก้ไข ปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ขั้นตอน การดูแลกุ้งก้ามแดง การถ่ายน้ำ เลี้ยงในตู้ปลา, กะละมัง, หรือ กล่องพลาสติก ถ่ายน้ำทุก 7 วัน หรือเมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำขุ่นหรือสกปรก โดยดูดขี้กุ้งและเศษอาหารที่พื้นบ่อออก ถ่ายน้ำเก่าออกเพียงครึ่งบ่อแล้วจึงเติมน้ำใหม่เพิ่มให้ได้ระดับเดิม เพื่อให้กุ้งปรับสภาพร่างกายให้เข้ากับน้ำ การใส่น้ำใหม่ทั้งหมดจะทำให้กุ้งน๊อคน้ำตายได้ (น้ำใหม่ที่ใช้เติม ต้องเตรียมให้พร้อมเหมือนการเตรียมน้ำเมื่อเริ่มเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในครั้งแรก) เลี้ยงในบ่อดิน หรือ นาข้าว ปกติแล้วไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพียงแต่คอยเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม เนื่องจากบ่ออยู่กลางแจ้งมีการระเหยของน้ำมากกว่าการเลี้ยงด้วยวิธีอื่น และให้ระวังเรื่องการให้อาหาร อย่าให้มากเกินไป เพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียจากเศษอาหารที่เหลืออยู่ในบ่อ กุ้งขาดอ๊อกซิเจน หรือน๊อคน้ำตายได้ เลี้ยงในบ่ออิฐประสาน หรือ บ่อผ้าใบพลาสติก ถ่ายน้ำทุก 2 สัปดาห์ หรือ 20 วัน ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกันกับการเลี้ยงในตู้ปลา เลี้ยงในบ่อปูน ปัญหาของความเป็นด่างสูงของบ่อปูน ทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ทุก 10 วัน ควรที่จะมีน้ำพักบ่อ สำรองเอาไว้ในการปรับเปลี่ยนน้ำ ***ข้อควรระวัง ในการถ่ายน้ำ*** […]

Read more
1 2 3 4 5